เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 9718 รบกวนถามชื่อเมืิอง สมัยกรุงธนบุรี
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 19 พ.ย. 11, 11:34

5. Ko-Ban komun pai = เกาะบ้านกำนันไปล่ ?

6. Ban nea Bansang  = บ้านเหนือบ้านแสง ?
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 19 พ.ย. 11, 12:52

กล้วยไม้ที่พบในดินแดนไทยน่าสนใจเนื่องจากเป็นพันธุ์ไม้ที่พบหลากหลายชนิดมากครับ เนื่องจากดินแดนนี้อยู่เหนือเส้นสูตรสูตรนิดเดียว เป็นป่าเขตร้อนชื้น และชื้นสูง พวกสกุลหวาย และสกุลสิงโตจะครองพื้นดีได้มากกว่าพวกสายแวนด้า หากไปเมืองจันทบุรี คงต้องเจอ "เหลืองจันทบูร" เป็นแน่  ยิ้มเท่ห์

ในบันทึกการเดินทางฉบับนี้ มีข้อน่าสนใจมาก คือการค้นพบกล้วยไม้หลายชนิด มีการนำมาทบทวน ตีพิมพ์เป็นบทความ ในหนังสือที่ผมได้นำภาพปกมาให้ชมในกระทู้ก่อนครับ ในภายหลัง Prof. Dr. Gunnar Seidenfaden ปรมาจารย์อนุกรมวิธานกล้วยไม้ไทย ได้นำมาทบทวนและตีพิมพ์เป็นหนังสือเล่มเล็กชื่อ " The Descriptiones Epidendrorum of J.G. Konig 1791 by Gunnar Seidenfaden (Olsen & Olsen Fredensborg 1995)"

ในหนังสือดังกล่าว กล่าวถึงกล้วยไม้ ที่ทราบแน่ชัด 24 ชนิด เช่น

1. ค้นพบครั้งแรกของโลก โดย คุณหมอโคนิก ในการสำรวจครั้งนี้

Appendicula hexandra (J.König) J.J.Sm. หางแมงเงาใหญ่ , Malaxis ophrydis (J.König) Ormerod in G.Seidenfaden. สิกุนคล,เปราะนกคุ้ม , Trichoglottis orchidea (J.König) Garay. เอื้องสายสุคนธ์ , Eria tomentosa (J.König) Hook.f. เอื้องตาลหม่น, เอื้องบายศรี เป็นต้น

2. บางชนิดค้นพบก่อนหน้านี้ หรือภายหลัง แต่ใช้คำอธิบายจากตำราเล่มอื่น

Aerides odorata Lour. เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด , Malaxis calophylla (Rchb.f.) Kuntze  แห้วหมูป่า, หูเสือ. , Thrixspermum centipeda Lour. เอื้องแมงมุมขาว , Dendrobium pachyphyllum (Kuntze) Bakh.f.. เอื้องมะลิสองใบ , Dendrobium crumenatum Sw., . หวายตะมอย , Bromheadia finlaysoniana (Lindl.) Miq.,. ตานโขมย เป็นต้น

สำหรับ "เหลืองจันทบูร" นั้น ตีพิมพ์ชื่อครั้งแรก เมื่อปีค.ศ. 1887 โดย Heinrich Gustav Reichenbach นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dendrobium friedericksianum Rchb.f., ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Mr. D. Friederick นักกล้วยไม้รุ่นแรกๆ ของสยาม ซึ่งทำงานอยู่ที่ห้าง บีกริม แอนด์ โก ผู้ส่งตัวอย่างกล้วยไม้ เหลืองจันทบูร ไปยังยุโรป เพื่อตั้งชื่อ ครับ (ใครพอจะทราบ เรื่องราวเกี่ยวกับ Mr. D. Frederick บ้างหรือไม่ครับ ว่าเป็นใคร ?)

ผมคิดว่า ตอนคุณหมอโคนิก สำรวจที่เมืองจันทบุรี ก็อาจจะได้พบกล้วยไม้ชนิดนี้บ้าง เพราะสมัยก่อนมีมากแถบจังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด แต่ด้วยเวลาที่คุณหมอเดินทางมาคือเดือนพฤศจิกายน - ธันวาคม ไม่ได้อยู่ในช่วงที่ กล้วยไม้ชนิดนี้ กำลังออกดอก ท่านอาจจะไม่ได้เก็บตัวอย่างไป หรืออาจจะเก็บไปแล้ว แต่ตาย หรือสูญหายไปก่อนที่จะมีการทบทวนจากนักพฤกษศาสตร์รุ่นต่อมาครับ จึุงมาค้นพบและตั้งชื่อที่หลัง ห่างกันเป็น 100 ปี

เหลืองจันทบูรนี้ ทราบว่า สมเด็จพระนางเจ้า รำไพพรรณี พระบรมราชินี ในรัชกาลที่ 7 โปรดมาก (จริงๆ โปรดกล้วยไม้หลายชนิด โดยเฉพาะ ฟาแลนนอปซิส และหวาย ถึงกับทรงเอยพระโอษฐ์ให้ นักกล้วยไม้ท่านหนึ่ง "ฉันมีที่เป็นร้อยๆ ไร่ (ที่วังสวนบ้านแก้ว) เธออยากทำอะไรก็ไปทำ แต่เลี้ยงกล้วยไม้มาให้ฉันได้ดูบ้างก็แล้วกัน" แต่แล้วโครงการนี้ ก็ไม่ได้เกิดขึ้่น ไม่เช่นนั้น อาจจะเป็นโครงการกล้วยไม้ที่มีประโยชน์ต่อชาติในปัจจุบันแล้วก็เป็นได้ 

แต่ก็เป็นที่น่ายินดีที่ ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฎรำไพพรรณี ได้พยายามอนุรักษ์ และขยายพันธุ์ "เหลืองจันทบูร" ให้อยู่คู่เมืองไทย สืบต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
changny
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 20 พ.ย. 11, 12:18

6. Ban nea Bansang
๖. (บ้าน เนี่ย)ชื่อ บ้านสร้าง
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 20 พ.ย. 11, 15:01

เอื้องกุหลาบกระเป๋าปิด ที่ผมเลี้ยงไว้นานแล้ว ออกดอกราวพฤษภาคมของทุกปี ดอกหอม ลักษณะเด่นของกล้วยไม้พันธุ์นี้คือ กระเปาะเป็นถุงจึงมีชื่อว่า "กระเป๋า" และบริเวณเกสรกลีบดอกจะโค้งหากันเป็น "กระเป๋าปิด" ถ้ากลีบบานออกก็เรียกว่า "กระเป๋าเปิด"


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 20 พ.ย. 11, 15:09

สิกุนคล ท้องถิ่นเรียกว่าเปราะนกคุ้ม เป็นประเภทกล้วยไม้ดิน คือ การแผ่กระจายหาอาหารผิวดิน


บันทึกการเข้า
changny
อสุรผัด
*
ตอบ: 10


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 20 พ.ย. 11, 22:34

The Temple Wath Tshan-Panon Isogu
ถ้าคิดว่าบันทึกนี้อาจบันทึกสลับกัน Wath Panon -Tshan คือ วัดพนัญเชิง จะเป็นไปได้ไหม
เพราะเป็นวัดเก่าแก่และมีที่ตั้งเหมาะแก่การตั้งแคมป์
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 13 ธ.ค. 11, 07:37

ขอฝาก ชื่อหนังสือไว้ในหน้าเว็บหน่อยครับ เผือใครเสิร์ชในกูเกิ้ล จะได้ค้นหาได้ง่ายครับ

หนังสือเล่มนี้ ถ่ายเอกสารมาจาก Journal of the Straits Branch of the Royal Asiatic Society : Vol.26 1894 ไมโครฟอร์ม No. NL 1570 issues 26, 27 อยู่ที่ Lee Kong Chian Reference Lobrary (Fl.11) : Singapore National Library ถ่ายเอกสารเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

บทความ Voyage from India to Siam and Malacca โดย Johann Gerhard König (29 November 1728 – 26 June 1785) นายแพทย์ - นักพฤกศาสตร์ชาวเดนมาร์ก ผู้เดินทางสำรวจพรรณไม้ในเอเชีย มีประโยชน์ต่อการศึกษาประวัติศาสตร์หลายประการ ทั้งทางด้านสังคมศาสตร์ และพฤกษศาสตร์ และถือได้ว่าเป็นบันทึกการสำรวจพฤกษศาสตร์ฉบับแรกของไทย จึงได้ทำการถ่ายเอกสารทั้งบทความ จัดพิพม์เป็นเล่ม มอบให้กับห้องสมุดที่เกี่ยวข้อง คือ

1. ห้องสมุด สง่า สรรพศรี สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จังหวัดเชียงใหม่
2. พิพิธภัณฑ์พืชสิรินธร กองคุ้มครองพันธุ์พืช กรมวิชาการเกษตร กรุงเทพมหานคร
3. ห้องสมุดพฤกษศาสตร์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช กรุงเทพมหานคร
4. ห้องสมุด ของพิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์ กสิน สุวตะพันธุ์ ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หากท่านใดสนใจต้องการสำเนาเก็บไว้ศึกษา ผมทำเป็นเล่มไว้อีกส่วนหนึ่ง จำหน่ายเพื่อเฉลี่ยค่าใช้จ่ายในการถ่ายไมโครฟอร์ม จากสิงค์โปร์ สามารถติดต่อได้ที่ piyasann@hotmail.co.th


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
บัวรัศมี สีทอง
อสุรผัด
*
ตอบ: 33


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 ธ.ค. 11, 13:19

๔. Toy  Sam Kok    คาดว่า น่าจะเป็นเตาสามโคก นะคะ  เพราะเมืองโบราณที่อยู่ระหว่างอยุธยาถึงกรุงธนบุรี

ก็ต้องผ่านสามโคก  ซึ่งเป็นหมู่บ้านชาวมอญ   มีชื่อเสียงด้านการเผา เช่น โอ่งดินสามโคก   อิญมอญสามโคก

เป็นต้น   ผู้รู้เกี่ยวกับสามโคก   ไขความให้กระจ่างด้วยเทอญ
บันทึกการเข้า
piyasann
พาลี
****
ตอบ: 379


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 01:23

ขอบคุณทุกท่านที่ ช่วยไข ความกระจ่าง
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 31 ธ.ค. 11, 07:48

เรื่องการถ่ายเสียงจากเอกสารภาษาอังกฤษนั้น  มีข้อควรระวังคือ การบันทึกข้อมูลในภาษาอังกฤษนั้นท่านผู้บันทึกมักจะถ่ายเสียงพูดของคนในยุคนั้นลงไว้เป็นตัวหนังสือ  เช่น แม่น้ำโขงที่เรารู้จักกันในทุกวันนี้  ในหนังสือของพระวิภาคภูวดล (เจมส์  แมคคาร์ธี) ท่านก็บันทึกไว้ในชื่อ แม่น้ำของ ตามการอ่านออกเสียงของคนในยุคนั้น  แม้ปัจจุบันก็ยังมีคนในพื้นถิ่นออกเสียงว่า แม่น้ำของ 

คำว่า Toy  Sam Kok นี้  เดิมก็น่าจะชื่อเมือง ต่อยสามโคก  ซึ่งน่าจะมีที่มาจากภาษารามัญ  จะเป็นเมืองเดียวกับเมืองสามโคกในปัจจุบันหรือไม่  คงต้องเรียนปรึกษาท่านผู้รู้ภาษารามัญอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง