POJA
|
ไม่ทราบว่ามีใครได้ทำบ้างหรือยัง
ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาอุทกภัยครั้งใหญ่อีกครั้งในไทย ได้พบคำศัพท์เกี่ยวกับน้ำมากมาย บางคำพอเข้าใจได้ บางคำก็ไม่เข้าใจ จึงอยากรวบรวมมาไว้ ณ.ที่นี้ แต่เนื่องจากผู้ตั้งกระทู้ไม่ได้ชำนาญด้านภาษา ขอรบกวนผู้รู้ช่วยให้นิยามความหมายต่อด้วยค่ะ
น้ำท่วม น้ำหลาก น้ำทรง น้ำลด น้ำขึ้น-น้ำลง น้ำเกิด-น้ำตาย น้ำเอ่อ น้ำเท้อ
ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 09:53
|
|
มวลน้ำ น้ำก้อนใหญ่
เพิ่งเคยได้ยินจากน้ำท่วมปี 2554 นี่ละค่ะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 09:56
|
|
เพิ่งเคยได้ยินคำว่า น้ำเท้อ จากดร.เสรี ศุภราทิตย์เหมือนกัน ยังไม่ได้ถามรอยอิน เดาว่าคงความหมายเดียวกับ "เอ่อท้น" ซึ่งคนรุ่นนี้คงไม่รู้จักกันแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 09:58
|
|
เท้อ ว. อาการที่นํ้าขึ้นมากเต็มที่แล้วไม่ลดลงชั่วระยะหนึ่ง เรียกว่า นํ้าเท้อ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 10:53
|
|
ถามชาวน้ำ เขาว่าบางที่เรียก "น้ำกะเท้อ" คล้าย ๆ กับว่า มันเอ่อขึ้นมา แล้วทรง ๆนิ่ง ๆ อยู่อย่างนั้น ชะเง้อมองหาทางออก ไม่รู้ว่าจะไปทางไหน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 11:00
|
|
น้ำเจิ่ง น้ำนอง น้ำล้น
น้ำกระฉอก ฯลฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงไก่
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 11:02
|
|
น้ำโจน
น้ำเอย ... น้ำใจ ...
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
Wandee
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 11:08
|
|
ไม่ทันได้ยินหรือเห็น น้ำเท้อ เลยค่ะ
ชอบอยู่คำหนึ่ง ได้มาจาก รัตนมาลา หน้า ๔๖๗
น้ำหักฝั่ง (น.) แปลว่าน้ำเซาะฝั่ง
อีกคำนะคะ อ้างอิงเดิม
น้ำไหลใต้ทราย(สำ.) แปลว่า ไม่เห็น ยากที่จะเห็น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33424
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 11:09
|
|
จากเว็บผู้จัดการ วันที่ 22 ตุลาคม 2554 http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9540000134965เมื่อถามว่า วันนี้พูดได้หรือยังว่าคน กทม.จะต้องเตรียมรับมือกับสถานการณ์น้ำท่วม นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หากจะพูดเพื่อให้เราอยู่ในความไม่ประมาท เราก็อยากให้คนกรุงเทพได้เตรียมตัว ตนอยากใช้คำว่าการ ระบายน้ำหรือ มวลน้ำที่สูงนั้น อาจจะมีโอกาส กระเฉาะบ้างในบางส่วน หากเป็นไปตามปกติในหลักการระบายน้ำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 12:14
|
|
ถ้า แพรก = แฝก . .. กระเฉาะ = กระฉอก ซ.ต.พ. 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
POJA
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 12:26
|
|
อยากได้ยินคำต่อไปนี้
น้ำลด น้ำงวด น้ำแห้ง น้ำเหือด
เอ...มีศัพท์ทางนี้น้อยกว่ามากเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 12:39
|
|
"น้ำใจคนไทย" "น้ำนิ่ง" "น้ำดื้อ" เปรียบว่าน้ำควรไหลตามคลอง แต่เมื่อน้ำดื้อก็จะไหลหลาก "น้ำหลากทุ่ง""น้ำท่วมถึง"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 12:52
|
|
ถ้า . .. กระเฉาะ = กระฉอก ซ.ต.พ.  รอยอินท่านว่า กระฉอก ก. อาการที่ของเหลวเช่นน้ำเป็นต้นในภาชนะกระเพื่อมอย่างแรง เพราะความสั่นสะเทือน. ว. แหว่ง, เว้า, (ใช้กับลักษณะของผม), ฉอก ก็เรียก กระเฉาะ ไม่มีในพจนานุกรม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 12:54
|
|
"น้ำหนุน"
"น้ำเหนือ"
"น้ำบ่า"
"น้ำป่า"
"น้ำฟ้า"
"น้ำท่า"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 23 ต.ค. 11, 12:55
|
|
"น้ำเข้ารถ""น้ำเข้าบ้าน""น้ำผุด""น้ำระเบิด""น้ำซึม"
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|