เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 27641 บรรดาศักดิ์ของแพทย์มีอะไรบ้างครับ
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 17:45

มีแพทย์อีกจำพวกหนึ่ง ที่รับราชการทหารในสมัยรัชกาลที่ 7 ทั้งที่เป็นทหารบก และทหารเรือ

ตัวอย่าง (จากราชกิจจานุเบกษา) เช่น
นายพันโท หลวงอาพาธพลพิทักษ์ (อ่วม ปานสมุท)  เป็น พระพิทักษ์อาพาธพล
นายพันโท หลวงจรัญโรควิจารณ์ (จรัล เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็น พระจรัญโรควิจารณ์
นายพันตรี ขุนโชติแพทยาคม (โชติ บุรณศิริ) เป็น หลวงโชติแพทยาคม
นายพันตรี สิน เผื่อนปถม เป็น หลวงสินสิริแพทย์
นายร้อยเอก ขุนเวชชวิบุล (เพ็ง เทศะวิบุล) เป็น หลวงเวชชวิบุล
นายร้อยเอก ขุนมงคลแพทยาคม (มงคล มงคละศิริ) เป็น หลวงมงคลแพทยาคม
นายร้อยเอก ขุนวีรแพทย์โกศล (จำเนียร สุขวีระ) เป็น หลวงวีรแพทย์โกศล
นายร้อยเอก ขุนประทักษ์เวชการ (เภา จันทะยานี) เป็น หลวงประทักษ์เวชการ
นายร้อยเอก ขุนพยาบาลพลขันธ์ (น้อม โกมลมาลย์) เป็น หลวงพยาบาลพลขันธ์
นายร้อยเอก อิ้ง อิงคุลานนท์ เป็น หลวงอินทรีย์อายุรเวท
นายร้อยเอก มูล วัจนะรัตน์ เป็น หลวงเมลืองเวชชวาหรักษ์
นายร้อยเอก ชม เกษสมัย เป็น หลวงชมชูเวชช์
นายร้อยเอก เจริญ ทิพยวรรณธนะ เป็น หลวงเจริญจิรเวชช์
นายร้อยเอก สือ เกียรตินันทน์ เป็น หลวงเกียรตินันทแพทย์
นายร้อยเอก บุญรอด ทองพด เป็น หลวงบุญรอดไวทยารักษ์
นายร้อยเอก เสริม ปรุงสุข เป็น หลวงเสริมปรุงสุข
นายร้อยเอก สิทธิ์ ชลวิทย์ เป็น หลวงสิทธิเวชชการ
นายร้อยเอก จำรัส พรหมินทะโรจน์ เป็น หลวงจำรัสฤทธิแพทย์
นายร้อยเอก บุญเจือ โลหารชุน เป็น หลวงบุญเจือบรรจงเวชช์
นายร้อยเอก จรุง ปาณฑุรังคานนท์ เป็น หลวงจรุงเจริญเวชช์
นายร้อยโท เลื่อน เลาหะคามิน เป็น ขุนวิบูลแพทยาคม
นายร้อยโท สง่า คัมภิรานนท์ เป็น ขุนเวชชเสนา
นายร้อยโท หงส์ โกมล เป็น ขุนโกมลยุทธแพทย์
นายร้อยโท แฉล้ม บุญ-หลง เป็น ขุนแฉล้มเวชชลักษณ์
นายร้อยโท ยิ้ม แววหงส์ เป็น ขุนแววเวชภูมิ

นายนาวาโท หลวงชัยชนะพยาธิ์ (เชย ลักษณหุต) เป็น พระชัยสิทธิเวชช์
นายเรือเอก ขุนสุวิชานแพทย์ (อั๋น สุวรรณภาณุ) เป็น หลวงสุวิชานแพทย์
นายเรือเอก ขุนสมบูรณ์วิชชาแพทย์ (ซังซุน หุตะแพทย์) เป็น หลวงสมบูรณ์วิชชาแพทย์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 18:21


กระทรวงมหาดไทย
มณฑลพายัพ     (อ้างอิงเดิม)
(ข้อมูลออกมาก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง)
หน้า     ๕๙๘  - ๖๐๓

เชียงใหม่

สาธารณสุขจังหวัด                    ร.อ.อ. หลวงอายุรกิจโกศล

แพทย์หลวงประจำท้องที่ไม่มีการแต่งตั้ง


ลำพูน

แพทย์หลวงประจำท้องที่               ร.อ.ท.  ขุนอรุณเวชชรัตน์


เชียงราย

สาธารณสุข                              ร.อ.อ. หลวงพิสิษฐแพทยากร

แพทย์หลวง                              ร.อ.ท. ขุนสาทรแพทย์พิทักษ์       


แม่ฮ่องสอน

แพทย์หลวง                               ร.อ.ท. เปี่ยม  มุสิกะพุมมะ


แพร่

สาธารณสุข                                ร.อ.ท.  ขุนคณานนท์บริรักษ์

แพทย์หลวง                                ร.อ.ต.  ศรีนวล   มโนหรทัต


ลำปาง

สาธารณสุข                                 ร.อ.ท. ขุนจำรูญเวชศักดิ์

แพทย์หลวง                                 ร.อ.ท. ขุนเวชวิสิษฐ์


น่าน

สาธารณสุข                                  ร.อ.ท. ขุนนิยุตสุขวิศาล

แพทย์หลวง                                  ร.อ.ท. ขุนบำรุงรสเภสัช                       

บันทึกการเข้า
คนธรรมพ์สัญจร
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 21:20

อ๋อครับขอบคุณคับคุณวันดีแล้วมีจากส่วนกลางหรือจังหวัดพุทธไทรมาศไหมคับ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 22:37


ประทานโทษค่ะ    ทราบแต่ข้อมูลของสยามเท่านั้น
บันทึกการเข้า
CVT
องคต
*****
ตอบ: 452


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 00:39



ในภาพนี้เป็นครอบครัวของแพทย์เมืองปัตตานี
ผู้เป็นพ่อคือชายสูงอายุ ขุนวรเวชวิชกิจ(ซุ้ย สืบแสง) แพทย์ศิริราช รุ่น ๓ จบปี พ.ศ.๒๔๓๗/๒๔๓๘
ลูกชายคนโต นั่งซ้ายสุด ขุนสวัสดิ์วรเวชช(สวัสดิ์ สืบแสง) แพทย์ศิริราช รุ่น ๒๙ จบปี พ.ศ.๒๔๖๖/๒๔๖๗
ลูกชายคนที่ ๒ นั่งขวาสุด ขุนเจริญวรเวชช(เจริญ สืบแสง) แพทย์ศิริราช รุ่น ๒๙ จบปี พ.ศ.๒๔๖๖/๒๔๖๗ อดีตนักโทษคดีกบฏสันติภาพ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 07:01

แพทย์ประจำมณฑลพายัพ  ที่ปรากฏชื่อ คือ พระพิจิตรโอสถ (รอด  สุตันตานนท์) บิดา พันเอก นายวรการบัญชา (บุญเกิด  สุตันตานนท์) ครับ
ท่านผู้นี้ดูเหมือนจะเป็นแพทย์ประจำพระองค์ พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 08:55

พระพิจิตรโอสถ นามเดิมคือ รอด สุตันตานนท์ เกิดที่จังหวัดนครนายก บิดามารดาชื่อ หลวงวิเชียรโอสถ (ชื่น) และหม่อมราชวงศ์หญิงปริก อิศรางกูร หลวงวิเชียรโอสถผู้เป็นบิดาเป็นคหบดีชาวจังหวัดนครนายกมีไร่นามาก สนใจวิชาการแพทย์จึงได้ศึกษาและเป็นแพทย์แผนโบราณ ช่วงเว้นจากการดูแลไร่นาก็ได้ถวายตัวเป็นแพทย์หลวงในราชสำนักของรัชกาลที่ ๕ มักช่วยเหลือราชการเมื่อมีโรคระบาด เมื่อมีการตั้งโรงพยาบาลศิริราชขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๓๑ หลวงวิเชียรโอสถได้เข้ารับราชการเป็นอาจารย์สอนและได้ย้ายครอบครัวเข้ามาอยู่ที่กรุงเทพฯ

พระพิจิตรโอสถเริ่มต้นการศึกษาที่โรงเรียนราชบพิธ และเรียนจบโรงเรียนราชแพทยาลัย เป็นนักเรียนแพทย์รุ่นที่ ๗ สอบไล่ได้เป็นที่ ๑ และออกรับราชการเป็นแพทย์ประจำศิริราชพยาบาลเมื่อปี พ.ศ.๒๔๔๔ ขณะนั้นรัชกาลที่ ๕ ปรับการปกครองหัวเมืองแบบมณฑลเทศาภิบาล มีคณะข้าหลวงประจำอยู่ในจังหวัดที่เป็นที่ตั้งมณฑลโดยมีแพทย์ประจำมณฑลอยู่ในคณะข้าหลวงด้วย ขณะนั้นแพทย์ประจำมณฑลพายัพที่เมืองเชียงใหม่ว่าง พระพิจิตรโอสถได้สมัครเป็นแพทย์ในตำแหน่งนี้เนื่องจากต้องการใช้ความรู้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ เริ่มเดินทางมาปฏิบัติหน้าที่โดยทางเรือเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๔๔๔ ร่วมกับพระยานริศราชกิจ ข้าหลวงใหญ่มณฑลตะวันตกเฉียงเหนือ รับผิดชอบด้านการแพทย์ทั้งเมืองเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน เชียงรายและแม่ฮ่องสอน ซึ่งก่อนหน้านี้มีเพียงแพทย์ประจำตัวข้าหลวงใหญ่เพียงคนเดียว ชื่อหมอจำปี หลังจากนั้นชาวเมืองเชียงใหม่ก็รู้จักและพึ่งหมอรอด เมื่อยามเจ็บป่วย รวมทั้งหมอรอดเป็นหมอประจำองค์เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ คือ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ , เจ้าแก้วนวรัฐ รวมทั้งพระราชชายาเจ้าดารารัศมี

ระหว่างปฏิบัติหน้าที่ราชการได้รับบรรดาศักดิ์เป็นขุนประสิทธิ์เวชศาสตร์ , ขุนพิจิตรโอสถ , หลวงพิจิตรโอสถและพระพิจิตรโอสถ ตามลำดับ

ระยะแรกพระพิจิตรโอสถมีบ้านและเปิดเป็นคลินิกรักษาคนไข้ที่ต้นถนนเจริญประเทศตรงข้ามจวนผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ต่อมาเมื่อมีครอบครัวได้โยกย้ายไปอยู่ที่ย่านช้างเผือก เนื้อที่กว้างขวาง ปัจจุบันเป็นบริเวณโรงแรมโนโวเทล

พระพิจิตรโอสถรับราชการเป็นแพทย์อยู่ที่เมืองเชียงใหม่ตลอดอายุราชการรวม ๒๕ ปีจนเกษียณเมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๙

ด้านครอบครัวสมรสกับเจ้ากาบคำ ณ ลำพูน ซึ่งเป็นธิดาของเจ้าเลากู๊และเจ้าคำป้อ ณ ลำพูน เกิดที่คุ้มในเมืองลำพูน มีบุตรธิดา ๔ คน คือ พันเอก นายวรการบัญชา , นางเฉลิม บุษบรรณ , นางฉลอง สารสิทธิประกาศและนางฉลวย ณ ลำพูน

พระพิจิตรโอสถ เสียชีวิตเมื่อต้นปี พ.ศ.๒๔๙๘ ที่บ้านย่านช้างเผือก ขณะอายุ ๗๒ ปี

ข้อมูลจาก เว็บไทยนิวส์

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 12:44

แพทย์ประจำท้องถิ่นนั้น  สมัยก่อนขึ้นกับกระทรวงมหาดไทย

ดูจากราชทินนามน่าจะใช่แพทย์

รองอำมาตย์โท ประเมิน  จันทวิมล  เป็น  ขุนประเมินวิมลเวชช์  สังกัดกระทรวงมหาดไทย  ศักดินา  ๔๐๐

รองอำมาตย์โท ประวิช  เวชชาชีวะ เป็น  ขุนประวิตรเวชชาชีพ สังกัดกระทรวงมหาดไทย  ศักดินา  ๔๐๐

รองอำมาตย์โท สงัด  เปล่งวาณิช  เป็น  ขุนสงัดโรคจิตต์   ตกใจ  ตกใจ ตกใจ สังกัดกระทรวงมหาดไทย  ศักดินา  ๔๐๐

รองอำมาตย์โท สอาด  เวชกร  เป็น  ขุนสะอาดเวชชกร  สังกัดกระทรวงมหาดไทย  ศักดินา  ๔๐๐

นายร้อยตำรวจโท  แม้น  ทีวะเวช เป็น  ขุนทีวเวชชกิจ  สังกัดกรมตำรวจภูธร  กระทรวงมหาดไทย  ศักดินา  ๔๐๐

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 13:29

 ตกใจ ตกใจ ตกใจ โอ้โฮ  คุณเพ็ญชมพูหาเก่งจังนะครับ   แต่ ๒ คนสุดท้าย น่าจะไม่ใช่แพทย์
บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 13:53


รองอำมาตย์โท สอาด  เวชกร  เป็น  ขุนสะอาดเวชชกร  สังกัดกระทรวงมหาดไทย  ศักดินา  ๔๐๐

นายร้อยตำรวจโท  แม้น  ทีวะเวช เป็น  ขุนทีวเวชชกิจ  สังกัดกรมตำรวจภูธร  กระทรวงมหาดไทย  ศักดินา  ๔๐๐

 ยิงฟันยิ้ม

ตกใจ ตกใจ ตกใจ โอ้โฮ  คุณเพ็ญชมพูหาเก่งจังนะครับ   แต่ ๒ คนสุดท้าย น่าจะไม่ใช่แพทย์


คนสุดท้ายผมไม่แน่ใจว่าใช่แพทย์กรมตำรวจหรือเปล่า เพราะราชทินนาม "ทีวเวชชกิจ" ตั้งตามนามสกุล
ส่วน ขุนสะอาดเวชชกร (สะอาด เวชกร) จำไม่ได้ว่าอยู่กรมอะไรในกระทรวงมหาดไทย (คงต้องอาศัยคุณวันดีอีกแล้ววว ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 14:46

คนสุดท้ายผมไม่แน่ใจว่าใช่แพทย์กรมตำรวจหรือเปล่า เพราะราชทินนาม "ทีวเวชชกิจ" ตั้งตามนามสกุล
ส่วน ขุนสะอาดเวชชกร (สะอาด เวชกร) จำไม่ได้ว่าอยู่กรมอะไรในกระทรวงมหาดไทย (คงต้องอาศัยคุณวันดีอีกแล้ววว ยิงฟันยิ้ม)


คิดว่าไม่ใช่แพทย์  เป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรต่างจังหวัด  ถ้าเป็นแพทย์กรมตำรวจจะขึ้นกับส่วนกลาง
จะดูแต่นามสกุลและราชทินนามไม่ได้  ต้องค้นข้อมูลให้ลึกกว่านี้
ส่วนขุนสะอาดเวชชกร  อาจจะเป็นกำนันก็ได้  เพราะกำนันจะได้รับประทวนตั้งเป็นที่ขุน
แต่ก็ไม่แน่ อาจจะเป็นปลัดอำเภอ หรือกรมการอื่นๆ ของจังหวัด หรืออาจจะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในส่วนกลาง

บันทึกการเข้า
art47
องคต
*****
ตอบ: 739


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 14:52

คนสุดท้ายผมไม่แน่ใจว่าใช่แพทย์กรมตำรวจหรือเปล่า เพราะราชทินนาม "ทีวเวชชกิจ" ตั้งตามนามสกุล
ส่วน ขุนสะอาดเวชชกร (สะอาด เวชกร) จำไม่ได้ว่าอยู่กรมอะไรในกระทรวงมหาดไทย (คงต้องอาศัยคุณวันดีอีกแล้ววว ยิงฟันยิ้ม)


คิดว่าไม่ใช่แพทย์  เป็นตำรวจประจำสถานีตำรวจภูธรต่างจังหวัด  ถ้าเป็นแพทย์กรมตำรวจจะขึ้นกับส่วนกลาง
จะดูแต่นามสกุลและราชทินนามไม่ได้  ต้องค้นข้อมูลให้ลึกกว่านี้
ส่วนขุนสะอาดเวชชกร  อาจจะเป็นกำนันก็ได้  เพราะกำนันจะได้รับประทวนตั้งเป็นที่ขุน
แต่ก็ไม่แน่ อาจจะเป็นปลัดอำเภอ หรือกรมการอื่นๆ ของจังหวัด หรืออาจะเป็นข้าราชการชั้นผู้น้อยในส่วนกลาง



อย่างน้อยไม่ใช่กำนันแน่นอนคุณหลวง เพราะเท่าที่ผ่านตามาไม่เคยมีกำนันคนไหน มียศเป็น "รองอำมาตย์โท"
ผมเน้นหนักทางกรมการผู้น้อยในต่างจังหวัด หรือไม่ก็นายเวรในกระทรวงมหาดไทยมากกว่าครับ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 14:58

อย่างน้อยไม่ใช่กำนันแน่นอนคุณหลวง เพราะเท่าที่ผ่านตามาไม่เคยมีกำนันคนไหน มียศเป็น "รองอำมาตย์โท"
ผมเน้นหนักทางกรมการผู้น้อยในต่างจังหวัด หรือไม่ก็นายเวรในกระทรวงมหาดไทยมากกว่าครับ

ดี  งั้นขอให้ค้นหาต่อไป  ผมจะนั่งเอาใจช่วยอยู่                       ห่                     า                      ง                  ๆ                 (ห่างเท่านี้คงพอกระมัง) ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 15:11



ร.อ.ท. ขุนสะอาดเวชชกร  เป็นแพทย์หลวงประจำท้องที่อุตตรดิตถ์

ทำไมใครต่อมิใครจำนามสกุลนี้ไม่ได้หรืออย่างไร          ว้า...

คุณ อาร์ท 47  มีความทรงจำเป็นเยี่ยมที่คิดลิ้งก์ออก   น่านับถือ


ค้นหนังสือมากๆ   กระดาษอายุ  79  ปีละลายไปหลายจุดแล้ว    ช่วงนี้เราใช้กระดาษในเมืองไทยค่ะ

ก่อนหน้านี้ตั้งนานใช้กระดาษฝรั่งเศส    สภาพยังดีอยู่เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 22 พ.ย. 11, 15:30


หน้า  ๙๓๑  อ้างอิงแล้ว


ขุน ทีวเวชชกิจ(แม้น  ทีวะเวช)          นายร้อยตำรวจโท

นายแพทย์ตำรวจนครบาล  จังหวัดธนบุรีเหนือ

เรื่องข้าราชการชั้นผู้น้อยนี้   จำได้ว่าไม่ได้แซงคิวหรือปาดเลยนะคะ   ตามอ่านเฉย ๆ

ตอนนี้อ่านแต่ไทยเขษมค่ะ   มี ๑๗ เล่มปกแข็ง   ค่าทำปก ๘ บาท  สภาพหวิดดีทีเดียว

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 20 คำสั่ง