เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 14702 ตั้งชื่อ
นิรันดร์ เจริญกูล niran@mut.ac.th
บุคคลทั่วไป
 เมื่อ 14 ส.ค. 01, 07:22

ได้ยินมาว่า
การตั้งชื่อ ในปัจจุบันนี้ จะต้องมีความหมายตรงตามพจนานุกรม
ถ้าเป็นชื่อที่ไม่มีความหมาย เจ้าพนักงานจะไม่รับจดทะเบียน

จริงเท็จประการไรใครทราบบ้าง
เป็นกฎหมายหรือเปล่า

ถ้าเป็นกฎหมายจริงก็น่าจะขัดกับรัฐธรรมนูญที่ไรริดรอนเสรีภาพของคน

ใครทราบกรุณาบอกทีครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 17 เม.ย. 01, 14:50

เคยเจอมาค่ะ   นานหลายปีแล้ว
เขาถามความหมาย เมื่อตอบได้    เขาก็กลับบอกว่าไม่ยอมรับเพราะไม่มีในพจนานุกรม  
ดิฉันไปร้องเรียนกับหัวหน้าเขต    เขายอมก็เลยผ่านได้

รศ.เสฐียรพงษ์ วรรณปก   ราชบัณฑิต เคยตั้งชื่อเด็กแล้วเจ้าหน้าที่อำเภอไม่ยอมให้ตั้งเพราะไม่มีคำนี้ในพจนานุกรม
เนื่องจากมันเป็นคำสมาส  มีศัพท์ ๒ คำรวมกันก็มี  แผลงศัพท์ก็มี    เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวไม่มีความรู้ขนาดนั้น เลยไม่ยอม
อาจารย์เลยประกาศลงน.ส.พ. ว่าใครมีปัญหาท่านจะทำหนังสือรับรองชื่อไปให้
บันทึกการเข้า
นิรันดร์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 17 เม.ย. 01, 15:47

ที่ผมสงสัยก็คือ
ก็มันเป็นชื่อเฉพาะของเรา หมายถึงเรา แล้วทำไมต้องให้มีในพจนานุกรมด้วย
กฎหมายอะไรบังคับไว้ครับ
อย่างนี้ คนชื่อ จอห์น มาจากต่างประเทศ
ถ้ามาจดทะเบียนเป็นคนไทย ต้องตั้งชื่อใหม่ด้วยหรือไม่ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 17 เม.ย. 01, 16:40

เท่าที่ทราบ มีกฎระเบียบอะไรสักอย่างระบุไว้ค่ะ น่าจะเป็นพ.ร.บ. นี่แหละ

ถ้านายจอห์นคนนั้นจะมาถือสัญชาติไทย ก็ต้องมีชื่อไทยด้วยนะคะ
 อย่างคนจีนที่มาถือสัญชาติไทยก็ต้องมีชื่อนามสกุลไทยเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
อะแฮ่ม
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 18 เม.ย. 01, 11:30

เท่าที่ทราบ คุณต้องให้ความหมายหรือคำแปลของชื่อที่คุณตั้งได้
แต่เจ้าพนักงารที่รับจดนั้น ท่านชอบตั้งตัวเองเป็นผู้พิพากษาซะเอง
ก็เป็นซะอย่างเงี้ย ..
บันทึกการเข้า
นนทิรา
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 18 เม.ย. 01, 12:35

อันนี้แล้วแต่เจ้าพนักงานที่รับจดจริงๆค่ะ ว่าอยากใช้อำนาจของตนแค่ไหน ดิฉันแจ้งเกิดทำสูติบัตรของลูกที่สถานทูตไทยในต่างประเทศ (ลูกไม่ได้เกิดที่เมืองไทย) เจ้าพนักงานไม่ได้ถามไถ่วุ่นวายมาก ว่ามีความหมายหรือไม่อย่างไร ตั้งชื่ออะไรไปก็จดให้อย่างนั้น มีเด็กบางคนที่มีพ่อหรือแม่เป็นชาวต่างชาติ ก็แจ้งจดทะเบียนชื่อและ/หรือชื่อสกุลเป็นภาษาต่างชาติได้ด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
ภูมิ
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 18 เม.ย. 01, 17:38

น่าจะเป็นอย่างความเห็นที่๔,๕ นะครับ
เพราะชื่อที่ไม่มีอยู่ในพจนานุกรมก็มาก เห็นกันเกร่อ
นอกนั้น ศัพย์ในพจนานุกรมยังน้อยอยู่ ไม่หมดทุกคําในภาษาไทยหรอก (ผมว่า)
บันทึกการเข้า
จมื่นฌองฌาค ล่ามโซ่
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 เม.ย. 01, 01:38

แล้วคนไทยที่มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษ ก็มีเหมือนกันมิใช่หรือครับ ในวงสังคมน่ะครับ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 เม.ย. 01, 03:24

เรื่องนี้ผมยังไม่เห็นระเบียบที่เกี่ยวข้อง คงต้องขอไปดูก่อน แต่เข้าใจว่ามีกฏระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนดอยู่จริงๆ ครับไม่ใช่ว่า ตั้งอะไรก็ตั้งได้

ถ้าจำไม่ผิด ดูเหมือนจะกำหนดให้ชื่อนั้นต้องมีความหมาย ไม่ใช่ตั้งส่งเดช อันนี้ก็พอเข้าใจเหตุผลของคนกำหนดระเบียบ คงไม่อยากให้มีชื่อที่ประหลาดๆ ในเมืองไทยมากเกินไป อย่าง XXL ยังงี้คงเป็นชื่อคนไม่ได้ C-3PO ก็คงไม่ให้เป็นชื่อคนไทย หรือแม้แต่ "นายเลากะงังฆ์" ถ้ามีตัวจริง เข้าใจว่าพนักงานอำเภอก็คงจะไม่ยอมรับจดทะเบียนชื่อให้เหมือนกัน แต่ที่ว่า ชื่อต้องมีความหมาย นั้น ในทางปฏิบัติคืออย่างไร เมื่อตัวพนักงานเองไม่รู้ก็ต้องอาศัยพจนานุกรม จึงเกิดเป็นแนวปฏิบัติว่า ต้องเป็นความหมายที่มีในพจนานุกรม อันนั้นผมเข้าใจว่าเพิ่มเติมเข้ามาไม่ได้อยู่ในกฏระเบียบจริงๆ เพราะถ้าเถียงกันยันกันว่ามีความหมายอธิบายได้ ในที่สุดอำเภอก็ยอม แปลว่าไม่ได้อยู่ในตัวกฏ เป็นแค่แนวปฏิบัติ

ที่ว่าชื่อต้องมีความหมายนั้น ผมไม่แน่ใจนักว่า ต้องเป็นความหมายในภาษาไทยเสมอไป เพราะผมเข้าใจว่าคำที่มีความหมาย แต่เป็นภาษาต่างประเทศ เจ้าพนักงานก็เคยยอมรับจดให้ เช่นกรณีคนจีนที่คุณเทาว่ามาเป็นต้น หรือชาวไทยภูเขาเผ่าต่างๆ หรือชาวไทยมุสลิมที่พูดภาษายาวีทางใต้ ชื่อในบัตรประจำตัวก็มีความหมายเป็นภาษาของเขาแม้จะไม่มีความหมายแปลได้ในภาษาไทย

สมมติว่าผมเกิดไปรักสาวมุสลิมแล้วอยากจะเปลี่ยนชื่อตัวเองเป็นมุสตาฟา (ซึ่งเป็นภาษาอาหรับ) ถ้าผมไปยื่นคำร้องที่ภาคใต้คงไม่มีปัญหา แต่ถ้าผมยื่นคำร้องที่กรุงเทพฯ บางเขต กับเจ้าหน้าที่บางคน อาจจะมีปัญหาเพราะมุสตาฟาคงไม่อยู่ในพจนานุกรม

