เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 18559 ขอเชิญรวบรวมคำศัพท์เกี่ยวกับน้ำ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 11:33

^
^

คงเป็นศัพท์ใหม่

ตรงกับคำว่า น้ำงวดลง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 11:40

มีน้ำโรย แล้วมี น้ำร่วง รึเปล่าหนอ?


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 11:46

มีแต่น้ำตาร่วง    ร้องไห้
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 11:49

 ร้องไห้  ร้องไห้  ร้องไห้

น้ำตาร่วงด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 11:54

สำนวน "น้ำนิ่ง ไหลลึก" ฮืม

รบกวนช่วยอธิบายความหมายของสำนวนด้วยค่ะ

แล้วในธรรมชาติจริง ๆ นั้น น้ำนิ่ง ไหลลึก จริงหรือคะ

เคยนึก ๆ ดู น่าจะคล้ายในทะเล ตรงที่เป็นทะเลถ้าไม่มีลม จะไม่มีคลื่น น้ำจะนิ่ง เหมือนกันไหมหนอ

 ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 12:02

บริเวณน้ำลึก มักมองดูว่าพื้นผิวบนของน้ำเรียบนิ่ง  แต่ในส่วนลึก น้ำมักจะเคลื่อนไหวแรง
อังกฤษมีสำนวนเดียวกัน ว่า still waters run deep.
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 12:27

แปลว่า น้ำผิวหน้าดูนิ่ง ๆ แต่ที่ไหลอยู่คือส่วนลึก 

ในสำนวน หมายถึงคนที่ดูภายนอกเป็นคนนิ่ง ๆ
แต่ในใจยังเคลื่อนไหว คิดอะไรบางอย่างอยู่

ใช่ไหมคะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 12:38

รอยอินอธิบายว่า
น้ำนิ่งไหลลึก   (สํา) น. คนที่มีท่าหงิม ๆ มักจะมีความคิดลึกซึ้ง.
สำนวนนี้ใช้ได้ทั้งบวกและลบ   น้ำนิ่งไหลลึกใช้กับคนเงียบๆ ที่ไม่ใช่คนโง่  แต่มีอะไรลึกๆแฝงอยู่ อาจจะดีหรือร้ายก็ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 14:54

เอาสำนวนน้ำมาเพิ่มค่ะ
น้ำน้อยแพ้ไฟ
กวนน้ำให้ขุ่น
กรวดน้ำคว่ำขัน
น้ำลดตอผุด
น้ำพึ่งเรือ เสือพึ่งป่า
ปั้นน้ำเป็นตัว
น้ำขึ้นให้รีบตัก  (ตอนนี้ คงจะต้องเปลี่ยนเป็น น้ำขึ้นให้รีบสูบออก)
กินน้ำใต้ศอก
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 15:39

ภาวะ "น้ำเบียด-น้ำกัน"

เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศและกระแสน้ำ ทำให้ปลาและสัตว์น้ำต่าง ๆ มารวมกันตายเป็นจำนวนมาก

http://www.thairath.co.th/column/pol/chuckthong/208956
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 17:39

"
"เอาอยู่"

แปลว่า...น้ำท่วมแน่ 100%
(ขำไม่ออก)



 ร้องไห้
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 09:20


มติชน  วันนี้  หน้า ๒


"ทัพหลวง"  มวลน้ำขนาดใหญ่  แบ่งออกเป็น
        น้ำทัพหน้า  คือน้ำที่ล้น หรือทะลักคันกั้นน้ำ  และไหลเข้ามาในพื้นที่
        ทัพหลวงนั้นจะเป็นน้ำที่ยังกักกันและควบคุมไว้ได้

ชิ้น     การแบ่งพื้นที่

ก้อน   ทางกรุงเทพจะมีน้ำ ๒ ก้อน   ก้อนหนึ่งจะวิ่งมาตามแม่น้ำ
        อีกก้อนทะลักเข้ามาในแผ่นดิน   มันไหลออกแม่น้ำไม่ได้  มันเลยต้องไหลในแนวเหนือใต้
       
วิ่ง     น้ำจะวิ่งจากที่สูงหาที่ต่ำ

กอง   มากองอยู่ใบบริเวณรังสิตเหนือ

เบรก  ทุกวันนี้กรมชลได้สั่งการไปแล้วให้เบรกน้ำของแควน้อยให้อยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำที่สุด   
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 09:32

น้ำเท้อ (ฺBackwater) : น้ำที่ยกตัวสูงขึ้นกว่าระดับผิวน้ำปกติ ย้ิอนขึ้นไปทางเหนือน้ำ เนื่องจากมีสิ่งกีดขวางลำน้ำ เช่น เขื่อน ฝาย ท่อลอด หรือด้านท้ายน้ำมีระดับน้ำสูงกว่าความลึกปกติของลำน้ำ เนื่องจากต่อเชื่อมกับลำน้ำอื่ีน หรือจากการหนุนของน้ำทะเล

(อภิธานศัพท์เทคนิคด้านการชลประทานและระบายน้ำ ฉบับปรับปรุง พุทธศักราช 2553)

ที่มา : http://www.pantip.com/cafe/news/topic/NE11205863/NE11205863.html
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 09:55

ยังไม่มีคำนี้แน่ ๆ  ยิงฟันยิ้ม

"น้ำเข้าบ้านแล้ว ๆ ๆ ........"


การทำคันดินกั้นน้ำใช้ระบบ "น้ำดันน้ำ"
คือ การที่ใช้หลักความดันและความสมดุลย์ระหว่างกันเพื่อให้เกิดแรงผลักทั้งสองฝั่งเท่ากัน ไม่ทำให้เกิดปัญหาคันดินล่ม


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 09:58

มติชน  ๒๔ ตุลาคม  ๒๔๕๔

จมบาดาล       พื้นที่ใต้ระดับผิวดินลงไป  (พจนานุกรมมติชน  หน้า ๔๙๘)
                   (ภาพหน้าแรกมีขบวนชาวบ้านลุยน้ำที่สูงถึงระดับอก)

เบี่ยงน้ำ         ตัวอย่างประโยค   วางแผนเบี่ยงน้ำให้พ้นเขตชั้นใน


หน้า ๒๐        "กระแสน้ำที่ไหลบ่าเข้ามากระหนาบทั้งด้านหน้า(คลองพิมลราชา)และด้านหลัง(คลองรำลี)  หลากท้นอย่างรวดเร็วราวกับไฟลามทุ่ง"
                   (เป็นการเปรียบเทียบที่ประหลาดอยู่)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 20 คำสั่ง