เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16001 ต้นโอ๊คล้มสะเทือนไปทั้งป่า ลูกโอ๊คหล่นมาเสียบเบาใส
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 12:53


อิอิ    ลึกเชียวเรื่องแกงมะเขือ    ถ้าเป็ดคาบเม็ดมะเขือมา  โปรดจับเป็ดไว้ด้วย 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 13:08


อิอิ    ลึกเชียวเรื่องแกงมะเขือ    ถ้าเป็ดคาบเม็ดมะเขือมา  โปรดจับเป็ดไว้ด้วย 


ปล่อยเป็ดน้อยไปเถิด อยากให้ว่ายชมความงามแห่งท้องน้ำเจ้าพระยาแห่งสยามประเทศ พ.ศ. 2399 อันตรงกับปีที่ 5 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 และพระมหากษัตริย์องค์ที่สอง พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเดินทางเข้ามาของ แฮริส ในกรุงสยาม เพื่อ update สัญญาทางการค้าใหม่ เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนที่จะเดินทางต่อไปที่ญี่ปุ่นดังที่เล่ามาแล้วในเบื้องปฐม เมื่อฝรั่งต่างชาติเข้ามาถึงปากน้ำสยาม สิ่งที่บรรยายความไว้ในเอกสารตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ต่างพากันออกปากว่า ต้นไม้มีให้เห็นมาก เป็นป่า ท้องน้ำกว้างใหญ่ หากแต่สิ่งแรกที่มิสเตอร์แฮริส เอ่ยถึงเมื่อเข้ามาปากน้ำ คือ "ปลาเข็ม"

(เป็ดน้อยคงว่ายใกล้ ๆ คงเห็นชัดกว่า)

ปลาเข็ม มีชุกชุมและตัวใหญ่มาก ท่านเอ่ยไว้ คงตกใจไม่เคยเห็นมาก่อน หากอยู่ปากแม่น้ำคาดว่าคงจะเป็น "ปลากระทุงเหวเมือง" และนกนางนวลสวยงาม และยังมีเหยี่วขนาดเล็ก เรียกว่า "จิล" นัยว่าท่านรักธรรมชาติมาก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 13:22

วันอังคารที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2399 เรือของท่านทูตแฮริส ถือคำสั่งเต็มจากสหรัฐอเมริกาได้รอเวลาและทีท่าจากรัฐบาลสยามว่าจะดำเนินการรับทูตจากอเมริกาอย่างไรบ้าง แต่การมาครั้งนี้ประเทศสยามเพิ่งจะผ่านการต้อนรับคณะราชทูตอย่างใหญ่โต ของคณะท่านเซอร์ จอห์น บาวริ่ง กันอย่างใหญ่โต ส่วนข้าพเจ้าเองมาในฐานะที่ด้อยกว่า ดังนั้นรัฐบาลสยามจึงไม่ได้เตรียมตัวอะไรมากสำหรับการมาถึงในครั้งนี้

และแล้วเวลา 9.00 น. ได้มีเรือกลไฟลำเล็ก ๆ ของพระเจ้าแผ่นดินปรากฏให้เห็น โดยเรือมีขนาด 40 ตันและยังมีเรือตามมาด้วยอีก มองแปร็บเดียวก็ดูออกว่า "เครื่องเรือลำนี้นำมาจากสหรัฐอเมริกา ส่วนตัวเรือสร้างด้วยฝีมือคนไทย" เรือนี้ปรากฎชื่อว่า "เรือสยามอรสุมพล" (Siamese Steam Fleet)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 13:33

เรือสยามอรสุมพลได้บรรทุกหมอแมททูน มากับพระนายไวย ซึ่งแน่นอนว่าเป็นคำสั่งจากพระเจ้าแผ่นดินให้มารับข้าพเจ้าถึงเรือ

(หมอแมททูน คือ บาทหลวงสตีเวน แมททูน เป็นมิชชันนารีเพรสบีเทอเรียนอเมริกัน อาศัยในกรุงเทพฯ เป็นเวลานานพอที่จะทำหน้าที่ล่าม ได้อย่างไม่ด่างพร้อย)



บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 13:49

เป็นเวลากว่าอาทิตย์ที่ท่านทูตแฮริส นั่งรอคำตอบจากรัฐบาลสยามว่าจะส่งเรือเล็กมารับเพื่อเข้าไปยังกรุงเทพฯ แต่ระหว่างนี้หมอแมททูนได้ขึ้นเรือมาอยู่เป็นเพื่อน ได้สอนและบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ว่าจะต้องทำตัวอย่างไร มีอะไรบ้างในบ้านเมืองแห่งนี้ ท่านก็เล่าไว้ซะละเอียด เรื่องช้างเผือก เรื่องการเล่นเพื่อน การหย่าร้าง และการแต่งาน (คุยอะไรกันนี่  ฮืม..และคาดว่าเป็ดน้อยคงจะมาแอบฟังเป็นระยะ ๆ)

สาเหตุอีกประการหนึ่งที่ทำให้ช้าคือ การหาบ้านให้คณะทูตอยู่ยังหาบ้านไม่ได้ เนื่องจากบ้านหลวงรับทูตนั้นมีนาย เอช.ปาร์ค ยังไม่ย้ายออกไป ซึ่งสยามต้องการให้คณะทูตอเมริกาแห่งนี้เข้าพักที่บ้านเดียวกับบ้านที่ท่านเซอร์ จอนห์ บาวริ่ง เคยมาอยู่ แต่ก็ต้องรอให้นาย เอช ปาร์ค ย้ายออกไปก่อน จึงทำให้ล่าช้าออกไปอีก

แล้วท้ายสุดในวันจันทร์ ก็มีหนังสือยืนยันเข้ามาให้คณะทูตเข้าไปยังกรุงเทพฯ ได้ โดยมีขบวนเรือ 22 ลำมารับอย่างสมเกียรติ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 04:55


        "The Eagle and the Elephant"    หน้า ๔๐.๑ - ๔๐.๔  เล่าไว้น่าสนุกว่า

ก่อนจะมาญี่ปุ่นและสยามนั้น     แฮริสได้เดินทางผ่านยุโรป   ที่ปารีสเขาได้หาเครื่องแบบนักการทูตอันหรูหรามีหมวกหนีบปีกขนนก

(a feathered hat) พร้อมเครื่องหมายนกอินทรีทอง (gold eagle insignia)  เสื้อสีน้ำเงินคอปิดปักแผงทองที่คอและข้อมือ

(a navy blue jacket with embroiled gold cuffs and collar)  กางเกงสีขาวมีแถบทอง  หัวเข็มขัดทองพร้อมกระบี่ครบชุด

(white trousers with gold stripes and a ceremonial swards with a scabbard)    รัฐมนตรีต่างประเทศวิลเลียม  มาร์ซีอนุมัติ

การแต่งกายนี้  แต่ต่อมาได้ส่งจดหมายเวียไปตามสถานทูตอเมริกันว่า  นักการทูตควรแต่งสากลธรรมดาไม่ควรมีเครื่องแบบหรูหรา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 05:00



คุณหนุ่มสยามที่นับถือ

        พยายามเกาะเรือตามมาให้ตามหลังข้อความที่คุณหนุ่มกำลังถ่ายทอดแบบหวิดๆ

ขอรายชื่อหนังสือที่แฮริสถวายด้วยโดยละเอียดนะคะ  สนใจเพราะอาจเคยเห็นผ่านตา  แต่จำไม่ได้

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 05:25


       แฮรีสและคณะเข้าพักที่เรือนรับรองปากคลองผดุงกรุงเกษม      เขาบันทึกไว้ว่า

บ้านพักสะอาด  โปร่ง  แต่ไม่มีห้องส่วนตัวหรือรับแขก    ห้องนอนก็มีแต่ประตูไม่มีบาน  เขาจึงเอาธงอเมริกันมาใช้เป็นม่านปิดประตู

โต๊ะอาหารก็จัดอย่่างงดงามด้วยเครื่อถ้วยชามจากฝรั่งเศส   แต่มีดและช้อนส้อมทำจากอังกฤษ     อาการและผลไม้ก็มีมากมาย

แต่เขาไม่ชอบเพราะใส่กระเทียมมากไป


        แฮรีสมาถึงเมืองไทยขณะที่แฮรี ปาร์กส์ ทูตอังกฤษกำลังเข้าแลกเปลี่ยนสัตยาบันของสัญญาบาวริ่งอยู่ในกรุงเทพพอดี

ทางไทยเกรงว่าหากคณะทูตได้พบกันจะร่วมมือกันเรียกร้องผลประโยชน์มากขึ้น


        ในที่สุดก็ได้เฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  ได้ถวายสาส์นและเครื่องบรรณาการจากประธานาธิบดีเพียซ

ทั้งยังได้เข้าเฝ้า "พระเจ้าแผ่นดินที่สอง" อีกด้วย     แฮรีสกราบบังคมทูลพระองค์ว่า

The United States has no territory in the East and sought none, wanting only equal  and peaceful diplomatic and trade relations.

(ข้อความข้างบนนี้  ถ่ายทอดละเอียดมาจาก  "the Eagle and the Elephant")


ขอคอยคุณหนุ่มสยามมาเล่าเรื่องหนังสือที่ถวายก่อนค่ะ

แล้วจะวกไปเล่าเรื่องที่มาของสาวเครือฟ้าก็ยังได้  จะจริงหรือพอมีแววนั้น  เรานินทาฝรั่งบ้างเป็นไร

ถ้าจะต้องแปลก็จะเรียกว่า  "ปฎิบัติการน้ำตาล"  หรือ "แก้เเผ็ด"  




        
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 10:31

บ้านพักที่รัฐบาลสยามจัดให้ในตำราบอกว่า "เป็นเรือนไม้ไผ่" แต่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงย้ายบ้านในภายหลังก็เป็นได้


การเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นไปด้วยความเรีบบร้อยและงดงาม ท่านทูตกล่าวว่า "สหรัฐอเมริกาไม่ต้องการยึดครองดินแดนซีกโลกตะวันออกเป็นเมืองขึ้น ซึ่งรัฐไม่มีนโยบายดังกล่าวขอให้สยามวางใจได้

"นี่ทำให้สหรัฐอเมริกาเป็นเพื่อนบ้านที่ใกล้ที่สุด ซึ่งประเทศสยามอยู่ในบรรดาเชื้อสายคอเคเชี่ยน และเป็นเหตุผลอันแข็งแกร่งในการสมัครสมานสองชาติเข้าด้วยกัน

พระเกียรติยศชื่อเสียงในใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทในหลายภาษา และในสาขาวิทยาศาสตร์ชั้นสูงได้แพร่สะพัดมาถึงอเมริกา เกิดความเลื่อมใสเป็นอันมาก พระเจ้าอยู่หัวทรงรู้ชื่อประธานาธิบดีทุกคน ยกเว้นแต่คนที่แล้ว"


นี่เป็นคำพูดของมิสเตอร์แฮริสกล่าวต่อหน้าพระพักตร์

“Siam produces many things which cannot be grown in the United States, and the Americans will gladly exchange their products, their gold and their silver for the surplus produce of Siam.  A commerce so conducted will be beneficial to both nations, and will increase the friendship happily existing between them.”

เมื่อการเข้าเฝ้าแล้วเสร็จก็รับประทานอาหาร การเจรจาเรื่องการค้าได้ตีตรารับสาส์นกันโดยธรรมเนียมสยาม ฝ่ายท่านทูตแฮริส ก็บรรจงหรดครั่งประทับรับรองในเอกสารแก้ไขสัญญาทางการดังกล่าว


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 10:53

รายการเครื่องบรรณาการจากประธานาธิบดีแฟรงกลิน เพียร์ซ แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

1 กระจกเงา 2 บาน หนามาก ขนาด 80 x 56 นิ้ว กรอบไม้ปิดทอง

2 โคมไฟระย้า 2 โคมใช้ระบบน้ำมันโซล่า ซึ่งเป็นแบบที่ได้รับรางวัลการแสดงศิลปกรรมโลก ค.ศ. 1851
   โป๊ะแก้วเจียระไน 36 โป๊ะสำหรับโคมระย้าพร้อมหลอดตะเกียงเจียระไนและไส้ตะเกียง

3 กล้องจุลทรรศน์แบบที่ดีที่สุด มีแว่น 3 แว่นจำนวน 4 ชุด เครื่องมือสำหรับผ่า กระจกเงารวมแสง

4 กล้องจุลทรรศน์แสงอาทิตย์ กล้องแบบนี้จะเห็จวัตถุบนฉากหรือบนฝาผนัง

5 ปืนไรเฟิลเชื้อประทุ ลำกล้อง 8 เหลี่ยม ขนาด 32 ด้ามปืนทำด้วยเงินเยรมัน

6 ปืนสั้นของโค้ลท์ ด้ามงาเดินทอง

7 ภาพเหมือนนายพลวอชิงตัน ขนาดเท่าจริง

8 ภาพเหมือนประธานาธิบดีเพียร์ซ ขนาดเท่าจริง

9 หนังสือ Republican Court or Society in the Days of Washington เย็บหรูหรา หนังแกะตุรกี สีเลือดหมู เดินทองระยับ

10 หนังสือ American Scenery, of Principal Views in the United States หนังแพะนิ่มด้าน

11 หนังสือคำบรรยายประกอบภาพ New York Exhibition ปกหนังแพะของตุรกี เดินทอง

12 หนังสือ Iconographic Encyclopedia, or the Art and Sciences Fully Describe and Splendidly Illustrated

13 พจจานุกรมเวบสเตอร์ ฉบับสมบูรณ์ หนังแพะสีเลือดหมู เดินทองระยับ

14 ภาพทิวทัศน์เมืองสหรัฐ 10 ภาพระบายสี

15 แผนที่สหรัฐอเมริการ ตั้งแต่มหาสมุทรแปซิฟิกถึงแอตแลนติค
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 11:49

USS San Jacinto จาก wiki กล่าวถึงประวัติเรือลำนี้ไว้ว่า ...

The first USS San Jacinto was an early screw frigate in the United States Navy during the mid-19th century. She was named for the San Jacinto River, site of the Battle of San Jacinto during the Texas Revolution. She is perhaps best known for her role in the Trent Affair of 1861.
San Jacinto was laid down by the New York Navy Yard in August 1847, and launched on 16 April 1850. She was sponsored by Commander Charles H. Bell, Executive Officer of the New York Navy Yard.


และกล่าวถึงการเดินทางมาญี่ปุ่นและสยามไว้ว่า ...

There, Townsend Harris, the recently appointed Consul General to Japan, embarked on 2 April; and the ship got underway that morning for Siam. After a four-day stop at Singapore, where Commodore Armstrong relieved Commodore Joel Abbot in command of the East India Squadron, the frigate reached the bar off the mouth of the Me Nam (later the Chao Phraya) River on the 13th. A few days later, Harris ascended the Me Nam to Bangkok where he negotiated a treaty establishing diplomatic and commercial relations between the United States and Siam. The King of Siam at the time was Mongkut, who was later the subject of the musical comedy, The King and I.

After succeeding in this delicate diplomatic mission, Harris returned on the morning of 1 June to San Jacinto, which awaited him at the mouth of the Me Nam; and the frigate departed Siam to carry Harris to his new post in Japan.

However, after only half an hour of steaming, engine trouble reappeared and plagued the ship throughout her painfully slow passage to Hong Kong, which she finally reached on the 13th. There, major repairs interrupted the voyage for almost two months.

...





บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 11:53

เรือ USS Powhatan และเรือ Karin Maru ...




บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 12:10

ยินดีที่ลุงไก่ นำเรือพ่วงเข้ามาลำใหญ่มาก เรือกลไฟสวยงามยิ่งนักแต่ก็หยุดเพียงปากแม่น้ำเจ้าพระยา คนในพระนครมิอาจจะเห็นและล่วงรู้ได้ถึงความใหญ่โต

หากแต่เรือนี้เจ้าพระยาพระคลัง ได้เหยียบหัวเรือสำรวจไปทั่วลำ และให้ท่านทูตรายงานว่า เรือมีขนาดเท่าไร พกดินปืนมากี่ถัง มีปืนกี่กระบอก เล่าให้ละเอียดที่สุด เพื่อจะทูลเกล้าถวายรายงานให้ทรงทราบ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 12:12

เรือ Karin Maru นี่เองที่ทำให้ชาวเอโดะขวัญผวา กับการมาเยือนของฝรั่งต่างชาติ ในฐานะเรือดำ ยิ่งใหญ่สมคำร่ำลือ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 ธ.ค. 11, 12:42


         พจนานุกรมเว็บสเตอร์หรือ     คงโปรดมากเป็นแม่นมั่น


        สนธิสัญญาที่ได้ลงนาม เมื่อวันที่ ๒๙ พฤษภาคม  ๒๓๙๙  มีสาระสำคัญเช่นเดียวกับสนธิสัญญาบาวริง  

ไทยยอมเลิกผูกขาดการค้า  ยอมให้มีการค้าเสรี   ข้อสำคัญคือข้อที่ว่าด้วยอำนาจศาลกงสุลหรือสิทธิสภาพนอกอาณาเขต

และข้อที่ว่าด้วยอัตราภาษีศุลกากรซึ่งเลิกวิธีเก็บภาษีปากเรือสำหรับสินค้าขาเข้า   เปลี่ยนมาเก็บอัตราร้อยละสาม

ก่อนกลับออกไปจากกรุงเทพฯ   แฮรีสแต่งตั้งหมอสตีเฟน  แมตตูน  เป็นกงสุลอเมริกันคนแรกประจำประเทศไทย


  
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.094 วินาที กับ 20 คำสั่ง