แม้แต่ จอห์น ก็มีความหมายของเขาในภาษาเดิม (ซึ่งอย่าว่าแต่คนไทยเลย ฝรั่งส่วนมากก็ไม่รู้ ผมเคยอ่านผ่านๆ แต่ก็ลืมไปแล้ว ไม่รู้เหมือนกันว่าแปลว่าอะไร)

แต่ที่คุณล่ามโซ่ว่ามานั้น ต้องแยก ผมเข้าใจว่าในบางกรณี ชื่อที่คนไทยบางคนใช้ในวงสังคมเป็นคนละชื่อกับชื่อตามบัตรประชาชน บางที คนที่ดังๆ ในสังคมไทยบางคนที่เรานึกว่าเป็นคนไทยแล้ว โดยกฏหมายยังไม่ได้สัญชาติไทย แต่ก็คงจะมีบ้างหรอกกรณีที่คนไทย มีชื่อในบัตรประชาชนเป็นภาษาฝรั่งจริงๆ ตามที่คุณล่ามโซ่ว่า อันนี้ไม่ทราบแน่ชัดครับว่าระเบียบห้ามภาษาฝรั่งไว้หรือเปล่า ถ้าห้าม (โดยระเบียบหรือโดยทางปฏิบัติก็ตาม) ก็น่าสงสัยว่าแล้วทำไมชื่อภาษายาวี ภาษาเย้า แม้ว (ซึ่งอิงๆ กับภาษาจีน) ไม่ต้องห้ามด้วย

แต่นั่นเรื่องกฏหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งผมเชื่อว่ามีอยู่จริงๆ และพอจะเข้าใจเหตุผลของผู้ออกกฏได้อย่างว่า ว่าไม่อยากให้เลอะเทอะแต่ส่วนเรื่องที่ว่า มันขัดกับสิทธิเสรีภาพหรือไม่นั้น เป็นการมองอีกมุมครับ ใจผม ผมมีความเห็นส่วนตัวว่า ใครอยากชื่ออะไรก็น่าจะชื่อได้ ถ้าไม่ประหลาดเสียจนเขียนไม่ถูก (อันจะเป็นการยากในการทำงานด้านทะเบียนราษฎร์) แต่ในเมื่อระเบียบเขากำหนดมาเสียอย่างนี้แล้ว (ตอนกำหนดระเบียบเขาไม่ได้มาถามผม) ก็คิดว่าเข้าใจเหตุผลของเขาได้ วิชากฏหมายเบื้องต้นทีลืมไปแล้วบอกว่า ความผิดตามกฏหมายมี 2 อย่าง อย่างหนึ่งคือผิดที่เป็นผิดจริงๆ เช่น ฆ่าคน กฏหมายกำหนดไว้ว่าผิด อีกอย่างเป็นอะไรที่กฏหมายกำหนดระเบียบขึ้นมาเพือความเรียบร้อยในสังคม ไม่ได้ผิดในตัวเอง แต่เมื่อระเบียบเขาว่างั้นก็ว่างั้น เช่น กำหนดให้ตรงนี้ห้ามจอด กำหนดให้เดินรถชิดซ้าย ข้ามประเทศไปกำหนดใหม้ให้เดินรถชิดขวาแทน ไปชิดซ้ายเข้าก็ผิด ยังงี้ เรื่องชื่อก็เป็นระเบียบอย่างหลังครับ ในแง่หลักจริงๆ ผมก็ยังเห็นอยู่ว่า จะชื่ออะไรก็ได้ไม่เห็นจะผิดเลย แต่เพื่อความเรียบร้อยขึ้นมาหน่อยของสังคม เขาเลยพยายามกำหนดระเบียบไว้ครับ

แต่เรื่องการเอาระเบียบไปใช้นี่ บางทีต้องปรับปรุง เพราะยังมีการลักลั่นในการบังคับใช้อยู่ว่าขึ้นกับพนักงานเป็นคนๆ ไป บางทีก็ขึ้นอยู่กับความรู้ของเจ้าหน้าที่เสียอีก
บันทึกการเข้า
เปี้ยว
พาลี
****
ตอบ: 321

