เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8865 คลองขุดบางคลองฝั่งตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์และกรมคลอง
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


 เมื่อ 29 พ.ย. 11, 09:04

จากเหตุการณ์มหาอุทกภัยรุกรานกรุงเทพมหานครและจังหวัดปริมณฑลฝั่งตะวันตก
ทำให้หลายคนได้ยินชื่อคลองต่างๆ ในฝั่งตะวันตกหลายคลอง 
คลองเหล่านี้ มีประวัติเป็นมาอย่างไร  บางคนก็ทราบ บางคนก็ไม่ทราบ
จึงได้เก็บความจากเอกสารสมัยรัชกาลท๊ ๕ มาเล่าไว้แต่พอสังเขป 
พอเพื่อเป็นความรู้เรื่องทางน้ำไหล
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 29 พ.ย. 11, 09:28

คลองในกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันตกมีหลายคลอง ที่ขุดขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา
ได้แก่  

๑.คลองบางกอกใหญ่ หรือ บ้างก็เรียกกันว่า  คลองบางหลวง
ขุดเมื่อสมัยสมเด็จพระไชยราชาธิราช  เมื่อปีมะโรงจัตวาศก ๘๘๔

๒.คลองบางกรวย
สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองตั้งแต่ริมวัดชลอ
ทะลุไปถึงริมวัดมูลเหล็ก  เมื่อปีจอสัมฤทธิศก ๙๐๐

๓.คลองเมืองนนทบุรี  บ้างรู้จักกันว่า คลองตัดแหลมใหญ่ตลาดขวัญ
สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองมาออกท้ายตลาดแก้ว
เมื่อปีชวดอัฐสก ๙๙๘

๔.คลองมหาไชยชลมารค
ปีวอกฉศก ๑๐๖๖  สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๘ ทรงพระราชดำริว่า
คลองโคกขามคดเคี้ยว  ผู้คนพายเรือถ่อแพเข้าออกในลำคลองลำบากนัก
ด้วยต้องอ้อมวงไปไกลและกันดารมาก  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองตัดขึ้นใหม่
โยได้มีรับสั่งให้เจ้าพระยาจักรี ที่สมุหนายกจัดแจงกะเกณฑ์เลขหัวเมือง
จำนวน ๓๐๐๐๐ คน ส่งมอบแก่พระราชสงคราม แม่กองคุมพลไปขุดคลองโคกขาม
ให้ตัดตรงไปออกแม่น้ำเมืองสมุทรสาคร  ยาว ๓๔๐ เส้น  กว้าง ๘ วา
พื้นคลอง กว้าง ๕ วา ลึก ๖ ศอก การขุดคลองเริ่มเมื่อปีระกาสัปตศก ๑๐๖๗
ขุดแต่ริมวัดหมูเป็นปากคลองข้างเหนือไปถึงตำบลโคกขามได้กึ่งหนึ่ง
การค้างเพียงนั้นก็สิ้นรัชกาล  หาได้ขุดต่อไปจนตลอดไม่

ปีฉลูตรีณิศก ๑๐๘๓  สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๙ เสด็จประพาสคลองโคกขาม  
ทอดพระเนตรเห็นคลองที่ขุดไว้แต่รัชกาลก่อนยังไม่แล้ว  จึงโปรดเกล้าฯ ให้
พระราชสงครามเกณฑ์เลขคนหัวเมืองประมาณ ๓๐๐๐๐ คนเศษ  ขุดคลองต่อไป
นาน ๒ เดือนเศษ  การขุดคลองจึ่งแล้ว  แลได้พระราชทานชื่อคลอง
ตั้งแต่ปากคลองด้านเหนือไปถึงคลองโคกขามตอนหนึ่ง ว่าคลองพระพุทธเจ้าหลวง
เพราะเหตุเป็นคลองขุดขึ้นในแผ่นดินก่อน   แลตั้งแต่คลองโคกขามต่อเนื่องไปจน
ออกแม่น้ำเมืองสมุทรสาครตรงตำบลมหาไชยนั้น ชื่อคลองมหาไชยชลมารค

๕.คลองเตร็ดน้อย
ปีขาลจัตวาศก ๑๐๔๘  สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา  ทรงพระดำริว่า
ลัดคุ้งปากคลองบางบัวทองคดอ้อมนัก  ควรขุดตัดลัดใหม่ให้ราษฎรเดินเรือแพ
ได้สะดวก  จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระธนบุรีเป้นแม่กองเกณฑ์คนหัวเมืองปากใต้
ได้ ๑๐๐๐๐ คนเศษ  ขุดคลองลึก ๖ ศอก กว้าง ๖ วา ยาว ๒๙ เส้น
ขุดนาน ๑ เดือนเศษ จึงแล้ว  ชื่อเรียกกันว่า คลองเตร็ดน้อย
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 29 พ.ย. 11, 09:36

ในสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี  ปีเถาะตรีณิศก ๑๑๓๓
ทรงพระราชดำริว่า กรุงธนบุรีไม่มีกำแพงเมืองที่มั่นป้องกันข้าศึก
จึงโปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์ไพร่ในกรุงแลหัวเมืองมาระดมทำค่าย
ในฝั่งตะวันตกตั้งแต่มุมกำแพงเมืองเก่าไปจนถึงวัดบางหว้าน้อย
วงลงไปตามริมแม่น้ำใหญ่จรดกำแพงเมืองเก่าที่ตั้งพระราชวัง
แลได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองเป็นคูหลังเมืองตั้งแต่คลองบางกอกน้อย
ออกมาคลองบางกอกใหญ่  ราษฎรแบ่งเรียกชื่อเป็น ๓ ตอนดังนี้
คลองวัดท้ายตลาด  คลองบ้านหม้อ คลองบ้านขมิ้น  แลยังได้โปรดเกล้าฯ
ให้ขุดคลองเป็นคูแต่กำแพงเก่าท้ายป้อมวิไชยประสิทธิ์วงขึ้นไปถึงศาลเทพารักษ์หัวโขดออกแม่น้ำทั้ง ๒ ข้าง ด้วย
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 29 พ.ย. 11, 20:51

แผนที่เส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาที่คดเคี้ยวและเส้นทางที่ขุดลัด
ที่มาหอจดหมายเหตุแห่งชาติ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 22:23

ภาพคลองของคุณหนุ่มสยาม ชัดเจนเข้าใจง่ายดีค่ะ

สงสัยว่า คลองบางหลวง หรือ คลองบางกอกใหญ่นั้น 

เป็นแนวที่คุณหนุ่มสยามเขียนว่า ลัดบางกอกใหญ่ใช่ไหมคะ

หากเป็นเช่นนั้น ปัจจุบันก็คือแม่น้ำเจ้าพระยาสิคะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 08:02

ภาพคลองของคุณหนุ่มสยาม ชัดเจนเข้าใจง่ายดีค่ะ

สงสัยว่า คลองบางหลวง หรือ คลองบางกอกใหญ่นั้น  

เป็นแนวที่คุณหนุ่มสยามเขียนว่า ลัดบางกอกใหญ่ใช่ไหมคะ

หากเป็นเช่นนั้น ปัจจุบันก็คือแม่น้ำเจ้าพระยาสิคะ

สวัสดีครับคุณร่วมฤดี วิกฤตน้ำท่วมครั้งนี้โดนผลกระทบมากไหมครับ

คลองบางหลวง หรือ คลองบางกอกใหญ่ เดิมเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่มีความโค้งมาก ซึ่งมีหลักฐานการตั้งหลักแหล่งของชุมชน วัดสมัยกรุงศรีอยุธยากระจายตามคุ้งน้ำ ซึ่งถือว่าดินแดนตรงนี้เป็นพื้นที่สวนผลไม้ที่รสอร่อยมาก เมื่อมีการขุดคลองลัดแล้ว (เดิมคงเป็นคลองลัดสายเล็ก ๆ ร่องน้ำเก่า) ซึ่งพอแม่น้ำเจ้าพระยาได้เปลี่ยนทิศไหลลงเร็วทำให้ตลิ่งพัง กว้างขึ้น ๆ ตรงกับบริเวณพื้นที่ตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบันนี้


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 12:24

การขุดคลองเพื่อเปลี่ยนเส้นทางน้ำให้เป็นทางลัดสัญจรด้วยเรือได้เร็วและสั้นเข้านั้น
ได้ทำให้เส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงไป  เส้นทางแม่น้ำเดิมกลายเป็นคลอง
คลองขุดลัดกลายเป็นแม่น้ำ  เส้นทางน้ำสายเดิมแคบและตื้นเนื่องจากกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง
ความแรงของกระแสน้ำและปริมาณน้ำไหลผ่านลดลง  คลองขุดเมื่อถูกกระแสน้ำ
ที่ไหลผ่านกัดเซาะมากๆ เข้าก็กลายเป็นแม่น้ำไป 

ลักษณะเช่นนี้  ทำให้นึกถึงการจัดการกระแสน้ำโดยรอบเกาะเมืองอยุธยา
ในความเห็นส่วนตัว  คิดว่า  เกาะเมืองอยุธยาที่เห็นในปัจจุบัน
แต่เดิมคงไม่ได้เป็นเกาะ  แต่ถูกทำให้เป็นเกาะด้วยฝีมือมนุษย์


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 12:35

กลับมาต่อเรื่องคลองขุดฝั่งตะวันตกกันต่อ

ในสมัยรัตนโกสินทร์  มีคลองขุดในฝั่งตะวันตก ดังนี้

๑.คลองบางขุนเทียน

ปีเถาะโทศก  ๑๑๙๓  รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้พระยาโชดึกราชเศรษฐี
เป็นแม่กองจ้างแรงงานจีนมาขุดคลองบางขุนเทียนโดยขุดคลองให้ไปบรรจบ
กับคลองด่านวัดปากน้ำสายหนึ่ง  กับขุดคลองให้ไปออกยังบางบอนสายหนึ่ง
(คือขุดคลองทั้งสองด้านพร้อมกัน)  สิ้นพระราชทรัพย์ ๕๒๓๐ บาท
แต่ไม่ปรากฏรายละเอียดว่า  คลองที่ขุดครั้งนั้น  กว้างยาวลึกเท่าไร


๒.คลองสุนัขหอน

ปีใดไม่ปรากฏ  รัชกาลที่ ๒ โปรดเกล้าฯ ให้(พระยาโชดึกราชเศรษฐีคนเดิม?)
จ้างจีนขุดคลองตั้งแต่บริเวณที่น้ำชน เป็นคลองผ่านเข้าไปในทุ่งริมตำบลบ้านโพหัก
สิ้นพระราชทรัพย์  ๘๑๗๖  บาท  ไม่ปรากฏว่าคลองนี้  ขุดกว้างยาวลึกเท่าใด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 12:35

การขุดคลองเพื่อเปลี่ยนเส้นทางน้ำให้เป็นทางลัดสัญจรด้วยเรือได้เร็วและสั้นเข้านั้น
ได้ทำให้เส้นทางแม่น้ำเจ้าพระยาเปลี่ยนแปลงไป  เส้นทางแม่น้ำเดิมกลายเป็นคลอง
คลองขุดลัดกลายเป็นแม่น้ำ  เส้นทางน้ำสายเดิมแคบและตื้นเนื่องจากกระแสน้ำเปลี่ยนทิศทาง
ความแรงของกระแสน้ำและปริมาณน้ำไหลผ่านลดลง  คลองขุดเมื่อถูกกระแสน้ำ
ที่ไหลผ่านกัดเซาะมากๆ เข้าก็กลายเป็นแม่น้ำไป 

ลักษณะเช่นนี้  ทำให้นึกถึงการจัดการกระแสน้ำโดยรอบเกาะเมืองอยุธยา
ในความเห็นส่วนตัว  คิดว่า  เกาะเมืองอยุธยาที่เห็นในปัจจุบัน
แต่เดิมคงไม่ได้เป็นเกาะ  แต่ถูกทำให้เป็นเกาะด้วยฝีมือมนุษย์




ใช่แล้วครับ เป็นเกาะเนื่องจากฝีมือมนุษย์ทำขึ้น โดยแผนภาพแสดงลำน้ำดั้งเดิมก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา เมื่อได้สร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว ด้านตะวันออกย่อมต้องมีชัยภูมิที่ป้องกันข้าศึกได้ จึงมีการขุดคูขื่อหน้า เพื่อเป็นปราการป้องกัน หากแต่ว่านานวันเข้า จะกลายเป็นแม่น้ำใหญ่ คนอยุธยาจึงได้ปักไม้ไผ่ชะลอน้ำ ให้เบนออกทางสายเดิม ที่คูขื่อหน้า และเป็นมาจนทุกวันนี้


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 13:18

ใช่แล้วครับ เป็นเกาะเนื่องจากฝีมือมนุษย์ทำขึ้น โดยแผนภาพแสดงลำน้ำดั้งเดิมก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา
เมื่อได้สร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว ด้านตะวันออกย่อมต้องมีชัยภูมิที่ป้องกันข้าศึกได้ จึงมีการขุดคูขื่อหน้า
เพื่อเป็นปราการป้องกัน หากแต่ว่านานวันเข้า จะกลายเป็นแม่น้ำใหญ่ คนอยุธยาจึงได้ปักไม้ไผ่ชะลอน้ำ
ให้เบนออกทางสายเดิม ที่คูขื่อหน้า และเป็นมาจนทุกวันนี้


ปักแค่ไม้ไผ่หรือ  ไม่ใช่ต้นตาลหรอกรึ  เคยเห็นในพงศาวดารแว้บๆ
บริเวณที่ปักไม้ (ไม้อะไรก็ตามแต่) คงมีเหตุผลอื่นๆ ในประโยชน์ของไม้ที่ปักด้วย
ส่วนประโยชน์ที่ว่านั้นคืออะไร  เดี๋ยวค่อยๆ อภิปรายกันไป
บริเวณนั้น ใช่ที่เรียกว่า หัวรอ หรือไม่ ออกขุนสยาม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 14:19

"คลองสุนัขหอน" ชื่อนี้เรียบง่าย เรียกตามบรรยากาศ ไม่รู้ว่าหมาหอน จากตำบลไหนไปตำบลอะไร

หยิบพระราชพงศาวดารฉบับรัชกาลที่ ๓ ซึ่งกล่าวไว้ว่าในรัชกาลนี้มีการซ่อมคลองและขุดคลองสุนัขหอนให้ลึกกว่าเดิม ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาพระคลัง (ต่อมาเป็น สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) ) เป็นนายกองซ่อมคลอง ซึ่งการซ่อมคลองนั้นนอกจากจะขยายความกว้างของคลองแล้ว ด้านความลึกของคลองนั้นใช้วิธี "ควายย่ำ"

โดยนำควายลงย่ำในคลองเพื่อให้เกิดความลึก ทำให้น้ำไหลได้สะดวกจะได้ไม่ตื้นเขิน ดังความว่า

"น้ำที่ชนกันคงตื้นทุกแห่ง ถ้าขุคลองแยกเข้าไปที่น้ำชนกัน ให้สายน้ำไหลเข้าไปตรงที่น้ำชนกันจะได้ไม่ตื้น...แล้วขอแรงกระบือราษฎรชาวบ้านลงลุยในคลอง น้ำขึ้นลงเชี่ยวก็ลึกอยู่ได้..."


บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 18:03

ใช่แล้วครับ เป็นเกาะเนื่องจากฝีมือมนุษย์ทำขึ้น โดยแผนภาพแสดงลำน้ำดั้งเดิมก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยา
เมื่อได้สร้างกรุงศรีอยุธยาแล้ว ด้านตะวันออกย่อมต้องมีชัยภูมิที่ป้องกันข้าศึกได้ จึงมีการขุดคูขื่อหน้า
เพื่อเป็นปราการป้องกัน หากแต่ว่านานวันเข้า จะกลายเป็นแม่น้ำใหญ่ คนอยุธยาจึงได้ปักไม้ไผ่ชะลอน้ำ
ให้เบนออกทางสายเดิม ที่คูขื่อหน้า และเป็นมาจนทุกวันนี้


ปักแค่ไม้ไผ่หรือ  ไม่ใช่ต้นตาลหรอกรึ  เคยเห็นในพงศาวดารแว้บๆ
บริเวณที่ปักไม้ (ไม้อะไรก็ตามแต่) คงมีเหตุผลอื่นๆ ในประโยชน์ของไม้ที่ปักด้วย
ส่วนประโยชน์ที่ว่านั้นคืออะไร  เดี๋ยวค่อยๆ อภิปรายกันไป
บริเวณนั้น ใช่ที่เรียกว่า หัวรอ หรือไม่ ออกขุนสยาม ยิงฟันยิ้ม


ตอบคำถามแทนออกขุนได้หรือไม่ใต้เท้า

ณ ที่แห่งนั้น เรียกว่า "หัวรอ" ถูกต้องนะขอรับ

ดังเจ้าคุณโบราณราชธานินทร์ท่านอรรถกถาธิบายไว้ใน "อธิบายแผนที่พระนครศรีอยุธยา" ดังนี้

"มีรออยู่ที่ตรงตลิ่งท้ายห้องแถวตลาดหัวรอเดี๋ยวนี้ ไปจนตลิ่งฟากข้างตะวันออก ของเดิมทำไว้เพื่อกั้นไม่ให้น้ำในแม่น้ำแควใหญ่ซึ่งไหลผ่านเข้าไปทางพระราชวัง
ไหลบ่าลงทางคูด้านขื่อหน้าซึ่งจะทำให้แม่น้ำหน้าพระราชวังตื้น แต่เมื่อกรุงเสียแล้วต่อมาก็เอาไว้ไม่อยู่ น้ำไหลบ่าออกทางคลองหัวรอลงหน้าวังจันทร์
ทำให้คลองกว้างกลายเป็นแม่น้ำแม่น้ำเดิมที่ไปทางพระราชวังจึงตื้นเขิน เลยเรียกกันว่าคลองเมืองในทุกวันนี้ เมื่อ ๓๐ ปีล่วงมาผู้ตรวจสอบหนังสือเรื่องนี้
ยังได้เคยเห็นโคนเสารอที่พื้นคลอง เวลานี้ดินท่วมดอนขึ้นมาเสียมาก แต่ถ้าผู้ใดมีความประสงค์จะพิศูจน์ ลองขุดโคลนสัก ๒-๓ ศอกก็จะพบโคนเสารอ"

รอนี้ในหนังสือเก่าที่เจ้าคุณโบราณท่านอธิบายเพิ่มเติมนั้น กล่าวว่า เป็นทำนบกว้างสามวา ทอดข้ามฝั่งแม่น้ำสำหรับช้างม้าคนเดินข้ามไปมา ลักษณะคล้ายสะพานอยู่มาก
ทำนบเช่นว่านี้ แถวบ้านต่างจังหวัดของผมก็มีลักษณะคล้ายๆ กัน
คนเก่าแก่เคยเล่าให้ฟังว่า สัก ๘๐ ปีก่อนนั้น มีทำนบข้ามห้วยเล็กๆ สายหนึ่ง ทำจากไม้ไผ่ปักสองฝั่งแล้วเอาดินถมกลาง มีชื่อว่า "ทำนบเขมร"
แต่เดี๋ยวนี้ไม่เหลือให้เห็นแล้ว เหตุเพราะการพัฒนาขุดลอกคลองจากยุคโครงการอีสานเขียว
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 20:09

บ๊ะ..ตบเข่าไปด้วย... มันต้องแบบนี้ซิ พ่อปักษาวายุ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 22:10

บ๊ะ..ตบเข่าไปด้วย... มันต้องแบบนี้ซิ พ่อปักษาวายุ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

ออกขุนสยาม  ตบเข่าทำเป็นนักเลงหัวไม้ตามบ่อนไก่ชนไปได้

นายสะอาดแห่งแขวงเมืองประทุม (ทราบว่า เคหสถานยังร่มเย็นดีเพราะน้ำ)
ตอบได้ดี  การทำทำนบรออย่างที่ท่านเจ้าคุณโบราณราชธานินทร์ได้เขียนไว้นั้น
ยังเห็นมีอยู่มาจนปัจจุบัน  คือปักเสาไม้ ๒ แนว แล้วเอาดินใส่ตรงกลาง
ผมผ่านไปในพื้นที่ที่มีน้ำท่วม  เห็นทำนบอย่างนี้มากมายขวางทางน้ำอยู่
(แต่จริงก็เอาไม่อยู่สักทำนบหนึ่ง  เพราะกระแสน้ำแรงและมีปริมาณมาก
เกินกว่าประสิทธิภาพของทำนบหัวรอจะขวางทางไว้ได้)  เมื่อกล่าวถึงหัวรอ
ก็ให้นึกกลอนตอนหนึ่งในนิราศพระบาท ที่กล่าวถึงหัวรอว่า

๏ เข้าลำคลองหัวรอตอระดะ             ดูเกะกะรอร้างทางพม่า
เห็นรอหักเหมือนหนึ่งรักพี่รอรา          แต่รอท่ารั้งทุกข์มาตามทาง

หัวรอ คือทำนบชะลอกระแสน้ำ  หัวรอที่คูขื่อหน้านั้น มีความสำคัญมาก
นอกจากจะกั้นให้กระแสน้ำไม่ให้ไหลเทผ่านแต่คูขื่อหน้าอย่างเดียว
ทำให้มีน้ำไหลไปยังแม่น้ำเดิมที่ไปทางพระราชวังหรือคลองเมืองไม่ตื้นเขินแล้ว

หัวรอนี้  ยังช่วยให้มีน้ำไหลเข้าในคลองต่างๆ ในตัวเกาะเมืองอยุธยาด้วย

ถ้าดูตัวเกาะอยุธยาจะทราบว่า มีคลองที่ขุดแนวเหนือใต้อยู่หลายคลอง
(ลักษณะอย่างเดียวกับคลองขุดในสมัยรัชกาลที่ ๕ แถบรังสิตลำลูกกา)
คลองเหล่านี้เข้าใจว่าขุดตื้นกว่าแม่น้ำรอบเกาะ  มีประโยชน์ในการสัญจรทางเรือ
ภายในเกาะเมืองอยุธยา โดยเฉพาะคลองเหล่านี้ จะมีเรือพายเข้าออก
เพื่อนำสิ่งของมาขายตามตลาดต่างๆ ภายในเกาะเมือง และมีเรือที่มาซื้อสินค้าไปขายต่อ
สัญจรไปมาไม่ขาด   หากกระแสน้ำในคลองเหล่านี้ไหลไม่แรงแล้ว
คลองเหล่านี้ก็จะตื้นเขินเร็ว   พายเรือไม่ได้  การค้าในเกาะก็อาจจะซบเซา
เพราะตลาดอาจจะต้องย้ายไปอยู่รอบๆ เกาะติดกับฝั่งแม่น้ำแทน

ประโยชน์ในประการต่อมาของหัวรอ  เป็นเรื่องสุขาภิบาลในเกาะเมือง
หลายท่านเคยสงสัยหรือไม่ว่า  เกาะเมืองอยุธยาตามบันทึกทั้งหลาย
มีชุมชน ผู้คนอาศัยอยู่มากมาย  เขาจัดการกับของเสียในตัวเมืองอย่างไร
เกาะเมืองอยุธยานั้น  มีประชาชนอาศัยอยู่หนาแน่น  เมื่อมีคนมาก
การใช้น้ำอุปโภคบริโภคก็ย่อมมีมาก  ไม่ว่าจะเป็นชำระล้างอาบ
ทำกิจกรรมต่างๆ  และที่สำคัญคือ เส้นทางน้ำ คือที่ขับถ่ายของประชาชน
ชาวเมืองอยุธยาที่อาศัยในเกาะ  เมื่อจะปลดทุกข์  คงไปทุ่งไม่สะดวก
เพราะต้องออกเดินไกลมาก  หรือไม่ก็ต้องข้ามฟากไปนอกเกาะ  ซึ่งคงไม่ทันการณ์
สุขาที่ใกล้ตัว คือ คลองและแม่น้ำ  แต่การขับถ่ายลงน้ำนั้น  ย่อมไม่ถูกสุขลักษณะ
ตามคตินิยมของคนปัจจุบัน  เพราะจะทำให้เชื้อโรคแพร่ระบาดและแหล่งน้ำสกปรก
แต่เพราะเกาะเมืองอยุธยาเป็นชุมทางน้ำของแม้น้ำ ๓ สาย ทำให้มีน้ำมาก
และน้ำไหลแรง  ช่วยปัดเป่าของเสียที่ชาวบ้านปลดปล่อยลงน้ำให้ไหลกระจัดกระจายไป
โดยไม่ทับถมตกตะกอนอยู่กับที่  ก่อเกิดเชื้อโรคได้น้อยลง
แต่ถ้าไม่มีหัวรอ  น้ำในแม่น้ำเดิมตอนบนและตามคลองภายในเกาะจะไหลช้าลง
กระแสน้ำจะตัดตรงลงไปที่คูขื่อน้ำหมด  สิ่งปฏิกูลจะตกค้าง  แล้วโรคระบาดก็จะตามมา
เมื่อหัวรอกระแสน้ำในคลองและแม่น้ำเดิมก็จะไหลแรงขึ้น  เป็นผลดีต่อการชะล้างของเสีย


แต่ถ้าในบางปีเกิดภาวะแห้งแล้งตอนเหนือ  ฝนตกน้อย น้ำน้อย  
ก็เกิดปัญหาเหมือนกัน  เพราะกระแสน้ำไหลไม่แรง
น้ำในคลองและแม่น้ำมีน้อย  ไม่พอที่จะพัดพาสิ่งปฏิกูลที่ชาวบ้านขับถ่ายไปได้หมด
เกิดการทับถม  โรคระบาดอย่างโรคห่าก็จะบังเกิดขึ้น   เหตุการณ์อย่างนี้
มีบันทึกพระราชพงศาวดารและปูมโหรอยู่หลายครั้ง  เชิญไปหาอ่านดูได้

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 22:40

๓.คลองเจดีย์บูชา

รัชกาลที่ ๔ มีพระราชประสงค์ที่จะให้ราษฎรเดินทางสัญจรไปนมัสการ
พระปฐมเจดีย์ แขวงเมืองนครไชยศรี และพระแท่นดงรัง แขวงเมืองกาญจนบุรี
ได้โดยสะดวก  จึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ขุดคลองตั้งแต่ท้ายบ้านท่านา
แขวงเมืองนครไชยศรี  ไปจนถึงพระปฐมเจดีย์  คลองนี้ ได้รับพระราชทานนามว่า
คลองเจดีย์บูชา  เมื่อวัน ๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะเมียนพศก
สิ้นพระราชทรัพย์ในการขุดคลองนี้  ๔๘๐๐  บาท


๔.คลองมหาสวัสดิ์

คลองนี้เป็นคลองที่รู้จักและได้ยินชื่อกันบ่อยๆ ในช่วงน้ำท่วมที่ผ่านมา ที่เป็นอยู่  และที่กำลังผ่านไป
คลองนี้  มีประกาศรัชกาลที่ ๔ ลงวัน ๕ ขึ้น ๖ ค่า เดือน ๑๑ ปีระกาตรีณิศก ๑๒๒๓
อธิบายไว้ละเอียดพอสมควร  จะเก็บความมาเล่าไว้ย่อๆ ว่า  คลองนี้ รัชกาลที่ ๔
โปรดเกล้าฯ ให้ขุดตั้งแต่ตำบลบางขวาง แขวงเมืองนนทบุรี  ไปจนถึงตำบลบ้านงิ้วราย
แขวงเมืองนครไชยศรี  ซึ่งโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยารวิวงษมหาโกษาธิบดี (ขำ  บุนนาค)
เป็นแม่กองขุดคลองสายนี้  เมื่อขุดคลองนี้่เสร็จ  รัชกาลที่ ๔ ได้โปรดเกล้าฯ ยกที่นา
สองฟากคลองพระราชทานแก่พระราชโอรส  โดยแบ่งเป็นเนื้อที่ ๕๐ ส่วน  ส่วนละ ๓๒๔ ไร่
เป็นเนื้อที่ ยาว ๖๐ เส้น กว้าง ๕ เส้น ๘ วา  เนื้อที่ที่พระราชทานนี้ แบ่งเป็นเนื้อที่นาใน
แขวงเมืองนนทบุรีฝั่งเหนือของคลอง  ๑๖๒๐ ไร่  เนื้อที่นาแขวงเมืองนครไชยศรีฝั่งเหนือคลอง
๙๓๙๖ ไร่  และเนื้อที่นาฝั่งใต้ของคลองอีก ๕๑๘๔ ไร่

ต่อมา ในรัชกาลที่ ๕ ได้พระราชทานชื่อคลองขุดนี้ว่า  คลองมหาสวัสดิ์
(เอกสารบางฉบับเขียนว่า คลองมหาสวัสดี ก็มี) ลงเป็นประกาศ
เปิดคลองทวีวัฒนา เมื่อวัน ๖ เดือน ๖ ขึ้นแรมกี่ค่ำไม่ทราบ  ปีขาลสัมฤทธิศก  ๑๒๔๐ 

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.075 วินาที กับ 20 คำสั่ง