เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8429 กรมโพเรียงบ้าบิ่น
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



 เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 12:56

พบคำ "กรมโพเรียงบ้าบิ่น" นี้ในกฎหมายตราสามดวง "พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง"

ในอักขราภิธานศรับท์ ฉบับหมอบรัดเล ให้ความหมายของ โพเรียง ว่า คือชื่อพวกในกรมฝีพายนั้น, เพราะพวกฝีพายบ้านใหม่โพเรียงนั้น

ในกรุงศรีอยุธยาจะมีวัดนี้หรือไม่ ผมยังไม่เคยทราบ แต่ในกรุงเทพฯ มี วัดโพธิ์เรียง ตั้งอยู่ริมคลองมอญ ซอยจัญสนิทวงศ์ ๑๘ แขวงบ้านช่างหล่อ เขตบางกอกน้อย ฝั่งตรงข้ามกับวัดดีดวด เขตบางกอกใหญ่

http://xn--72czmxvfy4f4al3jua7k.com/example-pages.html

ถัดเข้าไปในคลองมอญฝั่งเดียวกันอีกประมาณครึ่งกิโลเมตร เป็นที่ตั้งของวัดบางเสาธง แขวงบางขุนศรี เขตบางกอกน้อย ตามประวัติว่า

สร้างสมัยอยุธยา ประมาณ พ.ศ. ๒๒๑๕ แต่เดิมนั้นเป็นที่สวน มีคลองเป็นที่สัญจรไปมาค้าขายกันสะดวก ครั้งหนึ่มอญและแม้วได้ทำเรือสำเภาล่มอับปางลงตรงที่หน้าวัด มีเสาธงเรือโบกสะบัดให้เห็นอยู่เหนือน้ำ ชาวบ้านจึงสร้างเรือสำเภาก่อด้วยอิฐไว้เป็นอนุสรณ์ที่ด้านทิศตะวันตกของอุโบสถ ขณะนี้ปรักหักพังหมดแล้ว และตั้งแต่นั้นมาชาวบ้านจึงได้ขนานนามว่า "วัดบางเสาธง"  วัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๒๓๐

wiki กล่าวถึงคลองมอญว่า คลองมอญ เป็นคลองธรรมชาติคลองหนึ่งที่ตั้งอยู่ระหว่างเขตบางกอกใหญ่และเขตบางกอกน้อย ที่มาของชื่อคลองมาจากที่ริมสองฝั่งคลองเป็นชุมชนชาวมอญเรียงรายกันไปตลอดแนว คลองมอญแยกจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก พาดผ่านเป็นแนวแบ่งเขตแดนระหว่างเขตบางกอกน้อย และบางกอกใหญ่ ไปออกยังบริเวณที่ คลองบางน้อย และ คลองบางเชือกหนัง ไหลมารวมกัน ในรอยต่อเขตภาษีเจริญและเขตตลิ่งชัน

เคยอ่านพบจากหนังสือเล่มหนึ่งว่า ในยุครัตนโกสินทร์ตอนต้นนั้น อู่เรือ กองเรือรบได้ย้ายจากปากคลองบางกอกน้อยเข้ามาอยู่ในคลองมอญนี้






บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:02



ขุนศึกบรรยายไว้ว่า โพธิ์เรียงบ้าบิ่น  ไปเดินตลาด   ทหารกองอื่นยังหลบ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:44

จะถือว่าเห็นแนวหน้า "หน่วยกล้าตาย" คงจะได้



บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 15:38

กรมโพเรียง เป็นกรมฝีพายซึ่งไพร่ในกรมนี้เกณฑ์แต่เฉพาะชาวตำบลบ้านโพเรียง
บ้านโพเรียงนี้ นัยว่าเป็นคนเชื้อสายมอญที่ชำนาญการพายเรือและการรบทางเรือ
ส่วน "บ้าบิ่น" คือชื่อเรือในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค  มีชื่อคู่กัน
คือ เรือทองแขวนฟ้า  เรือทองบ้าบิ่น  เรือทั้งสองลำนี้เป็นเรือกระบวนมี่อยู่ส่วนหน้าด้านนอก
เข้าใจว่าทำหน้าที่รักษาความปลอดภัย (องครักษ์)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 17:19

