เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
อ่าน: 48990 ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 16:42

๒๘.พระยาอุภัยพิพากสา(เกลื่อน ชัยนาม)
http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/klaen.htm


บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 16:48

๒๙.พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี(คอซิมบี้ ณ ระนอง)
http://www.naranong.net/history04.html


บันทึกการเข้า
chatchawan
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 16:56

๓๐.พระยาศรีสุนทรโวหาร ญาณปรีชามาตย์ บรมนารถนิตยภักดี พิริยพาหะ(น้อย อาจารยางกูร)
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=rattanakosin225&month=26-06-2007&group=1&gblog=30


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 10:55

๓๑. มหาอำมาตย์ตรี พระยามหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์ ภูมิรัตน์)

บุตรพระยาไกรโกษา (เทศ ภูมิรัตน์) เกิดวันที่ ๒๒ กุมภาพันธุ์ พ.ศ. ๒๔๑๐
พ.ศ. ๒๔๒๕ เป็นมหาดเล็กวิเศษในกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
พ.ศ. ๒๔๒๗ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายนเรศรธิรักษ์
พ.ศ. ๒๔๒๙ เป็น หลวงชาญภูเบศร์
พ.ศ. ๒๔๓๑ เป็นผู้ช่วยราชทูตสยามประเทศฝรั่งเศส
พ.ศ. ๒๔๓๓ เป็นผู้ช่วยข้าหลวงใหญ่นครเชียงใหม่
พ.ศ. ๒๔๓๕ เป็นข้าหลวงประจำนครน่าน
พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็น พระพรหมสุรินทร์
พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นข้าหลวงพิเศษชำระความเมืองชลบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๐ เป็น พระยาชลบุรานุรักษ์ ผู้ว่าราชการเมืองชลบุรี
พ.ศ. ๒๔๔๑ เป็น พระยามหิบาลบริรักษ์ พระอภิบาล สมเด็จพระเชษฐาธิราช เจ้าฟ้ากรมหลวงพิษณุโลกประชานารถ
พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นอัครราชทูตสยามประเทศรัสเซีย
พ.ศ. ๒๔๔๗ เป็นข้าหลวงใหญ่บริเวณแขก ๗ หัวเมือง
พ.ศ. ๒๔๔๘ เป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลชุมพร
พ.ศ. ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็น มหาอำมาตย์ตรี และเป็นเสวกเอก กรมวังพิเศษ
พ.ศ. ๒๔๕๕ ปลดออกนอกราชการ
พระยามหิบาลบริรักษ์ ป่วยเป็นโรคหืดและหัวใจอ่อน ถึงแก่กรรม วันที่ ๓๐ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๖๐ ปี
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 11:01

๓๒. พระยากัลยาณมิตรนิกรวงศ์ (คง กัลยาณมิตร)

บุตรเจ้าพระยารัตนบดินทร์ (บุญรอด กัลยาณมิตร) เกิดวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๐๓
อุปสมบท ณ วัดบรมนิวาส ๑ พรรษา
พ.ศ. ๒๔๑๙ ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ ๕
พ.ศ. ๒๔๒๑ รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น นายรองพลพัน
พ.ศ. ๒๔๒๓ เป็น นายพลพัน
พ.ศ. ๒๔๒๘ เป็น นายจ่ารง
พ.ศ. ๒๔๒๙ เป็น หลวงเดชนายเวร
พ.ศ. ๒๔๓๖ เป็น พระพลัษฎานุรักษ์
พ.ศ. ๒๔๕๔ เป็น พระยาภักดีภูบาล แล้วปลดออกนอกราชการ
พ.ศ. ๒๔๖๒ เป็น พระยากัลยาณมิตรนิกรวงศ์
พระยากัลยาณมิตรนิกรวงศ์ ป่วยเป็นโรคชรา ถึงแก่กรรม วันที่ ๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๖๗ ปี
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 11:13

พระยามหิธรมนูปกรณ์โกศลคุณ  
นามเดิม         Tokichi  Masao ( โทคิชิ  มาซาโอะ )  ไทยเรียกว่า โตกิจิ  มาเซา  หรือรู้จักกันในนาม หมอมาเซา
เกิด              พ.ศ. ๒๔๑๒
สัญชาติ          ญี่ปุ่น
การศึกษา        ปริญญาเอกทางกฎหมายจาก  Yale University สหรัฐอเมริกา  และมหาวิทยาลัยโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
หน้าที่การงาน    
พ.ศ. ๒๔๔๐    เดินทางเข้ามารับราชการในประเทศไทย  เป็นที่ปรึกษากฎหมาย   ให้ข้อแนะนำและช่วยในการตรวจชำระกฎหมายลักษณะอาญา พระราชกำหนดบทพระอัยการเก่าใหม่
พ.ศ. ๒๔๕๕    ดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการศาลฎีกา    ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยามหิธรมนูปกรณ์โกศลคุณ
พ.ศ. ๒๔๕๖    ลาออกจากราชการ เพื่อกลับไปรักษาอาการป่วยที่ประเทศญี่ปุ่น
พ.ศ. ๒๔๖๓    ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัคราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย จึงได้เดินทางกลับมาปฏิบัติหน้าที่ในประเทศไทยอีกครั้ง
พ.ศ. ๒๔๖๔    ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพมหานคร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 11:37

ภาพพระยามหิธร (ซ้ายสุดแถวยืน)   กับภรรยา (คนกลางแถวนั่ง)  ถ่ายกับนักเรียนไทยชายหญิงในญี่ปุ่นรุ่นแรก  เมื่อพ.ศ.2447
เสียดายว่าไม่ทราบชื่อนักเรียนไทยเหล่านี้


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 11:39

พระยามหิธร(คนกลางในภาพ)  ถ่ายภาพร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ(ขวามือแถวหน้า) และกงสุลมิคูมะ (Mikuma) หน้าพระที่นั่งจักรีมหาปราสาท เมื่อมีนาคม พ.ศ.2464   ขณะดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำสยาม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 11:59

พลอากาศโท  พระยาเฉลิมอากาศ (สุณี  สุวรรณประทีป)

http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%89%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 17:26

ขอบคุณพนายอาร์ท ๔๗ ที่มีแก่ใจค้นหาประวัติพระยา ๒ คนจากราชกิจจานุเบกษามาเติมไว้
หวังว่า  พนายคงจะได้นำประวัติพระยาคนอื่นๆ มาลงต่อไปอีก

และขอบคุณคุณเทาชมพู  ที่กรุณามาร่วมเติมประวัติพระยาอีก ๒ คน พร้อมภาพประกอบชัดเจน
เป็นสาระประโยชน์แก่ผู้สนใจอย่างยิ่ง 

ตอนนี้  เราได้ประวัติพระยามาแล้ว  ๓๔ คน  นับว่าเกินครึ่งทางยกแรกแล้ว
กระนั้นก็ยังมีประวัติพระยาอีกมากที่ยังไม่ได้นำมาลงรวมไว้ 
หากท่านผู้ใดพบเห็นประวัติพระยาจากแหล่งข้อมูลใดที่ไม่ซ้ำกับที่ได้ลงมาแล้ว
หรืออาจะซ้ำชื่อพระยา  แต่มีข้อมูลเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยเพิ่มเติมให้ประวัติมีรสชาติมากขึ้น
ก็เชิญมาต่อมาเติมมาเพิ่มมาแต่งได้เสมอ   ยินดีรับข้อมูล แต่ขอให้ระบุชื่อพระยาไว้
ที่ต้นความคิดเห็นด้วย  จะได้ทราบว่าเป็นพระยาคนใด คนอ่านจะจะได้ต่อข้อมูลถูก
ขอบคุณครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 10 ม.ค. 12, 18:17

ตอบข้อสอบท่านอาจารย์ใหญ่ครับ  นักเรียนชายหญิงทั้ง ๘ ท่านนั้น  มีชื่อตามลำดับดังนี้ครับ
นักเรียนหญิง นางสาวพิศ (นางประกาศโกศัยวิทย์ - พิศ  ภูมิรัตน)  นางสาวนวล (ไม่ทราบนามสกุล)  นางสาวหลี (คุณศรีนาฏ บูรณะฤกษ์)  นางสาวขจร  ทับเป็นไทย (ท่านผู้หญิงภะรตราชา - ขจร  อิศรเสนา)
นักเรียนชาย หม่อมเจ้าพงศ์ภูวนาถ  ทวีวงศ์  ม.ร.ว.โป้ย  มาฃากุล (พระยาเทวาธิราช)  นายจำเริญ  สวัสดิ์ - ชูโต (พระยานรเทพปรีดา)  นายเสริม  ภูมิรัตน (หลวงประกาศโกศัยงิทย์)
 ในภาพนั้นจะนั้่งเรียงกันตามรายชื่อนี้หรือไม่  ไม่ทราบครับ  แจ่ดูเค้าหน้าแล้วนักเรียนหญิงคนที่นั่งขวาสุดน่าจะเป็นท่านผู้หญิงขจร  ภะรตราชา

นักเรียนไทยที่ไปเรียนญี่ปุ่นชุดนี้  เล่ากันมาว่า เป็นเพราะเมื่อครั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร (ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖) เสด็จนิวัติพระนครใน พ.ศ. ๒๔๔๕  ได้แวะประพาสประเทศญี่ปุ่น  และในการเสด็จประพาสครั้งนั้นล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕ โปรดให้หลวงไพศาลศิลปศาสตร์ (สนั่น  เทพหัสดิน ณ อยุธยา - เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี) และขุนอนุกิจวิธูร (สันทัด  เทพหัสดิน ณ อยุธยา - พระยาอนุกิจวิธูร) เป็นข้าหลวงพิเศษตรวจจัดการศึกษาออกไปรอรับเสด็จที่ญี่ปุ่น  ด้วยเดชะพระบารมีปกเกล้าฯ ข้าหลวงพิเศษฯ ได้ตรวจการจัดการศึกษาของญี่ปุ่นโดยละเอียดจนสามารถก๊อปปี้แผนการศึกษาของญี่ปุ่นมาทั้งฉบับ  และสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ คงจะได้ทอดพระเนตรการศึกษาของเยาวชนญี่ปุ่นด้วย  เมื่อเสด็จนิวัติกรุงเทพฯ แล้วจึงได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระพันปีหลวง ขอให้ทรงสั่งนักเรียนหญิงไปเรียนที่ญี่ปุ่น ๔ คน  ในขณะเดียวกันก็ทรงคัดเลือกมหาดเล็กในพระองค์ออกไปเล่าเรียนด้วยทุนส่วนพระองค์อีก ๔ คน  จบกลับมานักเรียนหญิงได้เป็นครโรงเรียนราชินี  นักเรียนชายคงรับราชการในพระราชสำนัก

นางเสริม และนางสาวพิศ  เมื่อสมรสแล้วมีธิดาคนหนึ่งเป็นนนักเขียนมีชื่อ คือ คุณสุภาว์  เทวกุล
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 13:47

๓๕.ประวัติพระยาราชประสิทธิพิพิธสมบัติพิพัศดุราชภักดี (นุด)

เป็นบุตรของพระรัตนพิมล (เกด)
เดิมนายนุดได้รับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๒
ในสมัยรัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้ทำหน้าที่ดูรายงานต่างๆ
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๑๐ ตำลึง 
ต่อมา  ดปรดเกล้าฯ ให้เป็นที่จมื่นราชนาคา  ปลัดพระคลังในขวา
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๑ ชั่ง ๕ ตำลึง
จากนั้น ได้โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็นพระสมบัตธิบาล  เจ้ากรมพระคลังในขวา
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ต่อจากนั้น  ได้โปรดเกล้าฯ ให้ไปทำเมืองสมุทรสงคราม
แต่เมื่อกลับขึ้นมาพระนคร ได้กระทำการล่วงพระราชอาชญา ทำให้ทรงกริ้ว
ต้องโทษทัณฑ์ประการใดไม่ปรากฏ
ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นพระสุนทรสมบัติ  เจ้ากรมพระคลังวิเศษ
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๒ ชั่ง ๑๐ ตำลึง
ต่อมา  ได้โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนเป็นพระยาราชประสิทธิพิพิธสมบัติพิพัศดุราชภักดี
รับพระราชทานเบี้ยหวัด ปีละ ๓ ชั่ง รับพระราชทานเงินรดน้ำ ปีละ ๑๐ ตำลึง ผ้าสองสำรับ
ต่อจากนั้น  ได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปขัดตาทัพอยู่ ณ เมืองอุดงฦาไชย
ในรัชกาลที่ ๕  ยังรับราชการอยูตามตำแหน่งเดิมอยู่
ครั้นเดือน ๕ ปีวอก จัตวาศก ป่วยเป็นโรคเพื่อวาโยกระษัย  หมอประกอบยาให้  อาการดีขึ้นบ้าง
ต่อมา เดือน ๔ ปีกุน  สัปตศก  อาการทรุดลง 
จนกระทั่งวันอาทิตย์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๔ ปีชวด ยังสัปตศก
เวลาบ่าย ๒ โมงเศษ  ถึงแก่กรรม  อายุได้ ๗๖ ปี

บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 12 ม.ค. 12, 15:23

๓๖.  พระยาสารสินสวามิภักดิ์ (เที่ยนฮี้ สารสิน)

เกิดเมื่อวันอังคาร เดือน ๙ แรม ๑ ค่ำ ปีวอก จ.ศ. ๑๒๑๐ (พ.ศ. ๒๓๙๑)
เป็นบุตร นายปั้นจู๊ลั่ว กับ นางหนู
เมื่อยังเป็นเด็กได้เล่าเรียนที่สำนักพระอาจารย์ทอง วัดทองนพคุณ เป็นเวลา ๗ ปี
แล้วเข้าเรียนที่โรงเรียนมิชชันนารีที่สำเหร่ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด
ต่อมาได้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโปรแตสแตนท์  หมอเฮาส์ มิชชันนารีจึงส่งให้ไปเรียนวิชาแพทย์ที่สหรัฐอเมริกา
สำเร็จการศึกษาแพทยศาสตร์จากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ค เมื่อ พ.ศ. ๒๔๑๔ แล้วเดินทางกลับเมืองไทย

เมื่อกลับถึงกรุงเทพฯ เป็นช่วงต้นรัชกาลที่ ๕ หมอเฮาส์ได้นำพระยาสารสินฯ ไปสมัครรับราชการกับเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต)
ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเป็นผู้ช่วยนายแพทย์ รับราชการในกรมทหารมหาดเล็ก ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๕ เป็นต้นมา
พ.ศ. ๒๔๒๓ ย้ายไปรับราชการในกรมหทารหน้า
พ.ศ. ๒๔๒๘ ไปราชการปราบฮ่อครั้งที่หนึ่ง  และอีกครั้งหนึ่งต่อมา
พ.ศ. ๒๔๓๕ เมื่อเจ้าพระยาสุรศักดิ์ฯ ไปเป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ พระยาสารสินฯไปเป็นล่ามประจำกระทรวง ได้เป็นหลวงดำรงแพทยาคุณ
พ.ศ. ๒๔๓๗ ย้ายไปเป็นผู้ตรวจการโรงพยาบาล และครูในโรงเรียนแทพย์ สังกัดกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ
พ.ศ. ๒๔๔๑ สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพเมื่อทรงเป็นเสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ขอย้ายพระยาสารสินฯ ไปรับราชการในกระทรวงมหาดไทย
ได้เลื่อนเป็นพระมนตรีพจนกิจ ตำแหน่งเจ้ากรมฝ่ายเหนือ
พระยาสารสินฯ รับราชการได้ไม่นานเนื่องจากต้องทนทุกข์กับโรคเกาต์ จึงกราบบังคมลาออกจากราชการ เมื่่อ พ.ศ. ๒๔๔๔
แต่ก็ยังช่วยราชการอย่างต่อเนื่อง รัชกาลที่ ๖ จึงพระราชทานยศเป็นอำมาตย์โท และต่อมาเลื่อนเป็นพระยาสารสินสวามิภักดิ์ ใน พ.ศ. ๒๔๖๐
ถึงแก่กรรมเม่ื่อวันที่ ๒๒ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๖๘ อายุ ๗๘ ปี
บุตรชายท่านหนึ่ง คือ คุณพจน์ สารสิน เป็นอดีตนายกรัฐมนตรี
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 13 ม.ค. 12, 23:58

๓๗.พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมหลวงสิริ  อิศรเสนา)

เป็นบุตรเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น  อิศรเสนา) อดีตเสนาบดีกระทรวงวัง
เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ (หม่อมราชวงศ์เย็น  อิศรเสนา) เป็นบุตรในหม่อมเจ้าเสาวรส อิศรเสนา

มารดาของพระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ ชื่อ คุณขลิบ  เป็นธิดาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร  บุนนาค)

พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ เกิดเมื่อวันที่ ๖ พฤษภาคม ๒๔๓๘
ที่บ้านถนนพระอาทิตย์ (วังเดิมของพระเจ้าบวรวงศ์เธอ กรมหมื่นกษัตริย์ศรีศักดิเดช)

เจ้าคุณมีพี่น้องรวมทั้งตัวท่านด้วย  ๒๖  คนดังนี้

๑.ม.ล.อุ่น  อิศรเสนา
๒.พระยาอิศรพงศ์พิพัฒน์ (ม.ล.สิริ  อิศรเสนา)
๓.พระปราบพลแสน (ม.ล.พงศ์พันธุ์  อิศรเสนา)
๔.ท่านผู้หญิงเยี่ยม  จรัญสนิทวงศ์
๕.พระสมรรคราชกิจ (ม.ล.สายันห์  อิศรเสนา)
๖.ม.ล.ฟื้น  อิศรเสนา
๗.ม.ล.เนื่อง  อิศรเสนา
๘.ม.ล.ปลั่ง  อิศรเสนา
๙.ม.ล.ยวง  อิศรเสนา
๑๐.หลวงพิสูจน์พาณิชย์ลักษณ์ (ม.ล.เพิ่มยศ  อิศรเสนา)
๑๑.ม.ล.พิศ  อิศรเสนา
๑๒.ม.ล.เรียม  อิศรเสนา
๑๓.ม.ล.พุ่มพวง  อิศรเสนา
๑๔.ม.ล.ยิ่งศักดิ์  อิศรเสนา
๑๕.ม.ล.พร  อิศรเสนา
๑๖.ม.ล.เรียบ  อิศรเสนา
๑๗.ม.ล.รื่น  อิศรเสนา
๑๘.น.ต. ม.ล.สนธยาย  อิศรเสนา ร.น.
๑๙.ม.ล.เรี่ยม  อิศรเสนา
๒๐.ม.ล.รสคนธ์  อิศรเสนา
๒๑.ม.ล.สาวดี  อิศรเสนา
๒๒.ม.ล.สันธยา  อิศรเสนา
๒๓.ม.ล.ฉันทนา  อิศรเสนา
๒๔.ม.ล.สุพร  อิศรเสนา
๒๕.ม.ล.สุพรรณ  อิศรเสนา
๒๖.ม.ล.พัฒนประไพ  อิศรเสนา

เมื่อเจ้าคุณอิศรพงศ์พิพัฒน์ ยังเด็ก  ได้เริ่มเรียนหนังสือกับผู้ใหญ่ที่บ้าน
ต่อมาได้ไปเข้าเรียนที่โรงเรียนราชวิทยาลัยที่ต.โรงเลี้ยงเด็ก และ ต.คลองสาน จ.ธนบุรี  ตามลำดับ
เมื่ฮโรงเรียนปิดเรียน  ได้ติดตามบิดาไปพร้อมกับม.ล.อุ่น  และม.ล.พงศ์พันธุ์  เข้าไปอยู่ที่ตำหนัก
เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ และเจ้าจอมมารดาโหมด  ผู้เป็นป้า  อยู่บ่อยๆ  ทำให้รู้จักญาติที่ทำราชการฝ่ายใน
สกุลบุนนาค   และได้เรียนรู้ขนบธรรมเนียมในวัง

เจ้าคุณนั้นเคยเล่าให้ลูกฟังเกี่ยวกับ  ป้าอ้น หรือ เจ้าจอมอ้น ในรัชกาลที่ ๕ 
และพี่เชย หรือ เจ้าจอมเชย ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งคนนี้มีฉายาว่า คุณเชยแห่
ฉายานี้มีคนเล่าลือต่อกันมาผิดๆ ว่าท่านบังอาจกราบบังคมทูลลาออกจากตำแหน่งเจ้าจอม
จึงถูกลงพระราชอาชญาให้จับนุ่งร่างแหแล้วแห่ออกไปนอกพระบรมมหาราชวัง
ในความจริงแล้ว   ที่ท่านมีฉายาเช่นนั้น เพราะเจ้าจอมเชยเคยเป็นนางสระเข้ากระบวนแห่
ในคราวโสกันต์พระเจ้าลุกเธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี ต่างหาก


คุณเชยต่อมาได้กราบบังคมลาออกมาสมรสกับหลวงอมรศักดิ์ประสิทธิ์ (อัด บุนนาค)
มีบุตรคือ หลวงวิจิตรประมวลการ (อุทัย  บุนนาค) เป็นเพื่อนสนิทกับเจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ


เจ้าคุรได้เคยตามเสด็จรัชกาลที่ ๕ ไปที่พระราชวังบางปะอินหลายครั้ง
และจำได้ว่า  ในการพระราชทานเพลิงศพในสมัยรัชกาลที่ ๕ มีการจุดบั้งไฟ
มักเกิดระเบิดมีบาดเจ็บและตายบ่อยๆ

เมื่อเจ้าคุณอายุ ๑๒ ปี  พี่ชายอายุได้ ๑๓ ปี  บิดาได้พาเข้าเฝ้าฯ
ถวายบังคมลารัชกาลที่ ๕ เพื่อเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศสวิส
ตอนนั้นพี่ชายยังมีชื่อว่า เคล้า ตามอักษรชื่อของฝ่ายมารดา ซึ่งเป็นชื่อเรียกลำลองมาแต่เกิด
บิดาได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานชื่อแก่ ม.ล. "เคล้า"
มีรับสั่งว่า  บิดาชื่อเย็น  ลูกก็ชื่ออุ่นแล้วกัน  ส่วนเจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ
ตอนนั้นมีชื่อว่า พงศ์ศิริ  อยู่แล้ว  จึงไม่ได้ขอพระราชทานชื่อใหม่

.......
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 14 ม.ค. 12, 08:25

เจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ส่งบุตรชายไปเรียนหนังสือ ณ ต่างประเทศ
โดยไม่ได้ขอพระราชทานทุนเล่าเรียนจากพระเจ้าอยู่หัว  อย่างขุนนางคนอื่นนิยมทำกัน
เพราะเจ้าพระยาวรพงศ์พิพัฒน์ทำกิจการการค้าหลายอย่าง
เช่น  โรงสีข้าว  โรงเลื่อยไม้  และโรงเผาอิฐ  อยู่ที่บางบัวทอง  
(ตอนหลังมีกิจการเดินรถไฟสายบางบัวทอง  มีเอกสารกิจการรถไฟของท่าน
อยู่ในครอบครองของคหบดีมหาศาลท่านหนึ่ง  ซึ่งใจดีนักหนา
กรุณาให้ผู้เขียนได้ทัศนาเอกสารที่มีคุณทางประวัติศาสตร์กิจการรถไฟเอกชน
เอกสารนั้นดีเลิศ  และช่วยเติมเต็มข้อมูลหลายประการ ที่คุณเอนกหาไม่พบ)
ทำให้มีรายได้มากพอเป็นทุนทรัพย์ส่งเสียบุตรชาย  จำนวน ๖ คน ไปศึกษาที่ต่างประเทศได้อย่างสบาย

เจ้าคุณอิศรพงศ์กับหม่อมหลวงอุ่น พี่ชาย ได้เข้าศึกษา ที่ Chateau de Lancy ใกล้เมือง Geneva
เรียนได้ประมาณ ๔ ปี  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงพิศณุโลกประชานาถ ได้เสด็จมาทรงแวะเยี่ยมทั้งสองท่าน
ที่โรงเรียนดังกล่าว  และมีพระดำริว่า  โรงเรียนนี้ออกจะฟุ่มเฟือย  ค่าใช้จ่ายกินอยู่เล่าเรียนแพงนัก
เป็นที่สิ้นเปลืองพระราชทรัพย์มาก  จึงโปรดให้ย้ายนักเรียนไทยในโรงเรียนดังกล่าวทั้งหมด
รวมทั้งท่านทั้งสองนั้น ไปเรียนหนังสือที่อังกฤษและฝรั่งเศสแทน

เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ กับพี่ชายได้ย้ายมาเรียนที่ Haileybury College  เรียนได้ ๔ ปี  
จากนั้น  เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ ได้ไปศึกษาด้านวิศวกรรมก่อสร้าง ที่โรงเรียน City and Guilds, Imperial College ในมหาวิทยาลัยลอนดอน
เมื่อเรียนจบก็เกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ รัชกาลที่ ๖ ทรงประกาศสงครามกับฝ่ายเยอรมัน
และโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไปช่วยกองทัพฝ่ายพันธมิตรรบที่ยุโรป
ในครั้งนั้น  เจ้าคุณอิศรพงศ์ฯ และหม่อมหลวงอุ่น พี่ชายซึ่งเรียนจบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด
ได้อาสาสมัครเข้าเป็นทหารร่วมรบด้วยในครั้งกระนั้น   เป็นที่น่าเสียใจที่หม่อมหลวงอุ่น  พี่ชายของเจ้าคุณ
ต้องเสียชีวิตในราชการสงครามครั้งนั้น  เมื่อความทราบถึงบิดามารดา ทั้งสองเศร้าเสียใจมาก
เนื่องจากหม่อมหลวงอุ่นเป็นบุตรชายคนโตของสกุล  เจ้าคุณอิศรพงศ์จึงกลายเป็นพี่ชายคนโตในสกุลสืบต่อมา

......
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 19 คำสั่ง