เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 2814 'ตกลง'
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


 เมื่อ 04 ธ.ค. 11, 17:54

เพิ่งอ่านนิยายเรื่องหนึ่ง   เนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตผู้คนในสมัยรัชกาลที่ห้า 

มีตอนหนึ่ง ตัวละครสองคนเจรจากันขอร้องอะไรกันสักอย่าง   แล้วอีกคนหนึ่งก็รับปากโดยพูดว่า ' ตกลง  '

ทั้งคู่เป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาระดับบ้านๆ   ประเภทบ่าวในบ้านท่านเจ้าคุณ   ไม่ได้เป็นนักเรียนนอกนะคะ

ตกลง คำว่า ' ตกลง  '  เป็นคำที่ใช้กันทั่วไปในสมัยนั้นหรือไม่อย่างไรคะ   ขอท่านผู้รู้กรุณาให้ความกระจ่างหน่อยค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 04 ธ.ค. 11, 18:28

ตกลง ในความหมาย OK หรือ Something Falling Down มีด้วยกันทั้งสองแบบใช้กันในสมัยรัชกาลที่ ๕ แล้ว

ยกตัวอย่างเช่น ใน ร.ศ. ๑๑๒ หนังสือวชิรญาณวิเศษ เรื่องนางสาวใช้ ได้มีการตกลงกันแล้วดังนี้

"อิฉันไม่ได้
นึกเลยและว่า  เธอจะยินยอมอยู่กินกับท่าน
พระปลัด,  แต่ยังไงก็ไม่รู้ คุณนายเธอถึง
ตกลงได้ ดูไม่มีอไรดีสักอย่าง  ไม่น่ารักน่าใคร่
สักนิด"

"เจ้าหนุ่มหน้าตาคมสันคนนั้น
ไม่ใช่ใครมาแต่ไหนดอก เขาเปนเสมียนต้นเรือน
ของพระปลัดหามาได้ใหม่, อิฉันก็ตกลงเชื่อ"

อ่านเรื่องราวเต็ม ๆ ได้โดยละเอียด นางสาวใช้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 04 ธ.ค. 11, 18:31

ด้วยเมื่อวันพฤหัศบดีที่    ๕      เดือน กรกฏาคม รัตนโกสินทร์ ศก ๑๑๒   กรรมสัมปาทิกสภาหอพระสมุดวชิรญาณ       ได้ออกศัพทวินิจฉัยบทที่ ๙๐ ว่า
 " ตื่น "     มีผู้แก้ส่งมา ๓๗ บท   ได้ประชุมตัดสินเมื่อวันที่  ๑๓  กรกฏาคม ร,  ศ, ๑๑๒ นี้   ตกลงคำที่ได้รับรางวัลนั้นแก้ว่า " ตื่น "   คือ กิริยาอาการที่วิ่งวุ่นหรือดิ้นรน         ผิดไปจาก
ปรกติเดิม   นี้ก็เปนตื่น   หรืออีกนัยหนึ่งคนตาไม่หลับหรือใจไม่ระงับก็เปนตื่นได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 04 ธ.ค. 11, 18:40

"พี่เอ๋ยข้าเห็นบ้านนั้นแน่ะท่าทางชอบกล"   แล้วต่างคนต่างปฤกษากันอยู่นาน   ครั้นปฤกษา
หารือตกลงกันแล้ว   พอเวลาดึกก็ชวนกันตรงไปยังบ้านเศรษฐีผู้หนึ่ง   

เวลาของการยืมหนังสือ   แลการเล่นบิลเลียด   ได้ตกลงพร้อมกันว่า   การยืมหนังสือ
ควรเปิดให้ยืมตั้งแต่เที่ยงแล้วไปจนย่ำค่ำ   ให้พนักงานผู้จ่ายมาให้ทันกาลตามกำหนดนี้

วันพฤหัศบดีที่ ๑๑  เดือน  พฤษภาคม  รัตนโกสินทร์ศก๒๖  ๑๑๒ 
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 ธ.ค. 11, 19:25

ในหนังสืออักขราภิธานศรับท์ (Dictionary of the Siamese Language) ซึ่งหมอบรัดเล ได้ตีพิมพ์ขึ้นเมื่อปี ค.ศ. ๑๘๗๓ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๑๖ ได้อธิบายคำ ตกลง ไว้ว่า

ตกลง คือ การที่พลัดลงจากเบื้องบนนั้น, อนึ่งปฤกษาการงานทั้งปวงลงเนื้อเหนพร้อมกัน

คำนี้จึงน่าจะมีใช้มาก่อนรัชกาลที่ ๕



บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.034 วินาที กับ 19 คำสั่ง