เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11346 เจ้าพระยาพิชัยราชา (ชื่น)
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 07:52

นึกถึงคุณหลวงเล็ก อยากจะพายเรือเชิญร่วมออกมาสู่วังวงแห่งน้ำท่วมด้วยกัน  ยิงฟันยิ้ม  เชิญ  ๆ   ๆ
บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 11:27

นึกถึงคุณหลวงเล็ก อยากจะพายเรือเชิญร่วมออกมาสู่วังวงแห่งน้ำท่วมด้วยกัน  ยิงฟันยิ้ม  เชิญ  ๆ   ๆ


ทีอย่างนี้ล่ะคิดถึงกัน   เดี๋ยวว่างจากการทำทำนบกั้นอุทกแล้วจะกระโดดมาร่วมวัง เอ๊ย วง
แต่ผมคิดว่า  น่าจะเป็นอย่างที่คุณวันดีสาธยายตามตำรานายกุหลาบนั่น
เอกสารอื่นๆ ภายหลังก็ว่าความตามเอกสารนั้น  จะผิดแก่กันบ้างก็เพียงถ้อยคำที่ใช้เล่าเท่านั้น

แต่ก็ยังติดใจอยู่ที่มีกระดาษเขียนว่า  " เจ้าพ... ยราชาชื่น" หมายความว่าอะไรแน่
กระดาษที่เขียนไว้เปื่อยขาด เลยทำให้ตัวอักษรขาดหาย  ถ้าอ่านคลาดเคลื่อน
ก็จะทำให้กลายเป็นอีกชื่อ  แต่ถ้าว่าตามเอกสาร ควรเป็น เจ้าพระยาอภัยราชา ชื่น
บุตรคนโตของเจ้าพระยาบวรนายก (เฉกอหมัด)

ส่วนอัฐินี้มาอยู่ที่วัดประยุรวงศาวาสได้อย่างไร   เอาไว้ถกเถียงกันต่อไป
ตอนนี้  เอาให้แน่ก่อนว่า  ตกลง เจ้าพิชัยราชา (ชื่น) หรือ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) กันแน่

ขอตัวไปลาดตระเวนน้ำก่อน   เจ๋ง
บันทึกการเข้า
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 11:34

ตอนแรกที่เอาโถทองเหลืองออกมานั้น บนอัฐิมีผ้าอยู่ครับ ตอนแรกที่เห็นในโถนั้นเขียนว่า เจ้าพิชัยราชา (ชื่น) เมื่อหยิบออกมา ผ้าจึงขาดครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 11:43

ถ้าหากว่าเป็นเจ้าทางเหนือ หรือเจ้าในประเทศเพื่อนบ้าน    ก็ไม่น่าจะมีวงเล็บบอกชื่อตัวไว้นะคะ   
จึงคิดว่า พิชัยราชา เป็นราชทินนาม
ดูจากวิธีการเขียนชื่อ เป็นลายมือหวัดแกมบรรจง อย่างสมัยรัชกาลที่ ๖   ผู้เขียนชื่อคงเป็นชั้นเหลนลื่อ ของเจ้าของอัฐิ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 13:51

รบกวนถามต่อครับ...โถทองเหลืองนั้นบรรจุอะไรไว้หรือครับ และมีวัตถุร่วมสมัย (เช่นเหรียญกษาปณ์)ถูกบรรจุไว้หรือไม่ครับผม
บันทึกการเข้า
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 13:54

โถทองเหลืองทั้ง 5 ใบ ภายในจะบรรจุเงินเฟื้องครับ ตามภาพที่ผมส่งให้คุณ Siamese ดูจาก email
บันทึกการเข้า
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 14:07

ไม่แน่ใจว่า เรียกว่าเงินเฟื้องหรือเปล่านะครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 14:24

ไม่น่าจะใช้เงินเฟื้องนะคะ
เหรียญมีรูตรงกลางแบบนี้ สมัยคุณแม่ดิฉันเด็กๆ เป็นเหรียญทองแดงหนึ่งสตางค์  เวลาไปโรงเรียน ท่านได้เงินติดตัวไปซื้อขนม ด้วยการร้อยเหรียญเข้ากับเข็มซ่อนปลายตัวโต กลัดติดเอวผ้านุ่ง     ใครมีเงินเหรียญร้อยในเข็มมากเท่าไร ถือว่าโก้มากเท่านั้น
ใช้กันประมาณรัชกาลที่ 6 และ 7  จนถึงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 14:37

ไม่แน่ใจว่า เรียกว่าเงินเฟื้องหรือเปล่านะครับ

เหรียญกษาปณ์หมุนเวียน พ.ศ. ๒๔๘๔ เนื้อเงิน และเนื้อดีบุก จะเห็นว่าการเขียนรัฐบาลไทย เขียนว่า "รัถบาลไทย" ด้านหลังเป็น พ.ศ. กำกับไว้

ที่ถามดังนี้เนื่องจากทำให้เราทราบว่า ถ้ำบรรจุอัฐินั้นผนึกครั้งหลังสุดที่ พ.ศ. ใด ซึ่งก็ได้คำตอบว่าช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ แต่ตัวเจ้าของอัฐินั้นจะเก่าแก่สักเพียงไรก็ต้องกลับไปดูที่นามแห่งอัฐิ หรือ โกฐ ที่บรรจุว่าตกอยู่ในช่วงใด

หากพบเหรียญ พ.ศ. ๒๔๘๔ ในโถทองเหลืองทั้ง ๓ แห่งก็หมายว่า ได้ทำการบรรจุ ณ ที่แห่งนี้ บวก ลบ ไม่เกินช่วงเวลาดังกล่าว


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 15:05

อือม์  แสดงว่า  เหรียญนี้ไม่เก่าถอยหลังเกินรัชกาลที่ ๘
เช่นนั้น    ตัวอักษรที่เขียนก็คงจะประมาณเวลาเดียวกัน
เป็นไปได้ว่า  อัฐิ และช่องบรรจุนี้  อาจจะเคยซ่อมแซม
ในช่วงปี ๒๔๘๐-๒๔๙๐ หรืออาจจะล่ากว่านั้นเล็กน้อย
อย่างนี้น่าจะหาบันทึกเรื่องการบูรณะได้กระมัง ฮืม
บันทึกการเข้า
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 15:42

ปีพ.ศ. 2454 ในการประชุมญาติครั้งใหญ่ ที่เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร) เป็นผู้จัดนั้น ได้มีดำริที่จะใช้ช่องรอบเจดีย์ที่มีอยู่ 55 ช่อง เป็นที่เก็บอัฐิบรรพบุรุษเหล่าเครือญาติในครั้งนั้น พระยาราชสมบัติ (เอิบ - พ.ศ. 2410-2485) เป็นผู้ใหญ่ฝ่ายสกุลบุรานนท์ ผมเข้าใจว่า ในปีนี้เองที่บรรดาเครือญาติทั้งหลายเริ่มเอาอัฐิบรรพบุรุษมาบรรจุไว้ รวมถึงสกุล บุรานนท์ด้วย ซึ่งเจ้าคุณเอิบ ท่านเกิดทัน ท่านผู้หญิงพรรณ ท่านผู้หญิงหยาด ท่านเงิน พระยาวิเศษโภชนา (จีน) และร่วมในงานศพท่านที่กล่างนามมาด้วย โดยทั้ง 4 ท่าน เสียชีวิตก่อน พ.ศ. 2454 ปมสันนิษฐานว่า เจ้าคุณเอิบ อาจเก็บอัฐิไว้ที่ใดสักทีก่อนที่จะย้ายมาที่เจดีย์นี้ หรือ อาจจะลอยอังคารหมดก็เป็นไปได้ จากคำบอกเล่า เข้าใจว่ามีการบูรณะช่องอัฐิครั้งหนึ่ง โดยสร้าง step ขึ้นมา 2 ชั้น แต่ก่อนพ.ศ. 2474 เพราะพ่อผมเกิดในปีนี้ และเล่าว่า ตอนเกิดมาก็เห็นแท่นวางนี้แล้ว
ไม่มีข้อมูลว่า ได้ทำการโยกย้ายหรือ arrange ลำดับกันใหม่หรือไม่ โดยใต้ step ทั้ง 2 ชั้นในโถทองเหลืองทั้ง 5 โถ มีปริมาณอัฐิไม่เท่ากัน บางโถก็มาก บางโถก็น้อย ความสูงของโถก็ไม่เท่ากัน ช่องซีเมนต์ที่ทำไว้ใส่แต่ละโถในแต่ละช่องก็สูงไม่เท่ากัน หากจะทำการบรรจุลงโถในเวลาเดียวกัน น่าจะใช้โถที่มีขนาดเดียวกัน (ผมพยายามคิดในเชิงเหตุผล) และผมก็ไม่เข้าใจว่า เหตุใดจึงทำความสูงของช่องซีเมนต์ไม่เท่ากันด้วย ซึ่งโถนี้ถ้าเทียบในปัจจุบัน น่าจะเป็นรุ้งที่ใช้เพื่อให้อัฐจมลงก้นแม่น้ำ (เท่าที่เข้าใจนะครับ) ซึ่งหากไม่เจอแผ่นผ้าที่เขียนชื่อใดใดเลยในแต่ละอัฐิ ผมคงจะเข้าใจว่าเป็นบรรพบุรุษทั้งหมด เพียงแต่ไม่ทราบว่า ใครเป็นใครเท่านั้น และหากชื่อที่เขียนเป็น พระยา หรือเจ้าพระยา ต่อด้วยราชทินนามเลย คงไม่เข้าใจเรื่องราวมากกว่านี้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 16:28

จะเห็นว่าช่องที่บรรจุอัฐินั้น บริเวณด้านบนก่อช่อง ฉาบปูนสีขาวสวยงามทั้งซ้ายและขวา และสอดคล้องกับความสูงของลุ้งทองเหลือง

เป็นไปได้ว่าทางบรรดาเครือญาติได้จัดเตรียมกะเกณฑ์มีขนาดไว้เรียบร้อยแล้ว จึงได้บรรจุทั้งซ้ายและขวาอย่างสวยงาม

ต่อเมื่อชั้นหลัง ๆ ต่อมาจะเห็นว่าการวางเก็บในช่องอัฐินั้นเป็นการต่อยผนังอาคารให้เป็นโพรงแล้วทำการบรรจุ จึงมีสภาพอย่างที่เห็น

ผมจึงมีความคิดว่าหากมองเรื่องโครงสร้างของวัสดุนั้น ลองดูที่ผนังที่ถูกต่อยออกไป มีความสัมพันธ์กับผนังหรือไม่ ผมว่าคงสร้างฉาบปูนปิดกันมาหลายชั้น ๆ ด้วยกัน

ผมสังเกตุว่าบางแห่งมีร่องรอยของปลวกเข้าทำรัง แสดงว่ามีรูเข้าได้ และบางแห่งมีน้ำอยู่ด้วย อีกทั้งวัสดุเช่นทองเหลือง ผ้า โลหะต่างขึ้นสนิม แสดงว่ามีความชื้นเข้าถึงอยู่ตลอดเวลา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 16:36

ส่วนแท่นที่กรุกระเบื้องสีฟ้า

ผมอยากถามว่า ในจำนวน 55 ช่องของตระกูลอื่นมีเหมือนกันไหม

1. หากมีเหมือนกัน อาจจะใช้ว่างเครื่องบูชา แจกัน ธูปเทียน เป็นต้น

2. หากไม่มี ก็คงหมายถึงการสร้างก่อเพิ่มเติมเนื่องจากผนังทั้งสองข้างมีเจ้าของเจาะช่องอัฐิไว้หมดแล้ว จึงต้องแก้ไจด้วยการก่อแท่นบรรจุอัฐิเพิ่ม

ทั้งนี้ลองสำรวจดูว่าแท่นที่ก่อใหม่นี้ไปปิดทับช่องอัฐิเดิมหรือไม่
บันทึกการเข้า
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 16:54

1. ก่อนพ.ศ. 2474 ไม่มีแท่นสีฟ้าครับ (แท่นสีฟ้าขคือ step ที่ผมกล่าวถึง) มาถึงรุ่นพ่อและรุ่นผมเข้าใจว่า แท่นสีฟ้าคือที่วางเครื่องบูชา แต่ว่าหลังจากทุบแล้ว มีการแบ่งเป็นช่องมีอัฐิบรรจุอยู่ 1 อัฐิ นอกจากนีอีก 3 ช่อง มีเถ้าอัฐิอยู่ครับ
2. ช่องรอบเจดีย์ ทั้ง 55 ช่อง แต่เดิมเป็นช่องว่างๆ หลังปี 2454 จึงเริ่มเอาอัฐิมาบรรจุ ดังนั้น เจ้าของช่องแต่ละช่อง ก็ต่างคนต่างออกแบบ ไม่เหมือนกันครับ เพียงแต่ตกแต่งภายใน แล้วทำประตูปิดอีกที


บันทึกการเข้า
luanglek
นิลพัท
*******
ตอบ: 2894


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 17:53

เอาล่ะสิ  สนุกล่ะงานนี้   การบูรณะช่องบรรจุอัฐินี่แหละ
ที่จะทำให้ไม่สามารถสันนิษฐานได้อย่างแน่นอน
เพราะวัตถุเป็นของเคลื่อนย้ายได้  สร้างใหม่ได้ เสื่อมสลายได้
เข้าหลักไตรลักษณ์  คนที่เขียนพี่ลงผ้าไว้อาจไม่ใช่ผู้ที่รู้ข้อมูลที่ถูกต้อง
ทั้งหมดของสกุลบุนนาคและสาขาสกุลต่างๆ 

อันที่จริงจะว่าไปแล้ว  ตระกูลบุนนาคและสาขายังมีข้อมูลที่ขาดหายไป
อยู่หลายแห่ง   อย่างไรก็ดี  ก็นับว่าเป็นสกุลเก่าแก่ที่มีบันทึกมากกว่า
สกุลอื่นๆ ในประเทศไทย 

สิ่งที่ผมอยากรู้มากๆ คือการบูรณะสิ่งก่อสร้างต่างๆ
ในวัดประยุรวงศาวาสเท่าที่ผ่าน   น่าจะหาเอกสารได้ไม่ยาก
หจช.น่าจะมี   ที่วัดก็น่าจะมี  ส่วนที่ผมไม่มี    ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง