ขุนสงัดโรคกิตติ และยาขอบ
ขุนสงัดโรคกิตติไม่เพียงแต่จะเป็นนักประพันธ์ที่ยอดเยี่ยมเท่านั้น ยาขอบยังเป็นคนที่เยี่ยมด้วยความเมตตาทั้งต่อมนุษย์และสัตว์ ยาขอบเคยเก็บสุนัขกลางถนนมาเลี้ยงหลายตัว มีผู้เล่าว่าเมื่อวันบรรจุศพยาขอบที่วัดมกุฏกษัตริยาราม สุนัขของยาขอบก็ไปวนเวียนอยู่รอบ ๆ ที่บรรจุศพของเขา จนเป็นที่น่าสงสารแก่ผู้พบเห็นอย่างยิ่ง นอกจากนี้ยาขอบยังเป็นผู้ที่รู้กตัญญูอย่างยิ่ง ซึ่งจะทราบได้จากการเขียนคำนำของยาขอบในการพิมพ์ผู้ชนะสิบทิศภาค 3 ลงวันที่ 5 กันยายน 2482 ยาขอบย้ำให้เห็นว่าผลจากที่เขาได้รับจากผู้ชนะสิบทิศ ทำให้เขาระลึกถึงบุญคุณของ “ศรีบูรพา” ซึ่งเป็นคนแรกที่ช่วยหนุนน้ำใจให้เขาเขียนหนังสือ และช่วยให้ได้เงิน 35 บาทต่อเดือน ระลึกถึง “แม่อนงค์” ซึ่งช่วยคิดตั้งชื่อ ผู้ชนะสิบทิศ
และระลึกถึง ขุนสงัดโรคกิติ ที่กล้าพิมพ์ยอดขุนพลออกขายเป็นครั้งแรกในบรรดาหนังสือของเขา ซึ่งสอนให้รู้ถึงความต้องการของมหาชนสงัด เปล่งวานิช หน้ ๙๖ - ๑๐๑(เก็บความ)
ยอดขุนพล อันเป็นตอนต้นของผู้ชนะสิบทิศ ลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์สุริยา ตั้งแต่ปี ๒๔๗๒
เสนอพิมพ์เป็นปกแข็งเล่มละ หนึ่งบาท
คุณโชติ และมิตรคือ คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ คุณมาลัย ชูพินิจ ตลอดจนคุณบุญทอง เลขะกุล
คัดค้านไม่เห็นด้วย
เพราะในปี พ.ศ. ๒๔๗๕ ไม่เคยมีหนังสือรวมเรื่องจากหนังสือพิมพ์เลย
ตลาดหนังสือมีเพียงเรื่องเล็กๆ ไม่กี่หน้า
ราคาเพียงเล่มละ ๑๐ สตางค์ และ ๒๕ สตางค์เป็นอย่างสูง
แก้ไขเมื่อ 12 ก.ย. 49 20:42:13
จากคุณ : แสนอักษร - [ 12 ก.ย. 49 20:41:42 ]
