เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 34137 กะโซ้ แครง หนาด มากับน้ำท่วม
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


 เมื่อ 07 พ.ย. 11, 16:42



       สหายเด็กชายชาวสวนเล่าว่า   คูแถวบ้านขุดลอกแล้วก็ใช้ "กะโซ้"  ตักดินโคลนขึ้นมา

วันดีกระพริบตาถี่     อะไรนะคะ
เด็กในสวน            กะโซ้
ว                       ตักดินโคลนหนัก ๆ เนี่ยนะ
ด                       ใช่ดิ   ทำด้วยไม้ไผ่สาน
ว                        (ติดนิสัยไม่ดีของสหายคนอื่นมา)   ไม่เคยเห็น  ไม่เคยได้ยินค่ะ
ด                       ชาวสวนเขาเรียกกัน   ด้านหลังนะ  เขาใช่ไล้โคลนที่ขอบคูให้เรียบๆด้วยล่ะ

ว                        รู้จักแต่แครง  ที่ตักน้ำรดผักค่ะ
ด                        แครงบ้านผมใช้กระป๋องนมทำ
ว                        แครง  แครงทำด้วยไม้ไผ่นะ
ด                       ชาวสวนมีอะไรเขาก็ใช้อันนั้น
ว                        พจนานุกรมไม่ได้บอกไว้นา

ว                        ครั้งหนึ่งนานมากแล้ว  เคยดูหนังไทยในโทรทัศน์    พระเอกลูกเศรษฐีพาหมวยไปหาพ่อที่ไร่ผัก
                          พ่อหรือเตี่ยหรืออาเตียก็เอาแครงตักน้ำในไร่ผัก  รดให้ทั้งคู่   รู้สึกว่าคุณ ส. อาสนะจินดาจะเล่นเป็นตาแป๊ะ
                          เตี่ยหนูหมวยเนี่ยแหละ        หนูหมวยไว้เปียด้วย
ด                        ใช้แครงเหรอ
ว                         ค่ะ    ประทับใจมากเลย          ต่อมาอ่านเรื่องกำลังภายในมากเข้าด็สงสัยว่า  ไม่น่าจะรดน้ำด้วยแครงอะไรเนี่ย
                           น่าจะตั้งโต๊ะสุราอาหารไหว้ฟ้าดินกัน
ด                         ยกน้ำชามั๊ง
ว                         ไหว้ฟ้าดินดีกว่าน่อ..เอ้ยค่ะ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 16:51



ว             บ้านใกล้ๆกันมีจีนทำสวนผัก       ดูเขาวิดน้ำรดผักเป็นสาย ๆ
ด             น่านล่ะ   เขาเรียกหนาด
ว             หนาด!??!
ด             รดน้ำขณะเดินอยู่นี่ล่ะ   หนาด   เป็นไม้ไผ่สาน
ว             ไม่เคยได้ยินค่ะ    พจนานุกรมไม่มีนะท่าน
ด             เหอ ๆ  ๆ (หัวเราะเหมือนคนแก่)


              ขอความรู้จากท่านทั้งปวงด้วยค่ะ

ว            ประเดี๋ยวจะไปหา แกงลอจู จากกล่องตำรากับข้าวดู  ไม่ผ่านตาเลยค่ะ
ด            ระวังการออกเสียงด้วย
ว            ค่า


             

บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 17:08



       เด็กชายชาวสวนอาศัยอยู่ในสวนแห่งหนึ่ง      ตอนนี้น้ำท่วมมาอาทิตย์กว่าแล้ว

ไม่มีธุระต้องออกจากบ้าน     เพราะถึงมีธุระก็ไปไหนไม่ได้ เพราะลุยน้ำไปไม่ไหว

เด็กชายชาวสวนจึงงมหนังสือที่จมน้ำเล่น   งมมา ๖ วันแล้ว  ได้หนังสือคืนมาบ้าง  เสียไปก็มากต่อมาก

งมมาแล้วก็นำไปตากที่(ดูเหมือนจะเล่าว่า)โรงนา

       วันก่อนเด็กชายชาวสวนทำสะพานหน้าบ้าน 

วันดี              สะพานไม้กระดานสองแผ่นหรือ
ด                 ไม่ใช่    ทายซิใช้อะไร
ว                  ต้นหมากเหรอ   
ด                  เฮ่อ
ว                  โค่นเองเหรอ
ด                  ไม่ไหวหรอก    มีคนมาช่วย
ว                  เดินแล้วลื่นไหมคะ
ด                 เดินเป็นก็ไม่ลื่นดิ
                   
วันดีไม่กล้าถามเรื่องสะพานต้นหมากต่อ  เพราะเกรงว่าจะโดนห้ามไม่ให้มาเดิน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 18:48

สะพานต้นหมากพาดข้ามท้องร่องในสวน พะเยิบพะยาบดี ถ้าพาดสองต้นขึ้นไปก็เดินได้ง่าย ถ้าพาดต้นเดียว สุดจะสนุก มันจะอ่อนระแน้ตามน้ำหนักคนเดินข้าม ต้องเดินก้าวข้ามเร็วพอสมควร

ถ้าเดินช้าๆ ก็มีสิทธิตกไปในท้องร่องได้ง่าย หัดเดินข้ามใหม่ๆ ต้องกางแขนเอาไว้ ถ้าเป็นต้นมะพร้าว สบายเรา ...

วิธีแกล้งกันคืองมโคลนในท้องร่องมาโปะไว้บนต้นหมากให้ทั่ว ให้มันลื่นเล่น แล้วก็วิ่งไปบนสะพานต้นหมาก ...





บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 19:48

หาภาพ กะโซ้ มาให้ดูกันค่ะ... ยิงฟันยิ้ม

กะโซ้ หรือที่โพงน้ำ เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งของชาวบ้าน ซึ่งใช้สำหรับวิดน้ำหรือโพงน้ำ
ส่วนใหญ่ใช้วิดน้ำเพื่อทำการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ หรือวิดน้ำจับปลาไว้เป็นอาหาร
มีลักษณะคล้ายเรือครึ่งท่อน แต่มีลักษณะเล็กกว่าใช้ผิวไม้ไผ่จักเป็นตอก และมักจะสานเป็นลายสองหรือลายสาม
ที่ปลายขอบจะเหลาไม้ไผ่หนาประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วใช้ไม้ไผ่ประกบตอกที่สานสานในส่วนปลายขอบ
เพื่อให้มีความคงทนถาวรไม่หลุดลุ่ยได้ง่ายไม้ไผ่ที่ใช้สำหรับประกบนั้นจะมัดด้วยหวาย
ซึ่งชาวบ้านมักจะเรียกว่า การขอดหัวหรือการขอดหัวแมลงวัน เป็นการผูกมัดเงื่อนหวายให้แน่นวิธีหนึ่ง
มีด้ามยาว ๆ ทำด้วยไม่ไผ่ ส่วนปลายที่ติดกับปากใช้ไม้จริงค่อนข้างเหนียว
สมัยโบราณนิยมใช้ไม้ข่อย โดยเจาะรูไม้ไผ่แล้วใช้ไม้ข่อยสอดรูให้ได้พอดิบพอดี
มีลักษณะเหมือนไม้กางเขน ใช้หวายผูกมัดไม้ข่อยอีกครั้ง
ส่วนปลายบนอาจจะทำในลักษณะค้ำยันด้วยไม้ไผ่สามเส้า ชาวบ้านเรียกขาหยั่ง
เอาปลายเชือกมัดหลักที่ค้ำยันนั้น เวลาโพงน้ำหรือวิดน้ำจะจับที่ด้ามแล้วตักน้ำสาดไปข้างหน้า


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 20:08

รู้จักแต่โพงน้ำเช่นกัน แต่การติดตั้งเขาจะตั้งบนขาหยั่งสามขา เพื่อให้เบาแรงในการวักน้ำครับ

ท่านคนโบราณหัวเราะ เหอ เหอ ๆ ก็เบาใจที่ได้หัวเราะได้ คงหายเครียดแล้ว  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 20:10

                   
วันดีไม่กล้าถามเรื่องสะพานต้นหมากต่อ  เพราะเกรงว่าจะโดนห้ามไม่ให้มาเดิน


พอจะทราบ "หมากแอ่นท้องช้าง" ไหมนี่  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  วิ้ว....
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 20:35

หนาด หรือ ขนาด  ยิงฟันยิ้ม
อุปกรณ์รดน้ำของชาวสวน สานเป็นกระเปาะแบนๆ ด้วยไม้ไผ่ ขนาดพอรับน้ำหนักของน้ำได้สัก 2-3 ลิตร
อยู่ปลายด้านหนึ่งของบ้องไม้ไผ่ขนาดพอกำ ยาวสักเมตรเศษ ใช้จ้วงน้ำในร่องสวนและสาดขึ้นมาบนร่องที่ปลูกผัก
การรดน้ำผักด้วยวิธีนี้ ต้องฝึกหัดกันพอสมควรกว่าจะรดน้ำได้จังหวะสวยงาม น้ำแผ่กระจายไปทั่วร่อง ทุกต้นได้รับน้ำทั่วถึง
นึกภาพไม่ออก ยังหาภาพไม่ได้ค่ะ....

การมีมิตรที่ดีอยู่เคียงข้าง ความเครียดก็น่าจะคลายลงกว่าครึ่งแล้วมั้งค่ะ...
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 07 พ.ย. 11, 21:22




เห็นรูปสะพานหมากของคุณลุงไก่แล้ว หวาดเสียว อยู่

เล่นละเลงโคลนไว้ด้วย

ขอเป็นต้นมะพร้าวสองต้นน่าจะเหมาะกว่า

ยังมีอีกคำค่ะ "โชงโลง"     พจนานุกรม มติชน หน้า ๒๘๒   บอกว่า

"เครื่องวิดน้ำคล้ายเรือครึ่งท่อน   บ้างทำด้วยไม้ไผ่สานหรือปิ๊ปตัดตามทแยง   มีด้ามถือแขวนกับ
 ขาหยั่ง     แล้วจับด้ามพุ้ยน้ำ    ชงโลงก็ใช้"

บันทึกการเข้า
กะออม
พาลี
****
ตอบ: 222


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 08 พ.ย. 11, 07:41

มีวิธีเดินสะพานต้นหมาก ชาวสวนปักไม้ไผ่ไว้ในคูน้ำชิดกลางสะพาน
เวลาเดินจับปลายไม้แล้วเดินข้ามไป   ขากลับก็จับปลายไม้เดินข้ามมา
แต่หากเดินมาแล้ว ปลายไม้อยู่อีกฟาก ก็ไม่รู้จะเดินอย่างไร
บันทึกการเข้า
Ruamrudee
องคต
*****
ตอบ: 627



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 08 พ.ย. 11, 08:55

กระทู้นี้น่าสนใจมาก เพราะตนเองสนใจเรื่องอุปกรณ์การทำไร่ทำสาวนและ ทำนาแบบไทย ๆ โบราณมาก
ใครมีรูปประกอบช่วยกันลงไว้นะคะ

ภาษาไทย ภาษาชาวนา มีอะไร ๆ มากมายที่เราเกิดไม่ทันได้เห็นและเข้าใจความหมายค่ะ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 08 พ.ย. 11, 16:02


รู้จักแต่โพงน้ำเช่นกัน แต่การติดตั้งเขาจะตั้งบนขาหยั่งสามขา เพื่อให้เบาแรงในการวักน้ำครับ


รูปชาวนา ชาวสวน กำลังวิดน้ำด้วย โพง หรือ กะโซ้ แบบที่มีขาหยั่งเพื่อผ่อนแรง ค่ะ


บันทึกการเข้า
atsk
มัจฉานุ
**
ตอบ: 59


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 08 พ.ย. 11, 23:41

ตามภาพของคุณ ดีดี  คนอีสานเรียก คันโซ่  ครับ

สมัยเด็กๆ ผมใช้วิดน้ำจากแปลงนาที่ตกกล้า  เพราะวันแรกๆกล้ายังไม่สูง ถ้าน้ำท่วมกล้าจะตาย  ต้องใช้คันโซ่ มาตั้งสามขา วิดกันทั้งวัน


ลองใช้อินทรเนตร หา โดยใช้คำว่า คันโซ่  ดูนะครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 09 พ.ย. 11, 15:08

                   
วันดีไม่กล้าถามเรื่องสะพานต้นหมากต่อ  เพราะเกรงว่าจะโดนห้ามไม่ให้มาเดิน


พอจะทราบ "หมากแอ่นท้องช้าง" ไหมนี่  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม  วิ้ว....

เพื่อนบอกให้เราเดินข้ามไปก่อน เราก็ค่อยๆ ประคองตัวไว้บนสะพานต้นหมาก พอมาถึงกลางท้องร่อง เพื่อนรีบก้าวตามมาประชิดตัว เกาะเราไว้ แล้วขย่มสะพานอีก

แค่เราคนเดียวสะพานมันก็ตกท้องช้างไปตั้งแยะแล้ว เพื่อนมาแกล้งเพิ่มน้ำหนัก อ้ะ อ้ะ ... ตกท้องร่องทั้งคู่
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 17 พ.ย. 11, 02:01

คนที่เป็นชาวสวนมาแต่กำเนิด  ส่วนมากจะเดินสะพานไม้ข้ามท้องร่องท้องสวนได้และเก่งกันทั้งนั้น
เพราะเป็นเรื่องที่ต้องปฏิบัติกันทุกวัน  เด็กๆ ชาวสวน  พออายุได้สัก ๖-๗ ขวบ ก็ฝึกเดินสะพานไม้ได้แล้ว
อาจจะต้องไม้ค้ำช่วยพยุงเดินข้ามก่อน  ในระยะแรก  แต่พอเดินคล่องก็ไม่ค่อยใช้
ไม้ค้ำคู่กับสะพาน  ปกติถ้าเดินข้ามสะพานเปล่าๆ ไม่ได้หิ้วหรือยกหรือแบกของหนักจะไม่จับเลย
เว้นแต่ว่า  ถ้าสะพานเปียกหรือลื่นเพราะน้ำหรือโคลน  ต้องใช้ไม้ค้ำช่วยพยุงเวลาเดินกันพลาด





บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง