เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
อ่าน: 49027 ประชุมประวัติพระยา ภาคที่ ๑ (ลำดับที่ ๑ - ๕๐)
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 17:20

สงสัยต้องไปค้นข้อมูลตามหนังสืองานศพเก่าๆ แล้วกระละมั้ง  ยิ้มเท่ห์

ราชกิจจานุเบกษาก็มีมาก แต่ไม่ละเอียดพอตามเสนาบดีกระทู้ต้องการ

ตอนนี้ควานหาในอินเทอร์เน็ตไปก่อนเถิด พนาย
ส่วนในราชกิจจาฯ นั้น  ถ้าพนายพอมีเวลาค้นหา
ก็เอามาลงเถิด  เพราะในราชกิจจาฯ ก็มีข้อมูลละเอียดดีเหมือนกัน
โปรดอย่าเอาผู้ตั้งกระทู้เป็นเป้าหมายว่า
จะต้องหาให้ละเอียดพิสดารลึกล้ำ เอาเป็นว่า  อ่านรู้ว่าเป็นใคร
มีรายละเอียดการทำงาน  เลื่อนยศ  จำนวนบุตรธิดา ภริยา อนุภรรยา
เกิดตาย  เจ็บไข้ได้ป่วยอะไร  ฯลฯ  เท่านี้ก็พอแล้ว
แต่ถ้าใครหาข้อมูลได้ละเอียดกว่า  ก็เอามาเติมหรือเขียนเพิ่มเกทับบลัฟกันไป
ให้หน้าม้านกันตามสมควรเถิด เจ๋ง
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 16:52

พนายเมืองมอญ รับนิมนต์ใต้เท้า  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 17:01

๑๙. มหาอำมาตย์ตรี พระยารำไพพงศ์บริพัตร (จิตร บุนนาค)

บุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เกิดวันที่ ๑๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๐๗
พ.ศ. ๒๔๒๐ ศึกษาวิชา ณ ประเทศเยอรมัน ๑๓ ปี
พ.ศ. ๒๔๓๓ รับราชการเป็นล่ามกระทรวงการต่างประเทศ
พ.ศ. ๒๔๓๔ อุปสมบท ณ วัดพิชัยญาติการาม ๑ พรรษา แล้วรับราชการเป็นนายช่างผู้ช่วย กรมรถไฟหลวง
พ.ศ. ๒๔๓๗ เป็นนายช่างภาต
พ.ศ. ๒๔๓๘ รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นหลวงรำไพพงศ์บริพัตร
พ.ศ. ๒๔๔๘ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็น อำมาตย์ตรี
พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นนายช่างนายด้าน
พ.ศ. ๒๔๕๖ เลื่อนยศเป็น อำมาตย์โท
พ.ศ. ๒๔๕๘ เป็น อำมาตย์เอก
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นพระยาในนามเดิม
พ.ศ. ๒๔๖๔ เป็นนายช่างก่อสร้างเอก
พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็น มหาอำมาตย์ตรี
พ.ศ. ๒๔๗๐ ออกจากราชการ รับพระราชทานเบี้ยบำนาญ
พระยารำไพพงศ์บริพัตร ป่วยเป็นไข้พิษ ถึงอนิจกรรมวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๖๔ ปี
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 17:09

๒๐. มหาอำมาตย์ตรี พระยาประเสนะชิตศรีพิไลย (ดัด บุนนาค)

บุตรพระยาไพบูลย์สมบัติ (เดช บุนนาค) เกิดวันที่ ๒๑ กุมภาพันธูุ์ พ.ศ. ๒๔๑๙
พ.ศ. ๒๔๓๙ รับราชการเป็นเสมียนกรมศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๔๔๑ อุปสมบท ณ วัดพิชัยญาติการาม ๑ พรรษา แล้วเป็นมหาดเล็กเวรเดช
พ.ศ. ๒๔๔๒ เป็นนักเรียนกฏหมาย ๓ ปี สอบไล่ได้เป็นเนติบัณฑิตชั้น ๒
พ.ศ. ๒๔๔๕ เป็นผู้พิพากษาศาลโปริสภาที่ ๒
พ.ศ. ๒๔๔๖ รับพระราชทานสัญญาบัตรบรรดาศักดิ์เป็นหลวงนฤนัยสรนารถ
พ.ศ. ๒๔๕๑ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลชุมพร
พ.ศ. ๒๔๕๓ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลพิษณุโลก
พ.ศ. ๒๔๕๔ รับพระราชทานยศเป็น อำมาตย์เอก และเป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลราชบุรี
พ.ศ. ๒๔๕๗ เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น พระราชศาสตร์นาถสภาบดี
พ.ศ. ๒๔๕๙ เป็นอธิบดีผู้พิพากษาศาลมณฑลอยุธยา
พ.ศ. ๒๔๖๐ เป็น พระยาประเสนะชิตศรีพิไลย
พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ กรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๖๗ เป็น มหาอำมาตย์ตรี
พระยาประเสนะชิตศรีพิไลย ป่วยเป็นโรคหัวใจพิการและอัมพาต ถึงแก่กรรม วันที่ ๗ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๐ คำนวณอายุได้ ๕๒ ปี
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 07 ม.ค. 12, 17:23



อ่า...ท่านที่นับถือ     จะกระโดดกลับไปกลับมาอย่างนี้หรือ

เริ่มจากหนังสือสีส้ม  รัชกาลที่ ๓  เถิด

สกุลบุนนาคเขาก็ทำไว้ค่อนข้างจะดีแล้วนา   ต้องยกย่องในเรื่องนี้  



เราก็ศิษย์ท่านสุเมธเหมือนกัน  แต่เราอยู่ก้นครัว


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 10:06



        หนังสือ Siam Directory 1912   หน้า  170 - 172      มีรายชื่อพระยา  ๘๙  ราย

พิมพ์ตัวเล็กจิ๋ว     ถ้าสามารถถอดความและใส่ประวัติแบบย่อก็เหมาะนักหนา  เพราะเป็นคนรุ่นเดียวกัน

รายละเอียดของผลงานเป็นเรื่องสำคัญที่สุด     สาแหรกนั้นถ้าคนอ่านสามารถโยงใยความสัมพันธ์

หรือเจอข้อมูลใหม่ที่หลายคนมองข้ามไป  ก็เป็นประโยชน์ในการศึกษาและเข้าใจประวัติศาสตร์

ว่าบรรพบุรุษของไทยได้เล่าเรียนและปฎิบัติราชการอย่างแหลมคม  จนนำสยามผ่านมาจนทุกวันนี้

ญาติของขุนนางชั้นผู้ใหญ่นั้น   ถ้าไม่เก่งจริง  ไม่ได้ผ่านการทำงานมาตั้งแต่เป็นชั้นผู้น้อย    ก็จะได้ดีไปไม่ได้

        ขอสนับสนุนคุณอาร์ท47   ในการค้นราชกิจจา ฯ

บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 17:21

ได้รับเทียบเชิญจากคุณหลวงแล้ว  จะไม่ร่วมวงไพบูลย์ก็ดูจะเป็นการขัดศรัทธา  จึงขอเริ่มประชุมประวัติพระยาท่านแรกด้วยประวัติท่านเจ้าคุณผู้เป็นครูคนสำคัญของกระผม คือ



๒๑. มหาอำมาตย์ตรี พระยาภะรตราชา (ม.ล.ทศทิศ  อิศรเสนา)

บุตร       หลวงราชดรุณรักษ์ (ม.ร.ว.สอาด  อิศรเสนา)  กับนางราชดรุณรักษ์ (เอี่ยม  อิศรเสนา)

เกิด      วันที่  ๑๙  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๔๒๙

การศึกษา     โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ,  โรงเรียนราชวิทยาลัย  แล้วได้รับพระราชทานทุนกระทรวงธรรมการออกไปเล่าเรียนที่โรงเรียน Oundle ประเทศอังกฤษ  แล้วเข้าศึกษาวิชาครูที่ London University  เหลืออีกเพียง ๑ ภาคการเรียนจะจบหลักสูตรปริญญาตรี  แต่กระทรวงธรรมการเรียกตัวกลับเสียก่อน  จึงได้รับเพียง Diploma in Education
   
การรับราชการ   
พ.ศ. ๒๔๕๓   เป็นอาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยและโรงเรียนราชวิทยาลัย  แล้วโอนย้ายไปรับราชการกรมมหาดเล็กเป็นผู้ช่วยอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิชาโรงเรียนมหาดเล็กหลวง  
พ.ศ. ๒๔๕๘    เป็นผู้ช่วยเลขานุการกระทรวงธรรมการ  แล้วเป็นพนักงานจัดการโรงเรียนจังหวัดพระนครกลาง  และเป็นปลัดกรมสามัญศึกษา  
พ.ศ. ๒๔๖๓    เป็นผู้รักษาการเจ้ากรมกรมการสอบไล่อีกตำแหน่งหนึ่ง  
พ.ศ. ๒๔๖๔    เป็นผู้ปกครองนักเรียนไทยในประเทศอังกฤษ    
พ.ศ. ๒๔๖๘     เป็นเลขานุการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๔๖๙    เป็นคณบดีคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
พ.ศ. ๒๔๗๒   เป็นผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  
พ.ศ. ๒๔๗๕     กราบถวายบังคมลาออกจากราชการรับพระราชทานเบี้ยบำนาญ  พ.ศ. พ.ศ. ๒๔๘๖    เป็นผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  

ราชการพิเศษ   
พ.ศ. ๒๔๕๙     เป็นเลขาธิการสมาคมฟุตบอลแห่งกรุงสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์
พ.ศ. ๒๔๖๗     เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยไปร่วมประชุมลูกเสือโลก ณ ประเทศเดนมาร์ค
พ.ศ. ๒๔๗๖     เป็นปลัดเทศบาลนครกรุงเทพฯ
พ.ศ. ๒๔๙๐     เป็นสมาชิกวุฒิสภา
พ.ศ. ๒๔๙๒     เป็นกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในสภากรรมการลูกเสือแห่งชาติ

ยศ      
พ.ศ. ๒๔๔๗   มหาดเล็กวิเศษ
พ.ศ. ๒๔๕๔   รองหุ้มแพร  แล้วเลื่อนเป็นหุ้มแพร
พ.ศ. ๒๔๕๕   จ่า
พ.ศ. ๒๔๕๘   อำมาตย์ตรี  แล้วเลื่อนเป็นอำมาตย์โท
พ.ศ. ๒๔๖๐   อำมาตย์เอก
พ.ศ. ๒๔๖๑   รองหัวหมื่นพิเศษ (กรมมหาดเล็ก)
พ.ศ. ๒๔๖๖   มหาอำมาตย์ตรี

บรรดาศักดิ์   
พ.ศ. ๒๔๕๔   หลวงอภิบาลบุริมศักดิ์
พ.ศ. ๒๔๕๘   หลวงประพนธ์เนติประวัติ
พ.ศ. ๒๔๕๙   พระปรีชานุศาสน์
พ.ศ. ๒๔๖๓   พระยาภะรตราชา  

อนิจกรรม   ด้วยอาการหัวใจวายเฉียบพลัน ณ บ้านพักในวชิราวุธวิทยาลัย  เมื่อวันที่  ๒๘  ธันวาคม  พ.ศ. ๒๕๑๘  รวมเวลาที่ดำรงตำแหน่งผู้บังคับการวชิราวุธวิทยาลัย  ๓๒ ปี  ๑๑ เดือน  ๒๘ วัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ritti018
พาลี
****
ตอบ: 210


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 20:43

จำได้ว่า ผมก็เคยนำเอาประวัติของ พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มาลงไว้เช่นกันนะครับ...........
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 20:50

๒๒. ประวัติพระยาวจีสัตยารักษ์ (ขำ  ศรียาภัย)

 
  ก่อนอื่นขอกล่าวถึง โรงเรียนศรียาภัย อันเป็นสถานศึกษาของผมก่อนนะครับ ว่าทำไมถึงชื่อโรงเรียนศรียาภัย เนื่องจากได้รับการบริจาคทรัพย์เพื่อสร้างอาคารเรียนจาก คุณชื่น  ศรียาภัย คหปตานีชาวไชยา ซึ่งเป็นธิดาคนโตของ พระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) เพื่อเป็นการรำลึกถึงพระคุณที่มีต่อโรงเรียน จึงนำเอานามสกุลของท่านมาเป็นชื่อโรงเรียน นามว่า โรงเรียนศรียาภัย ปัจจุบันโรงเรียนแห่งนี้มีอายุ 113 ปี เป็นโรงเรียนประจำจังหวัีดชุมพรแบบสหศึกษา มีนักเรียนกว่าสามพันคน...

นามสกุล "ศรียาภัย" เป็นนามสกุลพระราชทาน ที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานให้กับพระยาวจีสัตยารักษ์ (ฃำ)  ผู้กำกับถือน้ำ  กระทรวงมหาดไทย  บิดาคือพระศรีสรราชสงรามรามภักดี (ปาน)  ปู่คือพระอภัยณรงค์สงคราม (แพ)


ประวัติของพระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มีดังนี้


   พระยาวจีสัตยารักษ์  เดิมชื่อ ขำ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน 11 แรม 12  ค่ำ  ปีมะโรง  พ.ศ. 2387  ตรงกับรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  นายขำมีบุตร 5 คน  คือ คุณชื่น  ศรียาภัย  พระยาประชุมพลขันธ์(ขัน  ศรียาภัย)  นายจวน  นายเขต  และนางเฉลิม
  
    นายขำ  ศรียาภัย  ได้ถวายตัวเป็นมหาดเล็กในรัชกาลที่ 4  ได้ฝึกหัดราชการอยู่ในสำนักของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง  บุนนาค)  สมุหพระกลาโหมเป็นผู้มีความรู้ความชำนาญหลายด้าน  เช่น  การค้าขาย  การจับ  และฝึกหัดช้าง  และยังมีความสามารถในการพูดภาษาจีน  ได้รับบรรดาศักดิ์เป็นหลวงราชานุชิต  ผู้ช่วยราชการเมืองไชยา  ในรัชกาลที่ 4
  
    ในสมัยรัชกาลที่ 5  ท่านได้รับบรรดาศักดิ์เป็นพระยาศรีราชสงคราม  ปลัดเมืองไชยาและดำรงตำแหน่งนี้เป็นเวลา  10 ปี  มีความชอบจากการไปปราบจลาจลชาวจีนที่เมืองภูเก็ต  จึงได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทิพยาภรณ์ช้างเผือก  ขั้นที่ 5

พ.ศ. 2422  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวิชิตภักดี  ผู้ว่าราชการเมืองไชยา  ทำความดีความชอบจนได้รับ

พ.ศ. 2422  ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบบมณฑล  พระยาวิชิตภักดีได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระยาไวยวุฒิวิเศษฤทธิ์  จางวางเมืองไชยา

พ.ศ. 2449  ได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาวจีสัตยารักษ์

    เนื่องจากพระยาวจีสัตยารักษ์  เป็นผู้ชำนาญเกี่ยวกับหัวเมืองชายทะเลปักษ์ได้  พระยาวจีสัตยารักษ์จึงได้ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์นำเสด็จ  และเมื่อมีทางรถไฟสายใต้ได้เป็นผู้นำตรวจทางรถไฟสายใต้เป็นครั้งแรก  ตั้งแต่มณฑลปัตตานี  ถึงเมืองเพชรบุรี  นอกจากนี้ยังได้สร้างคุณงามความดีอันเป็นประโยชน์อีกมากมาย
  
     พระยาวจีสัตยารักษ์ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคลมปัจจุบัน  เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2457  รวมอายุได้  70 ปี  ปัจจุบันมีสถูปซึ่งบรรจุอัฐิของท่านและบุตรหลานในตระกูลศรียาภัย ณ เมืองไชยา(เก่า)  ตำบลพุมเรียง  อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 ม.ค. 12, 23:03

ประวัติของพระยาวจีสัตยารักษ์(ขำ  ศรียาภัย) มีดังนี้


   พระยาวจีสัตยารักษ์  เดิมชื่อ ขำ  เกิดเมื่อวันพฤหัสบดี  เดือน 11 แรม 12  ค่ำ  ปีมะโรง  พ.ศ. 2387  ตรงกับรัชกาล  พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ 3  นายขำมีบุตร 5 คน  คือ คุณชื่น  ศรียาภัย  พระยาประชุมพลขันธ์(ขัน  ศรียาภัย)  นายจวน  นายเขต  และนางเฉลิม
  



ครูเขตร์  ศรียาภัย


เพิ่มเติม

ท่านพระยาวจีสัตยารักษ์ เป็นผู้นำ นายปล่อง จำนงทอง เข้ามาเปรียบมวยหน้าพระที่นั่ง งานพระศพกรมขุนมรุพงษ์ศิริพัฒน์ ที่ท้องสนามหลวง  และได้ขึ้นเปรียบมวยกับ นักมวยโคราช ที่กำกับมาโดย พระเหมสมาหาร ผลปรากฏว่า นายปล่อง เป็นฝ่ายชนะ โดยการทุ่มทับตามรูปแบบของมวยไชยา จึงได้รับพระราชทานเป็นที่ หมื่นมวยมีชื่อ ในเวลาต่อมา
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 08:31

ชื่นใจจริงๆ ที่ทุกท่านให้ความร่วมมือช่วยกันใส่ประวัติพระยา
ส่วนแต่ละท่านจะเอาข้อมูลจากแหล่งใดมาใส่ ก็ฝากตรวจสอบให้แน่ใจ
ว่าถูกต้องควรเชื่อถือ   ไม่ต้องเรียงลำดับพระยาตามรัชกาลก็ได้
เพราะแต่ละท่านไม่ได้มีทรัพยากรข้อมูลเท่าเทียมกัน
ใครมีหรือเจอประวัติพระยาจากแหล่งใด  เห็นควรเผยแพร่กัน
ก็เอามาใส่ไว้  หรือเห็นว่า  น่าจะเพิ่มเติมข้อมูลหรือเก็ดเล็กน้อย
เกี่ยวกับพระยาบางท่านที่มีคนได้เอามาลงไว้แล้ว  แต่ยังบกพร่องอยู่
ก็พึงเติมเพิ่มข้อมูลได้  เช่นกัน อย่าได้เกรงใจ

ที่สำคัญคืออยากให้มีภาพมาประกอบด้วย
จะได้ทราบว่าพระยาแต่ละคนหน้าตาเป็นเช่นไร

ขอบคุณทุกท่านที่ให้ความกรุณาแก่กระทู้นี้
หวังว่าทุกท่านจะได้ช่วยเติมกระทู้นี้ต่อไปอีก ยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 11:48

๒๓.ประวัติมหาอำมาตย์ตรี พระยานิติศาสตร์ไพศาลย์ (วัน  จามรมาน)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/nitiphaisan.pdf
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 11:54

๒๕.ประวัติพระยาเทพวิทุรพหุลศรุตบดี (บุญช่วย วณิกกุล)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/witulpahun.htm
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 11:57

๒๖.ประวัติพระยาอรรถการีย์นิพนธ์ (สิทธิ จุณณานนท์)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/sit.htm
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 09 ม.ค. 12, 12:05

๒๗.ประวัติพระยาลัดพลีธรรมประคัลภ์ (วงศ์  ลัดพลี)

http://www.museum.coj.go.th/SpPerson/Article07.pdf
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.143 วินาที กับ 19 คำสั่ง