
ดีนะที่ยังไม่ค่อยได้ยินคำว่า "ภัยฝน"
ภัย มาจากคำภาษาบาลีสันสกฤตว่า ภย (อ่านว่า พะ -ยะ) แปลว่า ความกลัว, สิ่งที่น่ากลัว, สิ่งที่ทำให้กลัว. ในภาษาไทยใช้หมายถึง สิ่งที่ทำให้คนได้รับความเดือดร้อน อันตราย หรือบาดเจ็บล้มตาย เช่น โรคภัย คือภัยที่เกิดจากโรคร้าย. อัคคีภัย คือภัยที่เกิดจากไฟไหม้. อุทกภัย คือภัยที่เกิดจากน้ำท่วม. ภัยทำให้ผู้คนประสบความทุกข์ยาก ลำบาก หรือสิ้นชีวิต. มักเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิดมาก่อน. ในประเทศไทย เมื่อถึงเดือนพฤศจิกายน ธันวาคม จนถึงมกราคม อากาศจะหนาวเย็นมาก โดยเฉพาะในภาคเหนือและภาคอีสาน อากาศหนาวเช่นนี้เกิดขึ้นทุกปีเป็นสภาวะของอากาศประจำท้องถิ่นในฤดูหนาว ไม่ใช่ภัยอันตราย เพราะเป็นสภาพอากาศปรกติที่เกิดอยู่ประจำ อากาศหนาวในประเทศไทยเป็นสิ่งปรกติที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติเป็นประจำทุกปี จึงไม่ควรเรียกว่า
ภัยหนาวที่มา : บทวิทยุรายการ "รู้ รัก ภาษาไทย" ออกอากาศทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๕ เวลา ๗.๐๐-๗.๓๐ น.ภัยอันตรายหมายถึง สิ่งที่น่ากลัวอันเป็นเหตุให้ถึงแก่ความตายหรือพินาศ มี 10 อย่าง
๑. ราชภัย คือ ภัยจากทางราชการ
๒. โจรภัย คือภัยจากโจรผู้ร้าย
๓. อัคคีภัย คือภัยที่เกิดแต่ไฟ
๔. วาตภัย คือภัยที่เกิดแต่ลม
๕. อุทกภัย คือภัยที่เกิดแต่น้ำ
๖. วิวาทภัย คือ ภัยที่เกิดจากการทะเลาะวิวาท
๗. โรคภัย คือภัยที่เกิดจากโรคต่างๆ
๘. อุปัตติภัย คือ ภัยที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าปัจจุบันทันด่วน
๙. ทุพภิกขภัย คือภัยที่เกิดจากข้าวยากหมากแพง
๑๐. วินาศภัย คือ ภัยอันทำให้พินาศฉิบหายอย่างใหญ่หลวง
ส่วนภัยที่เกิดจากฤดูกาลถ้เป็นปกติ ที่ไม่ถึงเป็นเหตุให้เกิดการล้มตายหรือเสียอย่างใหญ่หลวง สำหรับผมไม่เห็นด้วยที่จะมาใช้คำว่า "ภัย" คงเป็นแค่ภาวะ.....
