เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
อ่าน: 28971 ชื่อประเทศไทยสมัยก่อน - เมื่อเกาหลีมีเอกสารว่าด้วยเจ้าหญิง "อยุธยา" มาเกาหลี
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 27 ต.ค. 14, 09:19

ความเห็นที่น่าสนใจของคุณเบียร์จาก เฟซบุ๊ก  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 29 ต.ค. 14, 10:10

ที่น่าสงสัยก็คือเจ้าหญิงไม่ว่าจะเสด็จมาจากไหน ทำไมถึงเลือกแคว้นนี้ ? แทนที่จะเป็นแคว้นใหญ่ ๆ อย่าง โกรกุรยอ, ชิลลา หรือ แพคเจ

แล้วการเสด็จมานั้นจะเสด็จมาทางไหน ?  ซึ่งก็คงไม่พ้นทางเรือ แต่ปัญหาก็คืออาณาจักรในอินเดียโบราณไม่ได้ขึ้นชื่อในเรื่องของการเดินเรือในภูมิภาคนี้มาเลยสักครั้ง

หรืออย่างน้อย ๆ ก็ควรจะมีเศษเสี้ยวอารยธรรมอินเดียในเกาหลีบ้างก็ยังดี เหมือนอย่างที่กรณีเจ้าหญิงเหวินเฉินแห่งราชวงศ์ถัง ทรงนำอารยธรรมจีนสมัยถังไปเผยแพร่ที่ธิเบต หลังจากที่ทรงอภิเษกกับ สงจั้น กันปู (Songtsän Gampo) แห่งธิเบต


ส่วนตัวผมไม่ค่อยเชื่อประวัติศาสตร์ที่มาจากเกาหลีมากเท่าไร เนื่องจากเป็นนิยายจักร ๆ วงศ์ ๆ มากเกินไป และชาตินิยมเกินกว่ามาตรฐานที่ชาติอื่น ๆ ทำกัน เช่น บอกว่าอารยธรรมเมโสโปเตเมียได้รับมาจากเกาหลี อย่างนี้ ฯลฯ เป็นต้น
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 ต.ค. 14, 10:41

เคยอ่านในกระทู้ของคนเกาหลี ให้ความเห็นว่า อาจจะเป็นชาวจามปา ที่ล่องเรือไปค้าขายก็เป็นไปได้ คงไม่ลากยาวมาที่อินเดีย

ส่วนโบราณกาล จีนเรียกเราว่า "เสียนหลอก๊ก"
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 ต.ค. 14, 12:46

ส่วนโบราณกาล จีนเรียกเราว่า "เสียนหลอก๊ก"

สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ดังนี้ (๑)

แต่ชาวนานาประเทศทั้งปวงเรียกนามประเทศที่เราอยู่ว่า "ประเทศสยาม" มาแต่โบราณ มีในจดหมายเหตุจีนแต่โบราณนี้ว่า เดิมทีเดียว ประเทศนี้มีสองอาณาจักรเป็นอิสระแก่กัน อาณาจักรข้างใต้เรียกว่า "หลอฮกก๊ก" (ละโว้) อาณาจักรข้างเหนือเรียกว่า "เสียมก๊ก" (สยาม) ต่อมา สองอาณาจักรนั้นรวมเป็นอาณาจักรเดียวกัน จีนจึงเรียกนามรวมกันว่า "เสียมหลอฮกก๊ก" ต่อมา ละคำ "ฮก" ออกเสีย คงเรียกแต่ว่า "เสียมหลอก๊ก" มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ พิเคราะห์ความตามที่ปรากฏในจดหมายเหตุจีนซึ่งกล่าวมา สันนิษฐานว่า เดิมทีเดียว ชาวต่างประเทศเห็นจะเรียกประเทศนี้ว่าสยามทั้งหมด ครั้นพวกขอมขยายอาณาเขตเข้ามาถึงประเทศนี้ มาตั้งเมืองลพบุรีเป็นราชธานี จึงปรากฏนามอาณาเขตขอมที่ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาว่า อาณาเขตละโว้ ตามนามเดิมของเมืองลพบุรี ดินแดนอันมิได้อยู่ในอาณาเขตละโว้พวกชาวต่างประเทศก็ยังคงเรียกว่าสยามอยู่อย่างเดิม ครั้นพระร่วงตั้งราชอาณาจักรสุโขทัยขึ้นเป็นอิสระ ชาวต่างประเทศจึงเรียกราชอาณาจักรสุโขทัยตามนามเดิมว่า "สยามประเทศ" ครั้นเมื่อตั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีแล้วรวมราชอาณาจักรสุโขทัยเข้าเป็นอาณาจักรอันเดียวกัน จึงเป็นเหตุให้จีนเปลี่ยนนามเรียกว่า "เสียมหลอฮกก๊ก"

จิตร ภูมิศักดิ์อธิบายเพิ่มเติมว่า (๒)

ในจดหมายเหตุพงศาวดารแห่งราชสำนักจีนสมัยราชวงศ์หยวนหรือหงวน (พ.ศ. ๑๗๔๙-๑๙๑๑), ซึ่งจดเรื่องราวของเสียมกับละโว้ไว้ว่า เป็นประเทศสองประเทศคู่กันในภูมิภาคแหลมทองนี้  เรื่องในจดหมายเหตุจีนที่จดไว้นั้นหลังจารึกนครวัดราว ๒๐๐ ปี  จารึกนครวัดจึงเป็นเครื่องยืนยันได้ดีว่า  เสียม  ได้มีมาก่อนที่จีนจะจดไว้มานานตั้งแต่ราวพ.ศ. ๑๖๕๐ ซึ่งสร้างนครวัดแล้ว

เรามาลองดูจดหมายเหตุจีนกันสักหน่อย :

จดหมายเหตุจีนเรียก เสียม (สฺยำ) ว่า เซียน และเรียกละโว้ว่า หลอหู   เรื่องของเซียนเพิ่งปรากฏเป็นครั้งแรกในจดหมายเหตุพงศาวดารจีนเมื่อพ.ศ. ๑๘๒๕

ตามจดหมายเหตุจีนนั้นกล่าวว่า เมื่อกุบไลข่านได้ครองจีนแล้ว ก็ส่งทูตลงมาติดต่อกับประเทศทางทิศใต้, ในจำนวนนี้มีประเทศเซียน (อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า เซี้ยม หรือ เสี่ยม) และประเทศหลอหู (อ่านสำเนียงแต้จิ๋วว่า หล่อฮก หรือ ล่อฮก), สองประเทศนี้โดยการเดินทางมาทางเรือ  ส่วนประเทศที่อยู่เหนือเซียนขึ้นไปนั้น, คณะทูตเดินทางมาโดยทางบก, ติดต่อกับประเทศ ปาไป่ซีฟู และประเทศเช่อหลี่

ประเทศ ปาไป่ซีฟู ที่อยู่เหนือเซียนนั้น เป็นชื่อที่จีนเรียก, แปลว่า "สนมแปดร้อย", มีคำอธิบายไว้ด้วยว่าที่เรียกชื่อนี้ก็เพราะประมุขของรัฐมีสนมแปดร้อยคน, ประชาชนชาวเมืองเองเรียกชื่อประเทศของตนว่า จิ่งไม่, ประเเทศนี้คือ เชียงใหม่ ของกษัตริย์เมงราย  ส่วนประเทศเช่อหลี่นั้น ได้แก่อาณาจักรเชียงรุ้งในสิบสองปันนา, ซึ่งต่อมาเรียกว่า เชอหลี่ และยังคงเรียกเช่นนนั้นมาจนบัดนี้ (คำว่า เชอหลี่ มิใช่การถอดเสียงออกมาจาก เชียงรุ้ง  หลี่ นั้นคือ ลื้อ อันหมายถึงพวกไตลื้อ ซึ่งจีนเรียกว่า หลี่ มาแต่โบราณ ส่วน เชอ นั้นคือ เชียง)

เซียนกับหลอหูนั้น อยู่ใต้เชียงรุ้งและเชียงใหม่ลงมา ประวัติศาสตร์ราชวงศ์หยวนใหม่ เล่มที่ ๒๕๒ ซึ่งเรียบเรียงในสมัยราชวงศ์หมิง ได้เขียนเล่าเรื่องเซียนและหลอหูไว้มีใจความดังนี้ :

เซียน  อยู่ติดกับประเทศปาไป่ซีฟู ซึ่งอยู่นอกมณฑลยุนนาน, ทิศตะวันออกของเซียนติดต่อกับอันหนาน (คืออันนัมหรือเวียตนามกลางบัดนี้) ทิศตะวันตกเฉียงเหนือติดต่อกับประเทศเหมี่ยน (คือม่าน,ได้แก่พม่า)  ประเทศเซียนนี้ที่ดินไม่อุดมสมบูรณ์ ปลูกข้าวไม่ได้ผล ต้องอาศัยพิ่งพิงหลอหูในทางเศรษฐกิจ

หลอหู  อยู่ใต้ประเทศเซียนลงมา, อาณาเขตติดริมทะเลคือทางทิศใต้เป็นอ่าวใหญ่ มีแม่น้ำใหญ่สายหนึ่งไหลผ่านจากเซียนลงมาถึงหลอหู, แล้วไหลออกทะเลทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศ  ประเทศนี้ในฤดูร้อนมีน้ำไหลท้นจากอ่าวขุ่นเป็นสีโคลน  น้ำจะไหลท้นเข้าคลองเล็กคลองน้อยทั่วพื้นที่จึงทำนาได้ผลดีมาก  ข้าวราคาถูก

ต่อมาเซียนได้เข้ารวมกับหลอหูเป็นประเทศเดียวในระหว่างพ.ศ. ๑๘๙๐-๑๙๑๐ ทางจีนจึงเรียกประเทศนี้โดยรวมนามเข้าด้วยกันเป็น เซียนหลอ, (ซึ่งเป็นชื่อเรียกประเทศไทยสืบมา)

ตามจดหมายเหตุจีนนี้  เซียน คืออาณาจักรสุโขทัย และ หลอหู ก็คือ อาณาจักรศรีอยุธยา แรกตั้ง ซึ่งจีนยังคงเรียกว่า หลอหู ตามชื่อของแคว้นละโว้ที่จีนเคยรู้จักดีมาแล้ว


(๑) อธิบายเบ็ดเตล็ดในเรื่องพงศาวดารสยาม อธิบายเรื่องนามประเทศสยาม

(๒) "ความเป็นมาของคำสยาม, ไทย, ลาว และขอม และลักษณะทางสังคมของชื่อชนชาติ"

บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 30 ต.ค. 14, 10:32

อาจารย์ครับ ช่วงเวลาที่ทางเกาหลีเขากล่าวอ้าง นั้น มีแคว้นชื่อ อโยธยา อยู่ในอินเดีย ร่วมสมัยกันอยู่จริงๆ หรือเปล่าครับ
ผมสะกิดใจกับข้อสังเกตุของท่าน samun007 ที่ว่า ทางเกาหลีมักใส่อ้างอิงประวัติศาสตร์แบบเข้าทางตนมากเกินไป ผมมานึกถึงเรื่องของเราที่ครั้งหนึ่งเราพยายามบอกว่า เทือกเขา "อัลไต" คือ เทือกเขา "แอ่งไทย" และเป็นที่มาของชนชาติไทย เพื่อผลในทางชาตินิยม แต่เมื่อเวลาผ่านไปจึงได้ทราบว่า อัลไต แปลว่าทองคำ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับคำว่า ไท ไต หรือ ไทย เลย

ผมลองเดาตามประสาคนรู้น้อย ว่า เรื่องนี้ก็คล้ายๆกับเรื่องแอ่งไท ของเรา คือ เป็นการยกขึ้นมาเพื่อประโยชน์เหมือนกัน แค่คราวนี้ เพื่อการค้า เรื่องจริงๆนั้น เป็นไปได้หรือไม่ ว่ามีเจ้าหญิงพระองค์หนึ่ง เดินทางมาจากดินแดนนอกคาบสมุทรเกาหลี จากเมืองอะไรสักเมืองแถวๆ นั้น ที่อาจมีชื่อออกเสียงคล้ายๆ อยูเจี่ย ยูเจีย หยูเตี่ย ฯลฯ ซึ่งก็ไม่ได้มาไกลจากอินเดียหรอกครับ อยู่แถวๆนั้นแหละ อาจจะข้ามทะเลเหลืองมาทางฝั่งจีน หรือมาจากญี่ปุ่นก็ได้ ชาวเกาหลีโบราณสมัยนั้นก็ออกเสียงเรียกว่า อะ-หยู-ตะ-เอีย หรือ ตะ-เยีย อะไรราวๆนั้น แล้วก็ถูกบันทึกกันมาว่าอย่างนั้น

พอเวลาผ่านไปนานๆ ก็หาไม่เจอแล้วว่าเมืองนั้นอยู่ที่ไหน

มาวันนี้ รัฐบาลเกาหลีคิดจะสร้างสัมพันธ์ทางการค้ากับอีนเดีย ก็ไปเจอคำนี้ ก็สังเกตว่า วิธีการออกเสียงมันคุ้นๆ เข้าทางอยู่ แถมประวัติศาสตร์ก็เลือนลางเต็มทน จะหาคนมาพิสูจน์ว่าไม่จริงเห็นจะยาก อย่ากระนั้นเลย ก็ลากให้เข้าทางรัฐประสาศนศาสตร์ เป็น อาหยูทายา -> อโยธยา อินเดีย แล้วก็บอกว่า เห็นไหม อินเดียกับเกาหลีเรารักกันมาแต่โบราณแล้ว ฉะนั้น วันนี้ เรามารักกันเหมือนเดิมเถอะ เป็นต้น

อ้าว แล้วทำไมไม่อ้างว่า เป็น อยุธยา สยามหละ ก็เพราะว่า ไม่จำเป็นต้องทำหนะสิครับ คนสยามทุกวันนี้คลั่งเกาหลีอยุ่แล้ว ต่อให้มีเรื่องนี้เพิ่มขึ้น ก็ไม่ทำให้ได้ผลบวกมากขึ้นสักเท่าไหร่ เสียของเปล่าๆ สู้เอามาอ้างเพื่อเป็นดองกับอาบังอินเดียได้ผลดีกับประเทศมากกว่า

เดาล้วนๆครับ ไม่มีหลักฐานประกอบแต่อย่างใดครับ    
บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 31 ต.ค. 14, 20:27

เรื่องนี้ คงต้องลองสอบดูครับ

เห็นบอกว่า เจ้าหญิงนำพาพระพุทธศาสนา มาเผยแผ่ที่คาบบสมุทรเกาหลีด้วย

แคว้นอโยธยาในอินเดียสมัยพุทธศตวรรษที่ 5 ก็เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา

เพียงแต่ประเด็นที่น่าสงสัยคือตอนนั้น นครนี้ถูกเรียกว่านครสาเกตุ ไม่ใช่อโยธยาตามคติฮินดูพราห์ม
แล้วทำไม เจ้าหญิงจึงอ้างตนว่ามาจากอโยธยาหละครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 31 ต.ค. 14, 21:51

เมืองสาเกต เป็นเมืองที่อยู่ของธนัญชยะเศรษฐีบิดาของนางวิสาขามหาอุบาสิกา เป็นเมืองใหญ่เมืองหนึ่งของแคว้นโกศล และจัดเป็น ๑ ใน ๖ นครใหญ่ของของชมพูทวีปสมัยนั้น ดังได้กล่าวข้างต้นมีกล่าวไว้ในคัมภีร์ว่า อยู่ห่างจากสาวัตถี ๖โยชน์ แต่บางแห่งก็บอกว่า ๗ โยชน์ พระพุทธองค์เคยเสด็จเมืองนี้หลายครั้ง รวมทั้งพระสาวกผู้ใหญ่อีกมากท่าน ที่ได้มาเยี่ยมเมืองนี้

อโยชฌา หรือ อโยธยา ความในพระคัมภีร์แสดงว่าเป็นเมืองใหญ่อีกเมืองหนึ่งพระพุทธองค์เคยเสด็จเมืองนี้อย่างน้อยสองครั้ง ครั้งหนึ่งได้ทรงแสดงเผณสูตรและอีกครั้งหนึ่งทรงแสดงทารุกขันธสูตร ในสมัยของหลวงจีนฟาเหียนและหลวงจีนถังซัมจั๋ง อโยธยาเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนา ผู้รู้ในปัจจุบันยังมีความเห็นขัดแย้งกันว่าเมืองซึ่งเรียกชื่อในคัมภีร์บาลีว่า อโยชฌา เป็นเมืองเดียวกันหรือต่างเมืองกับ อโยธยา ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของฝ่ายฮินดู  หากอโยชฌาในคัมภีร์บาลีเป็นเมืองเดียวกันกับอโยธยาของทางฮินดู เมืองนี้ก็ยังคงมีอยู่ในปัจจุบันโดยส่วนหนึ่งติดต่อกันกับเมืองไฟซาบาดซึ่งเป็นจุดแห่งความเจริญใหม่ และเป็นที่ตั้งที่ทำการของจังหวัดชื่อเดียวกัน

อีกประเด็นหนึ่ง เมืองสาเกต กับ อโยธยา เป็นเมืองเดียวหรือต่างเมืองกัน คัมภีร์ทางเชนและฮินดูส่วนมากกล่าวแสดงให้เข้าใจว่าสาเกตกับอโยธยาเป็นเมืองเดียวกัน ผู้รู้ปัจจุบันบางท่านเห็นด้วยกับการที่กล่าวนี้ แต่ก็มีหลายท่านที่ไม่เห็นด้วย โดยให้น้ำหนักแก่ข้อที่ว่าเมืองทั้งสองมีชื่อกล่าวถึงในคัมภีร์บาลีในลักษณะเป็นคนละเมืองกัน ฝ่ายหลังนี้สันนิษฐานว่า เมืองสาเกตได้แก่ซากที่ สุชานโกฏิ ใกล้ฝั่งแม่น้ำไช ในเขตจังหวัดอุเนา ของรัฐอุตตรประเทศห่างจากตัวเมืองอุเนาไปทางตะวันตกเฉียงเหนือประมาณ ๕๔ กิโลเมตร หรือ ๓๔ ไมล์ ขณะนี้ ยังไม่มีการขุดค้นสำรวจ

ข้อมูลจาก  แคว้นสำคัญในชมพูทวีปสมัยพุทธกาล  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 03 พ.ย. 14, 14:51

ส่วนตัวคิดว่า ถ้าไปเทียบกับในสมัยพุทธกาล จะยิ่งเพี้ยนกันเข้าไปใหญ่นะครับ

เพราะจากข้อมูลใน FB แคว้นคาย่าอะไรนี่ อายุเลยพุทธกาลไปราว ๆ ๖๐๐ ปีเศษแล้ว ก็แปลว่า ไม่ทันสมัยเมืองสาเกตในครั้งพุทธกาลแน่นอน 

อย่างน้อย ๆ แคว้นต่าง ๆ ก็โดนรวบรวมในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (๒๐๐-๓๐๐ ปีหลังพุทธกาล) เข้าไปแล้ว

จึงเป็นไปไม่ได้เลย ที่จะไปตรงกับเมืองสาเกตในสมัยพุทธกาล ที่จะเป็นแคว้นอโยชฌาอะไรนั่นก็ยิ่งไม่มีทางเป็นไปได้เลยครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 03 พ.ย. 14, 14:59

เรื่องนี้ คงต้องลองสอบดูครับ

เห็นบอกว่า เจ้าหญิงนำพาพระพุทธศาสนา มาเผยแผ่ที่คาบบสมุทรเกาหลีด้วย

แคว้นอโยธยาในอินเดียสมัยพุทธศตวรรษที่ 5 ก็เรียกได้ว่าเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนา

เพียงแต่ประเด็นที่น่าสงสัยคือตอนนั้น นครนี้ถูกเรียกว่านครสาเกตุ ไม่ใช่อโยธยาตามคติฮินดูพราห์ม
แล้วทำไม เจ้าหญิงจึงอ้างตนว่ามาจากอโยธยาหละครับ




ถ้าจะว่าไป ในยุคสามก๊กของเกาหลี ก็ตรงกับยุคสมัยราชวงศ์ถังของจีน ซึ่งความเจริญของพระพุทธศาสนาในจีนพุ่งขึ้นสูงสุด เพราะฉะนั้น เป็นไปได้น้อยมากครับ ที่แคว้นชิลลา หรือ แพคเจ จะได้รับพระพุทธศาสนาจากอินเดีย

อีกประการ การที่ชิลลาสามารถรวบรวมตีแคว้นเพื่อนบ้านอย่าง แพคเจ ลงได้ และตีแคว้นใหญ่กว่าอย่างโกรกุรยอแตกได้ ก็เพราะกำลังทหารจากราชวงศ์ถังยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือ ก่อนที่ชิลลาจะหักหลังทหารราชวงศ์ถังอีกที

เพราะฉะนั้นก็จะเห็นได้ชัดว่า การติดต่อสื่อสารระหว่างแคว้นในแดนเหลียวตง (เกาหลี) ใกล้ชิดกับทางราชวงศ์ถังมากกว่าอินเดียเป็นอย่างยิ่ง

อีกตัวอย่างหนึ่งในการเผยแพร่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น โดยพระคูไค ท่านก็เดินทางจากนาราข้ามทะเลไปเรียนพุทธศาสนาสายวัชรยานถึงนครซีอานอยู่หลายปี ก่อนที่จะเดินทางกลับไปเผยแพร่พระพุทธศาสนาในญี่ปุ่น นี่ก็อีกตัวอย่างหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึง ความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนาในยุคราชวงศ์ถัง


เพราะฉะนั้น ผมยังมองไม่ออก และจินตนาการไม่ออกเลยว่า เจ้าหญิงเล็ก ๆ จากอินเดียจะมาถึงเหลียวตงได้อย่างไร  ยิ่งนำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ ยิ่งคิดไม่ออกเลยจริง ๆ ครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 03 พ.ย. 14, 15:12

ส่วนตัวคิดว่า ถ้าไปเทียบกับในสมัยพุทธกาล จะยิ่งเพี้ยนกันเข้าไปใหญ่นะครับ

เพราะจากข้อมูลใน FB แคว้นคาย่าอะไรนี่ อายุเลยพุทธกาลไปราว ๆ ๖๐๐ ปีเศษแล้ว ก็แปลว่า ไม่ทันสมัยเมืองสาเกตในครั้งพุทธกาลแน่นอน  
 

ในสมัยของหลวงจีนฟาเหียนและหลวงจีนถังซัมจั๋ง อโยธยาเป็นจุดสำคัญแห่งหนึ่งของพระพุทธศาสนา

หลวงจีนฟาเหียนมาอินเดีย พ.ศ. ๙๔๕ อโยธยาก็ยังเป็นเมืองสำคัญของศาสนาพุทธอยู่  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 03 พ.ย. 14, 17:04

หลวงจีนฟาเหียนมาอินเดีย พ.ศ. ๙๔๕ อโยธยาก็ยังเป็นเมืองสำคัญของศาสนาพุทธอยู่  ยิงฟันยิ้ม

เท่าที่ดูแผนที่จากจารึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ไม่แน่ใจว่าท่านผ่านเมือง Ayodhya หรือเปล่านะครับ เพราะเท่าที่เห็น การเดินทางจะเดินทางจาก สาวัตถี (Sravasti) ไปลุมพินี ต่อไปที่ กุสินารา และเวสาลี ก่อนจะวนกลับไปที่ทางเมืองสารนาถ(ในปัจจุบัน)

ถ้าอ้างอิงจากแผนที่บางเว็บ เมืองสาเกตจะเป็นคนละเมืองกับ Ayodhya เพราะอยู่คนละฝั่งแม่น้ำสรภู  แบบเดียวกับ กรุงเทพฯ และ ธนบุรีในปัจจุบัน


ที่สำคัญ จากการค้นพระไตรปิฎกของฝั่งสยาม ที่อ้างกันว่ามีในคัมภีร์บาลี ค้นพบว่ามีแต่เมือง...........อยุชฌบุรี

และพระสูตรที่เกี่ยวข้อง ก็บอกไม่ถูกต้อง เพราะที่ถูกต้องคือ เผณปิณฑสูตร ไม่ใช่ เผณสูตรเฉย ๆ อย่างที่อ้างกันมา

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค

http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=3132&Z=3191


และถ้าค้นในพระไตรปิฎกแบบ Online ก็จะเจอแค่เผณปิณฑสูตร แค่พระสูตรเดียวเท่านั้น ที่อ้างถึงเมืองที่ชื่อ อยุชฌบุรี

เพราะฉะนั้น ก็ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่า เมืองนี้สำคัญมากเท่าไรในพระพุทธศาสนาครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 04 พ.ย. 14, 14:09

เท่าที่ดูแผนที่จากจารึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ไม่แน่ใจว่าท่านผ่านเมือง Ayodhya หรือเปล่านะครับ เพราะเท่าที่เห็น การเดินทางจะเดินทางจาก สาวัตถี (Sravasti) ไปลุมพินี ต่อไปที่ กุสินารา และเวสาลี ก่อนจะวนกลับไปที่ทางเมืองสารนาถ(ในปัจจุบัน)

เส้นทางการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียนในอินเดีย โดย   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 04 พ.ย. 14, 17:20

เท่าที่ดูแผนที่จากจารึกการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียน ไม่แน่ใจว่าท่านผ่านเมือง Ayodhya หรือเปล่านะครับ เพราะเท่าที่เห็น การเดินทางจะเดินทางจาก สาวัตถี (Sravasti) ไปลุมพินี ต่อไปที่ กุสินารา และเวสาลี ก่อนจะวนกลับไปที่ทางเมืองสารนาถ(ในปัจจุบัน)

เส้นทางการเดินทางของหลวงจีนฟาเหียนในอินเดีย โดย   ยิงฟันยิ้ม


ถ้าตามนี้ ก็คนละเมืองกันละครับ
บันทึกการเข้า
samun007
องคต
*****
ตอบ: 446


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 04 พ.ย. 14, 18:41

ถ้าอิงตามข้อมูลจากอรรถกถา

อรรถกถา อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต เอตทัคคบาลี
วรรคที่ ๗
หน้าต่างที่   ๒ / ๙.

               อรรถกถาสูตรที่ ๒              
               ๒. ประวัตินางวิสาขามิคารมารดา


  จะพบว่าระยะทางระหว่างเมืองสาเกต กับพระนครสาวัตถีนั้นห่างกันถึง ๗ โยชน์  = ๑๖ X ๗ =  ๑๑๒ กิโลเมตร ซึ่งถ้านำมาเทียบตามแผนที่ จะเลยเมือง Ayodhaya ออกไปอีกครับ  ซึ่งก็ตรงกับที่ในพระไตรปิฎกได้บันทึกไว้ว่า ระยะทางจากสาเกตถึงพระนครสาวัตถีค่อนข้างจะไกลมาก
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.077 วินาที กับ 20 คำสั่ง