เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16059 ต้นโอ๊คล้มสะเทือนไปทั้งป่า ลูกโอ๊คหล่นมาเสียบเบาใส
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 12:54




        แม้ว่าการทูตของแฮรีสจะประสบความสำเร็จก็ตาม    แต่แฮรีสเกิดความไม่พอใจหลายอย่างขณะพำนัอยู่ในเมืองไทย

อาจจะเริ่มตั้งแต่รัฐบาลปล่อยให้เขาคอยอยู่ที่สันดอนปากน่้าหลายวัน       เขาเขียนในบันทึกจดหมายเหตุของเขาว่า

"ฉันไม่เคยพบชนชาติใดใดเหมือนคนไทย  และหวังว่าจะไม่ถูกส่งมาที่นี่อีก"


        เขาออกไปยังเรือซานจาซินโตที่สันดอนปากน้ำเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๓๙๙   
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:20

แสดงรูปตัดของเรือ USS Powhatan ที่เครื่องจักรสำหรับขับใบจักรข้างเรือเป็นเครื่องจักรไอน้ำ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:23




        แม้ว่าการทูตของแฮรีสจะประสบความสำเร็จก็ตาม    แต่แฮรีสเกิดความไม่พอใจหลายอย่างขณะพำนัอยู่ในเมืองไทย

อาจจะเริ่มตั้งแต่รัฐบาลปล่อยให้เขาคอยอยู่ที่สันดอนปากน่้าหลายวัน       เขาเขียนในบันทึกจดหมายเหตุของเขาว่า

"ฉันไม่เคยพบชนชาติใดใดเหมือนคนไทย  และหวังว่าจะไม่ถูกส่งมาที่นี่อีก"


        เขาออกไปยังเรือซานจาซินโตที่สันดอนปากน้ำเมื่อวันที่ ๓๑ พฤษภาคม ๒๓๙๙   


แน่นอนคุณวันดี อยู่ในเรือ ปากน้ำ ตั้งหลายวันกว่าจะมีเรือมารับ การเจรจาเรื่องที่อยู่บ้านพัก ก็ให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งไปสำรวจ 2 คนแล้วยังไม่พอใจ และท่านทูตก็รู้ว่าการเดินทางของท่านไม่สง่างามเทีบบเท่าคณะทูตกลุ่มอื่น แต่กระนั้นก็ตามผลแห่งไม้โอ๊คลูกนี้ช่วยกระชับสัมพันธไมตรีเพิ่มมากขึ้น

หลังจากเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว รุ่งขึ้นก็เข้าเฝ้า The Second King of Siam หรือ สมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว และมีกิจกรรมในเมืองสยามอีกที่น่าสนใจ ไฉนเลยจะกล่าว่า "และหวังว่าจะไม่ถูกส่งมาที่นี่อีก" เพียงว่าจุดมุ่งหมายนั้นมองไปที่ญี่ปุ่นฝ่ายเดียว
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:25

คณะทูตญี่ปุ่นถึงท่าเรีอของราชนาีีวี ที่กรุงวอชิงตัน เมื่อเดือนพฤษภาคม 1860

Landing of Japanese Embassy at Navy Yard in Washington, DC, May 1860


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:25

แสดงรูปตัดของเรือ USS Powhatan ที่เครื่องจักรสำหรับขับใบจักรข้างเรือเป็นเครื่องจักรไอน้ำ ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง




อับเฉาเรือใส่สินค้ามาเพียบ ห้องเครื่องจักรคงร้อนมากมายนะครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:30

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงส่งจดหมายใส่ซองกำมะหยี่กรมท่า สอดจดหมายตอบรับเครื่องบรรณาการถึงประธานาธิบดี และเอกสารอีกฉบับ ที่ส่งไปพร้อมกับท่านทูตแฮริส

(สิ่งของจัดแสดงที่พิพิธภํณฑ์สมิธโซเนี่ยน สหรัฐอเมริกา)


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:36

อับเฉาเรือใส่สินค้ามาเพียบ ห้องเครื่องจักรคงร้อนมากมายนะครับ
[/quote]

ดูในฉากภาพยนต์ TITANIC ก็คงจะเดาออกครับว่า "ร้อน" ขนาดไหน

หรืออ่านจากเหตุการณ์ "ยุทธนาวีเกาะช้าง" ตอนที่เรือรบหลวงธนบุรีูกำลังจะจมก็ได้ ฉากที่บรรยายสภาพห้องเครื่องใต้ท้องเรือนั้น ทหารกลินจะเป็นพวกที่สละเรือเป็นชุดสุดท้าย หนีทันก็รอด หนีไม่ทันก็ตายอยู่ในท้องเรือนั่นแหละ

ทหารเรือพวกที่อยู่กับเครื่องจักรใต้ท้องเรือนี่ เขาเรียกว่า "พรรคกลิน" ครับ พวกอยู่ข้างบนมีหน้าที่เดินเรือนี่ เขาเรียกว่า "พรรคนาวิน"

....

พ.ศ. 2350 (ค.ศ. 1807) – เรือกลไฟลำแรกของสหรัฐฯ โดย โรเบิร์ต ฟุลตัน ออกจากนครนิวยอร์กเพื่อเดินทางไปยังเมืองออลบานีตามแม่น้ำฮัดสัน และเป็นเรือกลไฟพาณิชย์ลำแรกของโลก





บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:37

สิ่งหนึ่งที่ถูกส่งไปยังประธานาธิบดีคือ พระบรมฉายาลักษณ์คู่ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพร้อมด้วยสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี

ภาพนี้เป็นสิ่งวิเศษสุดในสังคมสยาม ถือเป็นเทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพในยุคแรก ๆ และชี้ให้เห็นว่าการส่งภาพให้ในทางการทูตนั้นเป็นการแสดงออกอย่างมิตรภาพ ทำให้เห็นว่าบ้านเมืองสยาม มิได้ล้าหลังแต่ประการใด หากแต่มีเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ใช้แล้ว

(สิ่งของจัดแสดงที่พิพิธภํณฑ์สมิธโซเนี่ยน สหรัฐอเมริกา)


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 13:42


แปลกอยู่อย่างคือทั้งแฮรีสและ ฮะรีปักส์  เมื่อไปอยู่ญี่ปุ่นได้สร้างชื่อเสียงไว้มาก

แฮรีสเป็นคนตรงไปตรงมา  ภายหลังเมื่อไม่ได้ทำงานแล้ว  ใครจากญี่ปุ่นมาเยี่ยม  ท่านถามว่า ใครเขาถามถึงผมบ้าง

ฮะรีปักส์ได้รวบรวมสะสมตัวอย่างกระดาษจากโรงงานญี่ปุ่นไว้มากมายมหาศาล  และญี่ปุ่นรุ่นหลังก็อาศัยเรียนรู้จากการสะสมนี้
ฮะรีปักส์  เป็นนักต่อสู้อย่างทรหดทีเดียว     เช่นเดียวกัยแฮรีส     ดูฮะรีปักส์จะปากจัดมากในฐานะล่าม  ประชดประชันข้าราชการ
ไทยเอาไว้เยอะ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 15:50

ปืนสั้นของโค้ลท์ ด้ามงาเดินทอง

USA Navy Colt 1851 ถ้าไม่ใช่ ก็น่าจะใกล้เคียง



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 15:59

หนังสือ Republican Court or Society in the Days of Washington เย็บหรูหรา หนังแกะตุรกี สีเลือดหมู เดินทองระยับ



บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 16:15

หนังสือ Iconographic Encyclopedia, or the Art and Sciences Fully Describe and Splendidly Illustrated

The Iconographic Encyclopedia of Johan Georg Heck (printed 1851)




บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 16:20

ภาพเหมือนนายพลวอชิงตัน ขนาดเท่าจริง

จากข้อมูลของหอบรรณสารสนเทศ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวถึงภาพเขียนนี้ไว้่่ว่า

ในปี พ.ศ.2399 (ค.ศ.1856) ประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ (Franklin Pierce) ประธานาธิบดีคนที่ 14 แห่งสหรัฐอเมริกา ได้แต่งตั้งให้ เทาเซนต์ แฮรีส (Townsend Harris) เป็นทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีในต้นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยได้นำคณะทูตเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ.2399 และในวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2399 เข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

ครานั้นเครื่องบรรณาการที่คณะทูตนำมาถวายพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้แก่ เครื่องไฟฟ้า เครื่องอุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ ปืน หนังสือ ภาพเขียนทิวทัศน์ และที่สำคัญคือ ภาพวาดนายพลวอชิงตัน ขนาดเท่าตัวจริง 1 ภาพ และภาพประธานาธิบดีเพียร์ซ ขนาดเท่าตัวจริง 1 ภาพ

ปัจจุบันภาพวาดนายพลวอชิงตัน ถูกเก็บรักษาไว้ภายในห้องรับแขก พระที่นั่งอิศเรศราชานุสรณ์ พระบวรราชวังที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนครในปัจจุบัน ซึ่งเป็นภาพชุดเดียวกับที่แขวนในห้องรูปไข่ในทำเนียบขาว กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.

เรมบรันต์ พีล (Rembrandt Peale) เป็นศิลปินผู้มีชื่อชาวอเมริกัน ที่มีชื่อในการวาดภาพคนเหมือนในระดับผู้เชี่ยวชาญ มีหลักฐานว่าเขาได้รับ การวาดภาพเหมือนประธานาธิบดียอร์ช วอชิงตัน (Porthole Portrait of George Washington, c1823-60) จำนวน 76 ภาพ

คุณทัศน์ ทองทราย กล่าวว่า เมื่อพิจารณารายการบัญชีเครื่องราชบรรณาการที่นำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พบว่า ปรากฎรายการภาพวาดทั้ง 2 ภาพด้วยเช่นกัน แต่ไม่ปรากฎว่าปัจจุบันถูกเก็บรักษาอยู่ที่ใด


ทัศน์ ทองทราย. "ภาพสีน้ำมันรูป "ยอร์ช วอชิงตัน" ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ของดีที่กรมศิลปากรควรอวด," ศิลปวัฒนธรรม. ปีที่ 29 ฉบับที่ 9 : กรกฎาคม 2551 : 78-85.


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 16:26

American Scenery, of Principal Views in the United States




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 10:43

การเข้าเฝ้าสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านทูตแฮริสได้กล่าวอย่างน่าประทับใจ ทรงให้ปูเสื่อตั้งแต่ก่อนเข้าวังหน้า ยาวไปจนถึงตำหนักอังกฤษของพระองค์ท่าน

"พระเจ้าแผ่นดินองค์ที่สองทรงตรัสภาษาอังกฤษได้วิเศษ"

นำพาไปดูตู้หนังสือจำนวนมาก สิ่งพิมพ์ อาวุธ เครื่องเคมี ล้วนมาจากยุโรป นาฬิกาแปลก ๆ ที่บอกชั่วโมง บอกสัปดาห์ เดือน ปี และบอกจนถึงอายุพระจันทร์ ซึ่งทำเครื่องหมายไว้บนโลกสีฟ้า ขณะเดียวกันสิ้นสีแดงของงูเขียว และงูสีทอง ก็หมายบอกชั่วโมงในเวลาเดียวกัน

ทรงตรัสถามถึงเรื่องราวในอเมริกา และทรงมอบใบรับรองว่าได้รับของบรรณาการและพระราชทานสิ่งของให้ประธานาธิบดี 5 หีบ และทรงเลี้ยงน้ำชา กาแฟ ชอคโกแลต ผลไม้ ทรงชงชาด้วยองค์เอง ขณะที่มเหสี 2 องค์หมอบใกล้ ๆ

(ภาพเครื่องถมทองสิ่งของพระราชทานแก่ประธานาธิบดี)


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 20 คำสั่ง