มอญบางไส้ไก่ ก็มีฝีมือทางพายเรือเหมือนกันหนา

ไม่ตั้งเป็นกรมบ้างฤๅ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 08:04

หลวงท่านคงเห็นว่าชาวมอญทำคุณประโยชน์แก่ราชการได้มากกว่าจะเกณฑ์มาพายเรือเสียทุกตำบลบ้าน
เช่น ไปอยู่กองอาทมาต หรือ กรมอาสามอญ กรือกรมกองอื่นๆ ตามแต่มอญแต่ละคนจะมีฝีมืออะไร
อีกทั้งกรมโพเรียงนี้ก็เป็นกรมที่มีมาแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี หลวงท่านคงจะมีประสบการณ์
ได้เห็นฝีมือชาวบ้านโพเรียงจนไว้วางใจให้ตั้งเป็นกรมขึ้นไว้สำหรับรับราชการเฉพาะ
ส่วนมอญบางไส้ไก่ คงเป็นมอญใหม่เพิ่งเข้ามาเมืองสยามในสมัยหลัง 
ในสมัยอยุธยาคงจะยังไม่มีชื่อเสียงให้หลวงท่านเห็นคุณโดดเด่นในราชการ จึงไม่ได้ตั้งกรมให้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 08:50

ฝีพายเรือพระที่นั่ง "ทองแขวนน้ำ" ในสมัยอยุธยานอกจากบ้านโพธิเรียงแล้วยังกล่าวถึงบ้านใหม่ด้วย

ในสมัยรัตนโกสินทร์ ทั้งสองบ้านรับหน้าที่เป็นฝีพายเรือดั้งคู่ชัก บ้านใหม่รับหน้าที่เรือ "ทองขวานฟ้า" บ้านโพธิเรียงรับหน้าที่เรือ "ทองบ้าบิ่น"

จากสาส์นสมเด็จ  ฉบับลงวันที่  ๙  ธันวาคม  ๒๔๘๐
สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ  ทูล  สมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์

คัดโดยคุณกัมม์ จาก พันทิป

หน้า ๓ (แต่บันทัดที่ ๘ จนบันทัดที่ ๑๐)  กล่าวถึงเรือพระที่นั่งเรียกว่า "ทองแขวนน้ำ" ๒ ลำ เป็นเรือ "บ้านใหม่ขึ้นหลวงสุเรนทรนุชิต" ลำ ๑  เป็นเรือ (บ้าน) "โพธิเรียงขึ้นหลวงอภัยเสนา" ลำ ๑   ก็ในกระบวนเสด็จมีเรือพระที่นั่งศรีสักหลาดเป็นลำทรงลำ ๑  และเป็นพระที่นั่งรองลำ ๑   แล้วเหตุใดจึงมีเรือพระที่นั่งที่เรียกว่าทองแขวนฟ้านำอีก ๒ ลำ

อธิบายข้อนี้มีเค้าเงื่อนอยู่ในกระบวนแห่เสด็จทางน้ำในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้  มีเรือนำหน้าเรือพระที่นั่งลำทรง ๒ ลำ  แต่เรียกว่าเรือ "ดั้งคู่ชัก" (ความหมายว่าสำหรับจูงเรือพระที่นั่ง)  มีชื่อเฉพาะลำว่า "เรือทองขวานฟ้า" ลำ ๑ พลพายใช้คนชาวบ้านใหม่  และขึ้นอยู่ในหลวงสุเรนทรนุชิต  อีกลำ ๑ ชื่อว่า "เรือทองบ้าบิ่น" ชาวบ้านโพธิเรียงเป็นพลพายขึ้นอยู่ในหลวงอภัยเสนา  

