เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 39549 เรียนท่านผู้รู้ กรุณาชี้แนะความหมายของอิฐก้อนนี้
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 15:16

.



ลักษณะการบรรจงขีดแต่ละเส้น............ทำให้น่าคิดว่า คงทำเพื่อวัตถุประสงค์หนึ่งใดเป็นการจำเพาะ(ดังคุณกุว่า) มากกว่าการขีดเขียนเล่นเฉยๆ?


.


งง

 ตกใจ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 15:40

ขอถามคุณศรีสยามอีกเล็กน้อยว่า

๑. สถานที่พบท่านบอกว่า บริเวณพระประธาน ... พบริเวณที่ชัดเจนสักหน่อยได้ไหม บริเวณช่วงไหน
๒. ไม่เห็นร่องรอยการสอปูนเลย อิฐเปลือยหรือ
๓. สถานที่วัดแห่งนี้ ตกอยู่ในอยุธยาช่วงใดครับ
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 15:47

ที่นึกออกตอนนี้ อาจเป็นภาพร่างของช่างในการคำนวนฐานรากของสิ่งก่อสร้างอย่างใดอย่างนึง
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 19:08

.

ขอบคุณท่าน jean1966 ที่ช่วยกันสันนิษฐาน





ตอบท่านจอมยุทธหนุ่มสยาม(ใส่แว่นก็หล่อ-ถอดแว่นยิ่งหล่อ)
- ใกล้ฐานชุกชี มาด้านหน้าโบสถ์สักศอกเห็นจะได้ครับ
- ปูนที่สอน่าจะหมดสภาพตามกาลเวลา อีกทั้งผู้พบ เช็ดล้างซะเอี่ยมอ่อง
- ความเห็นส่วนตัว-อยุธยากลาง

        เพราะถูกแวดล้อมด้วยวัตถุพยานหลักฐานหลายชิ้น แต่กำลังเป็นห่วงว่าจะมีผู้กำลังพยายามยัดเยียดให้เป็นอยุธยาปลายจนถึงต้นรัตนโกสินทร์
        และที่ห่วงมากๆคือ ในที่สุดแล้ว ความพยายามเหล่านั้นจะถูกหักล้างด้วยหลักฐานที่ชาวบ้านในท้องถิ่นรวบรวมไว้ จะยังผลเสียต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรงครับ

งงอีกแล้ว

 รูดซิบปาก
บันทึกการเข้า
jean1966
สุครีพ
******
ตอบ: 1256


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 19:24

การจะวิเคราะห์ให้เกิดความชัดเจนควรจะได้ไปพบเจอสถานที่ค้นพบ เพือดูสิ่งแวดล้อมประกอบการสันนิษฐาน ข้อมูลเพียงศิลาก้อนเดียวตอบได้ยากนัก
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 19:36

.




มากกว่า"ศิลาเพียงก้อนเดียว"ครับผม



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 20:52

ระหว่างรอ การวิเคราะห์จากผู้รู้ทั้งหลาย
หนูดีดี ส่งเพลง อิฐก้อนหนึ่ง มาให้ฟังนะคะ..
เพลงนี้ชอบมากค่ะ ไพเราะทั้งทำนอง และเนื้อร้อง...



เพลง อิฐก้อนหนึ่ง
เนื้อร้อง : ประภาส ชลศรานนท์
ศิลปิน : เฉลียง

ให้ลมมันแรงร้อนเพียงใด
ให้มีฝนมากมาย
แดดเกรียมเผาแทบตาย
อย่าไปยอมแพ้
อย่ายอมให้ลมพัดเราไป
อย่ายอมเพราะความง่าย
หยัดยืนสู้ด้วยใจ
ด้วยใจที่รวมกัน

อิฐก้อนหนึ่งซึ่งถูกวางอย่างเดียวดาย
มีความหมายแค่เพียงดินที่คนปั้น
ซ่อนความงามซ่อนความจริงและความฝัน
อิฐก่อนนั้นคงรอวันเพื่อมีค่า

อิฐหมื่นแสนที่ถูกวางอย่างสร้างสรรค์
อัศจรรย์จึงบันดาลขึ้นตรงหน้า
ก่อกำแพงสร้างบ้านเรือนตึกระฟ้า
แดดลมฝนจะพัดพาไม่มีหวั่น

อิฐก่อนนั้นช่วยป้องกันไม่หวั่นเลย
อิฐก่อนนั้นช่วยป้องกันไม่หวั่นเลย

อิฐก้อนไหนจะถูกวางไว้อย่างเดิม
อิฐก้อนไหนจะถูกวางไว้สร้างเมือง
อิฐก้อนไหน..จะถูกวาง..ไว้สร้างเมือง
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 21:08

.


โดนก้อนอิฐเข้าให้...ซะแล้วเรา.................5555







-ขอบคุณครับ...เพราะมากเข้าบรรยากาศดีจัง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 21:18

ไม่มีความรู้เรื่องลายบนอิฐ  แต่สงสัยว่าไม่น่าเป็นไปได้ที่วัดทั้งวัด หรือโบสถ์ทั้งหลัง  มีก้อนอิฐแค่ 1 ก้อนที่นายช่างเกิดแรงบันดาลใจ ขีดเขียนลายอะไรลงไปบนนั้น  ไม่ได้เขียนลงบนอิฐก้อนไหนอีก    แล้วก็บังเอิญอิฐก้อนพิเศษก้อนนี้ก็หลงเหลือรอดกาลเวลามาได้ตั้งแต่อยุธยาตอนกลางจนถึงปัจจุบัน
ถ้าเป็นหนังวิทยาศาสตร์ละก็ อิฐก้อนนี้คงจะเป็นเครื่องมือเดินทางย้อนเวลา   

ในเมื่อเป็นความจริง   จึงคิดว่าเป็นอิฐหนึ่งก้อนในจำนวนหลายๆก้อน หรือจำนวนมากมายหลายร้อยก้อน ที่มีลายอยู่บนนั้นเหมือนกัน    รวมกันแล้วเป็นส่วนหนึ่งของฐานโบสถ์หรือส่วนอะไรสักส่วน ที่มีลายบนอิฐประดับอยู่
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 21:28

.



ในเมื่ออ.เทาชมพูกระโดดลงมากระทู้นี้..............
ก็ต้องสารภาพตามตรงว่า.....ถูกต้องครับ



-ยังมีอิฐอยู่อีกหลายก้อน ที่มีลวดลายขีดเขียน-แกะเกลา ทั้งชัดเจนว่าเขียนเล่นและเขียน(เอา)จริงดังก้อนแรกที่นำมาให้ชมนี้
สิ่งหนึ่งที่เจ็บปวดคือ.................
เป็นการพบ"หลัง"เสร็จสิ้นการขุดแต่งโดยเจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญแล้ว  ทำไมจึงรอดหูตาผู้เชี่ยวชาญหลายชิ้นนัก
บังเอิญอย่างร้ายกาจหรือ?
หรือมีเหตุผลอื่นใดแฝงเร้นอยู่............

ขออดใจรอสักนิด อีกหลายก้อนจะตามมาในไม่นาน...........หลังน้ำลด-อิฐจะผุด



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 21:38

อิฐก้อนเดียวมีค่า  อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ได้เคยมีกระแสพระราชดำรัสไว้ความตอนหนึ่งว่า

"...เรื่องโบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ
อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่เราจะช่วยกันรักษาไว้
ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว
ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย..."

ผมขอเอาใจช่วยให้ทุกท่านคิดสันนิษฐานไขปริศนาก้อนอิฐเก่าๆ นี้ได้ อยู่ห่างๆ นะครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 21:41




ใกล้ๆก็ได้ครับ คุณหลวง............อบอุ่นดี
ช่วงนี้-ผีโคมดุ............อิอิอิอิ



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 21:45

อิฐก้อนเดียวมีค่า  อย่างที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน
ได้เคยมีกระแสพระราชดำรัสไว้ความตอนหนึ่งว่า

"...เรื่องโบราณสถานนั้น เป็นเกียรติของชาติ
อิฐเก่า ๆ แผ่นเดียวก็มีค่า ควรที่เราจะช่วยกันรักษาไว้
ถ้าเราขาดสุโขทัย อยุธยา และกรุงเทพฯ แล้ว
ประเทศไทยก็ไม่มีความหมาย..."

ผมขอเอาใจช่วยให้ทุกท่านคิดสันนิษฐานไขปริศนาก้อนอิฐเก่าๆ นี้ได้ อยู่ห่างๆ นะครับ ยิงฟันยิ้ม


สารภาพ(อีกครั้ง)ว่า แรงบันดาลใจเรื่องก้อนอิฐในพระราชดำรัสนี้มีอิทธิพลต่อศรีสยามมากมายนัก
อีกหนึ่งแรงดลใจ-มาจาก "อิฐก้อนนั้น" .......อีกนานจึงจะเฉลยให้ ว่าเป็นก้อนไหน?
แต่ไม่นานเกินรอแน่นอน


 ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 22:20

ขอตัวมานั่งให้กำลังใจอยู่ห่างๆ ดีกว่าครับ  เพราะผมเป็นผู้มีความรู้น้อย
เข้าเดินเพ่นพ่านใกล้ๆ เดี๋ยวจะไปเกะกะคนอื่นเปล่าๆ ครับ

ผมเคยเห็นก้อนอิฐที่วัดแถบปริมณฑล  ซึ่งอาจารย์ท่านหนึ่ง
ได้เคยไปศึกษาวิจัยอยู่นาน  ท่านไปเจอก้อนอิฐใหญ่หลายก้อน
มีจารึกชื่อคนที่ได้ทำบุญทำก้อนอิฐสำหรับก่อสร้างถาวรวัตถุของวัด
บางก้อนก็มีข้อความเขียนอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับด้วย
ในแง่ประวัติศาสตร์ชาติอาจจะไม่ใช่หลักฐานสำคัญอะไรนัก
แต่ในแง่ประวัติศาสตร์สังคมและความเชื่อ  อิฐเหล่านี้คือรอยอดีต
ที่มีค่าและน่าสนใจ  อาจารย์ท่านว่าอย่างนั้น  ก็เห็นจะจริง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 26 พ.ย. 11, 09:14

ขอตัวมานั่งให้กำลังใจอยู่ห่างๆ ดีกว่าครับ  เพราะผมเป็นผู้มีความรู้น้อย
เข้าเดินเพ่นพ่านใกล้ๆ เดี๋ยวจะไปเกะกะคนอื่นเปล่าๆ ครับ

ผมเคยเห็นก้อนอิฐที่วัดแถบปริมณฑล  ซึ่งอาจารย์ท่านหนึ่ง
ได้เคยไปศึกษาวิจัยอยู่นาน  ท่านไปเจอก้อนอิฐใหญ่หลายก้อน
มีจารึกชื่อคนที่ได้ทำบุญทำก้อนอิฐสำหรับก่อสร้างถาวรวัตถุของวัด
บางก้อนก็มีข้อความเขียนอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษที่ล่วงลับด้วย
ในแง่ประวัติศาสตร์ชาติอาจจะไม่ใช่หลักฐานสำคัญอะไรนัก
แต่ในแง่ประวัติศาสตร์สังคมและความเชื่อ  อิฐเหล่านี้คือรอยอดีต
ที่มีค่าและน่าสนใจ  อาจารย์ท่านว่าอย่างนั้น  ก็เห็นจะจริง

ใช่แล้วครับ อิฐที่เคยรับรู้มา เช่น ที่กำแพงเมืองจีน ที่กรุงโรม ที่อิยิปต์ ยังคงพบร่องรอยรายชื่อคนงานก่อสร้างที่จารึกชื่อตนเองลงในแผ่นอิฐนั้น เขาก็ให้ความสำคัญไปไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.047 วินาที กับ 19 คำสั่ง