เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 7922 ขอชมภาพ ร้านกิมเซ่งหลี ที่กรุงเทพ ครับ
ชวพันธ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


 เมื่อ 07 ม.ค. 12, 10:04

ขอชมภาพ ร้านกิมเซ่งหลี ที่กรุงเทพ ที่เจ้าดารารัศมี พระราชชายาของพระพาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงจัดพิธีสมรสระหว่างร้อยตรีเจ้าอุตรการโกศล (ยศของเจ้าน้อย ศุขเกษม ในขณะนั้น) กับเจ้าหญิงบัวชุม   ณ เชียงใหม่

ขอบคุณครับ
ชวพันธ์  พิริยะพงษ์
๑๖๒  สุขุมวิท ๕๐  แยกซอยเหลือสุข
พระโขนง  คลองเตย  กทม ๑๐๒๖๐
โทร   ๐๒    ๓๑๑๗๖๐๐
                ๐๘๑  ๔๐๐๒๙๓๕
Email  chavapan_1@chaiyo.com
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 10:55

ร้านกิมเซ่งหลี สาขากรุงเทพนั้นระบุว่าตั้งอยู่ที่ตำบลสามเสน เป็นโรงสีข้าวขนาดที่ใหญ่แห่งหนึ่งในกรุงเทพในสมัยรัชกาลที่ ๕ เลยก็ว่าได้ กิจการนั้นร่ำรวยถึงกับเปิดโรงสีได้ 5 โรง แถมยังมีโรงเลื่อยไม้และอู่เรือ และบริเวณตลอดลำน้ำเจ้าพระยาช่วงสามเสน ก็คราคร่ำไปด้วยโรงสีพ่อค้าชาวจีนมากมาย มิใช่แต่ร้านกิมเซ่งหลีเท่านั้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 11:20

บุตรชายกิมเซ่งหลี คือ หลวงโสภณเพ็ชร์รัตน์ ดังปรากฎเรื่องการฟ้องร้องระหว่างกันที่กองล้มละลาย กระทรวงยุติธรรม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 12:06

จุดที่ตั้งค่ายกาวิละ ริมฝั่งแม่น้ำปิงด้านทิศตะวันออก
เดิมเป็นที่ดินของนายอากร เต็กกิมเซ่งหลี มอบให้กองทัพบก(ประวัติมณฑลทหารบกที่ ๓๓,หนังสือครบรอบ ๑๐๐ ปีกองทัพภาค ๓,๒๕๔๕)

ซึ่งต่อมานายอากร เต๊กกิมเซ่งหลี ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงอุดรภัณฑ์พานิช"
"นายอากร เต็กกิมเซ่งหลี" เจ้าของที่ดินที่มอบให้กองทัพบกผู้นี้ ชื่อเดิม คือ เตียอูเต็ง ชาวบ้านทั่วไปมักเรียกว่า จีนเต็งหรือ นายอากรเต็ง โดยได้อพยพมาจากประเทศจีนมาอยู่ที่กรุงเทพฯเมื่อปี พ.ศ.๒๔๐๒ สมัยรัชกาลที่ ๔ เริ่มต้นจากอาชีพเป็นจับกังพายเรือ เมื่อพอมีเงินได้เปลี่ยนเป็นค้าขายของเล็กๆ น้อยๆ และให้กู้เงิน เมื่อมีฐานะดีขึ้นได้มาค้าขายที่เมืองตากต่อมาอพยพมาค้าขายที่เมืองเชียงใหม่ มีร้านค้าชื่อว่า "ร้านฮวดหลี" ระหว่างอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นายเต็งมีความสัมพันธ์อันดีกับเจ้านายฝ่ายเหนือและข้าหลวงประจำนครเชียงใหม่ และได้รับสัมปทานผูกขาดเก็บภาษีอากรฝิ่น สุราและบ่อนเบี้ยในเมืองเชียงใหม่ คนทั้งหลายจึงเรียกว่า "นายอากรเต็ง" เรื่อยมา นอกจากนี้นายอากรเต็งยังเข้าหุ้นทำการค้าที่เมืองตาก มีร้านใหญ่ชื่อว่า "กิมเซ่งหลี"

ต่อมานายกรเต็งโยกย้ายไปทำธุรกิจที่กรุงเทพฯ ตั้งห้างกิมเซ่งหลีดำเนินกิจการโรงสีไฟ โรงจักรเลื่อยไม้และอู่เรือ ต่อมาได้รับบรรดาศักดิ์เป็น "หลวงอุดรภัณฑ์พานิช"

ด้านครอบครัวสมรสกับนางก้อนทอง บุตร ๑ คน คือ กี๊ หรือจีนกี๊ เมื่อนายอากรเต็งอายุมากเข้าได้มอบหมายกิจการให้บุตรคือ จีนกี๊ดำเนินการแทน ซึ่งต่อมานายกี๊ ได้บรรดาศักดิ์เป็น พระโสภณเพชรรัตน์ และได้รับพระราชทานนามสกุลว่า "โสภโณดร"
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 16:52

นายอากรเต็ง (หลวงอุดรภัณฑ์พานิช) มีประวัติอย่างสมบูรณ์อยู่ใน

ประชุมพงษาวดาร ภาคที่ ๑๗ ตำนานเรื่องเลิกหวยแลบ่อนเบี้ยในกรุงสยาม
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระดำรงราชานุภาพ ทรงนิพนธ์
พระโสภณเพ็ชรรัตน พิมพ์ในงานศพ หลวงอุดรภัณฑ์พานิช เต็ง โสภโณดร ผู้บิดา
ปีมะแม พ.ศ. ๒๔๖๒
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 19:04

ภาพถ่ายห้ากิมเซ่งหลี  เท่าที่เคยเห็นมามีอยู่ภาพเดียว  เป็นตึกสองชั้นมีบันไดที่ด้านหน้า  แต่ปัญหาคือคำบรรยายภาพว่าไว้ต่างกัน  บ้างก็ว่าเป็นห้างกิมเซ่งหลีที่ลำปาง  บ้างก็ว่าอยู่ที่กรุงเทพฯ  ทางฝ่ายโรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัยก็อ้างว่า ตึกนั้นเคยเป็นที่ตั้งโรงเรียนบุญวาทย์เมื่อแรกก่อตั้ง  เลยไม่ทราบว่าจะเชื่อหลักฐานฝ่ายไหน?
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 09:52



       ในหนังสือเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม  บุนนาค)  เจ้าคุณกรมท่า

ฉบับอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ  นายเทอด บุนนาค  เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๒

ที่มี ๓ เล่ม          ในเล่ม ๑  หน้า ๑๒๙  พระราชหัตถเลขาฉบับที่ ๙๕     มีเรื่องเกี่ยวพัน

กับหลวงโสภณเพชรรัตน(ยศในเวลานั้น)  เรื่อง  การส่งเหล็กคลังในขวา   แต่คุณหลวงส่งตะใบกับตะปูหลวง

ไม่ทันการ        อ่านแล้วก็เห็นได้ว่าคุณหลวงมีเครือข่ายการค้าที่กว้างขวางมาก  แต่ก็ต้องอาศัยหุ้นส่วนผู้ร่วมทุน

อยู่เหมือนกัน      ต่อมาหุ้นส่วนใหม่ของหุ้นส่วนเก่าเป็นคนในร่มธง  เรื่องก็ยุ่ง      พระราชหัตถเลขาลงว่า

"จีนเภาควรจะฟ้องจีนแดงที่ศาลต่างประเทศตามธรรมเนียมจึงจะชอบ   ถ้าจะรับให้พูดได้ดังนี้ก็เห็นว่าเป็นการกว้างนัก

อะไรก็อาศัยชื่อคนสัปเยกมาขู่ได้ไปทุกอย่าง"
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 11 ม.ค. 12, 14:34

"สะพานกิมเซงหลี"

จากหนังสืองานศพพระยาสุขุมนัยวินิต (สวาท สุขุม) ๒๔๙๗ กล่าวว่า "ท่านได้นั่งรถรางเพื่อดูการการไฟฟ้าที่สามเสนที่สร้างใหม่ เล่าผ่านบรรยากาศกรุงเทพสมัยมีรถเจ็ก บ้านเมืองเงียบสงบ นาน ๆ เจอบ้านหลังหนึ่ง ตอลดข้างวังสวนสุนันทาเป็นต้นก้ามปูเป็ฯดง ตอนสี่แยกซังฮี้ มีบ้านน้อยหลัง ใกล้สี่แยกสามเสนก็มีบ้านของพระสรรพากร ใหญ่โตที่สุดในย่าน อยู่ห่าง ๆกันก็วังสุโขทัยยังเป็นที่สวน พอข้ามสะพาน"กิมเซงหลี" (สพานโศภณ) ก็เป็นที่สวน มีบ้านฝรั่ง และไปสุดถนนไปบ้านของกระทรวงหมาดไทย เรียวกว่า "บ้านพายัพ" เดินมาจนถึงแม่น้ำฝั่งเหนือของถนน เป็นกำแพงสูง - วังกรมหมื่นสรรควิสัยนฤบดี
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 07:31

หุ้นljหลีมีอยู่ด้วยกัน ๓ คน คือ หลวงอุดรภัณฑ์พานิช (เตียอูเต็ง)  หลวงจิตรจำนงวานิช (บุญเย็น หรือบานเย็น)  สองท่านนี้มีหลักฐานแน่ชัดว่าใช้นามสกุล "โสภโณดร"  อีกคนชื่อ หลวงบริรักษ์ประชากร (ตังกวย)

เมื่อสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินเลียบมณฑลพายัพ พ.ศ. ๒๔๔๘  หลวงจิตรจำนงวานิช ได้ตามเสด็จฯ ด้วย  และได้ทูลเกล้าฯ ถวายเงินโดยเสด็จพระราชกุศลสมทบสร้างโรงเรียนยุพราชวิทยาลัยเป็นจำนวนเงิน ๑,๐๐๐ บาท  และเมื่อเสด็จฯ กลับทางลำน้ำปิงถึงเมืองตาก  หลวงจิตรจำนงวานิชได้เชิญเสด็จฯ ไปทรงเปิดวัดน้ำหัก  พระอารามฝ่ายธรรมยุติกนิกายในเมืองตาก (สาขาของวัดบวรนิเวศวิหาร)  ทรงเปิดแล้วพระราชทานชื่อวัดว่า วัดสีตลาราม  เพื่อเป็นเกียรติแก่หลวงจิตรจำนงวานิช ผู้สร้างวัด

ภาพด้านล่างนี้คือ ห้างกิมเซ่งหลี ที่ต่างก็กล่าวอ้างกันว่า ตั้งอยู่ที่กรุงเทพฯ บ้าง  ลำปางบ้าง

 


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 08:06

ภาพนี้คุณเจริญ  ตันมหาพราน บรรยายไว้ในหนังสือ "๓ เจ้าสัวปางไม้" ว่า บริษัทกิมเซ่งหลี จำหน่ายทองรูปพรรณ
ภาพนี้น่าจะเป็นกิมเซ่งหลีที่กรุงเทพฯ ที่เจ้าของกระทู้ต้องการครับ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ชวพันธ์
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 11:16

ขอบพระคุณมากครับ สำหรับทุกทุกท่านในเรื่องภาพร้านกิมเซ่งหลี ผมเองเดาเอาว่าน่จะเป็นที่กรุงเทพเพราะจากภาพที่ขยายนั้น  หลังคาบ้านหลังอื่นอื่นนั้นไม่น่าจะใช่แบบล้านนาเพราะดูทันสมัย

ชวพันธ์  พิริยะพงษ์
๑๖๒  สุขุมวิท ๕๐  แยกซอยเหลือสุข
พระโขนง  คลองเตย  กทม ๑๐๒๖๐
โทร   ๐๒    ๓๑๑๗๖๐๐
                ๐๘๑  ๔๐๐๒๙๓๕
Email  chavapan_1@chaiyo.com
 
 

บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง