เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 4215 อยากทราบประวัติการสร้างพระพุทธชินราช ที่วัดเบญจฯว่าใครเป็นผู้ปั้น ครับ
vatbanbna
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


 เมื่อ 30 พ.ย. 11, 17:41

ใครเป็นผู้ปั้น พระพุทธชิราช ที่วัดเบญจฯ ครับ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 19:42

"เมื่อได้ปรึกษาหารือด้วยช่างหลวงประสิทธิปฏิมา ซึ่งเป็นบุตรหม่อมเจ้าสุบรรณ ในพระเจ้าอัยกาเธอ กรมหมื่นณรงค์หริรักษ์ ซึ่งเป็นเทือกเถาเหล่ากอช่างปั้นหล่อพระพุทธปฏิมามา ๓ ชั่วคนแล้วนั้น หลวงประสิทธิปฏิมารับอาสาว่าจะถ่ายให้เหมือนให้จงได้ (ถ่ายแบบองค์พระพุทธชินราช) ได้มอบการทั้งปวงให้กรมหลวงดำรงราชานุภาพ เป็นผู้จัดการทั้งปวงในกรุงเทพ   ให้พระยาศรีสุรยราชวรานุวัตร จัดการที่เมืองพิษณุโลก

มีช่างช่วยหล่อคือ หลวงอินทรพิจิตร, ขุนพินิจสรเพลิง, ขุนฤทธิสรเพลิง"

ที่มาหนังสือเมืองพิษณุโลกและพระพุทธชินราช พ.ศ ๒๔๙๖
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ธ.ค. 11, 11:27

หลวงประสิทธิปฏิมา (หม่อมราชวงศ์เหมาะ ดวงจักร) ภายหลังเป็นพระประสิทธิปฏิมา จางวางช่างหล่อขวา

ส่วนหลวงอินทรพิจิตร ขุนพินิจสรเพลิง ขุนฤทธิสรเพลิงนั้น น่าจะอยู่กรมช่างหล่อเหมือนกัน
แต่ชื่อเดิม นามสกุลเดิมนั้น มีว่ากระไร ต้องสืบราชการลับกันต่อไป

(หนังสือปกสีเลือดหมู ที่ใต้เท้าแห่งกระทรวงมุรธาธรครอบครองอยู่น่าจะช่วยเหลือได้)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ธ.ค. 11, 18:03

หลวงประสิทธิปฏิมา (หม่อมราชวงศ์เหมาะ ดวงจักร) ภายหลังเป็นพระประสิทธิปฏิมา จางวางช่างหล่อขวา

ส่วนหลวงอินทรพิจิตร ขุนพินิจสรเพลิง ขุนฤทธิสรเพลิงนั้น น่าจะอยู่กรมช่างหล่อเหมือนกัน
แต่ชื่อเดิม นามสกุลเดิมนั้น มีว่ากระไร ต้องสืบราชการลับกันต่อไป

(หนังสือปกสีเลือดหมู ที่ใต้เท้าแห่งกระทรวงมุรธาธรครอบครองอยู่น่าจะช่วยเหลือได้)

อะไรกันนายสะอาด  ปัญหาเพียงนี้  ต้องให้ถึงมือข้าพเจ้าด้วยรึ
ในเมื่อเอ่ยถึง  ครั้นจะไม่ช่วยค้นหาข้อมูลให้ก็ถูกครหาว่า
ไร้น้ำยา เอ๊ย ไม่ใช่ๆ  ไร้น้ำใจ ต่างหาก

อันว่า  หลวงประสิทธิปฏิมา (หม่อมราชวงศ์เหมาะ  ดวงจักร) จางวางกรมช่างหล่อขวา
ผู้ปั้นพระพุทธชินราชจำลองในคราวนั้น  ได้รับพระราชทานสัญญาบัตร
เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็น  พระประสิทธิปฏิมา ศักดินา ๘๐๐  เมื่อวันที่ ๒๘ ตุลาคม ร,ศ, ๑๒๐
ณ ภายในพระวิหารพระพุทธชินราช วัดพระศรีมหาธาตุ แขวงเมืองพิศณุโลกย์
พร้อมกับข้าราชการหัวเมืองอีก ๒ คน


ส่วนข้าราชการที่ได้ช่วยพระประสิทธิปฏิมาหล่อพระพุทธชินราชอีก ๓ คน
คือ  

๑.หลวงอินทร์พิจิตร์บันจง  หรือหลวงอินทรพิจิตรบรรจง (ส่าน  สาณะศิลปิน)
ตำแหน่งเจ้ากรมช่างหล่อซ้าย ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ช้างเผือกชั้นที่ ๕
ทิพยาภรณ์ในคราวนั้นด้วย  ท่านผู้นี้มีประวัติโดยย่อว่า เป็นบุตรขุนจงใจรบ
เกิดวันศุกร์ที่ ๑๑  มีนาคม พ.ศ. ๒๓๙๙  เข้ารับราชการครั้งแรกในกองช่างหล่อ
กระทรวงโยธาธิการ  พอปี ๒๔๒๘  ได้รับแต่งตั้งบรรดาศักดิ์ชั้นประทวน
เป็นหมื่นเทพกาสิทธิ์  จากนั้นเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นปลัดกรมช่างหล่อขวา
ปี ๒๔๓๖ รับพระราชทานสัญญาบัตรเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นขุนพิจิตรสรเพลิง
แล้วเลื่อนขึ้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมช่างหล่อซ้าย  ปี ๒๔๔๒ เลื่อนบรรดาศักดิ์
เป็นหลวงอินทรพิจิตรบรรจง  ปี ๒๔๕๖  มีการโอนแผนกช่างสิบหมู่มาอยู่ในสังกัด
กรมศิลปากร  กระทรวงวัง หลวงอินทรพิจิตรบรรจงได้โอนมารับราชการในครั้งนั้นด้วย
ปี ๒๔๕๗  ได้รับพระราชทานยศเป็น รองเสวกโท  ท่านถึงแก่กรรมด้วยโรคชรา
เมื่อวันที่ ๑๖ สิงหาคม ๒๔๖๘  สิริอายุได้  ๗๓ ปี

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ธ.ค. 11, 18:23

๒ ขุนพินิจสรเพลิง ชื่อ เสือ  ไม่ทราบนามสกุล (เพราะตอนนั้นยังไม่มีนามสกุลใช้)
ดำรงตำแหน่งปลัดกรมช่างหล่อขวา  ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
มงกุฎชั้น ๕ วิจิตราภรณ์ในครั้งนั้น

๓.ขุนฤทธิสรเพลิง ไม่ทราบชื่อ

อันที่จริงมีข้าราชการคนอื่นที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ด้วย
ได้แก่  หลวงสรอัคนีพิจิตร์ (หรุ่น) เจ้ากรมช่างหล่อขวา
และขุนสุวรรณนิมิตร์  (นิ่ม  พึ่งรุ่ง) เจ้ากรมช่างบุ
ท่านผู้นี้  ไม่รายละเอียดประวัตินัก  ทราบแต่ถึงแก่กรรม
เมื่อวันที่  ๑๑  สิงหาคม ๒๔๖๙  อายุได้  ๖๗ ปี
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ธ.ค. 11, 19:35

การหล่อหลอมองค์พระพุทธชินราชจำลองกระทำขึ้นที่ข้างพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ทรงเสด็จขึ้นไปนมัสการและปิดทององค์พระพุทธชินราช ประชาชนทั้งหลายร่วมยินดีและร่วมบริจารทองคำและโลหะในการหล่อองค์พระ และอัญเชิญองค์พระมาตกแต่งใหม่ที่กรุงเทพฯ มาเป็นชิ้น ๆ และเข้าประกอบองค์ที่กรมอู่ทหารเรือ ลงรัก และอัญเชิญโดยแพไปยังพระอุโบสถวัดเบญจมพิตร


บันทึกการเข้า
vatbanbna
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ธ.ค. 11, 21:27

ขอบคุณนะครับ ที่ให้รายละเอียด
 แต่คงต้องสืบต่อไปครับว่า ขุนพินิจสรเพลิง ชื่อเสือ นามสุกล ว่าอย่างไร คือสงสัยว่าจะเป็นบรรพบุรุษแต่ก็ยังไม่แน่ใจ
 แต่เท่าที่ทราบ เห็นว่ามีจารึกใต้ฐาน ที่วัดเบญจฯ
ครับแต่ไม่เคยเข้าไปดูสักที ต้องรบกวนท่านผู้รู้ช่วยด้วยนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 19 คำสั่ง