เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
อ่าน: 39547 เรียนท่านผู้รู้ กรุณาชี้แนะความหมายของอิฐก้อนนี้
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


 เมื่อ 24 พ.ย. 11, 19:53

หลังการขุดแต่งโบราณสถานสมัยอยุธยาแห่งหนึ่ง มีผู้พบอิฐก้อนนี้หลงเหลือรอดหูรอดตาเจ้าหน้าที่ขุดแต่ง
ชาวบ้านละแวกใกล้เคียงพบและเก็บรักษาไว้



ขอท่านผู้รู้ช่วยร่วมอภิปราย..............ว่าอิฐก้อนนี้มีความหมายใดซ่อนอยู่...........
ด้านสถาปัตยกรรม?.........พิธีกรรม?............ศาสนา?.............ศิลปกรรม?...........
หรืออื่นใด.....?


รบกวนทุกท่าน..........ในเรือนไทย มาช่วยกันไขปริศนานี้เทอญ


 ยิงฟันยิ้ม ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 19:58

.



ภาพขยายมุมซ้ายด้านล่างของก้อนอิฐ............
เห็นได้ชัดเจนว่ามีการขูดปาดอิฐขณะผึ่งแดดหมาดๆ ไม่ทันแห้งแข็ง
รายละเอียดของเส้นที่ขีด.......ชี้ชัดว่าพิถีพิถันบรรจงขีดแต่ละเส้น หนักแน่นและคมชัด...................ลึก


 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 20:00

.



เมื่อลองวาดเส้นตามรอยขีดที่ปรากฏ ได้ลวดลายเรขาคณิตประมาณนี้.................

 ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 20:06

.



ขนาดของอิฐ กยส.   16.7 x 33.5 x 6.0 cm.
หักครึ่ง แต่สภาพยังสมบูรณ์ดีมาก
ด้านหลังและด้านข้าง ไม่ปรากฏลวดลายใดๆ

ตำแหน่งที่พบก้อนอิฐ.....................ในอุโบสถ-ใกล้กับฐานพระประธาน


ลายเส้นที่ปรากฏ ลอกแบบมาได้ประมาณนี้...........................





.
ข้อมูลมีเพียงนี้.....ครับผม


 ยิ้มเท่ห์




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 20:37

ลายเรขาคณิตเป็นลำดับกันอย่างสวยงาม คล้ายลายฝาประกนเลยครับ

ลองใส่สีดูท่วงทำนองลายเรขาคณิต แนวเหนือ - ใต้ มีเส้นตั้ง (แดง) 3-2-1 จนกึ่งกลาง และออกไปอีกด้าน ในทำนองเดียวกันตะวันออก - ตก (น้ำเงิน) 2-1

ขอบคุณช่างบรรพบุรุษที่มือไม่ว่าง นั่งวางลายเรขาคณิตที่สวยงามนี้ไว้ให้ชม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 20:48

.



ขนาดของอิฐ กยส.   16.7 x 33.5 x 6.0 cm.
หักครึ่ง แต่สภาพยังสมบูรณ์ดีมาก
ด้านหลังและด้านข้าง ไม่ปรากฏลวดลายใดๆ

ตำแหน่งที่พบก้อนอิฐ.....................ในอุโบสถ-ใกล้กับฐานพระประธาน


ลายเส้นที่ปรากฏ ลอกแบบมาได้ประมาณนี้...........................





.
ข้อมูลมีเพียงนี้.....ครับผม


 ยิ้มเท่ห์




ให้จ้องมองภาพทั้งสองจนเห็นซ้อนกันเป็น สาม ภาพ จะเกิดภาพ "สามมิติ" ขึ้น ตาจะเหล่ ๆ นิดหน่อย เมื่อเกิดสามมิติแล้ว จะเห็นว่าเหมือนภาพมองเพดานยกสูง หรือ หลุมลงล่าง  ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์ ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 22:26

.




ขอบพระคุณท่านหนุ่มสยามที่เมตตาชี้แนะเป็นท่านแรก.............
อิฐก้อนนี้ ทำให้ศรีสยามตาเหล่มาเป็นปี..ทันทีที่เจอภาพสามมิติของท่านหนุ่มสยามแค่สามนาที..............ตากลับเลยครับ...................อิอิอิอิ

ประเด็นของท่านน่าสนใจและมีความเป็นไปได้สูงมากอยู่นะครับ.........
ขอบพระคุณอีกครั้ง............




ยังรอทุกท่านอยู่ครับ...............
 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 24 พ.ย. 11, 22:42

.



ลองหมุนภาพเป็นแนวตั้งดู.............เผื่อเห็นอะไรเพิ่มขึ้นบ้าง?


 ยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 08:42

^
^
ลายฝาปะกนประยุกต์ นั่นแล   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 09:01

.


ขอบคุณครับ อ.เพ็ญชมพู.................ไม่ทราบว่าภาพซ้ายหรือขวา เป็นลายฝาปะกนประยุกต์ละ่ครับ?


 ยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 09:19

.


หากเป็นลายฝาปะกน......
ภาพจาก   http://board.postjung.com/m/536390.html  มีคำอธิบายเรื่องนี้พอสมควร


 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 09:32

มีลายที่คล้าย ๆ กันมาให้คุณศรีดูเพิ่มเติม

ลวดลายของกระดานซึ่งเป็นฝากั้นนั้น ถ้าทำจากแผ่นไม้ เพลาะต่อกันเข้าด้วยวิธีเจาะรางเข้าเหลี่ยมอย่างประณีต เรียกกันว่า ฝาปะกน ส่วนฝาสายบัวนั้นเป็นฝาไม้กระดานตีเป็นเส้นตรง แล้วเอาไม้ชิ้นเล็กประกบระหว่างรอยต่อ จะเป็นลายริ้ว ๆ มองดูคล้ายสายบัว

ข้อมูลจาก เรือนไทย โดยแม่เม้า

 ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 09:38

เข้ามาเขย่าความงง เพิ่มเติมให้คุณศรีสยาม ครับ  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม (ช่างวาดอาจจะมีเค้าลางจากฝาปะกนที่วางพาดหรือเห็นอยู่ตรงหน้า เลยจัดวาดขีดเส้น ๆ ให้)

ความงงที่เพิ่มเติมเข้ามาไม่ใช่รอยขีดที่เด่นชัดเท่าไร บริเวณขวาเกือบล่างภาพ (ในวงกลม) ปรากฎร่องรอยอย่างหนึ่งขึ้นมาครับ ไม่ใช่รอยจากการขีดลงในเนื้อดิน หากแต่เป็นรอยประทับจากก้อนดินด้วยน้ำหนักตัวมันเอง หากคุณศรีสยามมีก้อนอิฐ คงส่องกล้องขยายสำรวจได้ไม่ยากนัก

รอยที่พบนี้เป็นรอยวาดสีขาวอย่างที่เห็น เป็นรูปสามเหลี่ยม คาดว่ายามตากอิฐให้แห้ง คงวางบนพื้นผิวไม่เรียบเท่าไร  ยิ้มเท่ห์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 10:09

.

มีแต่ภาพอยู่ในมือ.....................
ตัดส่วนมาให้ท่านหนุ่มสยามชม สนับสนุนข้อวิเคราะห์ของท่าน................

 ยิ้มกว้างๆ


บันทึกการเข้า
Kurukula
สุครีพ
******
ตอบ: 1303



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 25 พ.ย. 11, 14:24

เหมือนลายฝาปะกนจริงๆด้วยครับ แต่ก็แปลกใจว่าถ้าเป็นฝาปะกนจะมาวาดบนอิฐทำไม หรือมันจะเป็นยันต์อะไรสักอย่าง แต่ยังไม่ได้เขียนอักษรลงไปในช่อง ฮืม
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง