เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 15999 ต้นโอ๊คล้มสะเทือนไปทั้งป่า ลูกโอ๊คหล่นมาเสียบเบาใส
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 11:47

เรื่องราวของทูตอเมริกาท่านหนึ่งที่นำมาให้ประเทศญี่ปุ่นและสยามเข้ามาเกี่ยวข้อง ขัดแย้ง วุ่นวาย

และเมื่อลูกโอ๊คได้ร่วงหล่นลงพื้นอย่างเงียบ ๆ ไม่นานนักต่างผลิใบออกผล เติบโตเจริญก้าวหน้าตามลำดับ กระแสแห่งการค้าเป็นเพียงแค่การเริ่มต้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 21:45

ท่านผู้นี้เป็นพ่อค้าชาวอเมริกัน พูดได้หลายภาษา เช่น ฝรั่งเศส อิตาเลียน สเปน จนมาค้าขายที่เซี่ยงไฮ้ และโอกาสแห่งโชคก็มาถึง ค.ศ. 1853 ท่านได้เข้ารับสมัครเป็นกงสุลอเมริกันประจำฮ่องกง หรือไม่ก็ที่กวางตุ้ง

ความเก่งและความสามารถทำให้ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพียร์ซ ได้สนับสนุนให้เป็นกงสุลเมืองนิงโป ประเทศจีน ได้รับเงินเดือน 1,000 ดอลล่าร์/ปี (รวยอู้ฟู่เลยครับ) โดยได้รับการอนุมัติจากสภาซีเนท ในวันพุธ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1854
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:02


โอ....สารตั้งต้นของมาดามบัตเตอร์ฟลายนี่เอง


เมื่อคืนอ่านเพรสซิเด้นเพี๊ยสอยู่พอดี


ขอพายเรือตามดอนไปเรื่อยๆ    ประวัติศาสตร์ที่เขียนเป็นภาษาไทยในสมัยนั้นอาจไม่สมบูรณ์เต็มที่

อา....แฮรีสซัง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:02

เป็นเวลาเกือบปีท่านต้องเดินทางไปรับตำแหน่งที่สหรัฐอเมริกา ผ่านไปมะละกาก็แวะคุยกับเพื่อนที่กงสุลสหรัฐที่เกาะปีนัง การที่ท่านรับตำแหน่งกงสุลที่นิงโป ประเทศจีน ไม่ค่อยดีใจมากนัก หากแต่เป้าหมายหลักของท่านคือ ต้องการเป็นกงสุลประจำประเทศญี่ปุ่นเสียมากกว่า

ในระหว่างเดียวกันและก่อนหน้านี้ เกิดความวุ่นวายอย่างใหญ่หลวงกับประเทศญี่ปุ่น รัฐบาลโชกุนโตกุกาว่า และองค์จักรพรรดิ์ต่างมีปัญหาระหว่างกัน การปฏิรูประบบราชการแถมยังกองเรือโดยผู้บังคับการเปอร์รี่ ได้นำเรือดำเข้าเทียบท่า ประเทศญี่ปุ่น

ภาวะวุ่นวายถึงกระแสการให้เปิดประเทศจากญี่ปุ่นสังคมใหม่ ขัดแย้งกับสังคมเก่า ตลอดจนมีผู้เรียกร้องให้เปิดประเทศ ส่วนฝ่ายจักรพรรดิ์ไม่ต้องการให้เปิดประเทศคบค้ากับต่างชาติ เรือดำ (Black Ship) ทำให้สังคมญี่ปุ่นเกิดสงครามภายในความขัดแย้งกันจนแตกเป็นสองฝ่าย

และท้ายที่สุดสนธิสัญญาของเปอร์รี่ ได้ถูกทำสัญญาวันที่ 31 มีนาคม ค.ศ. 1854
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:08


โอ....สารตั้งต้นของมาดามบัตเตอร์ฟลายนี่เอง


เมื่อคืนอ่านเพรสซิเด้นเพี๊ยสอยู่พอดี


ขอพายเรือตามดอนไปเรื่อยๆ    ประวัติศาสตร์ที่เขียนเป็นภาษาไทยในสมัยนั้นอาจไม่สมบูรณ์เต็มที่

อา....แฮรีสซัง

พ่วงเรือไปด้วยกัน


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:15



แทงยู

สัญญาว่าจะไม่ปาดโดยไม่จำเป็น    และจะไม่ใช้ลิ้งค์ของดอนเป็นอันขาด

(ถ้าไม่เผลออ่ะ)
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:37

เมื่อได้ทำสนธิสัญญาทางการค้ากับทางประเทศญี่ปุ่นแล้ว ก็กำหนดจะต้องตั้งสถานกงสุลสหรัฐฯ ประจำประเทศยี่ปุ่นขึ้นภายในเวลา 18 เดือน หรือปีครึ่ง แท้จริงแล้วสัญญาของเปอร์รี่ที่ทำกับประเทศญี่ปุ่นนั้นไม่ใช่สัญญาทางการค้า หากแต่เป็น "Wood and Water Treaty"

และแน่นอนว่าบุคคลอันดับหนึ่งที่ควรจะได้เป็นกงสุลคือ "เทาเซนด์ แฮรีส"

ญี่ปุ่นก่อนหน้านี้ มีนายทหารเรืออเมริกัน "นายพลจัตวาบิดเดิ้ล" ได้เดินเรือมาที่ญี่ปุ่นเพื่อทำการเจรจาทางการค้า หากแต่ถูกชาวญี่ปุ่นขับไล่ ทำให้เกิดภาพพจน์ถึงความอ่อนแอของอเมริกัน หากแต่การมาของนายพลเปอร์รี่ กลับมาในตรงกันข้าม

ญี่ปุ่นจะทำตัวอย่างไรกับการรบกับอเมริกา กับ การถูกให้ยึดดินแดนเป็นเมืองขึ้น สิ่งเหล่านี้กลายเป็นเกมการเมืองระหว่างรัฐบาลจักรพรรดิ์ (บาคุฟุ) กับ รัฐบาลโชกุน (ตระกูลโตกุกาว่า) ฝ่ายซามูไรที่ปกป้องสถาบันย่อมถือตนว่าเป็นนักรบ มิยอมให้ชาวป่าเถื่อนเข้ามาในดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์แห่งลูกพระอาทิตย์ได้

หากยอมให้มีการเปิดประเทศ หรือเป็นเมืองขึ้นแล้ว บรรดาซามูไรก็ย่อมมีปัญหา แน่นอนพวกเขาจะทนได้หรือที่จะเห็นโชกุน ยอมก้มหัวให้กับชาวป่าเถื่อน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:48

สัญญาโดยเปอร์รี่ เรียกภาษาญี่ปุ่นว่า "สนธิสัญญาคานากาวา" ทำกันที่หมู่บ้านประมงเล็ก ๆ เมืองโยโกฮามา โดยมีการเปิดเมืองท่าฮาโกดาเตะ และ ชิโมดะ ให้กับเรืออเมริกัน

สนธิสัญญาคานากาวานี้ ญี่ปุ่นอ้างเพียงเปิดแง้มให้เท่านั้น ไม่ได้เปิดเมืองอย่างเต็มที่ ซึ่งเป็นเมืองประมงเล็ก ๆ แถมยังมีเวลาอีก 18 เดือน กว่าอเมริกาจะดำเนินการตั้งกงสุล โดยที่ญี่ปุ่นไม่ต้องการแม้แต่น้อย

ระหว่างกันนี้บรรดาโลกตะวันตก เริ่มรุกไล่เข้าขย้ำญี่ปุ่น ทั้งอังกฤษ และรัสเซีย เนเธอร์แลนด์ ต่างรุมเร้าบังคับให้เปิดประเทศและยึดเมืองท่าไว้ มีการเปิดเมืองท่านางาซากิ โมดะ ชิอาโกดา
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:56

ภาพแฮริส เข้าเฝ้าโชกุนองค์ที่ 13 อิเอยาซึ โตกุกาวะ ที่บาคุฟุ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 22:56

ภาพขบวนทูตญี่ปุ่น ที่ไวท์เฮ้าส์ สหรัฐอเมริกา คศ. 1860


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 06:43


        ภาพสตรีสองคนที่ปีนโต๊ะเพื่อดูแขกจากต่างประเทศนั้น  แปลกอยู่สักหน่อยที่ไม่สำรวมว่าตนเอง

ก็เป็นแขกในสถานที่นั้น

        หนังสือพิมพ์ในอเมริกาให้ความสนใจกับการมาเยือนของคณะทูตมาก   สละเนื้อที่รายงานกันอย่างละเอียด

ในตอนแรกหนังสือพิมพ์เน้นว่า  แขกของประเทศผู้มาจากทางไกลจะได้เห็นความเจริญของโลกตะวันตกและความก้าวหน้าของอเมริกา

อเมริกันชนตามถนนก็มามุงดู   สนใจเสื้อผ้า  ทรงผม และดาบญี่ปุ่น กันออกนอกหน้า   แสดงมารยาทฝรั่งมุง(เพราะไม่ค่อยมีอะไรดู)

หนังสือพิมพ์ใหญ่ฉบับหนึ่งถึงกับครวญว่า      อเมริกาคงมีสุภาพบุรุษและสุภาพสตรีบ้าง   แต่น่าเสียใจที่ผู้มาเยือนชาวญี่ปุ่นคงไม่ได้เห็น

"The barbarian and savage behavior has been entirely upon our part".
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 07:07


        คณะทูต เกือบ ๗๐ ชีวิตโดยสารมากับเรือของกองทัพเรือ USS Powhattan

สิ่งที่น่าสนใจคือ ญี่ปุ้นส่งเรือรบ Karin Maru  มาคุ้มกันตลอดการเดินทาง  มีกัปตันชื่อ  Katsu Kaishu

เจ้าหน้าที่ในเรือมี ๙๘  คน  เจ้าหน้าที่อเมริกัน ๑ คน       ความสำคัญก็คือว่าญี่ปุ่นสามารถเรียนรู้เทคนิคของการนำทางแบบตะวันตก

ได้ในเวลาไม่ถึง ๖ ปีหลังจากที่ได้ปิดประเทศไปตั้ง ๒๕๐ ปี


        ล่ามญี่ปุ่นนั้นเก่งมากเพราะตอนอายุ ๑๔ เรือแตกแล้วได้รับการช่วยเหลือให้ไปอยู่ในอเมริกาตั้งเกือบ ๑๐ ปี  เรียนหนังสือชั้นประถมและมัธยมในอเมริกา

กลับบ้านไปตอนอายุ ๒๔

        เมื่อเรือ Karin Maru  ไปถึงซานฟรานซิสโก  เจ้าหน้าที่เรือ  Fukuzawa  Yukishi   ก็ไปหาซื้อพจนานุกรม อังกฤษ-จีนของเว็บสเตอร์มาศึกษา  

ต่อมาเขาก็สร้างพจนานุกรมพจนานุกรม อังกฤษ-ญี่ปุ่นออกมา

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 07:16



        กวีไฮกุคนสำคัญ Kato Somo  ตอนนั้นเป็นหนุ่มอายุ ๓๗  ที่เดินทางไปกับคณะทูต  เขียนไฮกุตอนหนึ่งว่า


        Despised grass flourishes

        orchids not to be seen

        anywhere
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 07:25



         เรื่องราวที่คุณหนุ่มสยามนำมาเล่านี้    มีสาระน่าสนใจ     

ดิฉันก็ตามอ่านจากหนังสือพิมพ์เป็นหลัก     พยายามรักษาระดับการปาดให้อยู่เวลาเดียวกัน

ไหนๆก็เมตตาให้พ่วงเรือมาด้วยกันแล้ว      ถึงจะไม่ได้รับแจกขนมนมเนยแม้นแต่ครั้งก็ไม่เป็นไร

อย่าตีเอื้อยตกน้ำเลยนะคะคุณหนุ่ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 09:38



         เรื่องราวที่คุณหนุ่มสยามนำมาเล่านี้    มีสาระน่าสนใจ    

ดิฉันก็ตามอ่านจากหนังสือพิมพ์เป็นหลัก     พยายามรักษาระดับการปาดให้อยู่เวลาเดียวกัน

ไหนๆก็เมตตาให้พ่วงเรือมาด้วยกันแล้ว      ถึงจะไม่ได้รับแจกขนมนมเนยแม้นแต่ครั้งก็ไม่เป็นไร

อย่าตีเอื้อยตกน้ำเลยนะคะคุณหนุ่ม
.

ช่วงนี้ไม่อยากทานมะเขือ ...หากคุณวันดีได้อ่านหนังสือพิมพ์เป็นหลัก คงจะทราบข่าวการเดินทางมาของเรือ US. San Jacinto ที่เดินทางเข้ามายังสยามด้วย อันเป็นเหตุให้เรื่องราวที่น่าติดตามต่อไปนี้ เกี่ยวข้องกับบันทึกของแฮริส ในสยามประเทศ


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง