เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
เชิญรวบรวมสำนวนจากอาหาร ไม่ว่าเนื้อสัตว์ พืชผัก ผลไม้ ขนม ของคาว ของหวาน ฯลฯ ทั้งในภาษาไทยและภาษาอื่นๆ มาลงในกระทู้นี้ค่ะ ขอเริ่มด้วยสำนวนในภาษาอังกฤษ
ถ้าเห็นคำเปรียบเทียบว่า แอปเปิ้ลแห่งดวงตา หรือ apple of one's eye (his eye, her eye) ไม่เติม s หลังคำว่า eye นะคะ ขอให้รู้ว่า ใครก็ตามที่เราเรียกว่าแอปเปิ้ลแห่งดวงตา คือคนซึ่งเป็นที่รักอย่างยิ่ง ตรงกับภาษาไทยเรียกว่า เป็นแก้วตาของเขา (หรือเธอ)
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 01 ม.ค. 12, 21:36
|
|
bad apple หรือ rotten apple หรือแอปเปิ้ลเน่า หมายถึงคนทำชั่ว ที่ทำให้คนใกล้ๆพลอยเสียชื่อไปด้วย ฝรั่งบอกว่าแอปเปิ้ลเน่าผลเดียวก็ทำให้แอปเปิ้ลอื่นๆในลังพลอยเน่าไปด้วย ไทยมีสำนวนว่า ปลาเน่าตัวเดียวก็ทำให้ปลาอื่นๆเน่าไปทั้งข้อง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 01 ม.ค. 12, 21:40
|
|
bring home the bacon = เอาหมูเบคอนกลับมาบ้าน หมายถึงหาเลี้ยงชีพ หรือหาใส่ปากใส่ท้อง ค่ะ
big cheese = เนยแข็งชิ้นใหญ่ แปลว่า เป็นคนสำคัญ เป็นวีไอพี อยู่ในที่ทำงาน หรือในแวดวงของเขา
bad egg = ไข่เน่า แปลว่า คนชั่ว คนเลว คนประเภทที่เราไม่ควรเข้าไปยุ่งด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 01 ม.ค. 12, 21:49
|
|
(to) butter up = ประจบประแจง เลียแข้งเลียขา สมัยนี้เรียกว่าชเลียร์
carrot and stick = ให้ทั้งแครอท และไม้เรียว คือทั้งปลอบทั้งขู่ไปพร้อมๆกัน คล้ายๆไทยเรียกว่า ตบหัวแล้วลูบหลัง ก็คงจะได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 01 ม.ค. 12, 22:56
|
|
สำนวนไทย นะคะ  - องุ่นเปรี้ยว มะนาวหวาน - น้ำพริกถ้วยเก่า - เกลียดตัวกิน ไข่ เกลียด ปลาไหลกินน้ำแกง - ผักชีโรยหน้า - ตำ น้ำพริกละลายแม่น้ำ - กว่า ถั่วจะสุก งาก็ไหม้ - พูดจา มะนาวไม่มีน้ำ - จงรักษาความดี ดุจ เกลือรักษาความเค็ม - ละเลง ขนมเบื้องด้วยปาก - ไก่แก่ แม่ ปลาช่อน- ขมิ้นกับปูน - ขิงก็รา ข่าก็แรง - ข้าวยาก หมากแพง - ขนมพอสมกับ น้ำยา- ไม่มี น้ำยา- จืดชืดเป็น น้ำยาเย็น - หุง ข้าว ประชดหมา ย่าง ปลา ประชดแมว - ฝาก ปลาย่าง ไว้กับแมว - หมาหวง ก้าง- หัวเดียว กระเทียมลีบ - เล็ก พริกขี้หนู- แล่ เนื้อเอา เกลือทา - มะพร้าวตื่นดก ยาจกตื่นมี - เอา มะพร้าวห้าว ไปขายสวน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 01 ม.ค. 12, 23:21
|
|
- มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก - มดแดงแฝงพวงมะม่วง - ยกมือ เป็นฝักถั่ว - เอาพิมเสนไปแลกับเกลือ - ปลาหมอตายเพราะปาก - ปลาใหญ่กินปลาเล็ก - ง่ายเหมือน ปอกกล้วยเข้าปาก - ปลากระดี่ได้น้ำ - ปากยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม - น้ำท่วมทุ่ง ผักบุ้งโหลงเหลง - น้ำตาลใกล้มด - น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา - น้ำร้อนปลาเป็น น้ำเย็นปลาตาย - เนื้อเข้าปากเสือ - เนื้อไม่ได้กิน หนังไม่ได้รองนั่ง เอากระดูกแขวงคอ - หนูตกถังข้าวสาร - ตำข้าวสารกรอกหม้อ - ต่อหน้ามะพลับ ลับหลังตะโก - ตาโตเท่าไข่ห่าน - ตาเป็นสับปะรด - แม่แตงร่มใบ - ถึงพริกถึงขิง - ตืดเป็นตังเม - อัฐยายซื้อขนมยาย - อ้อยเข้าปากช้าง - สมภารกินไก่วัด - เกลือเป็นหนอน - ข้าวใหม่ ปลามัน - น้ำผึ้งหยดเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 02 ม.ค. 12, 10:41
|
|
หมูเขาจะหาม เอาคานเข้ามาสอด หน้าเนื้อ ใจเสือ
กลับมาที่สำนวนภาษาอังกฤษ eat crow กินอีกา หรือปัจจุบันเพิ่มเป็น eat boiled crow (กินอีกาต้มสุกแล้ว) สำนวนไทยใช้ว่า กลืนเลือด = กล้ำกลืนยอมรับความผิดพลาด หรือความพ่ายแพ้ของตัวเอง สำนวนนี่เป็นของอเมริกัน ส่วนสำนวนอังกฤษที่ความหมายคล้ายกันคือ eat humble pie = กินขนมพายราคาถูก พายชนิดนี้มักยัดไส้ด้วยเครื่องในสัตว์ ซึ่งฝรั่งถือเป็นของกินชั้นเลวราคาถูก
แต่ eat humble pie มีความหมายออกไปในทางยอมรับโดยดุษณียภาพ แต่กินอีกาอย่างความหมายแรก ออกจะกล้ำกลืนฝืนทน จำใจรับมากกว่า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 02 ม.ค. 12, 10:56
|
|
finger in the pie เอานิ้วจิ้มในขนมพาย = มีส่วนได้ส่วนเสีย full of beans เต็มไปด้วยถั่ว = เต็มไปด้วยชีวิตชีวา ตื่นตัว กระชุ่มกระชวย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 02 ม.ค. 12, 20:08
|
|
my cup of tea = สิ่งที่ฉันถนัด สิ่งทีฉันทำได้ดี A piece of cake = มันง่ายมาก ทำนองเดียวกับ ปอกกล้วยเข้าปาก It’s as easy as pie = มันง่ายเหมือนขนมพายเลยทีเดียว ก็ทำนองเดียวกับ ปอกกล้วยเข้าปาก pie-eyed = เมาจนตาเยิ้ม A big cheese = บุคคลสำคัญ ผู้นำ นิยมใช้ในความหมายทางธุรกิจ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
:D :D
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 02 ม.ค. 12, 20:17
|
|
chalk to cheese = ต่างกันราวฟ้ากับเหว put all one's eggs in one basket = ทุ่มสุดตัว เกหมดหน้าตัก Cream of the crop = พวกหัวกะทิ กลุ่มคนเก่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 03 ม.ค. 12, 13:09
|
|
hot potato มันฝรั่งร้อน = หัวข้อปัญหาที่ยังตกลงกันไม่ได้ หรือกำลังเถียงกันดุเดือด สื่อไทยใช้คำว่า เผือกร้อน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 03 ม.ค. 12, 13:12
|
|
in the soup ในซุป = ตกที่นั่งลำบาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 03 ม.ค. 12, 21:06
|
|
คุณดีดี บอกมาเต็มพิกัด  - มะกอกสามตะกร้าปาไม่ถูก - อ้วนเป็นกระปุก ตังฉ่าย  - ทำตัวเป็น ปลาทู หน้างอ คอหัก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 04 ม.ค. 12, 12:14
|
|
เกลือจิ้มเกลือ ฝรั่งก็มีสำนวนเกลือเหมือนกัน worth one’s salt = คุ้มค่าเกลือ แปลว่า ทำงานคุ้มค่าจ้าง ค่ะ take with a grain of salt = เชื่อครึ่งเดียว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 04 ม.ค. 12, 14:55
|
|
take something with a pinch of salt / a grain of salt = ฟังหูไว้หู 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|