ตรงกับตำราครั้งกรุงศรีอยุธยาทุกอย่าง  ผิดกันได้ในตำรานี้ว่าเป็น "เรือพระที่นั่ง"  ตามแบบชั้นหลังว่าเป็น "เรือดั้งคู่ชัก"  รูปเรือก็เป็นอย่างเรือศรีเหมือนเรือดั้งทั่วไป  ผิดกันแต่เรือคู่ชักหัวท้ายปิดทองห้อยพู่สีแดงแลสักหลาดดาดหลังคา  กันยาปักลายทองเต็มทั้งผืน  แต่เรือดั้งสามัญหัวท้ายไม่ปิดทองห้อยพู่สีขาว  กับสักหลาดคาดหลังคากันยาปักทองแต่เป็นขอบ  

ฉันเคยได้ยินคนชั้นเก่าเขาเล่าให้ฟัง  ว่าเรือดั้งคู่ชักนั้นมีสิทธิผิดกับเรืออื่นที่แห่เสด็จ  เพราะเรือพระที่นั่ง พลพายคัดเลือกแต่ที่มีกำลังพายเรือแล่นเร็วและพายทนกว่าคนพายเรืออื่น  เรือดั้งคู่ชักต้องพายนำให้เร็ว ทันหนีเรือพระที่นั่ง  ถ้าหากจะหนีไม่พ้น พอหัวเรือพระที่นั่งเกี่ยวแนวท้ายเรือคู่ชักเข้าไป  เรียกกันว่า "เข้าดั้ง"  เรือคู่ชักก็ใช้อุบายแกล้งคัดเรือให้ใกล้กันจนช่องน้ำแคบ  เรือพระที่นั่งไม่สามารถจะพายแทรกกลางแข่งขึ้นไปได้  

ฉันได้เห็นเองครั้งหนึ่งเมื่อเป็นราชองครักษ์  ตามเสด็จทอดพระกฐินวัดเฉลิมพระเกียรติ  วันนั้นทรงเรือพระที่นั่งกราบแล่นเร็วกว่าเรือศรีเพราะระยะไกล  ขากลับพวกพลพายอยากรีบกลับด้วยกันทั้งนั้น  เรือพระที่นั่งพายไล่เรือคู่ชักทัน  ถูกเรือคู่ชักปิดช่องต้องรอเรือพระที่นั่ง  ดูเป็นการสนุกสนานคล้ายกับเรือดั้งคู่ชักชนะกิฬา  แม้สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงก็ทรงพระสรวล  สิทธิของเรือคู่ชักเช่นว่ามานี้เห็นจะเป็นประเพณีมาเก่าแก่  

เหตุที่เลือกเฉพาะชาวบ้านใหม่และโพธิเรียง เป็นฝีพายเรือคู่ชักนั้น  ก็น่าจะเป็นด้วยพวกชาวบ้านทั้ง ๒ นั้นชำนาญการพายเรือ  จึงเป็นคนพายเรือทั้งคู่ชัก คงเลือกสรรกันมาทุกคราว  

แต่ข้อที่ในตำราเรียกว่า "เรือพระที่นั่ง"  และเรียกชื่อว่า "เรือทองแขวนฟ้า" เหมือนกันทั้ง ๒ ลำนั้น  คิดไม่เห็นว่าจะเป็นเพราะเหตุใด  จะว่า "คนเก่า" ที่บอกตำราเข้าใจผิดก็ไม่มีหลักที่จะอ้างคัดค้าน  ได้แต่ลองเดาเรื่องเรือพระที่นั่งทองแขวนฟ้า ๒ ลำตามเค้าที่มีในเรื่องพงศาวดาร  ว่าครั้งนึ่ง สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงเรือเร็วไล่ตามเรือสำเภาพระยาจีนจันตุที่จะหนีไปเมืองเขมร  เสด็จไปทันที่ปากน้ำเจ้าพระยา  ทรงยิงพระแสงปืนต่อสู้กับพวกพระยาจีนจันตุ  จนเรือสำเภาได้ลมแล่นใบออกทะเล  เรือพระที่นั่งจะตามออกไปไม่ได้จึงเสด็จกลับ

อีกครั้งหนึ่งเมื่อต่อสู้กองทัพเชียงใหม่ที่ตำบลป่าโมกข์น้อย  สมเด็จพระเนศวรฯกับสมเด็จพระเอกาทศรถทรงเรือพระองค์ละลำ  ยิงพระแสงปืนรบข้าศึกซึ่งอยู่บนบก  สมเด็จพระเอกาทศรถเห็นลูกปืนข้าศึกยิงเรือสมเด็จพระเชษฐาหนามาก  จึงเอาเรือลำที่ทรงเองเข้าบังเรือสมเด็จพระนเรศวร  

ความในพงศาวดารตอนที่ว่านี้ส่อให้เห็นว่า น่าจะมีเรือเร็วเป็นเรือพระที่นั่ง  สำหรับเวลาทรงเสด็จเข้ารบพุ่งเองและมี ๒ ลำ  ในเวลาออกปล้นค่ายข้าศึก  เมื่อเจ้าหงสาวดีมาล้อมกรุงก็เห็นจะทรงเรือเร็วอย่างนี้  อาจจะให้เรียกว่า "เรือแขวนฟ้า" (หมายความว่าเร็วเหมือนบินในอากาศ)

ครั้นเสร็จสมัยมหาสงครามแล้ว  จึงได้ปิดทองตบแต่งให้งดงาม  เอาเข้านำหน้าเรือพระที่นั่งลำทรงในกระบวนแห่เสด็จทางชลมารค  จึงเรียกเรือพระที่นั่งทองแขวนฟ้าทั้งคู่  แล้วเลยใช้เป็นแบบต่อมาในรัชกาลอื่นเมื่อภายหลัง  แต่จะเปลี่ยนเป็นเรือดั่งคู่ชักมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา  หรือมาเปลี่ยนต่อภายหลังรู้ไม่ได้  ที่ว่ามานี้โดยเดาทั้งนั้น  อาจผิดก็เป็นได้


"กรมบ้านใหม่ขวานฟ้า" มีไหม

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 09:20

สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเล่าถึงพวกฝีพายไว้ใน สาส์นสมเด็จ ภาค ๓๙ ตอนหนึ่งว่า

ตามประเพณีมีมาแต่โบราณการเลือกสรรฝีพายเรือพระที่นั่งเพื่อให้ได้คนมีกำลังและไว้ใจได้ จึงใช้คนกำหนดเป็นตำบลคือ บรรดาคนในตำบลที่กำหนดนั้นงดเว้นราชการอย่างอื่นหมด ให้เป็นแต่ฝีพายเรือหลวงอย่างเดียว เช่น คนในตำบลบ้านผักไห่ และบ้านตาลาน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น และยังมีตำบลอื่นอีกเป็นฝีพายทั้งนั้น

แม้เรือดั้งคู่ชักก็มีฝีพายประจำตำบล ลำ ๑ ใช้คนบ้านใหม่แขวงจังหวัดอ่างทอง อีกลำ ๑ ใช้คนบ้านโพเรียงในแขวงจังหวัดอ่างทองเหมือนกัน เมื่อใดเรียกระดมฝีพายพวกนายหมวดนายกองต้องเลือกสรรคนฉกรรจ์ที่กำลังล่ำสันส่งเข้ามาให้พอพายเรือหลวง

จาก โครงงานเรื่องกระบวนพยุหยาตราชลมารคอลังการศิลปกรรมแห่งมหานที โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔ โรงเรียน วัดนวลนรดิศ

บ้านใหม่และบ้านโพธิเรียงอยู่อ่างทอง

เป็นมอญหรือเปล่า

 ฮืม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 10:02

คุณเพ็ญหาข้อมูลจากเน็ตเก่งนะครับ   
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 10:10

มอญบางไส้ไก่ ก็มีฝีมือทางพายเรือเหมือนกันหนา

ไม่ตั้งเป็นกรมบ้างฤๅ

 ฮืม

ความรู้ใหม่น่าสนใจครับ ปกติเคยได้ยินแต่ ลาวบางไส้ไก่ ที่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ไปกวาดต้อนมา
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 10:24

สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงเล่าถึงพวกฝีพายไว้ใน สาส์นสมเด็จ ภาค ๓๙ ตอนหนึ่งว่า

ตามประเพณีมีมาแต่โบราณการเลือกสรรฝีพายเรือพระที่นั่งเพื่อให้ได้คนมีกำลังและไว้ใจได้ จึงใช้คนกำหนดเป็นตำบลคือ บรรดาคนในตำบลที่กำหนดนั้นงดเว้นราชการอย่างอื่นหมด ให้เป็นแต่ฝีพายเรือหลวงอย่างเดียว เช่น คนในตำบลบ้านผักไห่ และบ้านตาลาน ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นต้น และยังมีตำบลอื่นอีกเป็นฝีพายทั้งนั้น

แม้เรือดั้งคู่ชักก็มีฝีพายประจำตำบล ลำ ๑ ใช้คนบ้านใหม่แขวงจังหวัดอ่างทอง อีกลำ ๑ ใช้คนบ้านโพเรียงในแขวงจังหวัดอ่างทองเหมือนกัน เมื่อใดเรียกระดมฝีพายพวกนายหมวดนายกองต้องเลือกสรรคนฉกรรจ์ที่กำลังล่ำสันส่งเข้ามาให้พอพายเรือหลวง

จาก โครงงานเรื่องกระบวนพยุหยาตราชลมารคอลังการศิลปกรรมแห่งมหานที โดยนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๔ โรงเรียน วัดนวลนรดิศ

บ้านใหม่และบ้านโพธิเรียงอยู่อ่างทอง

เป็นมอญหรือเปล่า

 ฮืม


ปกติ ที่เคยเห็นมา คนมอญสมัยก่อนจะรับราชการทางบกเสียมากกว่าจะเป็นด้านทางน้ำนะครับ อย่างตำแหน่ง พระยาราชวังเมือง ซึ่งต้องดูแลรับผิดชอบด้านการจับช้าง ตำแหน่งนี้ก็เป็นของคนเชื้อสายมอญมาตลอด (ในยุครัตนโกสินทร์ จะเป็นต้นสกุล โรจนวิภาต ) หรือจะเป็นกรมอาทมาต ที่ไปสืบราชการลับ ยกเว้นตั้งแต่สมัย ร.๒ ลงมา ที่ได้เกณฑ์ครัวมอญ ให้ลงมาเฝ้าปากอ่าวที่นครเขื่อนขันธ์ ครับ

แต่ก็ไม่แน่ ยุคอยุธยา คนมอญอาจจะเป็นฝีพายหลวงก็ได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 12:00


อย่างตำแหน่ง พระยาราชวังเมือง ซึ่งต้องดูแลรับผิดชอบด้านการจับช้าง ตำแหน่งนี้ก็เป็นของคนเชื้อสายมอญมาตลอด (ในยุครัตนโกสินทร์ จะเป็นต้นสกุล โรจนวิภาต )


เหมือนจะเคยผ่านตามาว่า สกุล "โรจนวิภาต" มาจากกรุงเก่านะครับ เห็นว่าตั้งบ้านเรือนอยู่แถวท่าวาสุกรี
จนพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เกือบจะทรงพระราชทานนามสกุลว่า "ณ วาสกุรี" ให้
และยังไม่เคยได้ยินเลยว่าสกุลนี้เป็นมอญ  ฮืม

อีกอย่างตระกูลที่สืบจากพระยาราชวังเมือง จำไม่ผิดเห็นจะเป็น "คชาชีวะ" กระมั้ง  ยิ้มกว้างๆ
เพราะสืบสายรับราชการกรมช้างมาจนยุค พระยาเพทราชา (อ๋อย คชาชีวะ) ในรัชกาลที่ 6

ถ้าคุณ  samun007 มีข้อมูลใหม่ๆ ก็ช่วยนำเสนอด้วยครับ
จะได้เปิดความรู้อันหางอึ่งของกระผม  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 14:50

"คำให้การขุนหลวงวัดประดู่ทรงธรรม" ว่าด้วยเรือต่าง ๆ ในโรง

ฝีพายเรือพระที่นั่งนั้น คือพวกบ้านโพเรียงบ้านพุทเลาเป็นพนักงานพาย มีเจ้ากรม ปลัดกรม ปลัดกองนายหมู่นายหมวด แต่พระอินทรเทพได้ว่าพวกฝีพายซ้าย พระพิเรนทรเทพได้ว่าพวกฝีพายขวา ตามตำราในโบราณราชประเพณีสืบมา พวกฝีพายนั้นได้พระราชทานตราภูมิคุ้มห้าม ด่านขนอนอากรตลอดไม่ต้องเสีย โปรดพระราชทานให้เปนกำลังราชการ ปีหนึ่งใช้ราชการสามเดือน แต่ฝีพายลำทรงทุกหมู่

มีบ้านพุทเลาเพิ่มขึ้นมาอีกบ้าน

ตรวจสอบดูแล้วอยู่ที่

อยุธยา

 ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 28 ธ.ค. 11, 10:28

เหมือนจะเคยผ่านตามาว่า สกุล "โรจนวิภาต" มาจากกรุงเก่านะครับ เห็นว่าตั้งบ้านเรือนอยู่แถวท่าวาสุกรี
จนพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 เกือบจะทรงพระราชทานนามสกุลว่า "ณ วาสกุรี" ให้
และยังไม่เคยได้ยินเลยว่าสกุลนี้เป็นมอญ  ฮืม

ในหนังสือสาแหรกประจำตระกูลโรจนวิภาต(หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ชั้น ๓ ) ได้บอกไว้ว่า ต้นตระกูลนี้ ถูกจับกลับไปยังพม่า เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๒ ระหว่างทาง
ต้นตระกูลนี้ ได้สื่อสารกับนายกองควบคุมเชลยซึ่งเป็นคนมอญ  นายกองมอญทราบว่า เชลยท่านนี้(ต้นตระกูลโรจนวิภาต)มีเชื้อสายมอญ และสื่อสารด้วยภาษามอญได้
เมื่อคุยกันแล้ว ได้ความว่าครอบครัวนี้ มีบุตรชายน้อย นายกองเห็นใจ จึงปล่อยตัวให้เดินทางกลับเข้าสยามครับ
ตราประจำตระกูลบนปกหนังสือ เป็นรูปช้าง คล้าย ๆ กับ ตราประจำตระกูลคชเสนีนั่นเอง

อีกอย่างตระกูลที่สืบจากพระยาราชวังเมือง จำไม่ผิดเห็นจะเป็น "คชาชีวะ" กระมั้ง  ยิ้มกว้างๆ
เพราะสืบสายรับราชการกรมช้างมาจนยุค พระยาเพทราชา (อ๋อย คชาชีวะ) ในรัชกาลที่ 6

ถ้าคุณ  samun007 มีข้อมูลใหม่ๆ ก็ช่วยนำเสนอด้วยครับ
จะได้เปิดความรู้อันหางอึ่งของกระผม  ยิ้มเท่ห์

ปัจจุบัน คนในตระกูลคชาชีวะ ก็ยังรับราชการสนองพระเดชพระคุณอยู่ โดยน่าจะอยู่ในส่วนของการเป็นครูฝึกให้กับเจ้าหน้าที่สำนักพระราชวัง เกี่ยวกับการบังคับหรือดูลักษณะช้างสำคัญ ล่าสุด(หลายสิบปีแล้ว) น่าจะเป็นท่าน พ.ต.ท สุภางค์ คชาชีวะ บุตรของ จมื่นสิริวังรัตน (เฉลิม คชาชีวะ : อดีตเลขานุการสำนักพระราชวัง พ.ศ. ๒๔๙๐ และเป็นผู้ไปรับและดูลักษณะช้างสำคัญในรัชกาลปัจจุบัน)
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 28 ธ.ค. 11, 15:49

ในหนังสือสาแหรกประจำตระกูลโรจนวิภาต(หอสมุดแห่งชาติ ท่าวาสุกรี ชั้น ๓ ) ได้บอกไว้ว่า ต้นตระกูลนี้ ถูกจับกลับไปยังพม่า เมื่อคราวสงครามเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ ๒ ระหว่างทาง
ต้นตระกูลนี้ ได้สื่อสารกับนายกองควบคุมเชลยซึ่งเป็นคนมอญ  นายกองมอญทราบว่า เชลยท่านนี้(ต้นตระกูลโรจนวิภาต)มีเชื้อสายมอญ และสื่อสารด้วยภาษามอญได้
เมื่อคุยกันแล้ว ได้ความว่าครอบครัวนี้ มีบุตรชายน้อย นายกองเห็นใจ จึงปล่อยตัวให้เดินทางกลับเข้าสยามครับ
ตราประจำตระกูลบนปกหนังสือ เป็นรูปช้าง คล้าย ๆ กับ ตราประจำตระกูลคชเสนีนั่นเอง

วราห์ โรจนวิภาต ผู้เขียนหนังสือ 'ลูกจีน หลานมอญ' ที่แม้เลยวัยเกษียณ ยังไม่ละทิ้งหน้าที่ผู้กำข้อมูลประวัติเถือกเถาเหล่ากอมอญ เขาเล่าว่า บรรพบุรุษตนเป็นชาวมอญกรุงหงสาวดีติดตามสมเด็จพระนเรศวรมาอยู่ที่กรุงศรีอยุธยา มอญรุ่นนั้นมี ๒ กลุ่ม พระยาเกียดพระยาราม กับกลุ่มพระมหาเถรคันฉ่อง เมื่อถึงอยุธยาสมเด็จพระนเรศวรทรงโปรดฯ ให้ครัวมอญทั้งหมดอยู่ในปกครองของพระยาเกียดพระยาพระราม เดิมอยู่ที่วัดขุนแสนหรือบริเวณตลาดหัวรอในปัจจุบัน ส่วนกลุ่มพระมหาเถรคันฉ่องโปรดให้อยู่ที่วัดนกท้ายวัดมหาธาตุ

"ต้นตระกูลผมมาใหม่ ๆ ก็ไม่ทราบว่าชื่ออะไร ตำนานเล่าแค่ว่าเป็นมอญอพยพมา มาเริ่มชัดเจนในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เริ่มมีการบันทึกเกี่ยวกับ 'นายฉาย' มหาดเล็กข้าหลวงเดิมของเจ้าฟ้าพร ก่อนที่เจ้าฟ้าพรจะขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงโปรดให้ข้าเดิมบรรจุตำแหน่งราชการตามความสามารถ 'นายฉาย' ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำกับกรมพระคชบาล จนได้เป็นพระยาราชวังเมือง เจ้ากรมพระคชบาล มีตราประจำตระกูลเป็นรูปช้าง"  

เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาพร้อมกับสิ้นพระยาราชวังเมือง ลูกหลานมอญกระจัดกระจายกันไป 'นายปราบไตรภพ' บุตรพระยาราชวังเมืองถูกทหารเชื้อสายมอญในกองทัพพม่าจับกุม ทหารมอญนำออกไปทางด่านเจดีย์สามองค์ ด้วยความที่มีเชื้อสายมอญเหมือนกันนายกองมอญที่คุมไปเกิดความสงสารจึงปล่อยตัวกลับไปอยู่กรุงศรีอยุธยา ตั้งชุมชนอยู่ย่านหลังวัดเชิงท่า หรือที่เรียกว่า'สวนนอก' หลังจากนั้น ลูกหลานบางส่วนย้ายมาตั้งบ้านเรือนอยู่ริมคลองสระบัว ข้างวัดหน้าพระเมรุ แล้วย้ายอีกหนมาอยู่ปากคลองท่อ ริมกำแพงเมือง ที่เสียหายไปเพราะรื้ออิฐมาสร้างกรุงเทพฯ จนกระทั่งสิ้นพระยาทวาราวดีเสาหลักของชุมชนมอญตรงนั้น ลูกหลานอยู่ในภาวะแพแตก โยกย้ายมาตั้งหลักที่กรุงเทพฯ แต่นั้นมา

จากบทความเรื่อง แขก มอญ จีน : ส่วนผสมสังคมสยาม โดย ชาธิป สุวรรณทอง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง