เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 7445 มยิลิราวณัน กไต เสถียรโกเศศและนาคะประทีป
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 11:17



        ทูรตัณฑิไกย้อนถามว่า  "เขาว่าหนุมานเป็นชาติลิง   แต่ท่านนี้พูดภาษาคน   จะให้เชื่อได้อย่างไร"

หนุมานอวดว่าตนรู้จักภาษามนุษย์  ๖๔ ถาษา  พร้องศาสตร์ทั้งหลายมีนิติศาสตร์เป็นอาทิ    และรู้จนกระทั้งภาษามดแมลงหมดสิ้น

นางจึงขอให้หนุมานลองสำแดงวิศวรูป

(วิศวรูป  แปลตามพยัญชนะว่า รูปทั่วไป   อธิบายว่า  ให้เห็นรูปหนุมานครอบโลกหมด   คือแลไปไหนทิศไหนก็เห็นอวัยวะ

ของหนุมานทั้งนั้น   ทิศนี้เห็นหัว  ทิศนั้นเห็นมือ   ทิศโน้นเห็นหาง   หรือ  ให้เห็นส่วนต่าง ๆ ในโลกอยู่ในตัวหนุมานทั้งสิ้น

แปลว่ากายหนุมานเท่ากับเป็นฟ้าหุ้มโลกไว้)

(นักอ่านหนังสือเก่าตื่นเต้นมากเมื่ออ่านมาถึงตอนนี้เพราะศาสตร์นี้ไม่เคยยินมาก่อน     แต่ไม่แปลกอะไรเพราะมีอีกมากมายที่ไม่เคยได้ยิน)


        เมื่อหนุมานสำแดงให้เห็นประจักษ์    นางก็เชื่อถือและเล่าเรื่องให้ฟังว่า   นางเป็นน้องของมยิลิราวนัณ     สามีชื่อกาลทัตต์

ลูกชื่อนิลเมฆ    พี่ชายมีลูกสาวคนหนึ่ง  นางก็มีลูกชายคนหนึรง   สามีก็เป็นเสนาบดีผู้ใหญ่         วันหนึ่งสามีอุ้มลูกอยู่บนตักเฝ้าอยู่ในท้องพระโรง   

มยิลิรสวณันก็พาธิดามาด้วย  และได้พูดว่าจะยกลูกสาวให้กับหลาน        อากาศวาณี(เสียงจากท้องฟ้า)ก้องกังวาลมาว่า 

นิลเมฆจะได้เป็นลูกเขย  และจะได้เป็นเจ้าแห่งบาดาล     กังวาลอยู่ถึง ๓ ครั้ง     

        มยิลิราวณันกระโดดลงมาจากสิงหาสน์  เปล่งสูรนาทว่า  ที่กล่าวเมื่อกี้เป็นวาจาคึกคะนอง  อากาศวาณีมิบังควรจะ

ทึกทักว่าเป็นจริงจัง

        เลยจับตัวสามีนางไปฆ่า    พันธนาการลูกกับนางขังตรุไว้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 15:25

ภาพประกอบการเล่าเรื่อง

ภาพซ้าย   พิเภษณ์บอกทางไปยังเมืองของมยิลิราวณันแก่หนุมาน

ภาพขวาบน  หนุมานได้ทราบความจริงว่ามัจฉครรภที่ตนสู้รบด้วย
คือบุตรของตนเองที่จากปลาติมิติที่กลืนเอาเหงื่อของหนุมานเข้าไป

ภาพขวาล่าง  หนุมานได้พบนางทูรตัณฑิไก ซึ่งแบกหม้อน้ำ
ออกไปตักน้ำที่สระนอกกำแพงเมืองตามคำสั่งของมยิลิราวณัน
เพื่อเอามาใช้ในพิธีพลี ฆ่าพระรามพระลักษมณ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 15:40


        หนุมานรับรองจะช่วย   และว่าถ้านางจะช่วยให้ล่วงด่านเข้าป้อมได้แล้ว  จะสังหารพญารากษสได้ง่าย

ทูรตัณฑิไกถามอย่างจนใจว่ารูปร่างหนุมานใหญ่โตปานนี้  จะเอาไปได้อย่างไร    หนุมานออกอุบายให้เอากิ่งมะม่วงมาใส่ลอยในหม้อน้ำ

แล้วแปลงตัวเป็นแมลงวันซ่อนตัวอยู่ใต้ใบมะม่วงนั้น       เมื่อนางกับหม้อน้ำขึ้นตราชู  ก็ผิดสังเกต  คือหนักมากกว่าคนเดียว

ทหารเข้าจับนางไว้จะไต่สวน   พอสบโอกาสหนุมานก็แปลงร่างเป็นอย่างเดิม   สังหารพลรากษสตายระเนระนาท


       นางพาหนุมานเดินไปตามทาง  ผ่านบ้านอมาตย์ผู้ใหญ่   นางบอกชื่อและความประพฤติชั่วร้ายทุจริตคิดมิชอบ  

หนุมานก็เอาหางสอดเข้าไปจับตัวออกมาฆ่าหมด        แล้วหักเครื่องจองจำนิลเมฆในตรุด้วย      พอถึงศาลเจ้าแม่กาลีก็

ส่งนิลเมฆกลับไป   พร้อมกับสั่งว่าถ้าเดือดร้อนก็ให้นึกถึงหนุมาน   จะมาช่วยทันที

  
        ประตูศาลปิดอยู่  หนุมานทุบด้วยกำปั้น   บานประตูทองซึ่งมีน้ำหนักต้องเข็นไปด้วยเกวียนหมื่นเล่มก็พังทะลายเป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่  

เข้าไปเห็นกล่องทองก็เปิดดู  เห็นพระรามพระลักษณ์กำลังหลับใหลด้วยอำนาจมนต์สะกดของมยิลิราวณัน    จึ่งยกเอาหีบไปไว้ที่ภ้ำในภูผาแห่งหนึ่ง

เพราะอยากจะรบกับมยิลิราวณันให้เสร็จ

       เกิดการต่อสู้กันขึ้น    มยิลิราวณันมีอาวุธหลายอย่าง   หนุมานพุ่งกำปั้นประหารจนมยิลิราวณันบาดเจ็บตกลงมาจากรถ   หนุมาณก็ใช้หางรัดไว้

แล้วแกว่งแล้วฟาดลงกับพื้นดิน      มยิลิราวณันฟื้นขึ้นอีก         หนุมาณจึงไปถามนางทูรตัณฑิไก       นางบอกว่าน้องชายได้ซ่อนปราณทั้งห้าเป็นแมลงภู่

๕ ตัวซ่อนไว้ที่วินธัยบรรพต        ต้องเหยียบอกแล้วบีบแมลงภู่พร้อมกันให้ตาย            หนุมานก็จัดการไปตามนั้น


    
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 15:50

          ขอบคุณ คุณหลวงเล็กค่ะ    ในความเอื้อเฟื้อ


       หนุมานเชิญพระรามพระลักษณ์กลับไปยังพลับพลา

หลังจากเสร็จศึกบาดาลแล้วก็จัดการเสกสมรสลูกสาวมยิลิราวณันกับลูกชายของทูรตัณฑิไก

ตั้งนิลเมฆเป็นเจ้าบาดาล

ตั้งมัจฉครรภ์เป็นผู้พิทักษ์บาดาลตามเดิม       เพราะเกรงว่าถ้าเอาติดตัวไปด้วย  ก็ต้องบอกว่าเป็นลูก    จะถูกครหาทั้งสองสถาน

จากโลกที่เชื่อว่าเป็นพรหมจารี   ว่าเอาใครมาอ้างเป็นลูก         โลกที่ไม่เชื่อนั้นก็จะไยไพว่า  นี่หรือหนุมานเป็นนิตยพรหมจารี


(อ่านเพลิน  ไม่อยากเชื่ออยู่อย่างเดียวก็ตอนที่แปลงเป็นแมลงวันแล้วน้ำหนักไม่ลด...)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 16:00

ภาพประกอบจาก Mayili Ravanan Kathai ฉบับภาษาทมิฬ

รบกวนคุณหลวงกรุณาช่วยอธิบายภาพ

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 16:04




        ยอดเยี่ยมค่ะคุณเพ็ญชมพู        ประทับใจในไมตรีที่มีมาเสมอ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 17:35

เอ  คุณเพ็ญฯ ไม่ทราบว่า  เรื่องมยิลิราวณันนี้  มีที่แปลเป็นภาษาอังกฤษ
อ่านสะดวกบ้างหรือไม่   โปรดแนะนำแก่ผู้สนใจที่แวะเข้ามาอ่าน
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 19:25

หนังสือเล่มนี้มีอยู่ ๒ เรื่อง

ลิ้งก์ที่ให้มีเพียงบางส่วนของหนังสือ

Two Tamil folktales: The story of King Matanakāma, The story of Peacock Rāvaṇa

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 22:30



คำชี้แจง


มยิลิราวณัน  เป็นพากย์ทมิฬ  แปลว่าเรื่อง ราพย์นกยูง (อสูรตนนี้ทรงอุณหิษปักหางนกยูง)

แยกศัพท์เป็น  มยิล (นกยูง)  _อิ_ราวณัน ;     กไต  คือ  กถา

เป็นเรื่องอยุ่ใน ปกรณ์ทมิฬ

เรียงเป็นภาษาไทยตามคำบอกเล่าของท่านพราหมณ์ ป. สุพรหมัณยศาสตรี  แห่งราชบัณฑิตยสภา

เสฐียรโกเศศเล่าถึงเกร็ดเกี่ยวกับเรื่อง "มูลพลำ" ซึ่งมีในรามเกียรติ์ไทยและรามายณะของทมิฬ แต่ความหมายต่างกัน

"พอดีข้าพเจ้าได้ รามายณะภาษาทมิฬ จากแขกทมิฬคนหนึ่งที่ถนนสีลม หนังสือที่ได้มานี้มีขนาดใหญ่และหนาและเป็น ๒ เล่มจบ มีรูปภาพอยู่มากหน้า นึกดีใจว่าคงได้เรื่องบ้างเป็นแน่ เพราะระหว่างที่เราทำการค้นคว้าไปได้ความรู้ว่า อารยธรรมและวัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ ในแหลมอินโดจีนและอินโดนีเซีย ที่ว่าได้มาจากอินเดียหาใช่ได้มาจากมัธยมประเทศทั้งหมดไม่ ส่วนมากมาทางอินเดียภาคใต้ มีชาติทมิฬ เป็นต้น แต่ รามายณะ ที่เราได้มาเป็นภาษาทมิฬ หมดหนทางจะรู้เรื่อง ได้ปรึกษากันอยู่ว่าจะทำอย่างไร ในที่สุดตกลงว่าลองแบกเอาหนังสือนี้ไปหอพระสมุด ถามพราหมณ์ ป.ส. ศาสตรีดู ลางทีจะได้เรื่องอะไรบ้าง

วันหนึ่งเราแบก รามายณะทมิฬ มาหาความรู้จากพราหมณ์ ป.ส. ศาสตรี หน้าที่ถามตรงที่มีรูปภาพตกแก่พระสารประเสริฐ เมื่อเปิดพบภาพแผ่นใดก็ซักพราหมณ์ว่าเป็นเรื่องตอนไหน ได้รับอธิบายแล้วก็จดไว้ ทำอย่างนี้ล่วงไปสักครู่ใหญ่ก็ถึงภาพแผ่นหนึ่ง มีรูปพระลักษณ์พระรามและบริวาร พญาวานรกำลังแผลงศรตรงไปยังยักษ์ซึ่งมีอยู่หลายตน ตรงนี้พราหมณ์ ป.ส. ศาสตรีอธิบายว่า กำลังยิงมูลพลำ พอได้ยินคำว่ามูลพลำเราก็หูผี่ง เพราะมูลพลำเป็นน้องสหัสเดชะ มีเรื่องอยู่ใน รามเกียรติ์ แต่ในต้นฉบับ รามายณะ ของวาลมีกิก็ไม่มี พระสารประเสริฐถามว่า "ตัวไหนเป็นมูลพลำ" พราหมณ์ ป.ส. ศาสตรีตอบว่า "หมดนั่น ไม่จำเป็นไม่ออกใช้" พระสารประเสริฐถามว่า "อะไร ไม่จำเป็นไม่ออกใช้ ไอพิษหรือ" เวลานั้นมหาสงครามเพิ่งยุติลงไม่สู้ช้านัก เรื่องใช้ไอพิษในสงครามครั้งนั้นยังเป็นความรู้สึกที่สด ๆ อยู่จึงได้ถามเช่นนั้น ส่วนพราหมณ์ ป.ส. ศาสตรี เวลานั้นพูดไทยยังไม่คล่องและไม่เข้าใจคำไทยว่าไอพิษคืออะไร ในที่สุดพูดไม่เข้าใจกัน ร้อนถึงข้าพเจ้าต้องเป็นล่ามพูดภาษาอังกฤษแทนจึงได้รู้เรื่องว่ามูลพลำไม่ใช่ชื่อพญายักษ์ แต่เป็นชื่อกองทหารรักษาพระองค์ของทศกัณฐ์ เป็นกองทหารที่ทศกัณฐ์เลือกคัดเอาไว้ใช้เมื่อถึงคราวคับขันเข้าที่อับจน เรื่องที่มาของมูลพลำใน รามเกียรติ์ จะมาจากทมิฬ จะได้มาทางตรงหรือทางอ้อมก็ตามที ทำให้เราเกิดสนใจเรื่องวัฒนธรรมของทมิฬขึ้นและได้ความรู้แปลก ๆ เกี่ยวกับอักษรศาสตร์ประวัติศาสตร์ของไทยอีกหลายอย่าง

ต่อมาเราพบ รามายณะ ฉบับของแคว้นกัศมีระ ซึ่งเขาย่อเรื่องไว้เป็นภาษาอังกฤษ ในนั้นมีเรื่องตรงกันกับ รามเกียรติ์ อยู่มาแห่ง นึกประหลาดใจว่าทำไมแคว้นกัศมีระซึ่งอยู่ห่างจากประเทศเราเป็นอย่างสุดหล้าฟ้าเขียว จึงมีเรื่อง รามายณะ พ้องกันกับเรา นึกถึงประวัติศาสตร์อินเดีย ก็ระลึกได้ว่าอารยธรรมของอินเดียฝ่ายใต้ มีชาติทมิฬเป็นต้น เคยแผ่ย้อนขึ้นไปถึงอินเดียฝ่ายเหนือโดยเฉพาะเรื่องลัทธิศาสนานิกายไศวะ เพราะฉะนั้น เราจึงเชื่อว่า รามเกียรติ์ ของเราจะโดยตรงหรือโดยอ้อมก็ดี เห็นจะมาจากทมิฬเป็นส่วนมาก แต่เราก็ไม่สามารถจะทำการค้นคว้าก้าวหน้าต่อไป เรื่องที่มาของ รามเกียรติ์ ซึ่งเราต้องการทำเพื่อดำเนินตามรอยพระยุคลบาท แห่งพระบาทสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า ดั่งที่มีพระราชปรารภไว้ในพระราชนิพนธ์ บ่อเกิดแห่งรามเกียรติ์ ก็ต้องยุติลงเพราะทำไปไม่ตลอด"

คัดจาก หนังสืออัตชีวประวัติของพระยาอนุมานราชธน ของ เสฐียรโกเศศ บทที่ ๑๗ การทำหนังสือร่วมกับนาคะประทีป

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 14:15

เรื่อง มยิลิราวณัน กไต ของทมิฬตรงกับรามเกียรติ์ของไทยตอน "ศึกไมยราพณ์"


เสฐียรโกเศศ เขียนไว้ในหนังสืออุปกรณ์รามเกียรติ์ (กรุงเทพมหานคร : ศิลปาบรรณาคาร,๒๕๑๕),๒๓๓-๒๓๗. ว่าในภาษาทมิฬเรียกชื่อตัวละครในรามเกียรติ์ดังนี้

ไมยราพณ์    =   มยิลิราพณ์
มัจฉานุ       =   มัจฉครภ
นางพิรากวน  =   นางทูรตัณฑิไก









 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 08:35

โขนของไทยเรื่องรามเกียรติ์ตอนศึกไมยราพณ์ดูบ่อยแล้ว
อยากดูการแสดงตอนอย่างเดียวกันของชนชาติอื่นบ้าง
ยิ่งถ้าได้การแสดงแถบอินเดียภาคใต้ด้วยจะดีมาก 
ไม่ทราบว่าคุณเพ็ญฯ รับเป็นธุระจัดหามาให้ทัศนาได้หรือไม่ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 21:43

ขอนำการแสดงของอินเดียใต้เรียกวา กถกฬิ (Kathakali) ศิลปะท้องถิ่นของเมืองคีราลา (Kerala)  มาให้ชมสัก ๑ ภาพ

ภาพจากมหกรรมรามายณะนานาชาติ เฉลิมพระเกียรติฯ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๗ รอบ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๔ จัดขึ้นที่โรงละครแห่งชาติ ระหว่างวันที่ ๖-๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๔ โดยคุณ Cherokee1

ต้องการดูภาพอื่น ๆ ให้ไปที่ พันทิป

จากซ้ายไปขวา พระราม-หนุมาน-พระลักษณ์

 ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 08:33

กถกฬิ  กถ เทียบสันสกฤตบาลี ก็คือคำว่า  กถา  ที่แปลว่า เรื่องราว
ส่วน กฬิ  ถ้าเทียบความหมายที่แปลว่า เล่น แล้ว  ในบาลีมีคำว่า  กีฬฺ ธาตุ
ในความหมายว่า เล่น  แล้วมาสร้างเป็นคำนามว่า กีฬา 
ซึ่งมีใช้ในภาษาไทยแต่ความหมายแคบลง
ส่วนสันสกฤต  มี กฺรีฑฺ ธาตุ  ในความหมายว่า เล่น เหมือนกัน สร้างเป็นคำว่า กฺรีฑา
แปลว่า การเล่น  แต่ตกมาใช้ในภาษาไทย  ความหมายก็แคบลงยิ่งกว่าคำว่า กีฬา

เมืองคีราลา ผมไม่รู้จัก  รู้จักแต่รัฐเกรละ ตามที่ราชบัณฑิตยสถานกำหนดให้ใช้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 19 คำสั่ง