เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11316 เจ้าพระยาพิชัยราชา (ชื่น)
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


 เมื่อ 14 ต.ค. 11, 11:48

สวัสดีครับ
ไม่ทราบว่า ท่านใดเคยอ่านพบชื่อ เจ้าพิชัยราชา (ชื่น) หรือ เจ้าพระยาพิชัยราชา (ชื่น) ที่ไหนบ้างครับ เพราะตอนนี้ทางครอบครับผมได้เชิญอัฐิบรรพบุรุษ-สตรี
เพื่อจะบูรณะช่องอัฐิที่วัดประยุรวงศาวาสใหม่ ปรากฏว่าเจอกล่องอัฐิอยู่ 1 กล่อง ที่เขียนนามเจ้าของอัฐิว่า เจ้าพิชัยราชา (ชื่น) ไว้ ซึ่งทางครอบครัวผมนามสกุล บุรานนท์
จะสันนิษฐานว่า จะเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) บุตรชาย ท่านเฉกอหมัด ก็ไม่น่าใช่ เพราะตอนนั้นท่านยังเป็นมุสลิมอยู่ และระยะเวลาก็นานมากไปที่พอจะพบหลักฐานได้
หากท่านใดมีความเห็นหรือรายละเอียดเพิ่มขอความกรุณาช่วยผมด้วยนะครับ เพราะตอนนี้ไม่ทราบเหมือนกันว่าจะไปหาข้อมูลที่ไหน หากท่านใดต้องการข้อมูลเพิ่มเติมรบกวนเมล์มาที่ gengkitty@hotmail.com แล้วผมจะส่งรูปไปให้อีกครั้งครับ หรือหากมีข้อมูลด่วนรบกวนโทรมาที่เบอร์ 087-9902120 แล้วผมจะโทรกลับไปนะครับ

ขอบพระคุณครับ
อัศิวญญ์ บุรานนท์
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 15:07


มิบังอาจจะให้ความเห็นใดๆเรื่องกล่องอัฐิได้    แต่ขอคัดลอกข้อความ ในหน้า  ๑๘ - ๑๙

ของ "มุขมาตยานุกูลวงศ์" เล่ม ๑   พิมพ์ครั้งที่ ๑   ๑ พันฉบับ

ตีพิมพ์ที่โรงพิมพ์สยามประเทศ

หน้าวัดราชบพิธถนนเฟื่องนคร  กรุงเทพฯ
เมื่อรัตนโกสินทรศก  ๑๒๔

ราคาเล่มละ ๑๐ บาท    


       "ไม่ช้านานกี่มากน้อยเจ่าพระยาบวรราชนายก(เฉกอะหมัด)  ก็ถึงแก่อสัญญกรรม  อายุได้ ๘๘ ปี

เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น)ที่สมุหนานกผู้บุตรนั้น  จัดการศพบิดาแห่แหน  ยกศพไปฝังที่ป่าช้าแขกที่บ้านท้ายคู

มีฐานปูนปรากฎเป็นเนินใหญ่โต"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 15:28

อ้างอิงเดิม    หน้า ๑ -  ๓

       หลวงนนทเกตุ(ฉ่ำ)แขกเจ้าเซ็น  ถามเรื่อง เฉกอะหมัด    

นายกุหลาบลำดับวงศ์ตระกูล  สมเด็จเจ้าพระยากรุงเทพ ฯ  ฝ่ายข้างปู่ทวด  แยกออกมาจากวงศ์ตระกูล  พระยาจุฬาราชมนตรี(แขกเจ้าเซ็น)

ตั้งแต่ครั้งกรุงเก่าเป็นปฐมเหตุ


(หน้า ๓)    นายกุหลาบอ้าง

๑.       เฉกอะหมัด   ต้นฉบับเดิมเป็นของ พระยาจุฬาราชมนตรี ชื่อ "เชน"  ผู้เรียบเรียงร้อยกรอง  เรื่องลำดับวงศ์ตระกูลแขกมะหง่น (แขกเจ้าเซ็น)

๒.       ภายหลังพระยาจุฬาราชมนตรีชื่อ "เถื่อน"  เป็นผู้เรียบเรียงต่อมา    จนพระยาจุฬาราชมนตรีได้เลื่อนเป็น พระยาบวรประเทศ

๓.      ต่อมาพระยาจุฬาราชมนตรี "นาม"  บิดาของพระยาราชมยตรี "สิน"  เป็นผู้เรียบเรียงต่อมา

๔.      จนถึงเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ)  เจ้าพระยาพระคลัง  เสนาบดีในกรมท่า  ว่าราชการต่างประเทศในรัชกาลที่ ๔

๕.      ภายหลังเจ้าพระยาภาสกรวงศ์​(พร) ได้เรียบเรียงเรื่องนี้ตัดทอนแต่โดยย่อ ๆ   โดยสังเขบอีกฉบับหนึ่ง

         มีใจความตรงกัน


นายกุหลาบเล่าไว้ในเอกสารอื่น ๆ ด้วยว่า  เขาได้รับต้นฉบับทั้ง ๕ ฉบับนี้ จากคุณเนิน   ราชนิกูลบุตรีสมเด็จเจ้าพระยาพระองค์ใหญ่

ได้คัดความย่อ  นำมาลงแต่พอเป็นสังเขป


บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 15:40



        ก่อนที่จะคัดลอก   มหามุขมาตยานุกูลวงศ์   ต่อไป

หวังว่า จขกท  คงศึกษา  "สกุลบุนนาค"    พ.ศ. ๒๕๔๒   มาเป็นอย่างดีแล้ว

จะพบว่ารายละเอียดคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่


       ได้พยายามอ่านมหามุข ฯ ไปอีกจนจบสายบุนนาค  ก็ไม่พบรายละเอียดอื่นใด

เมื่อ จขกท  ได้แวะมาถึง "เรือนไทย" แล้ว    ก็ขอต้อนรับตามความสามารถอันน้อยนิด

นักอ่านหนังสือเก่า  จะปล่อยให้ท่านยืนอยู่แต่เดียวดายก็กระไรอยู่     ขอเชิญขึ้นเรือนเทอญ
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 16:39



หน้า ๕

        "เฉกอะหมัด"  พี่ชาย และ "มะหะหมัดสะอิด" น้อง   เป็นแขกมะหง่น(แขกเจ้าเซ็น)  ชาวเมืองกุนี 

นำพวกพานิชแขกมาตั้งห้างค้าขายที่กรุงศรีอยุธยา  ณ ที่ตำบลหน้าเกาะหนองโสน  เมื่อ จุลศักราช ๙๖๔  ปีขาล  จัตวาศก

ต้นแผ่นดินพระบาทสมเด็จ  พระเจ้าบรมราชาทรงธรรม


หน้า ๖

          ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบล ท่ากายี   ใกล้มหานครศรีอยุธยา           ทั้งสองพี่น้องมีเงินทุนมา 

ได้ตั้งห้างรับซื้อสรรพสินค้าของป่า  และบันทุกออกไปขายต่างประเทศ   และเลือกซื้อสิ่งของ

ต้องประสงค์ของชาวสยามและของประหลาดจากนานาประเทศเข้ามาขาย


          ท่านทั้งสองประกอบกิจพาณิชยกรรมมาช้านาน   จนบริบูรณ์ด้วยผลประโชน์มาก   ทรัพย์สมบัติบริบูรณ์เพิ่มพูน

ด้วยเงินทองบริวารมหาสถานเป็นอนันตเศรษฐี         บ้านของท่านเรียกว่า "บ้านแขกใหญ่"  บางทีเรียกว่า "บ้านตึกแขก"   

บางทีเรียกว่า "บ้านรั้วอิฐ"  เพราะก่อกำแพงล้อมบ้านด้วยอิฐถือปูน"       บางทีก็เรียกว่า "บ้านแขกกระดีเจ้าเซ็น"     



หน้า ๗

       มะหะมัดซาอิด   ไม่ชอบใจอยู่ในสยามจึงลาพี่ชายกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมของตน   ท่านมีภรรยาเป็นชาวสยาม  รับไปด้วยเพราะมีบุตรด้วยกัน

เฉกอะหมัดมีภรรยาเป็นชาวสยาม   ชื่อ เชย     มีบุตรด้วยกัน ๓ คน       ท่านคุ้นเคยไปมาหาสู่ชอบพอสนิทสนมทั่วไปหลายแห่งในราชการ



หน้า ๘  - ๙

ต่อมาได้รับแต่งตั้งให้เป็น "พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี  เจ้ากรมท่าขวา"
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 20:38


 หน้า ๙ -  ๑๐

          พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี   ทำราชการสนองพระเดชพระคุณมาช้านาน

วันหนึ่งมีโอกาสอันดีแล้วมีช่องอันสมควร   จึงกราบบังคมทูลพระกรุณาว่า    ไม่มีบ้านที่อยู่พอเพียง

สำหรับพวกพ้อง   จึงต้องขอรับพระราชทานที่ดินตำบลบ้านท้ายคู    ทรงพระกรุณาโปรดตามคำกราบทูล

พวกแขกมะหง่นจึงสร้างบ้านเรือนเป็นหมู่ใหญ่  ด้วยพวกมาก    สร้างสุเหร่ากะดีเจ้าเซ็นใหญ่โตด้วยอิฐและปูนเหมือนวัดไทย

แล้วสร้างป่าช้าฝังศพด้วย   มีกำแพงแก้วก่อด้วยอิฐล้อมรอบ         คนไทยเรียกว่า  "กะดีเจ้าเซ็นใหญ่" บ้าง

"วัดแขกใหญ่" บ้าง

       กะดีเจ้าเซ็นน้อย  อยู่ในกำแพงพระนครใกล้กันกับวัดกระเบื้องเคลือบ



หน้า ๑๑             เมื่อเจ้าพระยาพระคลังถึงแก่อนิจจกรรมล่วงชนม์ชีพไปแล้ว    พระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี  

ได้เลื่อนยศให้เทียบที่พระคลัง   และให้เป็นเสนาบดีกรมท่ากลาง

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:37

สวัสดีครับ

ส่วนกระผมอยากจะเห็นอักษรนั้นครับว่าจารึกในลักษณะใด ลักษณะตัวอักษรเป็นอย่างไร
บันทึกการเข้า
Wandee
หนุมาน
********
ตอบ: 4006


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 09:24




เจ้าพระยาบวรราชนายก(เฉกอะหมัด) ป่วยไข้ชราลง 

ภรรยาคนไทยชื่อเชย     มีบุตรด้วยกัน ๓ คน คือ

ชื่น   บุตรชาย

ชม  บุตรชาย   ป่วยเป็นไข้ทรพิษ  เสียชีวิตตั้งแต่เยาว์

ชี  ได้เป็นเจ้าจอมพระสนมเอก


หน้า ๑๙

เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) มีบุตรด้วยท่านผู้หญิง ๒ คน

บุตรสาว  เลื่อน  ได้เป็นเจ้าจอมพระสนมเอก   มีพระองค์เจ้าหญิงองค์หนึ่ง ชื่อ พระองค์เจ้าหญิงแสงจันที์(ประสูติในวันมีจันทรุปราคา)

บุตรชาย  สมบุญ    เป็นมหาดเล็กหลวง  เลื่อนเป็น หมื่นจงภักดีองค์ขวา  กรมวัง     

ในแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช  ได้เลื่อนเป็น พระยาบำเรอภักดิ์ปลัดทูลฉลองกรมวัง


จบเรื่องราวของ เจ้าพระยาอภัยราชา(ชื่น) เพียงแค่นี้

เรื่องที่ท่านได้กราบบังคมทูลลาท่านชี  ออกมาแต่งงานกับ  อากามะหะมัด  บุตรของ มะหะมัดสะอิด  นั้น  เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่อไป




เรียนคุณหนุ่ม

เรื่องตัวพิมพ์นั้น   เมื่อมีการประชุมกัน  โปรดเตือนให้ดิฉันนำหนังสือมาแสดงด้วย

มหามุขมาตยานุกูลวงศ์นี้พิมพ์รวบรวมขึ้นเมื่อ  นายกุหลาบอายุ ๗๒

ยังมีหนังสือกฎหมายที่นายกุหลาบพิมพ์หลังสึก เมื่ออายุ ๒๗ ปีด้วย
 
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 10:37

เรียนคุณวันดี

ข้อมูลที่เข้ามาช่วยนั้นแน่นมาก หากแต่ผมคิดในลักษณะประการหนึ่งอยากจะถามเจ้าของกระทู้ว่า

๑. เมื่อท่านสืบเชื้อสายลงมาใช้นามสกุล "บุรานนท์" นั้นสืบเชื้อสายจากเจ้าพระยาอรรคมหาเสนา กับ หม่อมจันทร์ (ตามแผนผัง) .ข้อมูลจากเวปสกุลบุนนาค

๒. ใคร่อยากทราบถึงถ้ำอัฐิที่พบอยู่เดี่ยว ๆ หรือรวมอยู่กับอัฐิของท่านอื่นหรือไม่

๓. สำหรับข้อมูลเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) ที่คุณวันดีกล่าวว่านั้น ผมมีข้อสังเกตุประการหนึ่งว่า ท่านเจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) ดำรงชีวิตอยู่สมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เมื่อสิ้นชีพลงก็ฝากฝังลงที่กุโบร์ ถือเป็นต้นมหาสาขา ควรจะเป็นที่เคารพแห่งลูกหลานในสาขาต่อมา มิได้ควรนำอัฐิขึ้นมาอีก

๔. การเอ่ยชื่อนามที่กล่าวไว้ที่ถ้ำอัฐิ "เจ้าพิชัยราชา (ชื่น)" จึงใคร่อยากเห็นภาพลักษณะการจารึกลักษณะตัวอักขระนั้น แต่จะเหมาถึงว่าเป็น "เจ้าพระยา" นั้น ผมได้เข้าไปดูการตั้งเจ้าพระยาสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ไม่พบชื่อดังกล่าวครับ


บันทึกการเข้า
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 15:53

รบกวนขออีเมล์ คุณ Wandee และคุณ Siamese ด้วยครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 16:40

คุณ gengkitty ส่งรูปอัฐิมาให้ดิฉันดูทางอีเมล์   จึงขออนุญาต ก่อนนำมาลงให้ดูกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 16:40

รูปที่ 2


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 16:42

รูปที่ 3


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 16:54

      ดิฉันส่งข้อสันนิษฐานไปให้เจ้าของกระทู้ ว่ามีเจ้าพระยาพิชัยราชาอีกท่านหนึ่ง เป็นเจ้าเมืองสวรรคโลกในสมัยธนบุรี  ปรากฎชื่อในประวัติศาสตร์ แต่ไม่ทราบชื่อตัว และชื่อสกุล

      ตามประวัติศาสตร์  เจ้าพระยาพิชัยราชาเดิมคือหลวงพิชัยราชา   เป็นหนึ่งในผู้ติดตามพระเจ้าตากตีฝ่าวงล้อมของพม่าจากกรุงศรีอยุธยาออกไปทางวัดพิชัย      ต่อมาทำหน้าที่เป็นทูตนำพระราชสาส์น ไปเกลี้ยกล่อมพระยาราชาเศรษฐีที่เมืองพุทไธมาศให้มาเข้าเป็นพวกได้สำเร็จ     ภายหลังเมื่อพระเจ้าตากตีจันทบุรีได้แล้ว หลวงพิชัยราชามีหน้าที่ควบคุมดูแลการต่อเรือรบ และเป็นกองหน้า รบขับไล่พม่าตั้งแต่ธนบุรีไปจนถึงโพธิ์สามต้น
     หลวงพิชัยราชาเป็นหนึ่งในทหารสำคัญสมัยธนบุรี  สมเด็จพระเจ้าตากสินฯโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งเป็นเจ้าพระยาสวรรคโลก ครองเมืองสวรรคโลก เมื่อคราวศึกเชียงใหม่  โปสุพลาและโปมะยุง่วน หนีออกจากเมืองไปได้ทางด้านค่ายเจ้าพระยาสวรรคโลก เจ้าพระยาสวรรคโลก จึงต้องโทษโบย 50 ที   เข้าใจว่าคงจะถูกย้ายเข้ามารับราชการในกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น  ท่านถึงอสัญกรรมในราวปี พ.ศ. 2319 คือในสมัยธนบุรีนั่นเอง
      ถ้านับระยะเวลา ก็ใกล้ปัจจุบันมากกว่าสมัยบุตรชายท่านเฉกอะหมัด    แค่สมัยธนบุรี 200 กว่าปีมานี้เอง  หากท่านผู้นี้ถึงแก่อนิจกรรม ลูกหลานก็น่าจะเก็บอัฐิรักษาไว้ที่บ้าน ก่อนจะนำมาเก็บในช่องของวัด
     สังเกตว่าในช่องเก็บ  มีผอบแก้วอยู่เป็นคู่   เข้าใจว่าทำไว้คู่กันเป็นอัฐิของสามีภรรยา ลูกหลานเหลนเก็บรักษาไว้คู่กัน   จึงสันนิษฐานต่อไปว่า ในเมื่อลูกหลานในสกุลบุรานนท์ไม่มีใครรู้เลยว่าสืบเชื้อสายมาจากเจ้าพระยาท่านนี้    ก็เป็นได้ว่า ท่านอาจเป็นเขยของบุรานนท์   ท่านผู้หญิงพิชัยราชาต่างหากเป็นบุรานนท์    ลูกหลานที่เก็บไว้อาจเป็นเชื้อสายของท่าน ใช้นามสกุลอื่น  แต่นำมารวมไว้กับบรรพชนทางฝ่ายท่านผู้หญิง  จึงปรากฏอยู่ที่วัดนี้   

บันทึกการเข้า
gengkitty
อสุรผัด
*
ตอบ: 14


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 17:17

หากท่านใดมีหนังสือที่พระยาราชสมบัติ (เอิบ บุรานนท์) เขียนในงานพระราชทานเพลิงศพคุณหญิงราชสมบัติ (เยื้อน) รายละเอียดในหนังสือจะบันทึกรายชื่อบุตร - ธิดาของพระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง) และระบุชื่อมารดาของบุตร - ธิดา ด้วย
1. โดยสาแหรกที่พระยาราชสมบัติ (เอิบ) ได้รวบรวมนั้นไล่มาจนถึงชั้นที่ 6 (นับเนื่องในวงศ์บุนนาค - ถึงชั้นคุณพ่อของผม) และรายละเอียดในบันนทึกระบุชัดเจนว่า หากฝ่ายชาย - หญิง แต่งงานกับใครจะระบุว่า วงศ์เดียวกัน หรือ ต่างวงศ์
2. พระยาศรีอรรคราชนารถภักดี (เมือง) เป็นเจ้าคุณปู่ของ พระยาราชสมบัติ (เอิบ) แม้ว่าเจ้าคุณเมืองจะเสียชีวิตตอนที่เจ้าคุณเอิบยังเยาว์ก็ตาม แต่เจ้าคุณเอิบ ยังมีเจ้าคุณป้าอีกหลายคนที่สามารถจำความได้ โดยเฉพาะท่านผู้หญิงพรรณ และท่านผู้หญิงหยาด (ทั้ง 2 ท่านเป็นภรรยาสมเด็จเจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง)
3. หากลำดับชั้นสูงกว่าเจ้าคุณเมือง ก็คือชั้น เจ้าคุณบุนนาค ย้อนขึ้นไป
4. นอกจากนี้เอกสารชั้นต้นที่เจ้าคุณเอิบบันทึกไว้ ในชั้นลูก-หลาน-เขย ของเจ้าคุณเมือง ไม่มีผู้ใดชื่อ ชื่น หรือราชทินนาม พิชัยราชาเลย ในชั้นต่อๆ มาก็ไม่มี
5. จากรูปที่คุณเทาชมพู Post ไว้ เป็นกล่องทองเหลืองที่ระบุชื่น เจ้าพิชัยราชา (ชื่น) นอกจากนี้ยังมีอีก 4 หล่องทองเหลือง ซื่งค้นหาแล้วไม่พบหลักฐานที่สามารถระบุชื่อเจ้าของอัฐิได้ (อาจจะเขียนไว้แต่เสื่อมสภาพไปแล้วก็เป็นได้)
6. ตั้งแต่ยุธยาตอนปลายลงมา บรรดาศักดิ์จะเป็น เจ้าพระยา หรือ พระยา แต่อยุธยาตอนกลางจะระบุ ออกญา หรือ ออกพระ
7. ในที่นี้ระบุเพียงเจ้าพิชัยราชา (ชื่น) เป็นไปได้หรือไม่ว่าจะเป็นเจ้า (เชื้อพระวงศ์) ทางเหนือ หรือ เชื้อพระวงศ์ทางประเทศเพื่อนบ้านเรา

รบกวนขอความเห็นต่อๆ ไปนะครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง