เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 24286 ขนมฝรั่ง บัญชีขนมในงานนาเชนนอลเอกซฮิบิเชน ณ ท้องสนามหลวง ๒๔๒๕
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 22 พ.ย. 11, 09:50



ขนมแป้งนวล                  ราคาซื้อขายร้อยละบาท

ขนมติดเม็ดแตงอุลิศ          ราคาซื้อขายร้อยละบาท   


ขนมต่อไปนี้  ไม่เห็นผู้ใดทำซื้อขายกัน  เห็นแต่ใช้ในการเลี้ยงโต๊ะ

ขนมลูกอะมัน(น่าจะเป็นอัลมอนด์)

ขนมสะตาด  (จะเป็นคัสตาดได้หรือไม่)

ขนมพิมพ์

ขนมป้อม

ขนมดะสอย  (จินตนาการไม่เปิดในเรื่องนี้ค่ะ  เดาไม่ออกว่าขนมอะไร)

ขนมมันสุกร  (เห็นในตำราของโรงเรียนวัฒนามีคล้ายๆกันค่ะ  ต้องไปหาก่อน)

ขนมศรีษะหอม

ขนมแยม

ขนมทอด

ขนมฟองเต่า
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 09:56



รายการขนมไทยมี  ๒๐๑  รายการ

ขนมจีนมี  ๗๙  รายการ

ขนมญวนมี  ๔ รายการ

     ขนมบั้นเหง่

     ขนมบั้นเชย

     ขนมบั้นลวกเหงื่อ

     ขนมบั้นเกิบ

     หน้าตาจะเป็นอย่างไรก็สุดรู้  แต่ยินดีชิมเสมอ   สนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอาหารและขนม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 10:09



รายการขนมของจีนนั้น  ถ้าข้ามไปไม่ลงรายการ  คุณฮั่นบิง  จะต้องกระโดดเร่า ๆด้วยความขัดเคือง

ขอแนะนำให้ชงชาจีนหนึ่งกา  และอ่านราชชื่อขนมไปโดยสุขสงบ   แล้วอธิบายมาโดยดี  ผิดถูกคงมีผู้รู้มา

แนะนำอย่างแน่นอน


หมวดว่าด้วยขนมต่าง ๆ ของจีน  ทำด้วยแป้งแลถั่วต่าง ๆ  เจือน้ำตาลทรายขาวอย่างที่ ๑  แลอย่างที่ ๒

เต้าปัง
อิ้วมั่วปัว
บีปัง
โซถึง
ตังกวยแฉะ

อิ๊วจ๊อ
เม่งถึง
เต้ายุ่น
นึ้งโก
แชะโก

เซียงเต้าทึง
ซกซา
กิมจี้เปีย
กิมเก๊กโซ
กิมโซเปีย

ฮองหงันเปีย
บีปังภู่อิ่ว
เต้าเปีย
บะเปีย
โซเกี้ยว
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 10:18


       คัดลอกมาด้วยความระมัดระวังแล้ว  จากเอกสารหายาก  เพราะฉะนั้นมีการออกเสียงที่ไม่คุ้นเคยแน่นอน

แต่รายการก็ได้ผ่านการตรวจตราของข้าราชการตามลำดับ


เบเตยโซ
กุ่ยซือเปีย
กึงกังเปีย
ฮุนเพียงโก
เกียมโก

จือถึงกัว
กังเหล็กเต้าโก
เบ๋เต้ยโก
เงกตัาวโก
มี่เปา

ฮวนกัวะโซ
เล่าฮวย
ซะผ่า
ฬ่อใจ
เก๊กฮวยโก

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 10:27


แปะจือมั่วโก
โอจือมั่วโก
ทึ่งปัง
ทึ่งกวย
กิมหัม


ฮำคักโซ
เต้ายินไซ
บียุ่น
เกยปะโก
เปียโถ


มี่เต๊ก
เล่งมึ่งเปีย
เง่าฮุนปัง
กาเปีย
มั่วโซ


เตเปีย
บ้วยกี
เกียมกิดโซ
เฮงยิ่นโช
กวยจี้โก

ตือถึงโก
เปากวน
ลาเลกเต้าโก

       เอกสารมิได้บอกห้องหรือหน่วยงานที่นำมาแสดง     อาลาบาสเตอร์นั้นเขียนแต่หมายกำหนดการและ

ราคาตั๋วที่มีหลายแบบจนน่าวิงเวียน          ต้องพยายามไปอ่านงานของบรัดเลเพิ่มเติม  แต่ก็มีไม่มากค่ะ
       
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 13:06


เต้าปัง
ตังกวยแฉะ


ขนมเต้าปัง คือ ขนมถั่วตัด โรยงาเล็กน้อย

ขนมตังกวยแฉะ คือ ฟักเชื่อม

คาดว่าขนมของจีนที่นำมาโชว์ คงไม่พ้นเครื่องจันอับเป็นแน่
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 21:17

ขนมฟองเต่า

น่าจะเป็นอย่างเดียวกับขนมไข่เต่า


ขนมญวนมี  ๔ รายการ

     ขนมบั้นเหง่

     ขนมบั้นเชย

     ขนมบั้นลวกเหงื่อ

     ขนมบั้นเกิบ

     หน้าตาจะเป็นอย่างไรก็สุดรู้  แต่ยินดีชิมเสมอ   สนับสนุนการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมอาหารและขนม

หนังสือ งานแสดงนิทรรศการสินค้าพื้นเมืองไทยในพระราชพิธีสมโภชพระนครครบร้อยปี พ.ศ. ๒๔๒๕ ในตอนหนึ่งกล่าวถึงบัญชีรายชื่อขนมต่าง ๆ ของไทย และในจำนวนนั้นได้กล่าวถึงหมวด “ว่าด้วยขนมต่าง ๆ ของอานำ ทำด้วยแป้ง ด้วยถั่วงาต่าง ๆ เจือน้ำตาลต่าง ๆ” ว่าประกอบไปด้วยขนมบั้นเหง่ ขนมบั้นเชบ ขนมบั้นหลวกเหงื่อ ขนมบั้นเกิบ ขนม ๒ ชนิดหลังนี้มีคำอธิบายว่า “๒ สิ่งนี้ พวกอานำทำเครื่องแจ๋ถวายพระญวนเมื่อเวลาสวดกงเต๊ก ถ้าจะซื้อขายราคาอันละ ๑ อัฐ”

จากชื่อขนมญวนที่อ้างในบัญชีข้างต้นจะเห็นว่าชื่อขนมญวนเหล่านี้มักจะขึ้นต้นว่า “บั้น” Bánh ซึ่งคำนี้ในภาษาญวน แปลว่า “ขนม”

ข้อมูลจาก เรื่องราวขนมเมืองตราด

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 09:17



ขนมมันสุกร

อ้างอิง  ตำราอาหารอย่างฝรั่งและสยามเล่มแรกของไทย  พ.ศ. ๒๔๔๑

       คุณสมบัติ  พลายน้อย เขียนนำเรื่องไว้ว่า  น่าจะเป็นหนังสือตำรากับข้าวที่เก่าที่สุด  ที่ท่านไม่เคยคิดว่ามี

และเป็นของสกูลวังหลัง    คณะมิชชันนารีอเมริกันได้คิดว่าจะสร้างโรงเรียนมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๐๙  ปลายรัชกาลที่ ๔

แต่มาเป็นรูปร่างขึ้นในพ.ศ. ๒๔๑๓    โดยได้ซื้อที่ดินแปลงหนึ่งบริเวณพระราชวังหลัง  ริมแม่น้ำเจ้าพระยา  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง

ของโรงพยาบาลศิริราชในปัจจุบัน   ความสำเร็จเป็นของหมอเฮาส์และนางแฮเรียตภริยา    โรงเรียนชื่อว่า

Harriet M. House School for Girls  หรือโรงเรียนกุลสตรีวังหลัง  เปิดเรียนเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม  พ.ศ. ๒๔๑๗

       เรื่องตำรากับข้าวแม่ครัวหัวป่าก์นั้นออกมาใน พ.ศ. ๒๔๕๑            หนังสือ "ประติทินบัตร"  ซึ่งมีรายการอาหารของท่านผู้หญิงเปลี่ยน  ภาสกรวงศ์

ด้วยออกในปี ๒๔๓๒  ไม่ใช่ตำราอาหารโดยตรง(เล่มเบ้อเริ่ม  สีเขียว)


       ขอยกตำราขนมใส่มันหมูมาเล่าสู่กันฟัง   ประเมินดูน่าจะใกล้เคียงกับขนมมันหมูที่แสดงงานนิทรรศการ

เครื่องปรุง         

ผลองุ่น  ๑ ถ้วยชา
เนื้อหมูมัน  ๑ ถ้วยชา
แป้งสาลี  ๔  ถ้วยชา
นมละลายแล้ว  ๑  ถ้วยชา
น้ำอ้อย   ๑ ถ้วยชา
โซดา  ครึ่ง ช้อนชา
เกลือ ครึ่ง ช้อนชา

แกะเมล็ดองุ่น    โรยแป้งเล็กน้อย

ละลายโซดาด้วยน้ำร้อน หนึ่งช้อนชา(น่าจะติดกันจับเป็นก้อนแข็ง)  ใส่ลงในน้ำอ้อย

หั่นมันหมูเป็นชิ้นเล็ก ๆ

เทมันหมูและแป้งลงในน้ำอ้อย        คนให้ทั่ว

ใส่องุ่นที่โรยแป้ง  เกลือ         คนให้ทั่ว  ใส่ถาดปิ้ง

       อ่านแล้ว  คิดว่าน่าจะเป็นขนมปังที่ชุ่มฉ่ำไม่แห้งเพราะมันหมู ๑ ใน ๔ ของแป้ง 

และหวานปะแล่มจากน้ำอ้อยและองุ่นที่มีน้ำในตัว

       ในสมัยโน้น...ผู้ประกอบอาหารถ้ามีเพียงแป้ง  นม  และ น้ำมัน  ก็ทำอาหารกินได้    เช่นพวก
จอนนีเค้ก    ฮอดเบรด   ที่ปิ้งขนมบนจอบที่วางบนกองไฟ 

       ยังคิดถึงกระทะแมงมุมของลอรา อิงกัลล์อยู่เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 11:22



ขนมมันสุกร

เมนูนี้คาดว่าส่วนผสมคงถูกดัดแปลงให้เข้ากับทรัพยากรในสยามที่หาง่ายเป็นแน่ ดูจากการทำและของผสมแล้ว เมนูนี้ช่างเรียกน้ำหนักได้ดีมาก  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 11:27

ขนมไทยนั้นมีอยู่  ๒๐๑  รายการค่ะ


       จะขอยกตัวอย่างที่ชื่อแปลกออกไป   ซึ่งอาจเป็นท้องถิ่นนิยม  หรือมีเหตุผล เช่น

ขนม ชันมะโรง   เป็นขนมราษฎรชาวป่าทำรับประทาน  ครั้นจะเรียกข้าวพอง  ก็กลัวเจ้าภาษีจันอับจะจับ  

จึงยักเรียกว่าขนมชันมะโรง     บ้านนอกซื้อขายก้อนใหญ่ราคาก้อนละ ๑ อัฐ  ก้อนเล็ก ๒ ก้อน  ๑ อัฐ


ขนมโอชารศ         ราษฎรซื้อขายที่บ้านผู้ทำร้อยละ ๕ สลึง         ซื้อขายตามตลาดอันละ ๑ อัฐ

ขนมโปร่ง            ขายที่บ้านผู้ทำน้อยละสลึงเฟื้อง   ตามตลาด ๓ อัน ๑ อัฐ
                      
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 11:36



อิอิ....คำนึงอยู่ว่า  คุณหนุ่มสยามจะมาปาดไหมหนอ     อยากชวนไปกินแพนเค้ก

จอนนี่เค้กนี่ทำงานแป้งข้าวโพดหยาบๆ  สีขาวก็มี  สีเหลืองก็มี     บางทีก็เรียกคอร์น เบรด

ทำเสร็จใหม่ๆหอมเตะจมูก        ไม่เคยเหลือเกินสองวันเลยค่ะ


       การสร้างชาตินั้น   เมื่อมีอาหารอะไรก็ต้องกิน   จะมาจู้จี้ไม่ได้
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 11:39


ขนม ชันมะโรง   เป็นขนมราษฎรชาวป่าทำรับประทาน  ครั้นจะเรียกข้าวพอง  ก็กลัวเจ้าภาษีจันอับจะจับ  

จึงยักเรียกว่าขนมชันมะโรง     บ้านนอกซื้อขายก้อนใหญ่ราคาก้อนละ ๑ อัฐ  ก้อนเล็ก ๒ ก้อน  ๑ อัฐ

ทำเหมือนนายโรงละครสมัยก่อนเลี่ยงค่าอากรมหรสพ
ถ้าเล่นละครในเรื่องรามเกียรติ์ อิเหนา อุณรุท ดาหลัง
จะต้องจ่ายค่าอากรต่อวันต่อคืนแพง  ก็เลยเลี่ยงไป
โดยแต่งบทละครนอกอาศัยโครงเรื่องอย่างละครใน
เปลี่ยนชื่อตัวละคร ตัดรายละเอียด เพิ่มเนื้อเรื่องบางตอนเพิ่ม
เท่านี้ก็จ่ายค่าอากรน้อยลง   คนไทยนี่ฉลาดเนาะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 11:53



ขนมที่จะเอ่ยต่อไปนี้   คนเล่าก็ไม่มีความสามารถจะเดาได้   เห็นว่าแปลกเลยลอกมาฝากค่ะ

ต่อไปเราอาจจะไปเจอในเอกสารอื่น ๆ


ขนมทองตัด      ราคา ๒๐ อันเฟื้อง   ที่ตลาดขาย ๒ อันต่ออัฐ

ขนมพลุน้ำ       ขายตามตลาดถ้วยละเฟื้อง

ขนมกรุบ    ที่บ้านผู้ทำร้อยละเฟื้อง   ที่ตลาด อันละ  ๑ อัฐ
              น่าจะมีที่บ้านนางพิมตอนพลายแก้วไปทัพ   ทำขนมกันอุตลุด

ขนมปลาหมึกสาย       ที่บ้านคนทำ ๒๐ อันต่อเฟื้อง   ที่ตลาดสองอันอัฐ

ขนมลำภู                 ที่บ้าน ๒๐ อันต่อเฟื้อง      ขายตามตลาด  ๒ อันต่ออัฐ

ขนมใบไม้          ๒๐ อันต่อเฟื้อง       ซื้อขายตามตลาด ๒ อันต่ออัฐ

ขนมจี้               ๔๐ อันต่อเฟื้อง         ที่ตลาดขาย ๔ อันต่ออัฐ

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 15:38



ขนมเต่า    ขาย ๒๐ อันเฟื้องที่บ้านผู้ทำ   ที่ตลาดราคา ๒ อัน ๑ อัฐ

ขนมซ่อนลูก     ขาย ๒๐ ห่อที่บ้านคนทำ    ๒ ห่อ ราคา ๑ อัฐขายที่ตลาด

ขนมกระจับ   ๑๐ ห่อเฟื้องที่บ้านคนทำ   ขายตามตลาดก่อละ ๑ อัฐ

ขนมไส้สิงโต     ซือขายที่บ้านคนทำ  ๒๐ อันเฟื้อง   ที่ตลาดขาย ๒ อัน ๑ อัฐ

ขนมดอกมะลิ   ราคาที่บ้านผู้ทำ  ๑๒ ต่อเฟื้อง    ที่ตลาดอัรละ ๑ อัฐ

ขนมเป็ด   ๑๒ ต่อเฟื้องที่บ้านคนทำ  ตามตลาดอันละ ๑ อัฐ

ขนมสร้อยไก่  ๑๐ อันเฟื้องที่บ้านคนทำ  ตามตลาดอันละ ๑ อัฐ   

ขนมแง่งขิง   ที่บ้านคนทำราคา ๕๐ แง่งต่อเฟื้อง   ที่ตลาดราคา ๕ แง่ง  ๑ อัฐ


ขนมกวนนั้นที่แปลกตามี

มะขวิดกวน

กระจับกวน

แห้วกวน

ศรีษะถั่วพูกวน

มะตูมกวน

กระท้อนกวน

แตงอุลิศกวน
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 พ.ย. 11, 15:55


ขนมกรุบ    ที่บ้านผู้ทำร้อยละเฟื้อง   ที่ตลาด อันละ  ๑ อัฐ
              น่าจะมีที่บ้านนางพิมตอนพลายแก้วไปทัพ   ทำขนมกันอุตลุด


ขนมกรุบ"เป็นขนมที่นิยมทำเพื่อแจกคนที่มาช่วยงานบวช   หรืองานแต่งงาน  หรือเป็นของหวานที่ใช้รับประทานทั่วไป

วิธีทำ
เครื่องปรุง
เครื่องปรุงในการทำขนมกรุบ  ได้แก่  ข้าวเหนียว  น้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลปี๊บ น้ำมันพืช และขี้ผึ้ง
วิธีการปรุง
แช่ข้าวเหนียว  ไว้ ๑ คืน แล้วนำมานึ่งให้สุก นำข้าวเหนียวที่นึ่งแล้วตำด้วยครกตำข้าว จนละเอียดโดยผสมน้ำตาลทรายลงไปด้วย     นำข้าวเหนียวที่ตำแล้วมาปั้นเป็นก้อนกลมมีขนาดตามที่ต้องการ     วางไว้บนใบตองที่ทาขี้ผึ้ง  คลึงจนเป็นแผ่นบาง  แล้วนำไปผึ่งแดดพอหมาด  ๆ  นำมาตัดเป็นชิ้นเล็ก  ๆ  ขนาดโตกว่าไม้ขีดไฟเล็กน้อย  นำไปผึ่งแดดอีกครั้งจนแห้ง  ต่อจากนั้นนำไปคั่ว  หรือใส่ในตะแกรงลวดผูกไว้เหนือเตาไฟจนขนมพองตัว แล้วนำไปทอดในน้ำมันที่ร้อน จะได้ขนมกรุบตามที่ต้องการ แล้วนำไปฉาบน้ำตาลทรายเคี่ยวหรือน้ำตาลปี๊บเคี่ยว ข้น ๆ เหนียว ๆ เมื่อได้ที่แล้วยกลงจากเตา ผัดจนกว่าขนมจะแห้ง

ขนมทองตัด อาจจะหมายถึงขนมทองทัต ในปัจจุบัน หรือเปล่าคะ...


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง