เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 6021 ศาลเจ้าจีนหลังน้อยในวัดโพธิ์
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 00:09

มีรุ่นพี่ท่านหนึ่งได้ไปเที่ยววัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม แล้วถ่ายรูปภายในวิหารทางทิศเหนือมาให้ข้าพเจ้าดู โดยบริเวณหน้าพระป่าเลไลยก์มีศาลาจีนหลังน้อยหน้าตาเหมือนพระภูมิจีนเป็นทีสุด ด้านหน้ามีการแกะสลักป้ายเล็กๆ

จากรูปดังกล่าว ถ้าให้ข้าพเจ้าเดา ข้าพเจ้าคิดว่าเทวรูปน้อยที่อยู่ในศาลน่าจะเป็นรูปของเจ้าที่ปุ่นเถากง หรือภาษาจีนกลางเรียกว่า เปิ่นโถ่วกง (本头公:ben tou gong) ซึ่งเป็นที่นับถือกันในหมู่ชาวจีนโพ้นทะเลของเอเขียตะวันออกเฉียงใต้

ตำนานของเทพปุนเถากงมีหลายตำนาน เท่าที่ข้าพเจ้าค้นเจอในจีน เป็นหนึ่งในนายทหารชาวฮกเกี้ยนที่มากับเรือมหาสมบัติของเจิ้งเหอ ภายหลังเมื่อเรือได้เทียบท่าในเกาะซูลูของฟิลิปปินส์ ท่านได้รับคำเชิญจากชาวพื้นเมืองให้มาอยู่ ภายหลังท่านจึงได้ตั้งรกรากอยู่ที่นั้นสืบไปและกลายเป็นเจ้าเมือง เมื่อถึงแก่กรรมศพของท่านได้ฟังอยู่ที่ฟิลิปินส์สืบมาจนทุกวันนี้

ข้อมูลมาจากแหล่งต่อไปนี้

http://www.gg-art.com/viewNews/index.php?newsid=3414

http://zhidao.baidu.com/question/116704327.html


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 00:28

อย่างไรก็ตามในประเทศไทย ตำนานจะต่างออกไปโดยกล่าวว่าเป็นเจ้าเมืองครั้งราชวงศ์ถังครองเมือง “โกเพ้ง” บุตรหลานที่สืบตระกูลต่อมา ได้เป็นเจ้าเมืองในแถบกวางตุ้งและฮกเกี้ยน เนื่องด้วยคุณงามความดีของท่านทำให้คนนับถือ และสร้างศาลบูชา

ข้อมูลนี้  ข้าพเจ้าคัดมาจากเว็ปไซด์

http://www.somboon.info/wizContent.asp?wizConID=29&txtmMenu_ID=7

อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าขอละประวัติของเทพปุ่นเถากงไว้ แต่ขอเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการแกะสลักหินเป็นศาลาจีนหลังน้อย จากลักษณะปลายหลังคาโค้งงอนถึงเพียงนี้ และปลายชายคามีการประดับลายปูนปั้นขนาดนั้น ข้าพเจ้าคิดว่าเป็นลักษณะสถาปัตยกรรมตระกูลหมินหนาน (闽南)

ภาพหลังคาแบบหมินหนาน

ที่มาของรูป

http://www.nipic.com/show/1/49/3607541k595be532.html

http://www.nipic.com/show/1/49/3603017kebeaf77c.html

http://www.nipic.com/show/1/49/3603055kebbce6f2.html




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 00:31

หากพิจารณาอักษรที่เขียนประดับหน้าศาล อักษรจะเป็นอักษรจีน เขียนบนบ้านสามป้าย ทั้งนี้การอ่านหนังสือจีนโบราณจะอ่านจากขวามือมาด้านซ้ายมือ หากเราหันหน้าเข้าหารูป ป้ายที่อยู่ด้านขวาของเรากับป้ายทางด้านซ้ายจะเป็นคำสุภาษิตจีนหนึ่งสุภาษิต คือ “เฟิงเทียวหยู่ซุน” ( 风调雨顺:feng tiao yu shun) แปลว่า ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล

ส่วนตรงกลาง จะเป็นสุภาษิตอีกบท อ่านว่า “กั๋วไท่หมินอัน” (国泰民安: guo tai min an) แปลว่า ประเทศสงบสุข ประชาชนเกษมสันต์

การที่ตั้งศาลแห่งนี้ไว้ตรงนี้ ข้าพเจ้าไม่แน่ใจว่าจะเป็นแนวคิดเดียวกับการตั้งพระภูมิจีนในไทยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม จุดประสงค์น่าจะเพื่อนคุ้มครองสถานที่ และเพื่ออวยพรประเทศชาติและประชาชนให้มีความสุขความเจริญ ฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาล

ขอให้ทุกท่านมีความสุขเนื่องในโอกาสส่งท้ายปีเก่าต้อนรับวันปีใหม่


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 09:47

ทั้งนั้นทั้งนี้ ขออวยพรปีใหม่ และส่งท้ายปีเก่าให้ทุกๆท่าน

恭贺新禧,祝身体健康、事业发达。

(Gong he xin xi, zhu shen ti jian kang, shi ye fa da)

Allow me to congratulate you on the arrival of the New Year and to extend to you all my best wishes for your perfect health and lasting prosperity.

ปีใหม่ชีพใสสดชื่น        
เกษมสันต์เริงรื่น
ให้อยู่สุขทุกทิวา

กายาแข็งแรงหนักหนา              
ปราศจากโรคา
พยาธิไซร้ไป่มี
   
กิจการงานจงทวี      
เจริญด้วยทรัพย์ศรี
บ่รู้ร้าย ฤ กลายเอย

(ฉบัง ๑๖)
บันทึกการเข้า
ติบอ
นิลพัท
*******
ตอบ: 1906


Smile though your heart is aching.


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 27 ม.ค. 12, 00:50




ถ่ายภาพปลายหลังคาที่เคยประดับอยู่บนปราสาท Edo มาก่อน
มาฝากคุณ han_bing ได้หลายวันแล้ว (ตั้งแต่ต้นเดือน)

แต่ด้วยผมยังยุ่งๆอยู่ไม่น้อย เลยหาเวลาแต่งภาพ + โพสต์ภาพให้ชมไม่ได้เสียที
วันนี้ได้ฤกษ์ดีหลังปีใหม่ ขับไล่ปิศาจขี้เกียจออกจากตัวไปได้
เลยโพสต์ภาพชุดนี้ลงใน gallery ใน facebook
แล้วก็เอามาแบ่งกันชมในเรือนนี่ล่คราบ

หวังว่าจะช่วยต่อยอดประเด็นเล็กๆน้อยๆในกระทู้นี้ได้นะคราบบบ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง