เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 16105 สาแหรกของแม่พลอย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 23 ธ.ค. 11, 12:24

มะม่วงกวนน่ะ กินมาเยอะ   นั่งดูเขากวนก็เคย   ช่วยเขากวนก็เคย  
แม้จะกวนไม่เก่ง ไม่ชำนาญถึงขนาดรู้การใช้ไฟ  การปรุงรส
อย่างน้อยก็รู้จากปากของผู้ใหญ่ว่า  สมัยก่อนน่ะ  เขากวนมะม่วงกินเป็นทุกบ้านแหละ

ดูท่าทางแล้วคุณหลวงคงจะ กวน เก่งมากทีเดียว ส่วนหนุ่มสยามเองก็เคยผ่านการกวนมะม่วง ซึ่งทรมานมากหลาย ถึงคราวมะม่วงน้ำดอกไม้ที่บ้านออกมามากมาย จำรวมมากวนให้น้ำงวด กระเด็นเดือดปุด ๆ โดนหลังมือเนื้อสุก สะดุ้งโหยง แต่คุ้มค่าเมื่อนำมาแผ่แผ่นบางใส สะอาดอีกด้วย  ยิงฟันยิ้ม

ในตำราแม่แช่มค่อนพ่อฉิมว่า "ค่อนข้างเค็ม" คงรู้จักเขียม ใช้เงินฟุ้งเฟ้อ นิสัยพ่อค้ากำไรนิดหน่อยก็เอา
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 23 ธ.ค. 11, 13:01


        แช่มมีเรือนแพซื้อมาจากคนแถวนั้น(ด้วยคำแนะนำของฉิมผู้ฟาดค่านายหน้าไปแล้วแน่นอน)

รับซื้อสินค้าขายบ้างแถวนั้นและส่งเข้ากรุงเทพ  และกำลังจะซื้อผ้าผ่อนท่อนสไบจากกรุงเทพไปขายที่แพ

แช่มมีรายได้เป็นของตนเอง       ฉิมมีเรือหลายลำ  ซึ่งคงคิดราคาแช่มไม่แพงเกินไป

คนที่มีเรือขนส่งสินค้าได้นั้น  น่าจะเป็นนักเลงพอตัว    แข่มตายลงนางพิศก็เข้าวังมาหาพลอยประกาศตนเป็นมรดก

เงินทุน  เรือนแพ  สินค้า   ฉิมยึดอย่างสงบ

        ผ้าสมัยนั้นมีราคา  คนวิ่งราวผ้ากัน    การจำนำผ้าที่เพื่อนนำมาฝากก็เป็นคดีถึงโรงศาล    เช่าเรือนแถวเก็บผ้าแล้วมีคนมางัด

หรือคัดกุญแจ    คนเช่าแจ้งจับผุ้ให้เช่าเลย



มีปัญหาถามคุณหลวงเล็กที่นับถือและครั่นคร้าม

       มีเรื่องที่คิดไม่ตลอดรอดฝั่ง  คือ ครอบครัวของหญิง  บันทึกว่า  หญิงได้สมรสกับชาย  มีบุตร ๒ คน   แต่บุตรมิได้รับมรดก

แล้วจะนับว่าสมรสได้หรือคะ    เพราะเพื่อนข้าราชการ  ผู้บังคับบัญชาก็ไม่เคยทราบหรือมีบันทึกว่า   ฝ่ายชายมีครอบครัวที่ สอง

อยู่ด้วยกันที่ไหนก็ไม่มีใครทราบ  มิได้อยู่ในบ้านใหญ่        แล้วดูราวกับว่าเมียที่ตกแต่งออกหน้าเข้าเฝ้าถวายของ  ไม่ทราบว่าสามี

มี ครอบครัวที่สอง       การเรียกร้องมรดกก็ไม่มีเพราะบุตรยังเด็ก    มารดาคงไม่มีที่พึ่ง   คิดมาคิดไป  หาที่พึ่งยังไม่ได้  เพราะสามีไม่ใช่คนไทย

เมียตกแต่งก็ออกจากประเทศไทยไปแล้ว


กฎหมายมรดกของไทยจะแบ่งให้เมียหลวง ๓ ส่วนครึ่ง   เมียอีกคน ๓ ส่วนกระนั้นหรือ   ไม่ใช่สร้อยฟ้า ศรีมาลานะคะ

สมรสนี่ต้องมีงานแต่งหรือคะ  เช่นผูกขอมือ  หรือไปสู่ขอหญิงมาจากผู้ปกครอง    ภาษาเก่าว่าสุนัขไม่ได้กินกากมะพร้าว(ไม่มีงานกินเลี้ยง)

ขออภัยที่ชักใบเรือออกนอกเส้นทางเล็กน้อย
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 23 ธ.ค. 11, 13:17

ท่านอาจารย์ฯ เขียนไว้ว่า "ของที่แม่เอามาคราวนี้ดูมากมายหนักหนา นับของที่ใส่ชะลอมก็สิบกว่าชะลอม มีลูกไม้กล้วยอ้อยจากบ้านนอกบ้างซึ่งแม่บอกว่าเอามาฝากเพื่อนฝูง ไข่ทั้งจืดทั้งเค็มและปลาแห้งปลากรอบ ซึ่งแม่บอกว่าจะเอามาถวายเสด็จ ได้คัดเลือกเอามาแล้วอย่างดีจริงๆ ทั้งนั้น ..."

ก็น่าจะเป็นไปได้ว่าของที่จะถวายเสด็จนั้น แม่แช่มซื้อหาเอาจากตลาดท่าเตียนหรือจากปากคลองตลาด

ไข่ทั้งจืดทั้งเค็ม ก็คงจะเป็นไข่เป็ด ไม่ใช่ไข่ไก่เป็นแน่

อีกประโยคหนึ่งคือของฝากที่แม่แช่มนำมาฝากให้พลอย " ... อีกชะลอมหนึ่งใส่ไข่เต่าเปลือกขาวสะอาด ... แต่สิ่งสุดท้ายที่แม่ล้วงจากชะลอมก็คือทุเรียนกวนพวงหนึ่ง ห่อกาบหมากเรียบร้อยเป็นห่อเล็กๆ แต่ละห่อน่าเอ็นดูเพียงจะขาดใจ"

คุณสายซึ่งนั่งดูของที่แม่นำมาฝากพลอยถึงกับอดใจไว้ไม่ได้ ต้องอุทานออกมาว่า "ต๊าย ช่างทำน่าเอ็นดูจริงๆ แม่แช่มนี่แกไม่ทิ้งนิสัยชาววัง ไม่ว่าจะไปไหนก็ช่างคิดช่างทำอยู่เสมอ"

เป็นอันว่าทุเรียนกวนห่อกาบหมากนี่ แม่แช่มทำเอง ส่วนจะกวนทุเรียนเองหรือเปล่า และทุเรียนที่ฉะเชิงเทราน่าจะมาจากไหน เมืองนนท์ เมืองชล เมืองระยอง เมืองจันทร์ ?

ไข่เต่าถ้าจะมีที่ฉะเชิงเทรา ก็เป็นไข่ของเต่าน้ำจืด

เรื่องที่คนไทยทำมาค้าขายไม่เป็น สู้คนจีนไม่ได้นั้น คงต้องคิดใหม่ว่าคนไทยก็ค้าขายเป็นมาแต่ครั้งโบราณ แต่คนจีนที่ค้าขายเก่งกว่าก็น่าจะเป็นเพราะการหาทุนประกอบการค้าทำได้ง่ายกว่าคนไทย (อ้างถึงบันทึกประวัติของคุณเทียม โชควัฒนา ที่ได้เคยอ่านครับ)



เรื่องมะม่วงกวน กวนมะม่วง ก็คงให้ผู้ชำนาญการได้เสวนากันต่อไปครับ  ผมถนัดทานอย่างเดียว

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 23 ธ.ค. 11, 14:02

สินค้าพื้นเมืองฉะเชิงเทรา ไม่มีทุเรียนปรากฎมาก่อน ดังนั้นคงมาจากแหล่งอื่น อาจจะซื้อติดไม้ติดมือระหว่างเดินทางหรือถึงพระนครก็เป็นได้

ของขึ้นชื่อที่ฉะเชิงเทรามีหลายอย่าง
๑. อ้อย นำมาหีบเป็นน้ำตาลอย่างดี ขึ้นชื่อลือชา ควรนำมาฝากเสด็จได้
๒. สัปปะรด มีปลูกมากขึ้นชื่อลือชา ปลูกกันเป็นพัน ๆ ไร่ คาดว่าเมื่อแม่พลอยโตเป็นสาวแล้ว คงได้ข่าวการตั้งโรงงานผลิตสัปปะรดกระป๋องเป็นแน่แท้
๓. มะพร้าว ปลูกกันมากมาย  เก็บภาษีกันไม่หวาดไม่ไหว
๔. ต้นจาก ใบจาก ลูกจาก ของอร่อยมากมาย น้ำส้มสายชูต้นจาก ของแปลกสำหรับพระนคร ควรติดชะลอมมาด้วย (หากคุณหลวงเล็กจะตรวจเดินสวน ก็เสียอากรยกสวนไปเลย ราคา ๑ เฟื้อง)
๕. ยาสูบ, ถั่ว, งา มีบ้าง
๖. ผลหมาก มีให้เลือกมากมาย ปลูกกันดาษดื่นที่ฉะเชิงเทรา
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 24 ธ.ค. 11, 23:21

ถ้าเป็นสาแหรกคุณเปรมคงเข้ามาร่วมสนทนาด้วย แต่นี้สิ้นปัญญา ขอนั่งอ่านเงียบๆอย่างสนใจดีกว่า

ทั้งนี้ ไปเจอเอกสารฉบับหนึ่ง ว่าด้วยเมืองจีนบันทึกถึงการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นั่งอ่านด้วยความตื่นเต้น และแกมยากลำบาก เพราะว่าเป็นภาษาโบราณ

นอกเรื่องไปนิด แต่ก็ยังอยู่ในเค้าของสี่แผ่นดิน
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 05:45


สวัสดีค่ะคุณฮั่นบิง   ที่ระลึกถึง     ดีใจที่เห็นแวะมา

เมืองไทยตอนนี้อากาศสลับหนาวในตอนเช้าตรู่    ลมแรงไม้ร่วงกระจายไปทั่วทิศ

ต้นไม้ต้องการน้ำมากเพราะอากาศแห้ง

สหายที่ชอบอ่านหนังสือมาคุยกัน  แสดงจินตนาการการของตนเอง   น่าอภิรมย์ยิ่งนัก

มีคนกระฟัดกระเฟียดอยู่บ้างว่าคุยกันแต่เรื่องมะม่วง

อ้าว...ของชอบนี่นา

นักสะสมหนังสือและเจ้าของสำนักพิมพ์เล็กๆคนหนึ่ง  อ่านหนังสือเก่าสมัยสุภาพบุรุษให้เราฟัง

ว่าพระเอกนึกถึงนางเอกในสวนมะม่วงที่กำลังออกผลงามบนต้น  ซึ่งนางเอกจะเลือกไปกวน

มีเสียงประท้วงจากพรรคพวกทันทีว่านักประพันธ์หลงทาง   มะม่วงที่นำมากวนนั้นจะเป็นมะม่วงที่เหลือจากการคัดส่งขาย

และเป็นมะม่วงที่ร่วงหล่น   ปอกแล้วก็ต้องตัดบางส่วนทิ้ง    มะม่วงทั่วไปที่สุกนั้นเมื่อกวนจะรสหวานมาก     

นักอ่านไม่มีเบาะแสมากนักเเรื่องแม่แช่ม     เมื่อตั้งวงแล้วก็ไม่ค่อยจะยอมเลิก

ปีใหม่ไปแล้วก็นัดกันว่าจะไปหาหมี่กรอบชาวบ้านกินกัน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 11:55

ลุงไก่ยังเดินท่อมๆ เลาะกำแพงวังอยู่เลย คุณวันดีพาไปเที่ยวเมืองฉะเชิงเทราแล้ว

.....

จะเป็นเส้นทางเดียวกับแม่ช้อยเดินทางไปฉะเชิงเทรากระมัง?

อะไรๆ ก็รับทราบเกือบหมดแล้ว เลยต้องคว้าเครื่องคิดเลขมาคิดอายุตัวละครแต่ละท่านแทน





ขออภัยด้วยครับที่ แม่แช่ม กลายเป็น แม่ช้อย คงจะเบลอ ...

จำได้ว่าสมัยก่อน มะม่วงกวน จะวาง แผ่ บน กระด้ง สานด้วย ตอก แล้วนำไปตากแดดจัดๆ สักแดดหนึ่ง
สมัยนี้คงจะหากระด้งสานได้ยาก เทคโนโลยีทางวัสดุที่เปลี่ยนไปด้วยภูมิปัญญาชาวบ้าน






คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 12:24

จริงเรื่องกวนมะม่วงนี้ของถนัดเพราะว่าที่บ้านมีต้นมะม่วงน้ำดอกไม้อยู่ สมัยเด็กๆ หน้ามะม่วงทีก็เป็นธุระของคนทั้งบ้านในการปอกมะม่วง กวนมะม่วง และตากมะม่วงกวน

นี้ไม่นับนั่งห่อและบรรจุขาย และขี่จักรยานไปส่งอีก

ตอนนั้นเด็กอยู่มาก กวนหน้าเตาเราทำไม่ค่อยไหว (จำได้เลยว่าไม่ชอบ เพราะมันร้อนมาก) ได้แค่เดินตามคุณยายและพี่เลี้ยง และคนในบ้านคนอื่นๆตอนไปตากมะม่วง

หน้าที่มีอย่างเดียวคือกลับมะม่วง

คิดไป ตอนเด็กๆ ไม่ได้ชอบมะม่วงกวนที่แห้งเป็นแผ่น แต่ชอบตอนที่เหลวๆ กินอร่อยดี

เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนนอกเหนือไปจากการทำขนมไทย ที่ต้องใช้แรงงานมหาศาลในการกวน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 12:54


คิดไป ตอนเด็กๆ ไม่ได้ชอบมะม่วงกวนที่แห้งเป็นแผ่น แต่ชอบตอนที่เหลวๆ กินอร่อยดี


คุญหาญเคยทานแยมมะม่วงไหมครับ เมื่อกวนมะม่วงได้ที่แล้ว ไม่ต้องตากแห้ง แบ่งมาหน่อยใส่ขวดโหลแก้ว แช่เย็นให้จับตัวนิด นำมาทาขนมปังทาแยมมะม่วงน้ำดอกไม้ได้อร่อยมาก
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 13:24

        มะม่วงแผ่นสีคล้ำแผ่นโต  เอามาม้วน  สูบต่างบุหรี่ตะพานโพ

มะม่วงแผ่นสีส้มใสแผ่นกลาง    ทำมาจับจีบ   ทำถ้วยเล็กๆ   กว่าจะได้ที่  ก็กินที่ไม่สวยไปมากต่อมาก

ส้มลิ้มแผ่นจิ๋ว  ก็นำมาตั้งแถวซ้อนกันทำป็นตั้งพลูมี ๘ ใบ  กินทีละตั้ง

ไม่ชอบชัทนี่  ดูจะหวาน  เห็นแต่แขกอินเดียกิน

ผู้ใหญ่ที่บ้านหยอดมะม่วงกวนลงบนใบไม้ที่กินได้ใบกลาาง ๆ    วางตากแดดไว้ที่ขอบสะพานบ้านใหญ่ไปบ้านเล็ก

เดินผ่านกี่ครั้งก็เลือกชิม  และเก็บไปฝากสหาย   วันเสาร์ก็ฝากสหายบ้านไกล      วันอาทิตย์ก็ฝากสหายที่ไปซื้อต้นไม้ซื้อหนังสือ

วันจันทร์ก็ฝากมืตรที่ที่ทำงาน      กลับมารายงานว่าให้ใครบ้าง   ผู้ใดกินแล้วชมว่าอย่างไรบ้าง

บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 14:03

จริงเรื่องกวนมะม่วงนี้ของถนัดเพราะว่าที่บ้านมีต้นมะม่วงน้ำดอกไม้อยู่ สมัยเด็กๆ หน้ามะม่วงทีก็เป็นธุระของคนทั้งบ้านในการปอกมะม่วง กวนมะม่วง และตากมะม่วงกวน

นี้ไม่นับนั่งห่อและบรรจุขาย และขี่จักรยานไปส่งอีก

ตอนนั้นเด็กอยู่มาก กวนหน้าเตาเราทำไม่ค่อยไหว (จำได้เลยว่าไม่ชอบ เพราะมันร้อนมาก) ได้แค่เดินตามคุณยายและพี่เลี้ยง และคนในบ้านคนอื่นๆตอนไปตากมะม่วง

หน้าที่มีอย่างเดียวคือกลับมะม่วง

คิดไป ตอนเด็กๆ ไม่ได้ชอบมะม่วงกวนที่แห้งเป็นแผ่น แต่ชอบตอนที่เหลวๆ กินอร่อยดี

เป็นอุตสาหกรรมในครัวเรือนนอกเหนือไปจากการทำขนมไทย ที่ต้องใช้แรงงานมหาศาลในการกวน


หลักฐานจากภาพ .. เชื่อครับ



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 ธ.ค. 11, 14:47

เชื่อหรือไม่ ไม่เคยกินเลย เพราะทุกครั้งที่จะกินจะถูกดุว่า กินอะไรแปลกๆ รอให้แห้งก่อน

อีกข้อหนึ่งที่ทุกวันนี้ยังจำได้คือ การไปเก็บผึ้งออกจากมะม่วงกวน ค่อยๆเก็บ เวลามันติด ภายหลัมีตาข่ายเล็กๆคลุมค่อยสบายขึ้นหน่อย

ตอนนี้ยายก็จากไปแล้ว ต้นมะม่วงก็ล้มไปแล้ว คนในบ้านลดจำนวนลงไปตามภาวะสังคมที่เปลี่ยนไป เหลือแต่คนในครอบครัวจริงๆ คนในบ้านที่เคยมาอาศัยร่วมกันเป็น ๑๐ ก็แยกย้ายไปตามแรงบุญแรงกรรมของแต่ละคน

นึกถึงสมัยก่อนโน้น เวลาสงกรานต์ ทำลาบ ก้อย ครั้งละกะละมังโตๆ สองสามกะละมัง หน้ามะม่วงทำมะมวงกวนที่ละ ๕ - ๖ กะทะใบบัวโตๆ มะม่วงจากสวนกองท่วมหัว คนในบ้านสาละวนช่วยกันทำงาน ขายบ้าง แบ่งบ้าง คิดๆไปชีวิตวัยเด็กคล้ายๆกับหนังสือเรื่องเมื่อคุณตาคุณยายยังเด็กนิดๆ อาจเป็นเพราะอยู่ในจังหวัดชัยภูมิก็ได้ ชีวิตเลยก้าวไปช้ากว่าในกรุงเทพมหานคร

หลุดจากเรื่องแม่พลอย แม่แช่มไปไกล ขออภัย
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 11:16

ทันทีที่มีเวลาก้าวขึ้นเรือนไทย ก็ตามกระทู้นี้ทันทีค่ะ

แม่แช่มดูจะค้าขายรุ่งเืรืองรวดเร็ว โดยอาศัยฝีมือชาววัง และ การสนับสนุนของคนรัก จึงได้เปรียบ

ผิดกับแม่ช้อยที่กลับบอกว่า ฝีมือชาววังแำละทำของขายก็ต้องดีเลิศ เป็นผลให้แม่ช้อยค้าขายไม่รุ่งเรืองเท่า

อาจะเป็นได้ทีี่่แม่ช้อยริค้าขายเอาเมื่อเศรษฐกิจตกต่ำก็เป็นได้

ในสายตาคนตะวันตก ได้กล่าวถึงยุคสมัยที่แม่แช่มค้าขายไว้ดังนี้

The last decade of King Chulalongkorn’s long reign was as nearly utopian as our world has seen. There was no poverty as in other lands; no one could freeze or starve because the monasteries afforded free shelter in their salas. There was reward for intelligent endeavor. The humblest born could earn a title of nobility. The aged were honored and cared for. Children were taught to honor priest, teacher, and parent in that order. Their heritage from ancient times was a gracious dignity and charm inherent in free people. They were a peace within and without their borders. They were friendly to the stranger and tolerant of foreigners’ outlandish ways, Whether Hindu, Muslim, Chinese or European.
(page 54  “Siam Was Our Home” A narrative memoir of  Ednar Bruner Bulkley’s years in Thailand in the early 1900’s.)
ในช่วงทศวรรษสุดท้ายของรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์ซึ่งทรงครองสิริราชสมบัติมาเป็นเวลายาวนานนี้ สยามเปรียบเสมือนเมืองในฝัน(Utopia) ที่ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ไม่มีความยากจนในแผ่นดินแห่งนี้เหมือนดังเช่นที่แผ่นดินอื่น ไม่มีผู้ใดต้องหนาวตายหรืออดอาหารจนตาย เพราะตามวัดจะมีศาลา ไว้ใช้เป็นที่พักพิงแก่คนยากไร้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย มีรางวัลให้แก่ผู้ที่พยายามศึกษาหาความรู้ แม้ผู้ที่มีฐานะต่ำต้อยที่สุดก็มีโอกาสที่จะได้รับยศถาบรรดาศักดิ์ คนชราได้รับความเคารพและดูแลเอาใจใส่ เด็กๆ ได้รับการอบรมสั่งสอนให้เคารพพระภิกษุ ครูบาอาจารย์ และพ่อแม่ตามลำดับ มรดกทางวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณกาลนับเป็นเกียรติภูมิและเป็นเสน่ห์ที่สืบทอดอยู่ในสายเลือดของคนที่เป็นไท พวกเขาอยู่กันอย่างสงบสุข เป็นมิตรกับคนต่างถิ่น และยอมรับวิถีชีวิตที่แตกต่างของชนชาตอื่นๆไม่ว่าจะเป็นฮินดู มุสลิม จีน หรือ ยุโรป (หน้า 80 “สยามคือบ้านของเรา” โดยเอ็ดน่า บรูเน่อร์ บัลค์ลีย์ แปลโดย “เด็กวัฒฯ รุ่น 100”)
Although Bangkok at the turn of the century was a Shangri-La of peace and plenty, with the splendors of court life in its very midst, royalty going in and out unprotected and unselfconscious, it was also totally devoid of the sordid and distressing poverty common in most of the other great cities of the world.
(page 75 “Siam Was Our Home” A narrative memoir of  Ednar Bruner Bulkley’s years in Thailand in the early 1900’s.)
กรุงเทพฯในช่วงต้นศตวรรษนี้ (คริสต์ศตวรรษที่ 20) เป็นแดนสวรรค์แห่งความสงบสุขและความอุดมสมบูรณ์ โดยมีชีวิตอันหรูหราของราชสำนักเป็นจุดศูนย์กลาง เหล่าพระราชวงศ์สามารถเสด็จไปไหนมาไหนได้โดยไม่ต้องมีทหารคุ้มกันและไม่ต้องแสดงพระองค์ นอกจากนี้ กรุงเทพฯยังเป็นเมืองที่ปราศจากความยากจนข้นแค้นชนิดที่ทำให้ผู้คนหยาบคายไร้ศีลธรรมจรรยาหรือเห็นแก่ตัว ซึ่งมักจะพบเห็นอยู่เสมอในมหานครอื่น ๆ ทั้งหลายในโลกนี้ แต่กระนั้น สภาพความเป็นอยู่ในภมิอากาศเขตร้อนก็ยังคงเป็นสิ่งที่โหดร้ายเหลือแสนสำหรับชาวตะวันตกอยู่ดี
(หน้า 115 “สยามคือบ้านของเรา” โดยเอ็ดน่า บรูเน่อร์ บัลค์ลีย์ แปลโดย “เด็กวัฒฯ รุ่น 100


สนใจที่คุณฮั่นปิง กล่าวไว้ว่า
อ้างถึง
ทั้งนี้ ไปเจอเอกสารฉบับหนึ่ง ว่าด้วยเมืองจีนบันทึกถึงการพัฒนาประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

นั่งอ่านด้วยความตื่นเต้น และแกมยากลำบาก เพราะว่าเป็นภาษาโบราณ

นอกเรื่องไปนิด แต่ก็ยังอยู่ในเค้าของสี่แผ่นดิน

มีโอกาสแปลมาเล่าสู่กันฟังบ้างนะคะ พ่อฉิมก็เป็นคนเชื้อสายจีนมิใช่หรือ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 11:30

ขออนุญาตคุยเรืองมะม่วงกวนต่อสักหน่อยนะคะ

ไม่ใช่นักกวนมะม่วงหรอกค่ะ เป็นนักกินมากกว่า

มะม่วงกวนโบราณ(ชาววัง) ทำด้วยมะม่วงพันธุ์อะไรเป็นส่วนใหญ่คะ และ

มีการผสมมะม่วงอื่น ๆ ลงไปเช่นในปัจจุบันนี้หรือไม่คะ

ดิฉันชอบที่กวนแยกแต่ละพันธุ์ต่างหากกัน ใครรู้บ้างว่าจะหาซื้อได้ที่ไหน
บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 27 ธ.ค. 11, 12:56

ไม่เกี่ยวกับสาแหรกใดๆ ทั้งสิ้น  อยากบอกว่า มะม่วงกวนที่อร่อยนั้น ต้องแยกตามพันธุ์มะม่วงค่ะ

มะม่วงที่นำมากวนแล้ว สีสวย หวานอมเปรี้ยวนิดๆ คือมะม่วงกล้วย (ชัยภูมิมีเยอะ) แต่ไม่รู้ว่า

จังหวัดอื่นเรียกว่าอะไร  สมัยอยู่ชัยภูมิก็ได้กวนเป็นอาชีพ  ทั้งกวนทั้งตากแดด  ทั้งกินและก็ขาย

คนซื้อต้องมาจองจึงได้ของเพราะคนกวนเป็นหญิงชรา ใจเย็น ๆ ประดิษฐ์ประดอยคัดเลือกมะม่วง

ตามสายพันธุ์ ต้องสุกได้ที แมลงวี่แมลงวันไม่มีทางได้แอ้ม  กวนด้วยกะทะทองเหลืองเตาถ่าน

กวนไม่ขาดสาย เดือดปุ่ดๆ กระเด็นกระดอนตลอดเวลา ใช้กระดงสานใบใหญ่ปกป้องร่างกาย

ถ้ากวนเป็นมะม่วงแผ่นก็สบายหน่อย พอมะม่วงเริ่มเหนียวสีเหลืองสดใสก็ตักขึ้นทาทาบใบตอง

เกลี่ยให้เป็นแผ่นบางนำไปตากแดด สองแดดก็ได้ที ส่วนเมะม่วงกวน ช่วงกวนให้แห้งคนหนุ่มคนสาวก็กวนกันได้

ต้องกวนจนเหนียวทั้งเหนื่อยและหนัก กวนไวกวนเร็ว กวนช้าติดกะทะเหม็นกลิ่นไหม้  ไม่ชำนาญการ กวนเหนียวลำบาก

ต้องเรียกคุณยายมากำกับบท  มองชัดมองเป๊ะ สั่งยกขึ้นมา ลูกหลาน ฮาเฮ มะม่วงกวนยายเนียง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง