เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 28790 คำจากรายการข่าว
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 05 ม.ค. 12, 07:25

อันเนื่องจากในรายการข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ของคุณสรยุทธ ฯ เอ่ยถึงสะพานเหล็กชั่วคราว (Bailey bridge) ว่าสะพานแบริ่ง (Bearing)

ก็เลยคิดว่ามีคำหลายๆ คำมากที่ผู้ดำเนินรายการข่าวเข้าใจผิด และออกเสียงผิด ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่มีความรู้รอบตัวเอาเสียเลย สักแต่ว่าอ่านจากที่นักข่าวเขียนเรื่องมาให้

ถูก-ผิด แค่ไหน อย่างไร ....??





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 07:31

อีกคำหนึ่งที่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ปีก็ตาม คำนี้ก็ยังใช้ผิดมาตลอด คือ Backhoe (รถแบ๊คโฮว์)  กลายเป็น Macro (รถแม๊คโคร) มาตลอด

คำนี้ที่ออกเสียงผิดมาตลอด คงจะมาจากที่คนงานก่อสร้างได้ยินนายช่างเรียกทับศัพท์ภาษาอังกฤษ ก็มาถอดเสียงตามที่ได้ยินแบบไทยๆ




บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 08:10

คำนี้ผิดมหาอมตะนิรันดร์กาล

footpath - ฟุตบาท = สองบาทา นี่เป็นความผิดเต็ม ๆ ของผู้ใช้ ไม่เกี่ยวกับท่านรอยอิน

คำที่ถูกคือ ฟุตปาธ หรือ บาทวิถี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 10:49

Innovation คือ นวัตกรรม ไม่ต้องมีคำว่าใหม่ต่อท้าย เพราะว่าในคำว่า นวัตกรรม มีคำว่าใหม่อยู่แล้ว นว (ใหม่) + อัตต (ตนเอง) + กรรม (การกระทำ)

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 11:39

ช่วงน้ำท่วม ได้ยินบ่อยมากค่ะ  ยิงฟันยิ้ม
คำว่า สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก ที่นักข่าวใช้กับรถที่สามารถลุยน้ำท่วมได้เวลาเข้าไปทำข่าว

ที่ถูกควรใช้คำว่า สะเทินน้ำสะเทินบก

เพราะคำว่า สะเทิน มีความหมายว่า
 - สะเทิน ๑ ว. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ, กํ้ากึ่ง, เช่น สาวสะเทิน คือ เพิ่งจะขึ้นสาว
 หรือ อยู่ในระหว่างสาวกับเด็กกํ้ากึ่งกัน.
 - สะเทิน ๒ (เคมี) ก. ทำให้เป็นกลาง เช่น สามารถสะเทินด่างได้.
 - สะเทิน ๓ ก. ไหว, โคลง, เช่น ช้างตัวนี้เดินไม่สะเทิน

ส่วนคำว่า สะเทิ้น มีความหมายว่า
 - สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย
 (มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็
 รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย.
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 15:12

stainless steal เหล็กปลอดสนิม
stain - (สะเตน) รอยเปื้อน

มักถูกอ่าน-เรียก-เขียน ผิดเป็น สะแตนเลส อาจเป็นเพราะคนไทยคุ้นกับ stand มากกว่า stain
ที่ถูกต้องจึงควรเป็น สเตนเลส


 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 15:21

อันเนื่องจากในรายการข่าวเรื่องเล่าเช้านี้ของคุณสรยุทธ ฯ เอ่ยถึงสะพานเหล็กชั่วคราว (Bailey bridge) ว่าสะพานแบริ่ง (Bearing)

ก็เลยคิดว่ามีคำหลายๆ คำมากที่ผู้ดำเนินรายการข่าวเข้าใจผิด และออกเสียงผิด ทำให้มีความรู้สึกว่าไม่มีความรู้รอบตัวเอาเสียเลย สักแต่ว่าอ่านจากที่นักข่าวเขียนเรื่องมาให้

ถูก-ผิด แค่ไหน อย่างไร ....??





Bailey bridge เป็นชื่อเรียกสะพานชั่วคราวถูกต้องแล้ว เป็นสะพานที่ก่อสร้างได้รวดเร็ว ซึ่งเป็นการสร้างด้วยโครงเหล็กถัก (Truss) และใช้ระบบหมุด และน๊อต เป็นเครื่องค้ำให้เหล็กอยู่ตัว ซึ่งในด้านวิศวกรรมแล้ว จะคำนึงถึงแรงที่กระทำลงกับโครงสร้าง คือ แรงเฉือน (Shearing Force), แรงดึง, แรงบิด, และแรงกด (Bearing Force).

การคำนวณโครงสร้างเหล็กใช้องค์ปประกอบการคำนวณหลายวิธี ในการให้หมุดและน๊อต พวกนี้รับแรงโครงสร้างและแรงจากการกระทำ เช่น น้ำหนักบรรทุก แรงลม ได้อย่างปลอดภัย.

ในทางวิศวกรรมนั้น Bearing Steel Bridge พบได้เห็นทั่วไปใต้ทางด่วน จะเป็นชุดแผ่นเหล็กสี่เหลี่ยมอยู่ระหว่างตอม่อสะพานกับคานสะพาน เพื่อรับน้ำหนักระหว่างกันและกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 15:27

คำว่า  ประชากร  จากเดิมที่แปลว่า  หมู่คน หมู่พลเมือง
เดี๋ยวนี้สื่อมวลชนเอาไปใช้ในความหมายว่า จำนวน ไปแล้ว
เช่น  ประชากรช้าง  ประชากรนก  เป็นต้น  จากที่ใช้ผิด
พอใช้กันบ่อยเข้าก็จะกลายเป็นใช้ถูกในเวลาต่อไปหรือไม่

ตัวอย่างข่าว

ติวเข้มควาญช้างทั่วไทยที่ลำปาง หวังเพิ่มเพิ่มทักษะ-แก้วิกฤตประชากรช้างลด

ศูนย์ข่าวภาคเหนือ - สถาบันคชบาลฯ เปิดติวเข้มควาญช้างทั่วไทย หวังเพิ่มทักษะการดูแลช้าง ช่วยอนุรักษ์-เพิ่มประชากรช้างไทยในอนาคต หลังยอดประชากรช้างทั่วประเทศลดเหลือแค่ 5,000 เชือกเท่านั้น
      
       นายวรวิทย์ โรจนไพฑูรย์ ผู้อำนวยการสถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เผยว่า ปัจจุบันทั่วประเทศไทยมีจำนวนช้างป่าและช้างเลี้ยง เหลือเพียง 5,000 เชือกเท่านั้น ซึ่งทางสถาบันคชบาลแห่งชาติในพระอุปถัมภ์ฯ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ มองว่าต้องมีการดูแลช้างที่เหลืออย่างดี เพราะช้างเป็นสัตว์ที่ผูกพันกับชีวิตคนไทยมาแต่อดีต
      
       ดังนั้น สถาบันฯ จึงได้จัดโครงการฝึกอบรมควาญช้าง ตามแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยใช้งบอุดหนุนรัฐบาล ประจำปี 2554 ระหว่างวันที่ 14-16 มีนาคม 2554 ณ โรงเรียนฝึกควาญช้างและช้าง สถาบันคชบาลแห่งชาติ อ.ห้างฉัตร จ.ลำปาง ใช้ชื่อโครงการ “ควาญช้างที่ดี รักษาชีวีช้างไทย” เพื่อเป็นการต่อยอดและพัฒนาองค์ความรู้ให้แก่ควาญช้าง ผู้ซึ่งเคยได้รับการฝึกอบรมไปแล้วในเบื้องต้นเมื่อปีที่แล้ว มาพัฒนาในการดูแลอย่างถูกวิธีให้เชี่ยวชาญยิ่งขึ้น ปรากฏว่ามีควาญช้าง ผู้ดูแลช้าง และเจ้าของผู้ประกอบการจากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง กาญจนบุรี พระนครศรีอยุธยา รวมจำนวน 50 คนเข้าร่วมอบรมครั้งนี้
      
       ทั้งนี้ การให้ความรู้แก่ควาญช้างและเจ้าของปางช้าง เพื่อเข้าใจในธรรมชาติของช้างและนำความรู้ที่ได้กลับไปดูแลช้างที่อยู่ในความรับผิดชอบ เพื่อที่จะอนุรักษ์ช้างไทย และหากเป็นไปได้สามารถเพิ่มประชากรช้างไทยที่เหลือให้อยู่คู่ประเทศไทยตราบนานเท่านาน

จาก ASTVผู้จัดการออนไลน์ 14 มีนาคม 2554 15:12 น.

ลองหาดูในเน็ต  มีประชากรอื่นๆ อีกมากมาย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 15:32

คำนี้ผิดมหาอมตะนิรันดร์กาล

footpath - ฟุตบาท = สองบาทา นี่เป็นความผิดเต็ม ๆ ของผู้ใช้ ไม่เกี่ยวกับท่านรอยอิน

คำที่ถูกคือ ฟุตปาธ หรือ บาทวิถี

 ยิงฟันยิ้ม

จะใช้ว่า  ทางเท้า  หรือ ทางเดินเท้า  ก็น่าจะได้
เพราะ  path ถ้าเทียบกับคำในภาษาบาลีสันสกฤต 
ก็น่าจะตรงหรือใกล้เคียงกับคำว่า ปถ หรือ บถ แปลว่า ทาง  เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 15:40

คำว่า  เรี่ยไร กับ เรี่ยราย

คนอ่านข่าวมักออกเสียงเป็นเรี่ยรายทั้งสองคำ 
เรี่ยราย หมายถึง กระจัดกระจายไปตามพื้น
แต่ เรี่ยไร หมายถึง การขอให้ช่วยกันบริจาคเงินทำบุญตามสมัครใจ

ถ้าอ่านออกเสียงว่า  ท่านขอเรี่ยรายเงินสำหรับสร้างศาลาการเปรียญ
แสดงว่า  ท่านกำลังขออนุญาตโปรยหว่านเงิน ไม่ใช่ ขอรับบริจาคเงิน
ถ้าเกรงว่าจะอ่านออกเสียงพลาด  ก็น่าจะเลี่ยงไปใช้คำว่า
ขอรับบริจาค...แทนจะดีกว่า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 15:54

ปัจจุบันนี้หัวข้อข่าวหน้าหนังสือพิมพ์ ก็มักจะใช้คำไทย ปนคำภาษาอังกฤษ ทับศัพท์กันไป

- หนุ่มไฮโซ
- ดินสไลด์
- แก๊งแว้น
- ดาบฮีโร่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 16:01

คำว่า  ประชากร  จากเดิมที่แปลว่า  หมู่คน หมู่พลเมือง
เดี๋ยวนี้สื่อมวลชนเอาไปใช้ในความหมายว่า จำนวน ไปแล้ว
เช่น  ประชากรช้าง  ประชากรนก  เป็นต้น  จากที่ใช้ผิด
พอใช้กันบ่อยเข้าก็จะกลายเป็นใช้ถูกในเวลาต่อไปหรือไม่

ความหมายจากรอยอิน

ประชากร น. หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับจํานวน).

ถ้าคำนึงถึงต้นศัพท์ภาษาอังกฤษ population ดูจะแคบไปหน่อย

ตัวอย่างที่คุณหลวงยกมา คงไม่ถึงกับผิด

 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 16:32

ความหมายจากรอยอิน

ประชากร น. หมู่คน, หมู่พลเมือง (เกี่ยวกับจํานวน).

ถ้าคำนึงถึงต้นศัพท์ภาษาอังกฤษ population ดูจะแคบไปหน่อย

ตัวอย่างที่คุณหลวงยกมา คงไม่ถึงกับผิด

 ยิ้มกว้างๆ

ผิดสิครับ  เพราะความหมายไทยนั้น  มุ่งใช้เฉพาะคนอย่างเดียว
ที่ราชบัณฑิตวงเล็บไว้ว่า เกี่ยวกับจำนวน นั้น  ท่านหมายเอาว่า
จะใช้คำว่าประชากรในแง่ของการระบุจำนวนคนในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง
หรือระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง

ถ้าจะใช้ในความหมายว่า จำนวน  ก็ควรใช้ว่า จำนวน หรือ ปริมาณ
ระบุลงไป  หรือถ้าจะไม่ใช้ก็ได้   

จริงอยู่ว่า  คำว่า ประชากร  เป็นคำศัพท์ที่บัญญัติขึ้นใช้แทนคำภาษาอังกฤษ
แต่ต้องดูด้วยว่าเมื่อแรกบัญญัติศัพท์นี้  ท่านมุ่งใช้แค่ความหมายใดของคำว่าpopulation หรือว่าใช้เท่ากับความหมายของคำว่า population ทั้งหมด
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 05 ม.ค. 12, 16:48

อาจารย์กาญจนา นาคสกุล ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวรรณศิลป์ สาขาภาษาไทย อธิบายคำว่า ประชากร ไว้ดังนี้

ประชากร หมายถึง คนโดยทั่วไป แต่มักใช้ในกรณีที่จะพิจารณาถึงจำนวน คือจำนวนคนของประเทศหรือของโลก เช่น กระทรวงมหาดไทยกำลังดำเนินการสำรวจสำมะโนประชากรทั่วประเทศ มีการทำนายว่าประชากรของโลกจะเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าภายในระยะเวลา ๑๐ ปีนี้ ในทางสถิติ มีการใช้คำว่า ประชากร หมายถึงจำนวนของสัตว์ หรือสิ่งที่สำรวจที่พิจารณาด้วย เช่น ในจังหวัดนครปฐมมีประชากรหมูมากกว่าสัตว์เลี้ยงอื่น ๆ ในช่วง ๑๐ ปีที่ผ่านมานี้ประชากรควายทั่วประเทศลดลงอย่างน่าใจหาย

จาก นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๔๘๒ ปีที่ ๔๘ ประจำวันอังคารที่ ๑๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 06 ม.ค. 12, 08:55

การกล่าวลักษณะนามของพระพุทธรูปกับพระสงฆ์

กล่าวถึงพระพุทธรูปเป็นองค์น่ะ ถูกต้อง

แต่กล่าวถึงพระภิกษุนี่ จะใช้ลักษณะนามเป็น องค์ หรือ รูป  หรือตามแต่เหตุการณ์?
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.041 วินาที กับ 20 คำสั่ง