วิชาการ.คอม, อาจารย์ภาคฟิสิกส์ มหิดล


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ส.ค. 01, 19:22

ผู้สื่อข่าวรายงานจากศาลาว่าการ กทม. ว่า จากสถิติกองปกครองและทะเบียนได้ บันทึกการขอเปลี่ยนชื่อ ชื่อสกุลและชื่อรองตลอดปี 2543 พบว่า มีผู้มาใช้บริการตามสำนักงานเขตต่างๆ รวมทั้งสิ้น 59,975 ราย ซึ่งในจำนวนนี้ มีคนไทยนิยมเปลี่ยนชื่อตัวมาก โดยมีมากถึง 54,703 ราย หรือเฉลี่ยเดือนละ 4,588 ราย สาเหตุการเปลี่ยนชื่อมาจาก 3 สาเหตุ คือ 1. หมอดูหรือพระทัก 2. ชื่อเดิมเชยหรือไม่ทันสมัย และ 3. เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งสาเหตุการเปลี่ยนชื่อในข้อ 1 และ 3 มาจากความเชื่อของคนไทยว่าการเปลี่ยนชื่อจะทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้นรวมทั้งมีสุขภาพแข็งแรง ส่วนผู้ที่มีชื่อตัวไม่ทันสมัย เช่น สมชาย บุญส่งบุญมี สมใจ สมศรี วิไล เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชื่อตัวที่นิยมตั้งกันมากเมื่อ 40-50 ปี โดยผู้ที่มีชื่อส่วนใหญ่เหล่านี้มักจะอยู่ในวัยกลางคน ทั้งนี้จากการสุ่มผู้ที่มีชื่อสกุลที่มีมากที่สุดในประเทศได้แก่ ชื่อสมชาย แซ่ตั้ง ซึ่งมีคนที่ชื่อสกุลและตัวสะกดการันต์เหมือนกันมากถึง 179 ราย ขณะที่ผู้ที่มีชื่อเสนาะ เทียนทอง มีมากถึง 8 คน และธงชัย ณ นคร ก็มีจำนวน 8 คน เช่นเดียวกัน

ผู้สื่อข่าวรายงานด้วยว่า สำหรับชื่อตัวที่นิยมเปลี่ยนกันนั้นส่วนใหญ่เป็นชื่อที่พระตั้งให้ แต่บางคนอาจจะเปิดหนังสือดูเองไม่ให้มีตัวอักษรหรือสระที่เป็นกาลกิณีกับวันที่เกิดก็เลือกชื่อที่เห็นว่าไพเราะ สั้น และมีความหมายมาเปลี่ยนเป็นชื่อตัว แต่ปัจจุบันนี้ ไม่ค่อยมีผู้นำชื่อดาราที่กำลังดังมาตั้งเป็นชื่อตนเหมือนเมื่อก่อน อย่างไรก็ตาม จากสถิติของผู้ที่มายื่นคำขอเปลี่ยนชื่อที่ฝ่ายทะเบียน มักจะนิยมใช้ตัวอักษรที่ไม่ค่อยใช้กัน อาจเป็นเพราะทำให้ดูแปลกและไม่เหมือนใคร เช่น ฎ ฏ ธ ฐ ฤ โดยจากการสุ่มดูชื่อผู้ชายผู้หญิงที่มาเปลี่ยนชื่อจะเปลี่ยนเป็นชื่อ 1-3 พยางค์ ชื่อผู้ชาย เช่น กฤษณ์ รุจน์ ณัฐ ชวิน ศศิณ ชนินทร ฐานวัฒน์ ส่วนชื่อผู้หญิง เช่น ญฏา ชลัฎ พิมพ์ลภัส ชฏาภา เป็นต้น

จากข่าวไทยรัฐ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง