เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 28786 คำจากรายการข่าว
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 16 ม.ค. 12, 21:22

คำถามนานมาแล้วที่ พันทิป

มติชนรายวันเมื่อวันเสาร์ที่ ๒๒  หน้า ๑๒  ลงข่าวอาชญากรรม

พบสาวใหญ่ดับปริศนาข้างถนน
รายละเอียดของข่าวเราจะไม่เอ่ยนะคะ

ข่าวแจ้งว่า สตรีผู้นี้  อายุ ๖๕  ปี

สะดุ้งอยู่หลายรอบก็ยังคิดไม่ออกว่า คนเขียนข่าวมีจิตใจกว้างขวางหรืออ่อนโยนกันแน่

สำหรับสุภาพบุรุษนั้น  วัยสี่สิบกว่าก็นับว่าหนุ่มใหญ่ได้

อยากฟังความคิดเห็นด้วยเมตตาธรรมของท่านทั้งปวง

แบบว่า สงสัยว่า   สาวใหญ่  นี่น่าจะอยู่...ประมาณอายุเท่าไรคะ

จากคุณ : แสนอักษร

ชาวเรือนไทยช่วยกันตอบหน่อยเถอะน่า

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 17 ม.ค. 12, 12:32

อ้างถึง
แบบว่า สงสัยว่า   สาวใหญ่  นี่น่าจะอยู่...ประมาณอายุเท่าไรคะ

อายุ 65 ค่ะ ยิ้มเท่ห์
v


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 17 ม.ค. 12, 18:22

ขอเสนออีกคำหนึ่ง ลองไปหาความหมาย
แล้วช่วยกันพิจารณาว่า
สมควรใช้หรือไม่
"พ่อหลวง"
 ขยิบตา

ยกตัวอย่างคำที่สื่อมวลชนทั้งพูดและเขียน  ใช้กันโดยไม่สำเหนียกว่าคำหรือข้อความนั้นถูกต้อง-เหมาะสมหรือไม่  เช่น ที่พูดกันปาวๆว่า “พ่อหลวง”บ้าง “พ่อของเรา”บ้าง ทั้งๆที่เรามีคำสามัญที่ใช้ไม่เป็นทางการ  แต่ก็เป็นที่นิยมว่างาม คือคำว่า “ในหลวง”  ซึ่งไม่ถือว่าเป็นการอาจเอื้อมหรือไม่สุภาพ แต่อย่างใด  เห็นชาวไทยภูเขาเรียก “พ่อหลวง”ก็เอามาใช้สบายปากโดยไม่ได้ศึกษาให้รู้ถ่องแท้ว่า คำว่า “พ่อหลวง”นั้น  ชาวเขาเขาใช้เรียกผู้ใหญ่บ้าน ว่ากันอย่างนั้น

(สุดสงวน  "ยามภาษา"  สกุลไทยฉบับที่ ๒๙๒๙ วันที่ ๗ ธันวาคม ๒๕๕๓)
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 18 ม.ค. 12, 19:34

ขออนุญาตเพิ่มเติมเรื่อง Backhoe
Hoe =
A long‑handled gardening tool with a thin metal blade, used mainly for weeding and breaking up soil.(Webster Dictionary)
A tool with a flat blade attached at right angle to the long handle (Wordweb)
 จอบ, เกรียงโบกปูน, เหล็กเกลี่ยไฟ. -vt. ขุด, ขุดหญ้า, พรวน, สับด้วยจอบ. (ดร.วิทย์)

ถ้าเทียบเคียงกับเครื่องมือของไทยก็คือ จอบ
Backhoe ก็คือรถตักที่มีตัวตักอยู่ท้ายรถ
บันทึกการเข้า
Sujittra
พาลี
****
ตอบ: 326


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 20 ม.ค. 12, 10:45

อีกคำหนึ่งที่มักได้ยินสับสนคือ พระรูป พระฉายาลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์ พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์
เรียนถามท่าน "เทาชมพู" ว่าที่ถูกต้องคืออะไรครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 20 ม.ค. 12, 11:02

ขออนุญาตคุณเทาชมพูตอบ

รอยอิน ท่านว่าไว้ดังนี้


บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 24 ม.ค. 12, 23:58

คำว่า "ท่าน"  เดี๋ยวนี้ใช้กันจนไม่รู้ว่าถูกหรือผิด  บางรายการเรียกชื่อกันออกอากาศ  ท่านไก่  ท่านกา (ชื่อสมมติ)  ยิ่งในสภายิ่งเรียกกันเกร่อ  เดี๋ยวนี้ตามต่างจังหวัด  สมาชิกเทศบาล  สมาชิก อ.บ.ต.  แม้แต่ครู  ก็ได้ยินเรียกกันโดยใช้ท่านนำหน้าชื่อกันอยู่บ่อยๆ

เท่าที่ทราบการที่ควรจะใช้ท่านนำหน้าชื่อนั้น  ต้องเป็นพระภิกษุ  เช่นท่านอิน  ท่านจันทร์
หรือไม่ก็เป็นเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า   เช่นท่านมุ้ย  (ขอประทานอภัยที่เอ่ยนาม)

ถ้าเป็นสามัญโดยทั่วไปใช้เรียกตำแหน่งก็สมควร  เช่น  ท่านนายก  ท่านผู้ว่า  ท่านส.ส.  ท่านกำนัน ฯลฯ

พี่ๆชาวเรือนไทยคิดยังไงครับกับเรื่องนี้........... ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 25 ม.ค. 12, 17:32

คำว่า "ท่าน" ในวงการตุลาการผู้พิพากษาก็ใช้กันนะคะ  ทนายความเวลาขึ้นศาลก็เรียกทนายความด้วยกันว่า"ท่าน" เป็นการให้เกียรติกัน

ส่วนคำว่า"ท่าน" ของวงการอื่นๆ  ในปัจจุบัน กลายเป็นคำสุภาพแบบเดียวกับ "คุณ"  แต่ให้น้ำหนักสูงกว่า "คุณ"   "คุณ"นั้นค่อนจะไปทางเป็นกันเองเสียมากกว่า   
ในเรือนไทย ก็เรียก "ท่าน" กันอยู่หลายราย
ถ้าเป็นการให้เกียรติกัน ดิฉันก็ไม่ถือว่าผิด     ภาษาที่ยังไม่ตาย ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความหมายอยู่เสมอ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 12:49

คำว่า "ท่าน" ในวงการตุลาการผู้พิพากษาก็ใช้กันนะคะ  ทนายความเวลาขึ้นศาลก็เรียกทนายความด้วยกันว่า"ท่าน" เป็นการให้เกียรติกัน

ส่วนคำว่า"ท่าน" ของวงการอื่นๆ  ในปัจจุบัน กลายเป็นคำสุภาพแบบเดียวกับ "คุณ"  แต่ให้น้ำหนักสูงกว่า "คุณ"   "คุณ"นั้นค่อนจะไปทางเป็นกันเองเสียมากกว่า  
ในเรือนไทย ก็เรียก "ท่าน" กันอยู่หลายราย
ถ้าเป็นการให้เกียรติกัน ดิฉันก็ไม่ถือว่าผิด     ภาษาที่ยังไม่ตาย ย่อมมีการเปลี่ยนแปลงในด้านความหมายอยู่เสมอ

สำหรับผู้พิพากษาซึ่งปฏิบัติหน้าที่ในพระปรมาภิไธยฯ สมควรเรียกท่านได้ตามเกียรติแห่งท่าน
ส่วนศรีสยาม เรียกท่านหนุ่มสยามและท่านเนาวรัตน์ ก็ด้วยนับถือในภูมิรู้ของท่านทั้งสอง
ส่วนการเรียกท่านjeans1966 คงเรียกด้วยหมั่นไส้แกมเอ็นดูซึ่งไม่สมควรกระทำ เพราะหลังไมค์ก็เรียกไอ้(คุณ)ยีนส์ทุกที?

ที่น่าแปลกคือ การเรียกขานบรรดา สส.ในสภา คนส่วนใหญ่คงเห็นพ้องต้องกันว่าไม่เหมาะสม เพราะมีแต่วรานุชเกือบทั้งนั้น



อีกคำที่แปลกๆอยู่ทุกวันนี้ คือภาษา(พูด)ในราชการที่ได้ยินบ่อยๆ "ขออนุญาตนำเรียน........"
เรียนเฉยๆก็น่าจะพอรู้ความ ทำไมต้อง-นำ-ให้ลำบาก  


55555
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 15:55

อาจารย์กาญจนา นาคสกุลบอกว่า ใช้ "ภัยหนาว" ทำให้ภาษาวิบัติ   นะ จะบอกให้



คุณศรี คุณเทา คุณบานา คุณสุจิตรา มีความเห็นว่าอย่างไร

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 01 ก.พ. 12, 16:07

    ^
    ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสาขาภาษาไทย ราชบัณฑิตยสถาน เปิดเผยว่า ขณะนี้พบการใช้คำภาษาไทยที่ผิดบ่อยที่สุดคือคำว่า "ภัยหนาว" ซึ่งปรากฏอยู่ในการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนวิทยุ โทรทัศน์ และหน่วยงานรัฐที่ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติในช่วงฤดูหนาว ตนต้องขอท้วงติงไม่ควรใช้คำว่าภัยหนาว ซึ่งเป็นการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกต้อง เพราะผิดความหมาย ไม่สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริงตามธรรมชาติ เนื่องจากฤดูหนาวไม่ใช่ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นในประเทศไทย แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลปกติทุกปี ประชาชนรู้ตัวและเตรียมพร้อมอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ภัยรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินจำนวนมาก
    ผู้เชี่ยวชาญภาษาไทยกล่าวอีกว่า คำว่า "ภัย" ต้องใช้กับสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว เกิดขึ้นฉับพลัน ผิดปกติ หรือไม่ถูกต้องตามฤดูกาล และคาดการณ์ล่วงหน้าไม่ได้ เช่น แผ่นดินไหว น้ำท่วมใหญ่ ดินโคลนถล่มบ้านเรือนเสียหาย เป็นต้น แต่สำหรับฤดูหนาวเป็นสิ่งที่เราทราบอยู่แล้วว่าอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลง ทำให้สภาพอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะยอดดอยภูเขาสูงมีอากาศหนาวจัด ประชาชนในพื้นที่สามารถปรับตัวได้ เพราะเป็นฤดูกาลตามธรรมชาติที่เกิดขึ้นทุกปี
    "ถ้าใช้คำว่าภัยหนาวต้องมีความหมายว่าพื้นที่นั้นๆ มีหิมะตก ซึ่งไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ มีสภาพอากาศหนาวจัด ไม่สามารถทนอยู่ได้ และเป็นเหตุการณ์ที่น่าหวาดกลัว อาจทำให้มีคนเสียชีวิตจำนวนมาก และต้องอพยพย้ายออกจากพื้นที่ประสบภัยอย่างเร่งด่วน แต่ฤดูหนาวของไทยเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทุกปีเหมือนฤดูร้อน แม้สภาพอากาศจะร้อนจัดและเป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่ก็ไม่ใช้คำว่าภัยร้อน" ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา กล่าว
    นายกสมาคมครูภาษาไทยแห่งประเทศไทยบอกว่า เกรงว่าจะมีการใช้คำว่าภัยหนาวจนกลายเป็นคำปกติที่ใช้กันทั่วไปในฤดูหนาว ทำให้ภาษาไทยวิบัติมากยิ่งขึ้น เพราะสื่อโทรทัศน์นำไปใช้สื่อสารไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ผู้ชมนำไปใช้ผิดๆ อีกทั้งเห็นว่าภัยหนาวเป็นคำที่ใช้ในราชการ โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย ประกาศพื้นที่ภัยหนาว ซึ่งเป็นการบัญญัติคำศัพท์นี้ขึ้นมาเพื่อเบิกงบประมาณจัดซื้อผ้าห่มและเสื้อกันหนาวแจกประชาชนทุกปีซ้ำซากไม่มีจบสิ้น ทั้งๆ ที่เสื้อกันหนาวสามารถใช้สวมใส่ได้นานหลายปี แต่ก็ยังเบิกงบประมาณไปใช้มากเกินความจำเป็นทุกปี ส่งผลให้สังคมไทยนิสัยเสียและกลายเป็นผู้ขอตลอดเวลา
    "สื่อมวลชนควรเป็นแบบอย่างที่ดีในการใช้ภาษาไทย และนำเสนอข่าวเตือนภัยธรรมชาติด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ประชาชนมีสติเตรียมพร้อมรับมือ รู้จักวิธีป้องกันและไม่ตื่นตัวจนเกินเหตุ ทั้งนี้ คำว่าภัยหนาวนอกจากเป็นการใช้ภาษาไทยที่ไม่ถูกความหมายแล้ว ยังทำให้สังคมไทยแตกตื่นและไม่เรียนรู้เข้าใจฤดูกาลตามธรรมชาติที่แท้จริงอีกด้วย" ศ.กิตติคุณ ดร.กาญจนา กล่าว.

    เพิ่งรู้นี่แหละค่ะ    ถ้างั้น ภัยแล้ง  ก็ใช้ไม่ได้เหมือนกัน    ยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 ก.พ. 12, 11:36

.



คงเป็นการยากที่จะเปลี่ยนทัศนคติของผู้ได้ชื่อว่าเป็นปราชญ์ทางภาษา แต่ใครก็ตามที่สัมผัสชนบทในฤดูหนาว โดยเฉพาะอีสานหรือจังหวัดที่ใกล้ป่าใหญ่ภูเขาสูง ย่อมรู้ดีว่าอากาสหนาวในบางปีของไทยเรา ถึงแม้ไม่มีหิมะตก ก็สามารถเป็นภัยต่อชีวิตของผู้คนที่ยากไร้ได้มากเอาการ โดยเฉพาะผู้เฒ่าและเด็กทารก

คำว่าภัยหนาว จึงไม่น่าทำให้ภาษาไทยวิบัติแต่ประการใด?



ร้อยเอ็ด-พบศพเฒ่าพเนจรนอนหนาวตาย
http://77.nationchannel.com/video/195520/

พิษณุโลกหนาวตายสองศพ
http://www.thaibizcenter.com/hotnewsdetail.asp?newsid=1329

สลด! อากาศหนาว ทารกหนาวตาย แม่ช็อกอุ้มกอดตัวแข็งทื่อ
http://hilight.kapook.com/view/17970


หนาวคร่าวิญญาณหนุ่มสกลนอนแข็งตาย
วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2555 เวลา 09:47 น.
http://www.dailynews.co.th/crime/10329


มท.1สั่งผู้ว่าฯห้ามมีคนหนาวตาย
"มท.1" สั่ง "ผู้ว่าฯ" ห้ามมีคนหนาวตาย สั่ง 13 จังหวัด...... สกลนครหนาวหนักผู้ป่วยไข้หวัดล้นโรงพยาบาล
http://www.komchadluek.net/detail/20111215/117809/มท.1สั่งผู้ว่าฯห้ามมีคนหนาวตาย.html

สามล้อทรนงทิ้งมรดก30ล้านนอนหนาวตาย



หนาวตายอีกแล้ว 4
http://www.ch7.com/news/news_thailand_detail.aspx?c=2&p=376&d=168765

 ยิงฟันยิ้ม


ฯลฯ


.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 ก.พ. 12, 11:47

ภัยลม  =  วาตภัย

ภัยน้ำ   =  อุทกภัย

ภัยไฟ  =  อัคคีภัย

ภัยแล้ง (ขาดแคลนอาหาร)  = ทุพภิกขภัย

แผ่นดินไหว, สึนามิ = ธรณีพิบัติภัย

ภัยร้อน  =   ?

ภัยหนาว =  ?

 ฮืม
บันทึกการเข้า
Bana
องคต
*****
ตอบ: 439



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 02 ก.พ. 12, 21:40

 อายจัง  ดีนะที่ยังไม่ค่อยได้ยินคำว่า "ภัยฝน"

ภัย มาจากคำภาษาบาลีสันสกฤตว่า ภย (อ่านว่า พะ -ยะ) แปลว่า ความกลัว, สิ่งที่น่ากลัว, สิ่งที่ทำให้กลัว. ในภาษาไทยใช้หมายถึง สิ่งที่ทำให้คนได้รับความเดือดร้อน อันตราย หรือบาดเจ็บล้มตาย เช่น โรคภัย คือภัยที่เกิดจากโรคร้าย. อัคคีภัย คือภัยที่เกิดจากไฟไหม้. อุทกภัย คือภัยที่เกิดจากน้ำท่วม. ภัยทำให้ผู้คนประสบความทุกข์ยาก ลำบาก หรือสิ้นชีวิต. มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน. ในประเทศไทย เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม จนถึงมกราคม อากาศจะหนาวเย็นมาก โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน อากาศหนาวเช่นนี้เกิดขึ้นทุกปีเป็นสภาวะของอากาศประจำท้องถิ่นในฤดูหนาว ไม่ใช่ภัยอันตราย เพราะเป็นสภาพอากาศปรกติที่เกิดอยู่ประจำ อากาศหนาวในประเทศไทยเป็นสิ่งปรกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นประจำทุกปี จึงไม่ควรเรียกว่า ภัยหนาว

ที่มา :  บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.


ภัยอันตรายหมายถึง สิ่งที่น่ากลัวอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ  มี 10 อย่าง
๑. ราชภัย คือ ภัยจากทางราชการ
๒. โจรภัย คือภัยจากโจรผู้ร้าย
๓. อัคคีภัย  คือภัยที่เกิดแต่ไฟ
๔. วาตภัย คือภัยที่เกิดแต่ลม
๕. อุทกภัย คือภัยที่เกิดแต่น้ำ
๖. วิวาทภัย คือ ภัยที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท
๗. โรคภัย คือภัยที่เกิดจากโรคต่างๆ
๘. อุปัตติภัย  คือ ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าปัจจุบันทันด่วน
๙. ทุพภิกขภัย คือภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง
๑๐. วินาศภัย คือ ภัยอันทำให้พินาศฉิบหายอย่างใหญ่หลวง

ส่วนภัยที่เกิดจากฤดูกาลถ้เป็นปกติ  ที่ไม่ถึงเป็นเหตุให้เกิดการล้มตายหรือเสียอย่างใหญ่หลวง  สำหรับผมไม่เห็นด้วยที่จะมาใช้คำว่า "ภัย"  คงเป็นแค่ภาวะ..... ยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 02 ก.พ. 12, 23:51

คำว่า ภัยหนาว มันทำให้ภาษาวิบัติ ตรงไหนคะ...
ภาษา เป็นสิ่งที่พัฒนาไปตามยุคสมัย ถ้าหยุดนิ่งอยู่กับที่นั่นหละค่ะกำลังจะถึงคราววิบัติ

ภัยหนาว ฟังแล้วเข้าใจทันที่ว่า เป็นความวิกฤติที่เกิดจากความหนาว
ความหนาวเป็นภัยที่คุกคามชีวิตจริงๆ ตามที่คุณ srisiam ยกตัวอย่างมาให้ดู

ที่บอกว่า "ภัยหนาว เป็นการบัญญัติคำศัพท์นี้ขึ้นมาเพื่อเบิกงบประมาณจัดซื้อผ้าห่มและเสื้อกันหนาวแจกประชาชนทุกปีซ้ำซากไม่มีจบสิ้น ทั้งๆ ที่เสื้อกันหนาวสามารถใช้สวมใส่ได้นานหลายปี"

ขอโทษเถอะค่ะ เคยเห็นผ้าห่มกับเสื้อกันหนาวที่เขาแจก หรือเปล่าค่ะ มันบางมากใช้ผ้าคุณภาพแย่มาตัดเย็บ ติดโลโก้สวยงามเพื่อตั้งท่าถ่ายภาพประชาสัมพันธ์ แต่กันหนาวได้แค่ไหน ทนทานแค่ไหนกันเชียว ที่เขาได้รับแจกทุกปีซ้ำซาก บางทีเขาต้องเอามาใส่ซ้อนๆ กัน 4-5 ชั้น ยังไม่อุ่นเลย
บางทีคนแจกอาจจะเอาตัวเองเป็นมาตรฐานคือ เสื้อกันหนาวขนาดนี้ใส่ในกรุงเทพก็เหงื่อหยดแล้ว แต่มันใช้ไม่ได้กับพื้นที่บนยอดดอยที่อากาศติดลบนะคะ พื้นที่ที่หนาว มันหนาวมากจริงๆ หนาวจนเป็นภัยค่ะ

จะบอกว่า "เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตามฤดูกาลปกติทุกปี ประชาชนรู้ตัวและเตรียมพร้อมอยู่แล้ว แต่ไม่ใช่ภัยรุนแรงถึงขั้นก่อให้เกิดความสูญเสียต่อชีวิต"
ค่ะเกิดขึ้นทุกปี ประชาชนรู้ตัวแต่ไม่สามารถจะเตรียมพร้อมได้ เพราะเขาไม่พร้อม เขาไม่มี เขาด้อยโอกาส เขาประสบภัย ทุกปี ทุกปี ...
ดังนั้น การเรียกว่า ภัยหนาว จึงไม่เกินความเป็นจริง และไม่น่าจะก่อความวิบัติให้กับภาษาค่ะ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง