han_bing
|
ความคิดเห็นที่ 15 เมื่อ 08 พ.ย. 11, 23:56
|
|
ลองเทียบดูว่าคล้ายคลึงกับบ้านโปษ์กี่มากน้อยเพียงใด
แต่อย่างไรก็ตามคำอธิบายของทายาทนี้ข้าพเจ้าขออนุณาติค้นก่อน แต่ไม่ปักใจเชื่อ เพราะเกรงว่าจะเป็นการเข้าใจผิดจากการฟังคำบอกเล่า
ทั้งนี้ ท่านใดไม่เห็นด้วยและหาข้อมูลได้วานแจ้ง เพราะอาจค้นช้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 18 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 10:58
|
|
ดูจากวิธีเลี้ยงลูกของพระยาพิพัฒนฯ สังเกตเห็น 2 อย่างที่โดดเด่น คือยุติธรรมกับลูก ถ้าให้ของมีค่ากับลูกสาวคนหนึ่ง ลูกสาวคนอื่นๆก็ต้องได้ด้วย ธิดาคนหนึ่งของท่านคือคุณหญิงสมหญิง โปษยานนท์ เคยเล่าให้ฟังว่า ถ้าคุณพ่อซื้อตุ้มหูเพชรให้ลูก ก็จะซื้อ 10 คู่ ให้ลูกสาว 10 คนเท่าเทียมกัน อย่างที่สองคือ ท่านเลี้ยงลูกให้หนักเอาเบาสู้ บ้านโปษ์กี่เลี้ยงคนในบ้านเป็นร้อยคน ต้องหุงข้าวด้วยกระทะใบบัวจึงจะกินได้ทั่วถึง สั่งซื้อข้าวสารเป็นกระสอบๆ ต้องให้บ่าวมาแบกขึ้นบ้านจากเรือข้าวสาร ลูกชายของท่านก็จะถูกฝึกให้ช่วยบ่าวแบกข้าวสารด้วย เพราะเจ้าคุณเห็นว่าให้ลูกรู้จักทำงานหนักทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง จะทำให้ไม่ลำบากถ้าวันหนึ่งฐานะตกต่ำลง ดังนั้นลูกสาวท่านทุกคนจึงต้องทำครัวเป็น กวาดถูบ้านเอง ดูแลการงานในบ้านทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง พี่โตๆก็เป็นแม่บ้านปกครองน้องๆ รับผิดชอบมาตั้งแต่เด็ก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 19 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 12:33
|
|
ป้ายโปษ์กี่ ไม่แน่ใจว่าเป็นที่บ้านโปษ์กี่ หรือ บ้านสิงคาลวนิช ? จาก โปษยานนท์ดอทคอม 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 20 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 13:30
|
|
ถ่ายรูปป้ายโปษ์กี่ จากหนังสือมาลงให้ดู
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 21 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 13:31
|
|
บ้านโปษ์กี่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 22 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 13:32
|
|
ภาพถ่ายเจ้าคุณ เมื่อครั้งเป็นหนุ่มน้อย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 23 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 13:35
|
|
เจ้าคุณพิพัฒนฯ กับพี่ชายทั้งสอง คนโตชื่อ ฮง คนรองชื่อซิ่ว ได้เป็นหลวงวารีราชายุกต์เช่นเดียวกับบิดา ส่วนเจ้าคุณเป็นบุตรชายคนเล็ก น่าสังเกตว่าบุตรชายโตๆทั้งสองมีชื่อตัวเป็นจีน ส่วนบุตรและธิดาคนอื่นๆ ชื่อเป็นไทยทั้งหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 24 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 13:36
|
|
พระยาพิพัฒนธนากร
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 25 เมื่อ 09 พ.ย. 11, 21:26
|
|
นอกจากช่วยคนในบ้านแบกกระสอบข้าวสารขึ้นบ้าน ลูกชายเจ้าคุณยังต้องกวาดบ้าน ตัดหญ้า ล้างชาม แจวเรือรับส่งบิดาและพี่น้อง ลูกสาวก็ต้องช่วยกันทำอาหารให้คุณพ่อรับประทาน คำสอนของเจ้าคุณที่ให้ลูกๆคือ " พ่อฝึกพวกเจ้าให้ทำงานเป็นทุกๆอย่าง เผื่อเจ้าเกิดตกยากภายภาคหน้า จะได้ช่วยตัวเองได้"
ลูกๆของท่านบันทึกเรื่องอาหารการกินไว้ในหนังสือนี้ด้วย อ่านน่าสนุกและน่าบันทึกไว้ เพราะเป็นภาพที่ห่างไกลจากวิถีชีวิตปัจจุบันนี้มาก ในเมื่อคนในบ้านมีหนึ่งร้อยกว่าคน ข้าวหนึ่งกระสอบใหญ่ กินหมดใน 3 วัน จึงต้องซื้อข้าวสารทีละ 20-30 กระสอบ บรรทุกเรือฉลอมมาส่งที่ท่าน้ำ ลูกๆกับบ่าวผู้ชายช่วยกันแบกไปเก็บไว้ในห้องเก็บข้าวสาร ข้าวหุงด้วยกระทะเหล็ก เชื้อเพลิงคือแกลบซึ่งต้องซื้อกันมาทีละลำเรือใหญ่ เช้าขึ้นก็หุง 1 กระทะใหญ่ นอกจากสำหรับคนในบ้านยังต้องเผื่อใส่บาตรด้วย มีพระมารับบาตรถึง 2 วัด หรือบางทีก็ 3 วัด เย็นก็ต้องหุงกันอีก 1 กระทะ จึงไม่แปลกที่ข้าว 1 กระสอบใหญ่ กิน 3 วันหมด นอกจากมีห้องเก็บข้าวสาร บ้านโปษ์กี่ยังมีห้องเก็บถ่าน ห้องเก็บน้ำปลา ส่วนเกลือเก็บไว้ในโอ่งใบใหญ่ๆ แม่ครัวต้องไปจ่ายกับข้าวทุกวัน และมีบ่าวผู้ชายที่เป็นชายฉกรรจ์ตามไปหาบกับข้าวกลับมา ของสดที่จ่ายแต่ละวัน มากมายเกินกว่าแม่ครัวคนเดียวจะหิ้วไหว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 26 เมื่อ 10 พ.ย. 11, 14:30
|
|
(ต่อ) คนหุงข้าวเป็นจีนชื่อ "สุย" มาจากไหหลำ วันๆไม่ต้องทำอะไร นอกจากหุงข้าวอย่างเดียว ส่วนแม่ครัวเป็นทีมงานต่างหากไม่เกี่ยวกับนายสุย มีแม่ครัวหนึ่ง และลูกมืออีกสอง เวลาไปจ่ายตลาดต้องมีไม้คานและสาแหรก หาบกันไปตลาด เพื่อหาบของสดกลับมาปรุงที่บ้าน ตลาดที่จ่ายส่วนใหญ่คือตลาดสมเด็จ วงเวียนเล็ก หรือบางทีก็ไปตลาดลาดหญ้า
การรับประทานอาหาร จัดเป็นสำรับ โดยแบ่งเป็นวงๆ ลูกเจ้าของบ้านมี 20 คน ก็แบ่งเป็น 3 รุ่น คือรุ่นเล็ก รุ่นโต และรุ่นใหญ่ กินบนเสื่อ พอโตขึ้นมาหน่อยก็นั่งที่โต๊ะรับประทานอาหาร เมื่อตั้งกับข้าวเสร็จ ผู้ช่วยแม่ครัวจะต้องถือกระดิ่ง เขย่าเรียกคุณๆ ด้วยการวิ่งไปจนสุดบริเวณจากหน้าบ้านไปสุดสวนหลังบ้าน ไม่ว่าใครอยู่มุมไหนก็จะได้ยิน แล้วเข้ามารวมกันที่วงอาหาร
เจ้าคุณพิพัฒนฯรับประทานอาหารร่วมกับลูกๆตอนเย็น วันศุกร์หรือเสาร์ สัปดาห์ละครั้ง ท่านนั่งบนเบาะบางๆ ส่วนลูกๆก็นั่งพับเพียบ แต่ไม่ได้เปิบข้าวด้วยมือ หรือใช้ตะเกียบ แต่ว่ามีจานและช้อนส้อมแบบปัจจุบัน
บางครั้งในวันอาทิตย์ตอนกลางวัน ก็จะเรียกก๋วยเตี๋ยวเรือให้แวะเข้ามา ขายก๋วยเตี๋ยวให้คุณๆในบ้าน หรือมีเรือข้าวต้มในตอนค่ำ หรือหาบเป็ดพะโล้ในตอนบ่าย เจ้าไหนแวะบ้านนี้ก็เป็นอันว่าไม่ต้องไปขายที่อื่นอีกต่อไป ขายลูกค้าเจ้าเดียวก็สินค้าหมด รับเงินสบายไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 27 เมื่อ 10 พ.ย. 11, 15:19
|
|
ปกติ เจ้าคุณตื่นราว 10 โมงเช้า(หมายถึงว่าในวัยที่ท่านเกษียณราชการแล้ว) รับประทานอาหารมื้อเช้าและกลางวันรวมเป็นมื้อเดียว คือซุปไก่ตุ๋นทั้งตัว คนจีนเรียกว่า "โกยเจง" 1 ถ้วย ตามด้วยปลาทอด ส่วนใหญ่เป็นปลาจาระเม็ดขาว จิ้มกับเกลือผสมน้ำส้มสายชู นอกจากนี้ท่านกินอาหารแบบฝรั่ง คือขนมปัง ปอกเปลือกและหั่นเป็น 4 ชิ้น ห่อผ้าป่านขาวบาง นึ่งในหม้อนึ่งทองเหลือง รับประทานกับเนยตราหัววัว ซึ่งเป็นเนยกระป๋องจากเมืองนอก อาหารที่เจ้าคุณรับประทาน เสิฟคล้ายอาหารฝรั่งมากกว่าอาหารไทย เพราะมีซุปนำ มีอาหารเบาๆอย่างปลา ขนมปังกับเนย และตามมาด้วยอาหารจานหลัก คือหมูทอดเครื่อง หรือเนื้อสันในวัว ทำง่ายๆด้วยการคลุกกับซีอิ๊วดำตรากวางซึ่งทำในบ้าน แล้วทอดไฟแรงๆให้ข้างนอกเกรียมแต่ข้างในสุกพอดีๆ ถ้าวันไหนไม่มีซุป ท่านก็รับประทานไข่แดงดิบๆ ราว 4-5 ใบ เหยาะวูสเตอร์ซอสของอังกฤษ มีอย่างเดียวที่บอกถึงความเป็นจีน คือน้ำชาจีน เจ้าคุณไม่ดื่มน้ำแข็งหรือของมึนเมาอย่างใดทั้งสิ้น
ขออินทรเนตรช่วยมองหา โกยเจง ว่าคืออะไร พบว่าเป็นเครื่องยาจีน งั้นซุปไก่ตุ๋นของเจ้าคุณก็น่าจะเป็นไก่ตุ๋นเครื่องยาจีน ใครพอรู้จักมากกว่านี้ ก็ช่วยเล่าให้ฟังด้วยนะคะ หารูปไก่ตุ๋นเครื่องยาจีนไม่ได้ เจอแต่ไก่ดำตุ๋นเครื่องยาจีน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 28 เมื่อ 10 พ.ย. 11, 15:53
|
|
เย็นวันศุกร์ เจ้าคุณรับประทานอาหารกับลูกๆพร้อมหน้า หลังอาหารแล้วก็ไม่ใช่ว่าต่างคนต่างแยกย้ายกันไป ท่านใช้เวลานี้อบรมสั่งสอนลูกๆ หรือเล่าเรื่องเก่าๆของบรรพบุรุษให้ฟัง อย่างหนึ่งคือท่านเหล่านั้นยากลำบากกันมาอย่างไร กว่าจะตั้งตัวกันได้ ไม่เหมือนลูกๆที่เกิดมาก็เป็นลูกพระยา อยู่กันสะดวกสบาย ท่านจึงเน้นมากให้ระมัดระวังตัวในการใช้เงิน อย่าสุรุ่ยสุร่าย ให้กลัวความจนเข้าไว้ เจ้าคุณเป็นคนละเอียดถี่ถ้วน ช่างสังเกตและมีระเบียบเรียบร้อยยิ่งกว่าผู้หญิงเสียอีก ท่านจึงอบรมลูกๆได้ทั้งชายและหญิง ตั้งแต่เรื่องเล็กๆ เช่นถูบ้านอย่างไรถึงจะสะอาด ไปจนเรื่องใหญ่เช่นทำงานประกอบอาชีพ ลูกคนไหนทำงานแล้ว บ่นว่าเงินไม่พอใช้ เจ้าคุณเป็นต้องเรียกมาถามทันที ให้แจกแจงรายละเอียดว่าที่ไม่พอใช้คือใช้อะไรบ้าง โดนซักเข้าอย่างนี้ลูกๆก็จนมุมทุกที เพราะที่บ่นว่าไม่พอใช้ มักจะหมดไปกับบุหรี่ กาแฟ เหล้า หนัง ละครฯลฯ ล้วนแต่ความบันเทิงตามประสาชายหนุ่ม เจ้าคุณก็จะย้อนถามว่า สิ่งเหล่านี้จำเป็นไหม ถ้าไม่กินหรือไม่ทำจะตายหรือเปล่า ในเมื่อเงินไม่พอ ก็ต้องงดของพวกนี้ ความฉลาดอีกอย่างของเจ้าคุณคือท่านสามารถยกความประพฤติของท่านขึ้นมาเป็นแบบอย่างอบรมลูกๆได้ เช่นท่านเล่าว่าตอนหนุ่มๆ กลับจากทำงาน ถ้าว่างก็เดินไปคุยกับพระที่วัดทองนพคุณใกล้ๆบ้าน ซึ่งเป็นวัดที่ท่านเคยบวช นอกจากไม่เสียเงินแล้ว ยังได้ธรรมะติดตัวกลับมา พระท่านยังใจดีเลี้ยงน้ำชาเสียอีก สรุปว่าไม่เสียเงินเลยสักสตางค์เดียว ผิดกับไปแหล่งบันเทิงทั้งหลาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33414
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 29 เมื่อ 10 พ.ย. 11, 16:02
|
|
ท่านผู้หญิงโฉมศรี บุตรีคนใหญ่ของท่านเล่าถึงตอนนี้ว่า ถ้าลูกๆจะขอเงินคุณพ่อแต่ละครั้ง จะต้องมีเหตุผลประกอบว่าจำเป็นอย่างไร ไม่ใช่ขอเฉยๆ แม้แต่ตัวท่านผู้หญิงเองเมื่อสมรสแยกบ้านไปแล้ว เจ้าคุณมาเยี่ยม พบว่าลูกสาวต้อนรับแขกเหรื่อเพื่อนฝูงด้วยเหล้า เบียร์และกับแกล้มต่างๆ ท่านยังบอกว่าสมัยพ่อ แขกมาที่บ้าน เลี้ยงน้ำชาอย่างเดียว น้ำหวานต่างๆ ไม่จำเป็นก็ไม่เปิดขวด เพราะถ้าแขกไม่กินก็เสียไปหนึ่งบาทเปล่าๆ สิ่งที่เจ้าคุณเน้นคือ มีรายได้มากน้อยเท่าใดไม่สำคัญเท่าเหลือเก็บหรือเปล่า เพราะจะต้องเผื่อไว้ยามจำเป็นหรือฉุกเฉิน ถ้าได้มามากแต่ไม่เหลือเก็บ ก็ไม่มีประโยชน์อะไร
ค่าใช้จ่ายในการครองชีพ เจ้าคุณจะเตือนบุตรธิดาเสมอว่า แม้ปากคนเรากว้างเพียง 2 นิ้ว แต่ถ้าต่อกันหลายปากก็เป็นฟุต ถ้าต้องเลี้ยงดูคนในบ้านหลายคน จะต้องคำนึงว่าเปลืองค่ากินเข้าไปเท่าไร
โอวาทและข้อคิดของเจ้าคุณที่มอบให้บุตรธิดา แผ่กว้างไปหลายสาขา บ่งถึงความเจนจัดชีวิตและประสบการณ์ และวิสัยทัศน์ของท่านได้เป็นอย่างดี เป็นข้อคิดที่ยิ่งอ่านก็ยิ่งทึ่ง เพราะเป็นโอวาทที่สอนมาค่อนศตวรรษแล้ว แต่ก็ยังทันสมัยใช้ได้อยู่ได้เสมอ แสดงว่าท่านเฉียบแหลมในเรื่องธรรมชาติของมนุษย์อย่างดียิ่ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|