เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 34141 กะโซ้ แครง หนาด มากับน้ำท่วม
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 20 พ.ย. 11, 22:58

ไข่หอยเชอรี่ สีสวยดี กินได้หรือเปล่าก็ไม่รู้ ... ยิงฟันยิ้ม
แต่เอามาทำปุ๋ยได้ค่ะ..เคยเห็นในทีวี ตากแห้งแล้วบดผสมกากน้ำตาล..

สวนของคุณหลวงมีต้นอะไรบ้างคะ....น้ำลดเร็วคงไม่เสียหายมากนะคะ

ต้นไม้ที่บ้าน ที่มีอยู่อย่างละต้น สองต้น แช่น้ำมาเกือบเดือน ต้นมะเฟืองเริ่มใบเหลืองร่วงแล้วค่ะ
มะม่วง มะยม กับมะนาว มีใบร่วงบ้าง แต่ก็ยังดีอยู่ น้อยหน่า กับดาหลา ตายไปเรียบร้อย
ขิง ข่า ตะไคร้ ใบกระเพรา พริก ว่านต้นเตี้ยๆ จมน้ำมิดเลยค่ะ คงไม่รอด...
น้ำยังอยู่ระดับเอว คงอีกนานกว่าจะลด...

ได้ทราบจากสหายส่งข่าวว่า  คุณดีดีก็ประสบมหาอุทกภัยเหมือนกัน  
ลำบากอย่างไรนั้น  ผมเข้าใจดี  ไม่เป็นไรครับ  น้ำคงไม่สูงไปกว่าที่มันเคยสูงสุดมาแล้วอีกเป็นแน่
ตอนนี้  ก็นั่งนอนดูรอยคราบน้ำตอนมันทยอยลดลงอย่างช้าๆ
เชื่อว่า  ไม่เกินหนาวนี้  น้ำคงจะลดจนตอผุดให้เห็นได้แน่ๆ
บ้านผมตอนนี้ น้ำอยู่ต่ำระดับเอวลงมาอยุ่ที่เกินกึ่งขาอ่อนเล็กน้อย

ไข่หอยเชอรี่เอามาทำปุ๋ยไม่เคยเห็น  แต่เคยเห็นเขาเอาตัวหอยเชอรี่มาทำปุ๋ย
หอยเชอรี่นี่  แพร่พันธุ์เร็วมาก  ลองได้เข้าไปแพร่ที่ไหนแล้ว  กำจัดยากมาก

ส่วนการเอาหอยเชอรี่ไปปรุงเป็นอาหารนั้น  ถ้าเป็นหอยเชอรี่อยู่น้ำสะอาดก็ควรจับมากิน
แต่ถ้าอยู่ในน้ำเน่าผิดสีผิดกลิ่น  ไม่ควรจับมากินเป็นอันขาด  เพราะหอยพวกนี้สกปรก

การจะกินหอยเชอรี่  ก็ไม่ง่าย  ต้องจับหอยมาเต็มถังน้ำ  แล้วเอามาโยนเข้ากองไฟ
หรือจะต้มในน้ำร้อนก็ได้   จากนั้น  ก็แคะหอยออกจากเปลือก  เอาเฉพาะตีนหอยมากิน
ตับไตใส้พุงขี้ไข่ของหอยเอามารับประทานไม่ได้  ทิ้งไป  คิดดูแล้วกัน  หอยตัวโต
แต่กินได้ส่วนนิดเดียว  แถมเมื่อนำไปต้มหรือเผาก่อนเอาเนื้ออกมาได้  ส่วนที่กินได้จะหดลงอีก
หอย ๑ ถังน้ำ  แกะเอาเอาส่วนที่กินได้ไม่ถึงชามแกงดีเลย

เมื่อได้เนื้อหอยส่วนที่กินได้มาแล้ว  ต้องล้างให้หมดเมือกหมดคาว  ซึ่งไม่ใช่ว่าล้างออกกันง่ายๆ
ต้องล้างกันหลายน้ำกว่าจะหมด  จากนั้นเอามาหั่นบางๆ  ทีนี้จะเอาไปยำ แกง หรือผัดอย่างไรก็ตามสะดวก
เมนูหอยเชอรี่ที่รับประทานบ่อยๆ คือ ยำหอยเชอรี่  ทำง่าย  หั่นหอยบางๆ ใส่ตะไคร้ซอย หอมแดง
พริกขี้หนูสวนหั่น ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำมะนาว น้ำตาลเล็กน้อย  คลุกยำให้เข้ากัน  ใส่ใบโหระพา
เท่านี้ก็รับประทานได้แล้ว  เป็นอาหารง่ายๆ  หรือใครจะเอาไปผัดพริกแกงเผ็ดก็ดีเหมือนกัน

ต้นไม้ที่บ้านผม  น้ำท่วมขังหลายวัน  มันก็ค่อยปล่อยใบร่วง ยืนต้นตาย
ขนุนที่รอดน้ำมาแต่ปี ๓๘ คราวนี้คงตายหมดทุกต้น   ต้นกล้วยก็ล้มระเนนระนาด
หมากที่ไม่ถูกโค่น ยังสดชื่นดี   มะพร้าว  ไม่หวั่นไหวแม้น้ำจะมามาก
มะกรูดมะนาวแข็งแรงดี เพราะปลูกด้วยเมล็ด  ตะไตร์กอใหญ่  เน่าหมด  
พริก ขิงข่า มะเขือ ชะอม มะละกอ ฟักทอง พวกนี้ใจเสาะจมน้ำตายราบ

ว่ากันว่า  ไม้บางอย่างหากปลูกด้วยกิ่งตอนกิ่งชำ  พอน้ำท่วมนานหลายวัน
จะตาย   ถ้าไม้มีรากแก้ว  จะอยู่รอดน้ำ  
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 20 พ.ย. 11, 23:28

จะว่าไปแล้ว  ยังมีเครื่องมือทำมาหากินของชาวนาชาวไร่ชาวสวนอีกมากมาย
ที่คนไทยสมัยนี้หลงลืม หรือไม่รู้จักชื่อ หรือแม้กระทั่งหน้าตาว่าเป็นอย่างไร
ยิ่งเป็นคนที่อยู่ในสังคมเมือง  ไม่ได้ออกไปแลเห็นบรรยากาสท้องทุ่งท้องนา
ท้องไร่ท้องสวนแล้ว  ยิ่งไม่ต้องถามว่ารู้จักสิ่งของเหล่านี้ไหม

ครั้งหนึ่ง  จำได้ว่า  ครูสอนวิชาเกษตรชั้นประถม เป็นผู้หญิงอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแถบปริมณฑล
สอนเด็กว่า  จอบใช้ขุดดินเท่านี้  ไม่ควรเอาไปใช้อย่างอื่น  นักเรียนในห้องแย้งทันทีว่า
ทีบ้านผม/หนู  เห็นผู้ใหญ่เอาจอบถางหญ้า  ผสมปูนทำบ้าน  คลุกกลับปุ๋ยคอกเลย
ก็เห็นเขาใช้กันได้   ที่ใช้ขุดดินก็มี   แต่ก็ใช้ทำอย่างอื่นได้ด้วย  ครูไม่รู้จะแย้งเด็กอย่างไร
เพราะตัวเองก็ไม่เคยทำสวนจึงได้แต่สอนตามตำราหนังสือ

เรื่องเสียมกับพลั่วก็เหมือนกัน  เด็กรุ่นผมรู้จักพลั่วว่ามี ๒ อย่าง คือ พลั่วตักทรายอย่างหนึ่ง
และพลั่วแทงดินอย่างหนึ่ง  พลั่วตักทรายเป็นอย่างไรไม่ต้องอธิบายเข้าใจกันดดยทั่วไป
แต่พลั่วแทงดิน มีลักษณะเหมือนเสียม แต่มีขนาดใหญ่และตัวใบที่ใช้ขุดยาว บาง และคมกว่าเสียม
เสียมนั้นมักใช้ขุดหลุมเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งชาวสวนไม่ค่อยใช้  มักใช้ชะแลงมากกว่า เพราะพกง่าย
และราคาถูก  เด็กๆ ชาวสวนจึงไม่ค่อยรู้จักเสียม  รู้จักแต่พลั่วแทงดิน  ซึ่งมีลักษณะคล้ายกัน
แต่ครูไม่รู้จัก  เลยเข้าใจไม่ตรงกัน

อย่างเหลียนก็สนุก  เป็นเครื่องมือที่เดี๋ยวนี้คงมีคนไม่รู้จักเป็นส่วนใหญ่
มีดเหลียนนี้  มีหลายลักษณะ  โดยมากมักจะตีขึ้นจากเหล็กยาวสักศอกเศษ
โค้งงอมากบ้างน้อยบ้าง ไม่แน่นอน  หนาบ้างบางบ้าง  แต่แข็งแรงดีมาก
ใช้ขุดดินก็ได้  เหลียนใช้ดายหญ้าตามสวน  ตัดกิ่งไม้ได้  เป็นมีดสารพันประโยชน์
เหลียนดายหญ้ามักไม่คมมาก  เมื่อจะใช้งานจะลับให้คมขึ้น  และต้องพกหินไปลับในสวนด้วย
เมื่อใช้ไปก็มักจะบิ่น  เพราะใช้ฟันตัดสารพันอย่าง เหลียนนี้บางทีก็สั่งให้ช่าง
ตามร้านซ่อมรถทำให้ก็มี  เป็นมีดง่ายๆ ที่ชาวสวนมักต้องมีไว้ใช้
บางทีเหลียนนี่แหละก็เป็นอาวุธชั้นดีเหมือนกัน
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 07:40


การจะกินหอยเชอรี่  ก็ไม่ง่าย  ต้องจับหอยมาเต็มถังน้ำ  แล้วเอามาโยนเข้ากองไฟ
หรือจะต้มในน้ำร้อนก็ได้   จากนั้น  ก็แคะหอยออกจากเปลือก  เอาเฉพาะตีนหอยมากิน
ตับไตใส้พุงขี้ไข่ของหอยเอามารับประทานไม่ได้  ทิ้งไป  คิดดูแล้วกัน  หอยตัวโต
แต่กินได้ส่วนนิดเดียว  แถมเมื่อนำไปต้มหรือเผาก่อนเอาเนื้ออกมาได้  ส่วนที่กินได้จะหดลงอีก
หอย ๑ ถังน้ำ  แกะเอาเอาส่วนที่กินได้ไม่ถึงชามแกงดีเลย


นำภาพหอยเชอรี่มาฝาก ท้องนาภาคอีสานเขายกให้เป็น "เป๋าฮื้อน้ำจืด" เนื่องจากมีโปรตีนสูงแต่ต้องอยู่ในน้ำสะอาดดังที่กล่าวมาแล้ว

ไม่ทราบว่าคุณหลวงคงต้องมีประสบการณ์งมหา "หอยขม" ไม่มาก็น้อยเป็นแน่แท้ เพราะหอยขมจะอยู่ตามท้องร่องสวน  ฮืม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 07:47

แกงหอยขมฟักเขียว


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 08:39

อย่างเหลียนก็สนุก  เป็นเครื่องมือที่เดี๋ยวนี้คงมีคนไม่รู้จักเป็นส่วนใหญ่

ขอยอมรับว่าไม่เคยรู้จักเหลียนเลย

รอยอิน  ท่านบอกว่า เหลียนมาจากภาษาจีน คิดว่าน่าจะมีประวัติการเดินทางจากจีนมาสู่ประเทศไทยอย่างน่าสนใจ

คุณหาญปิงน่าจะพอให้ร่องรอยเรื่องนี้ได้

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 09:19

การงมหอยขมนั้น  คงไม่ต้องงมหรอกครับ 
เมื่อวิดท้องร่องสวนแห้ง  จะเห็นหอยขมอยู่ก้นท้องร่องเป็นไปหมด
จะเลือกเก็บหอยมากเท่าไรก็ได้  โดยมากเลือเก็บแต่หอยตัวใหญ่ๆ
อีกวิธีหนึ่ง  ถ้าบ้านอยู่ติดแม่น้ำ ลำคลอง ลำประโดง
เอาไม้ปักเป็นหลักไว้สัก ๑-๒ วัน ก็จะมีหอยขมมาเกาะให้เก็บกิน
เก็บสัก ๒-๓ คราวก็จะได้พอหม้อแกง  แต่ที่ว่านี่เป็นแต่ก่อนยี่สิบกว่าปีมาแล้ว
ถ้าเป็นสมัยนี้  คงได้แต่หอยเชอรี่มาเต็มหลักไม้

แถวบ้านบ้าน  ได้หอยขมมาทีไร ก็มักจะแกงเผ็ดหอยขมใส่หรือไม่ใส่ใบชะอม
แกงหม้อใหญ่ๆ แจกตามบ้านญาติ  แกงฟักเขียวใส่หอยขม  ไม่เคยรับประทาน

เหลียนนั้น มีทั้งเหลียนซ้ายและเหลียนขวา เลือกใช้ได้ตามความถนัด
เหลียนขวา คมจะหันออกทางซ้ายมือ  เหลียนซ้ายหันออกทางขวา
ตอนเด็ก ผมจะหงุดหงิดมาก  เพราะที่บ้านถนัดใช้แต่เหลียนซ้าย
แต่เราถนัดขวา  จึงต้องทนใช้เหลียนที่ไม่ถนัดตามมือเรา
เหลียนนั้น  ได้ทราบว่าเป็นมีดที่คนจีนทำขึ้นใช้กันก่อน
แล้วแพร่หลายแก่ชาวไทย ทางรากศัพท์นั้นไม่ทราบ  เพราะไม่ถนัดภาษาจีน
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 09:24

ดึงกลับมาที่เรื่องหมาก  หมากนั้นยังส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้อีก
อยากให้ช่วยกันหาสักหน่อยว่า นอกจากการใช้ประโยชน์จากหมาก
คือ ต้นใช้ทำสะพานข้ามท้องร่องและผลใช้รับประทานกับพลูแล้ว
หมากยังมีส่วนใดใช้ได้อีกบ้าง ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 09:33

หมากยังมีส่วนใดใช้ได้อีกบ้าง ยิ้ม

ตอบ  ๑. กาบหมาก  --->  หมาตักน้ำ

 ยิงฟันยิ้ม


หมาต้อ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 09:34

ดึงกลับมาที่เรื่องหมาก  หมากนั้นยังส่วนที่ใช้ประโยชน์ได้อีก
อยากให้ช่วยกันหาสักหน่อยว่า นอกจากการใช้ประโยชน์จากหมาก
คือ ต้นใช้ทำสะพานข้ามท้องร่องและผลใช้รับประทานกับพลูแล้ว
หมากยังมีส่วนใดใช้ได้อีกบ้าง ยิ้ม

๑. กาบหมาก นำมาให้เด็กนั่งเล่นแล้วลากสนุกนักแล และนำมาห่อขนม ทำภาชนะตักน้ำได้ดี

๒. เมล็ดหมาก ยิ่งแห้งตายกับต้น ถือเป็นของวิเศษ "คดหมาก" นำมาทำเครื่องรางของขลังได้ มีโด่งดังอยู่หลายเกจิอาจารย์ หลายสำนักมาก

๓. จั่นหมาก น่าจะทำน้ำตาลได้

๔. ต้นหมาก ทะลวงไส้ที่อ่อนนุ่มออกไป เป็นโพรงสามารถทำเป็นท่อระบายน้ำได้
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 09:53

๒. ผลหมาก  

วัฒนธรรมการกินหมากของไทยเป็นเรื่องของคนแก่ กำลังจะเลือนหายไป

แต่ไปรุ่งเรืองและเป็นเรื่องของวัยรุ่นในดินแดนใหม่ที่ชื่อคล้ายกัน
Taiwan



http://www.youtube.com/watch?v=pINhS6W2qL0&feature=player_embedded#at=539

ถ้าคนไทยยังกินหมากกันอยู่ เพราะไม่มียุควัธนธัมมาเบรค    คงโพสต์ข้อความกันไปเคี้ยวหมากกันไป   อาจจะมีการออกตัวว่า
" ขอไปกินหมากซักคำก่อนนะครับ  เดี๋ยวจะมาโพสต์ต่อ" - siamese
หรือ
" วันนี้หิวหมากแต่เช้า   ขอตอบสั้นๆก่อนละกัน " - เพ็ญชมพู

หรืออาจมีกระทู้ต่อไปนี้
" เมืองที่ผมอยู่ไม่มีหมากขาย   ใครทราบบ้างครับว่าจีนมีหมากของไทยขายที่เมืองไหนบ้าง" han_bing
" สั่งหมากทาง ebay หรือ amazon ดีกว่ากันคะ" - : D : D
" ขอแนะนำวิธีปลูกพลูกินเอง   ในยุคพลูขายแพงมาก" -ลุงไก่
" คุณวันดีคะ   อยากจะขอตำราอบปูนหอมของคุณหญิงภักดีบทมาลย์ค่ะ" - Ruamrudee


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 10:43

หมากยังมีส่วนใดใช้ได้อีกบ้าง ยิ้ม

ด้านสมุนไพร
ผลและเมล็ด
- ใช้เป็นยากำจัดหนอน ในเวลาที่วัวควายเป็นแผลและมีหนอน ใช้เมล็ดหมากปิดที่แผล หนอนก็จะตายหมด
- ใช้เป็นยาสมานแผล ในเวลาหั่นหมาก แล้วมีดบาดมือ ก็จะใช้เมล็ด (เนื้อ) หมากมาปิด ทำให้เลือดหยุดไหล และแผลจะหายเร็ว
- ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิในสัตว์ เช่น พยาธิตัวแบน ตัวกลม และตัวตืด (โดยเฉพาะผู้เลี้ยงไก่ชนจะนำผลแก่มาบดให้ไก่กิน )
- ใช้ขบเคี้ยว เพื่อรักษาเหงือก และฟันให้คงทน ซึ่งก็จะเห็นได้ว่า คนแก่ที่กินหมากฟันจะไม่ค่อยเสีย
- ใช้รักษาอาการท้องเดิน ท้องเสีย
- ในยุโรป ใช้เป็นส่วนผสมของยาสีฟัน เชื่อว่าทำให้ฟันขาว

ราก
- นำมาต้มกิน แก้ปากเปื่อย ขับปัสสาวะ และโรคบิด

ใบ
- นำมาต้มกิน เป็นยาขับพิษ นำมาทาแก้คัน

ด้านอุตสาหกรรม
เมล็ดหมาก เมื่อนำมาสกัดจะได้ไขมัน เมือก ยางและสารอัลคาลอยด์ ชื่อ Arecoline มีแทนนิน (Tannin) สูง จึงสามารถใช้ในทางอุตสาหกรรมและยารักษาโรคได้หลายชนิด เช่น
- ใช้ทำสีต่าง ๆ
- ใช้ย้อมแห อวน ทำให้แห และอวนนิ่ม และอ่อนตัว ยืดอายุการใช้งานได้นาน เส้นด้าย ไม่เปื่อยเร็ว
- ใช้สกัดทำยารักษาโรค เช่น ยาสมานแผล ยาขับพยาธิในสัตว์ ยาแก้ท้องเดิน ท้องเสีย ยาขับพิษ ยาทาแก้คัน น้ำมันนวด ยาขับปัสสาะ และยาแก้ปากเปื่อย เป็นต้น
- ใช้สกัดเป็นน้ำยาฟอกหนัง จะทำให้หนังนิ่ม และมีสีสวย ที่ประเทศอินเดียมีจำหน่าย ในชื่อต่าง ๆ กันคือ Gambier catechu, Begal catechu, Bombay catechu
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 10:55

(ต่อค่ะ)  ยิงฟันยิ้ม

ลำต้น

- ใช้ทำเสาตอม่อ ฟากสับ แม่บันได ลูกบันได
- โคนแก่ใช้ทำขั้นพะองเพื่อทอดทำสะพานข้ามลำกระโดง ท้องร่อง
- เมื่อทะลวงเอาไส้ในออก สามารถใช้ทำเป็นท่อระบายน้ำ
- ทำไม้คานใช้แบกของ
- ทำคร่าวสำหรับยึดฝาฟากสับ ในการปลูกห้างเฝ้าสวน
- สมัยก่อนชาวสวนจะประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี เนื่องจากฝนชุกและน้ำทะเลหมุน ชาวสวนก็จะใช้ต้นหมากกั้นคันดิน และเป็นตอม่อป้องกันคันดินที่กั้นน้ำเข้าสวนพังด้วย
- ใช้เป็นไม้พื้น ในการปลูกเรือนเครื่องผูก

ใบ-กาบหมาก-ทางหมาก

- ใช้ก้านทางที่มีใบมาผูกห้อยตรงช่องทางเข้าออกของ “เวจ” ซึ่งเป็นที่ขับข่ายของชาวสวน ทางหมากมีใบหนาอ่อนนุ่ม สะดวกในการแหวกเข้าออก และยังเป็นที่บังตาเป็นอย่างดี
- ชาวสวนที่ทำน้ำตาลมะพร้าวเป็นอาชีพหลักและอาชีพเสริม ใช้ทางหมากที่แห้งแล้วมาทำเป็น “เสวียน” ขนาดใหญ่สำหรับรองรับกระทะใบบัวขนาดใหญ่ขณะที่กวนน้ำตาลตงุ่นให้เป็นน้ำตาลปึก หรือน้ำตาลปี๊ป
- กาบหมาก ทำเป็นของเล่นให้เด็กๆ คือ รถลาก โดยเด็กคนหนึ่งจะนั่งลงบนกาบ มือจับที่โคนทาง เด็กอีกคนหนึ่งจับปลายทางที่เหลือใบไว้ แล้วเดินหรือวิ่งลากไป
- กาบหมาก นำมาดัดหรือเจียนทำเป็น "เนียน" สำหรับขูดน้ำพริกที่สาก และคดน้ำพริกจากครก
- กาบหมาก นำมาทำเป็นที่จับกระทะเคี่ยวตาล เวลายกขึ้นลงจากเตาตาล แทนการใช้ผ้าได้ด้วย
- กาบหมาก ใช้ทำพัดสำหรับพัดให้คลายร้อนในหน้าร้อนได้เป็นอย่างดี โดยนำกาบหมากมาเจียนให้เป็นรูปกลมหรือวงรี มีที่สำหรับมือจับยื่นออกมา โดยก่อนใช้จะต้องใช้ก้นของครกตำข้าวทับให้แบนเรียบเสียก่อน
- กาบหมาก ใช้ห่อขนม กาละแม

บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 15:39

พัดกาบหมากนั้น  พัดเย็นดี แข็งแรงทนทานกว่าพัดตอกสาน โกยลมได้มาก  แต่อาจจะหนักสักหน่อย
กาบหมาก ไม่เหมือนกาบมะพร้าว  เพราะกาบหมาก  หมายถึงกาบตรงโคนทางหมาก
ที่ห่อหุ้มต้นหมากตรงยอดหมาก  เมื่อทางใบหมากเหลือง  กาบหมากก็จะค่อยๆ หลุดออกจากต้นหมาก
โดยมากกาบหมากที่หล่นยังมีส่วนที่เขียวอยู่  แต่บางทีก็กลายเป็นสีเหลืองน้ำตาล
ส่วนกาบมะพร้าว  คือ เปลือกมะพร้าว(ทั้งเปลือกอ่อนและเปลือกแข็ง)
ที่เหลือจากการปอกมะพร้าวแล้ว  

กาบหมากเมื่อหล่นจากต้นใหม่ๆ สดๆ  ให้รีบเอามาเจียนตัดให้รีเป็นรูปไข่
ตรงที่จับถือ ควรเจียนให้เรียวยาวหน่อยจะได้จับถนัด  กะขนาดให้ใหญ่ยาวพอดี
ไม่ยาวเกิน  เวลาพัดตัว จะได้ไม่โดนศีรษะ  หรือต้องกางมือพัดกว้างให้เหมื่อยมือ
พัดกาบหมากเมื่อเจียนเสร็จ  ต้องหาของหนักๆ ทับไว้จนกว่าพัดกาบหมากจะแห้งสนิท
การทำอย่างนี้  เพื่อไม่ให้พัดกาบหมากงอเมื่อแห้งสนิท  ทำให้ถือยาก เสียรูป
กาบหมากต้องเจียนสดๆ จะเจียนง่าย  ถ้ากาบแห้งแล้วต้องเอามาแช่น้ำให้นุ่มถึงเจียนได้
จะได้ไม่แตก ไม่ฉีก และมีดไม่บาดมือ  แต่บางทีแช่นานไป  กาบหมากก็จะออกกลิ่นได้
พัดอย่างนี้  พัดเตาไฟดีมาก ไฟแรงทันใจ แต่ระวังหม้อจะดำ ขัดไม่ไหว

ถ้าเอามาพัดตัว  ก็ไม่ต้องระวังว่า  จะนอนทับพัด  แล้วสีติดตัวเหมือนทับพัดตอกสาน
(แล้วล้างออกยากชะมัด)  

กาบหมาก  เมื่อหล่นมาแล้ว  ยังมีประโยชน์อื่นอีก  ที่หลายคนคาดไม่ถึง
นั่นคือ  เอาไปแช่น้ำให้เน่าเปื่อยจนเหลือแต่เส้นใย  ล้างออกให้เหลือแต่ใยสะอาดๆ
ทำไว้เยอะๆ  เอาไปใส่ไว้ในบ่อเลี้ยงปลาแรด  ให้พ่อพันธุ์แม่พันธุ์ปลาแรดดึงคาบเอาใยกาบหมาก
ไปกัดทำเป็นรังสำหรับวางไข่ปลาในสวนในบ่อได้  ปลาแรดทำรังด้วยใยหมากนี้
ขนาดของรังใหญ่เส้นผ่าศูนย์กลาง  ๑ ฟุต ถึง ๑ ฟุตครึ่ง

ส่วนกาบหมากห่อขนมนั้น ใครไม่เคยเห็น ให้ไปดูที่อัมพวา
กะละแมรามัญที่นั่น  ใส่กาบหมากห่อม้วนยาว ๑ คืบเศษ ถึง ๒ คืบ มัดด้วยตอกไม้ไผ่
แต่เดี๋ยวนี้ยังเหมือนเดิมหรือเปล่าไม่ทราบ  ไม่ได้ไปซื้อนานมากแล้ว
กะละแมรามัญใส่ถั่วใส่งา  อร่อยมาก  (รับประทานมากจะอ้วนถ้วนสมบูรณ์)
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 15:55

กะละแมรามัญ ห่อด้วยกาบหมาก... ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 21 พ.ย. 11, 16:07

เมื่อคุณหลวงเลี้ยงปลาแรดเสร็จแล้ว ขอนำเสนอประโยชน์จากกาบหมากคือ "ขี้เถ้าจากกาบหมาก"

๑. นำขี้เถ้าจากาบหมาก ผสมการบูร ดื่มแก้ท้องเสียได้ดีครับ

๒. นำขี้เถ้ากาบหมากนวดกับข้าวสุก สำหรับติดหน้าหนังเครื่องตนตรีไทย เช่น ตะโพน เปิงมาง จะให้เสียงที่ดังกังวาน ถ้าจะให้ดีต้องใช้ทางมะพร้าวครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 20 คำสั่ง