เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 39545 เรียนท่านผู้รู้ กรุณาชี้แนะความหมายของอิฐก้อนนี้
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 13:12

ดูชิ้นที่สองที่เป็นลายประจำยามแล้วชิ้นที่สามเป็นกระจัง ก็ดูจะเป็นแนวทางให้เห็นชัดเจนว่าผมสันนิษฐานมาถูกทางสถานที่แถวนี้คงต้องมีเจดีย์หรือสถูปหรือแม้แต่เพียงฐานชุกชีพระประธานอยู่เป็นแน่ จากรูปแรกน่าจะเป็นการวางคานไม้ขัดไปมาก่อนการเรียงอิฐ หรืออาจเป็นกรรมวิธีการเรียงอิฐเลยก็ได้
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 13:56

ท่านjeanวิเคราะห์แม่นตรงจุดดังตาเห็น..ขอขอบคุณด้วยอิฐก้อนต่อไป.................

รับอิฐก้อนนี้ไว้วิเคราะห์ต่อด้วยครับ................หากตอบกลับด้วยลายเส้นถอดแบบออกมา..จะเป็นพระคุณและบุญตายิ่ง






 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 19:40

ดูชิ้นที่สองที่เป็นลายประจำยามแล้วชิ้นที่สามเป็นกระจัง ก็ดูจะเป็นแนวทางให้เห็นชัดเจนว่าผมสันนิษฐานมาถูกทางสถานที่แถวนี้คงต้องมีเจดีย์หรือสถูปหรือแม้แต่เพียงฐานชุกชีพระประธานอยู่เป็นแน่ จากรูปแรกน่าจะเป็นการวางคานไม้ขัดไปมาก่อนการเรียงอิฐ หรืออาจเป็นกรรมวิธีการเรียงอิฐเลยก็ได้

เป็นไปได้ไหมเอ่ย.................?

ว่าลายฝาปะกนที่เราเพ่งวิเคราะห์กันนี้  ที่แท้คือการออกแบบไม้เครื่องบน-เพดานโบสถ์
เส้นเหลือง-แดงคงเป็นเป็นตัวหลักรับน้ำหนักเพดาน-อะเสและขื่อ?
ออกแบบเป็นลายปะกนเพื่อลดน้ำหนักของฝ้าเพดาน?

อัตราส่วนกว้าง-ยาวเป็น 1:2 ซื่งเป็นอัตราส่วนเดียวกันกับขนาดของโบสถ์ทั่วไป?


 ยิงฟันยิ้ม







คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 20:07

จากจุดที่พบอิฐก้อนแรก-ลายฝาปะกน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ 15 เมตรพบชิ้นส่วนที่เหลือของพระพุทธรูป ช่วงบ่า-อก โดยมีขนาดคอกว้างประมาณ 9 ซม. แกะสลักจากหินทรายแดง มีร่องสำหรับเสียบเดือยพระเศียร

ด้านหลังมีร่องรอยของปูนปั้นหลงเหลือเล็กน้อย

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 20:18

สภาพของหินทรายแดงที่กร่อนตามกาลเวลา ทำให้นึกเทียบถึง"ศิลาก้อนนั้น" ของท่านjean
เนื้อเดียวกันเด๊ะ???


 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 20:20

เมื่อเรียงลำดับอิฐแต่ละก้อนและชิ้นส่วนของพระพุทธรูป ใส่หมายเลขกำกับ


 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 20:27

ผังแสดงจุดที่พบโบราณวัตถุ-ที่หลงเหลือ หลังการขุดแต่งเสร็จสิ้นไม่นานนัก     .................


 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 20:59

ภาพลายกระจัง ข้าพเจ้าเคยพบเห็นในลักษณะคล้ายกันคือ "ตราประทับที่เงินพดด้วง" หากแต่แตกต่างกันที่ภายในมีจุด ๔ จุด เป็นตราประจำรัชกาลพระเจ้าอุทมพร

ดูจากก้อนอิฐที่สลักเป็นรูปกระจังนั้น ขอบมีความคม และมีความชัดของเส้น คาดว่าคงใช้เครื่องมือมีคมเช่น สิ่วปลายแหลม สร้างสรรค์ลายเส้นขึ้นมา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 21:11

ท่านjeanวิเคราะห์แม่นตรงจุดดังตาเห็น..ขอขอบคุณด้วยอิฐก้อนต่อไป.................

รับอิฐก้อนนี้ไว้วิเคราะห์ต่อด้วยครับ................หากตอบกลับด้วยลายเส้นถอดแบบออกมา..จะเป็นพระคุณและบุญตายิ่ง






 ยิงฟันยิ้ม

จัดให้ท่านอย่างงามตา


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 30 พ.ย. 11, 22:16

งามตา....งามใจ
ขอบพระคุณครับ ท่านหนุ่มสยาม               
คน/คนธรรพ์/หรือเทวดา ใครจะสรุปได้บ้างเอ่ย?



ลายกระจังที่เงินพดด้วง น่าสนใจมากครับ



 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 01:02

ผมขอยกมือเสนอความเห็นสักหน่อยหนึ่ง  ผิดถูกประการใด โปรดชี้แนะด้วย

ก้อนอิฐที่มีลายกระจังนั้น  ดูจะต่างจากอิฐอีก ๓ ก้อน 

๑.ลวดลายกระจังดูคมและลึกค่อนข้างสม่ำเสมอ 
คิดว่ามีความเป็นไปได้ ๒ ทาง  คือ ตากก้อนอิฐให้หมาดหรือแห้ง
แล้วเอาของมีคมแกะสลักลายกระจังลงไปบนก้อนอิฐดินดิบ
แล้วจึงนำไปเผาให้สุก  หรือ  เมื่อทำก้อนอิฐดินเสร็จ
ช่างได้นำเอาแม่พิมพ์ลายกระจังมากดลงไปบนก้อนอิฐทันที
ตากให้แห้งแล้วนำไปเผาให้สุก  อาจจะเป็นการทดลองแม่พิมพ์ได้หรือไม่
ถ้าไม่ใช่  ก็น่าคิดว่า  ช่างจะเอาลายกระจังนี้ไปทำอะไรต่อ
ซึ่งคิดต่อได้มากมาย

๒.อิฐอีก ๓ ก้อน คือ ก้อนที่มีรูปตารางคล้ายลายฝาปะกน ๑
ก้อนที่มีรูปลายดอกไม้ ๑  และก้อนที่มีลายเทวดาหรือคนธรรพ์เหาะ ๑
เป็นการขีดวาดลวดลายลงบนก้อนอิฐขณะที่ดินยังเปียกหรือเพิ่งทำเสร็จใหม่ๆ
ส่วนจะวาดด้วยอะไรนั้น  ถ้าไม่ใช้ไม้ปลายแหลม ก็คงเป็นโลหะปลายแหลม
วาดเสร็จก็ตากให้แห้งแล้วนำไปเผา   ๓ ก้อนนี้ดูเป็นการร่างภาพออกแบบ

ภาพอิฐที่รูปเทวดานั้น   อาจจะเป็นเทวดาหรือคนธรรพ์ก็ได้
กำลังทำท่าเหาะ  ที่ศีรษะของเทวดาน่าจะเป็นปันจุเหร็จหรือไม่
ตรงขาขวาของเทวดา  มีการเขียนแก้ทับลงไปในภาพ
แขนข้างซ้ายเทวดาชำรุดไป มองไม่เห็นมือ  แต่น่าจะมีสิ่งของอะไรถืออยู่ (ถาด?  ดอกไม้?)
เทวดาหรือคนธรรพ์ตนนี้  น่าจะเป็นสตรี  เพราะองค์เอวอ้อนแอ้น
เทวดาหรือคนธรรพ์ตนนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งของภาพเทพชุมนุม
ที่นิยมวาดไว้อุโบสถ  หรือจะเป็นภาพอื่นในชาดกก็ได้

สันนิษฐานแต่เพียงเท่านี้ (ยาวเหมือนกันนะเนี่ย)
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 09:18

ท่านศรีสยามก็มีช๊อตเด็ดทาให้ติดตามอยู่เรื่อย จากอิฐก่อนล่าสุดที่เป็นรูป....ข้าพเจ้าสันนิษฐานว่านี่คือแบบร่างของงานประติมากรรมรูปเคารพรูปเทวดาหรือพระปฏิมาทรงเครื่องในท่ามหาราชลีลามากกว่าเป็นภาพร่างจิตรกรรมฝาผนัง(เพราะจิตรกรรมฝาผนังช่างจะร่างจากสมุดข่อยคงมีได้ร่างจากก้อนอิฐแน่)ในรูปสวมศิราภรณ์เป็นเทริดอย่างอยุธยา วัดนี้อาจจะมีอะไรเกี่ยวข้องกับทางพราหมณ์จึงคิดทำรูปเคารพปางนี้)
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 09:52

ขอบพระคุณคุณหลวงที่ให้ข้อวิเคราะห์ที่น่าคิดต่อได้อีกมากมาย...........
..หากมีโอกาส-จะไปตามดูกระจังที่ยังเหลือ-เปรียบเทียบขนาดว่าใช่ถอดพิมพ์หรือไม่...........?


ข้อสันนิษฐานที่เสี่ย..เอ๊ยเซียนjean แนะว่าเป็นต้นแบบปฏิมากรรม ก็น่าสนใจมาก........ไม่ทราบว่าเป็นท่าเดียวกับปฏิมากรรมภาพล่างนี้หรือเปล่า?.
ใจจริงของศรีสยาม............เทไปในทางที่ว่า น่าเป็นการขึดเขียนเล่นระหว่างที่ช่างวาดผนังโบสถ์กำลังจีบสาวในลานตากอิฐ..........
สาวเจ้ากำลังถากอิฐ(ใช้มีดหรือวัตถุมีคม ถากปาดอิฐที่แห้งหมาดๆ ยังไม่แกร่งแดดลม เพื่อลบคมเหลี่ยมที่เป็นส่วนเกินจากการยกพิมพ์ปั้นอิฐ)
พฤติกรรมเยี่ยงนี้ สีสยอง เคยทำเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว 55555

อิฐก้อนแรก น่าจะเป็นก้อนเดียวที่ขีดเขียนเอาจริงเอาจัง อย่างตั้งใจใช้งาน(แบบร่าง)
ต่อเมื่อเสร็จวัตถุประสงค์แรก - ก็นำมาทำหน้าที่-อิฐ-ตามเดิม



 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 09:53

ท่านjeanวิเคราะห์แม่นตรงจุดดังตาเห็น..ขอขอบคุณด้วยอิฐก้อนต่อไป.................

รับอิฐก้อนนี้ไว้วิเคราะห์ต่อด้วยครับ................หากตอบกลับด้วยลายเส้นถอดแบบออกมา..จะเป็นพระคุณและบุญตายิ่ง






 ยิงฟันยิ้ม

เสน่ห์กรุงศรีอยุธยา ชวนให้นึกถึงเทวดาถือพระขรรค์ รูปนี้ยิ่งนัก


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 01 ธ.ค. 11, 10:00

ขอบพระคุณคุณหลวงที่ให้ข้อวิเคราะห์ที่น่าคิดต่อได้อีกมากมาย...........
..หากมีโอกาส-จะไปตามดูกระจังที่ยังเหลือ-เปรียบเทียบขนาดว่าใช่ถอดพิมพ์หรือไม่...........?


ข้อสันนิษฐานที่เสี่ย..เอ๊ยเซียนjean แนะว่าเป็นต้นแบบปฏิมากรรม ก็น่าสนใจมาก.........
ใจจริงของศรีสยาม............เทไปในทางที่ว่า น่าเป็นการขึดเขียนเล่นระหว่างที่ช่างวาดผนังโบสถ์กำลังจีบสาวในลานตากอิฐ..........
สาวเจ้ากำลังถากอิฐ(ใช้มีดหรือวัตถุมีคม ถากปาดอิฐที่แห้งหมาดๆ ยังไม่แกร่งแดดลม เพื่อลบคมเหลี่ยมที่เป็นส่วนเกินจากการยกพิมพ์ปั้นอิฐ)
พฤติกรรมเยี่ยงนี้ สีสยอง เคยทำเมื่อประมาณห้าสิบปีที่แล้ว 55555

อิฐก้อนแรก น่าจะเป็นก้อนเดียวที่ขีดเขียนเอาจริงเอาจัง อย่างตั้งใจใช้งาน(แบบร่าง)
ต่อเมื่อเสร็จวัตถุประสงค์แรก - ก็นำมาทำหน้าที่-อิฐ-ตามเดิม



 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มเท่ห์

ลายกระจัง ไม่ได้เกิดจากการประทับลาย เนื่องจากการประทับลายบนพื้นผิว จะไม่ก่อให้เกิดเส้นที่คมชัดเมื่อประทับลงบนดินเหนียว ถ้าจะประทับทำไมมีรอยเดียวที่พบ (หรือว่าท่านศรีสยาม ยังไม่นำมาให้เห็น) ร่องรอยความคมชัดของดิน เป็นการกระทำในขณะดินหมาดในลานตากอิฐ

หากคุยกับสาวเจ้าแล้ว อาจจะได้ภาพแนวอีโรติค หวานหยดย้อย มากกว่าภาพงานลายเส้นศิลป์สูงเพียงนี้  ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.087 วินาที กับ 20 คำสั่ง