เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71137 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 10 พ.ย. 11, 14:19

ถ้าระดับน้ำไม่สูงไปกว่านี้ ถือว่าคนกรุงเทพไม่เคราะห์ร้ายกว่านี้   จากนั้น ระดับน้ำก็จะค่อยๆลดลงตามการผันน้ำของกทม.   แค่ปลายเดือนพ.ย. ชาวเมืองที่อพยพสามารถกลับเข้าบ้านได้ ก็โชคดีแล้วค่ะ
ส่วนน้ำจะแห้งได้เมื่อใดกันแน่  ธันวาคม หรือว่าเลยปีใหม่ไปแล้ว   ยังไม่มีใครให้คำตอบ

บิ๊กแบ็คนั้นดิฉันเชื่อว่าเป็นความพยายามของรัฐบาลหรือศปภ. ที่จะให้เห็นว่า เราทำงานกั้นน้ำไปแล้วนะ  ออกข่าวยืนยันด้วยว่าได้ผล  ระดับน้ำต่างกันตั้ง 30 ซ.ม.   ถ้าน้ำไม่ออกจากกรุงเทพก็เป็นเรื่องของกทม.ละทีนี้  ว่าทำไมทำไม่ได้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 10:35

มันมากับน้ำท่วม !
สยองหลังน้ำลด !


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 13:59

มหาอุทกภัยครั้งนี้ ทุกคนทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีประเทศไทยมา แต่จริง ๆ แล้วน้ำท่วมครั้งนี้เป็นเพียงหนังตัวอย่างเท่านั้น เพราะท่วมชั่วคราว ท่วมแล้วยังมีลด  อีก ๒๕ ปีข้างหน้าเรื่องที่ร้ายแรงกว่านี้คือน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ อย่างถาวร หากรัฐบาลไทยไม่มีนโยบายเตรียมการป้องกันเรื่องนี้เสียแต่เนิ่น ๆ

เตือนอีก ๑๐ ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก ๒.๕ เมตร



รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ กรรมการภูมิศาสตร์โลก และผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า จากผลการวิจัยผลกระทบต่อการเกิดน้ำท่วมกรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งได้รับทุนวิจัยมูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลายภาคส่วนจากบริษัท ปัญญา คอนเซาท์แตน จำกัด โดยการสนับสนุนของธนาคารโลก เมื่อปี ๒๕๕๑ คาดการณ์ว่ากรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเป็นพื้นที่ชั้นหินอ่อนจะเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมภายใน ๑๐ ปีตั้งแต่ปี ๒๕๕๓ เป็นต้นไป โดยสถานการณ์จะรุนแรงกว่าปี ๒๕๓๘ เพราะจากการคำนวณพบว่าทุก ๆ ๒๕ ปี กรุงเทพฯ มีโอกาสจะเกิดน้ำท่วมอย่างรุนแรง (ภายในปี ๒๕๖๓) ทั้งนี้หากคำนวณจากปัจจัยแผ่นดินทรุดเพียงกรณีเดียว พบว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมภายใน ๒๕  ปี แต่ในความเป็นจริงปัจจัยที่เป็นสาเหตุให้เกิดน้ำท่วมไม่ได้มีเพียงแค่กรณีเดียว แต่ประกอบด้วย ๔ ปัจจัยดังต่อไปนี้

๑. ปริมาณฝนที่ตกลงมา ขณะนี้เฉลี่ยอยู่ที่ ๕-๑๐ % ต่อปี
๒. การทรุดตัวของแผ่นดิน ซึ่งในอดีตแผ่นดินกรุงเทพฯ จะทรุดตัวต่ำลงประมาณปีละ ๑๐๐ มม. แต่ในปัจจุบันหลังมีมาตรการห้ามขุดเจาะน้ำบาดาล อัตราการทรุดตัวเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ๑๐-๒๐ มม.
๓. ระดับน้ำทะเลที่เพิ่มสูงขึ้น ทั้งบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีอัตราน้ำทะเลเพิ่มสูงขึ้นโดยเฉลี่ยปีละประมาณ ๓ มม.
๔. ผังเมืองและความแออัดของชุมชนเมือง ทำให้พื้นที่สีเขียวหรือพื้นที่ชุ่มน้ำของกรุงเทพฯ ลดลงกว่า ๕๐ % เมื่อมีน้ำเหนือไหลมาหรือมีปริมาณฝนมากขึ้นจึงไม่มีพื้นที่รองรับน้ำ

รศ.ดร.เสรี กล่าวต่อไปว่ากรุงเทพฯ มีแผ่นดินที่ติดน้ำทะเลเพียงแห่งเดียว คือ เขตบางขุนเทียน ซึ่งขณะนี้หลักเขตกรุงเทพมหานครในเขตบางขุนเทียนถูกน้ำทะเลล้ำเขตเข้ามาประมาณ ๑ กิโลเมตร แสดงให้เห็นว่าแผ่นดินจมหายไป ๑ กิโลเมตร ทั้งนี้รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาดังกล่าวด้วยวิธีสร้างคันกั้นน้ำ เพื่อป้องกันน้ำทะเลหนุน โดยสามารถเลือกสร้างได้ทั้งคันดินสีเขียวเพื่อปลูกต้นไม้ หรือสร้างคันเป็นถนนสำหรับรถวิ่งลักษณะเดียวกับประเทศเวียดนามที่ก่อสร้างไปแล้วเป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่ลงมือแก้ปัญหาเพราะติดปัญหาทางการเมือง ปัจจุบันนี้การแก้ปัญหาน้ำท่วมดำเนินการโดยวิธีสูบน้ำเหนือที่ไหลทะลักให้แยกออกเป็น ๒ ฝั่ง คือฝั่งขวาให้ไหลลงแม่น้ำบางปะกง ส่วนฝั่งซ้ายให้ไหลลงแม่น้ำท่าจีน แต่ในอนาคตสิ่งสำคัญที่สุด คือ ต้องป้องกันน้ำทะเลหนุนให้ได้

ธนาคารโลกเคยนำเสนอปัญหาดังกล่าวต่อรัฐบาลไทยแล้ว เพราะที่ประชุมคณะกรรมการภูมิศาสตร์โลกมองว่ามีความเสี่ยงสูง แต่สิ่งที่ได้กลับมาคือ ความนิ่งเฉยของรัฐบาลไทย ทั้งนี้เราไม่สามารถรู้ได้ว่าน้ำจะท่วมเมื่อใด แต่หากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงคาดว่าระดับน้ำที่ท่วมจะสูงถึง ๑-๒.๕ เมตร สูงต่ำตามระดับพื้นดิน โดยจะรุนแรงมากในพื้นที่ฝั่งตะวันตก ฝั่งธนบุรี เขตคลองเตยจนถึงบางแค สำหรับฝั่งพระนครจะท่วมถึงบริเวณสวนหลวง ร.๙ เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง ๕ ปี หากเราลงมือทำกันจริง ๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

วันที่ ๑๖/๐๗/๒๕๕๓

คุณเตรียมตัวรับมือเกี่ยวเรื่องนี้ไว้แล้วหรือยัง

 ตกใจ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 14:11

คุณเพ็ญชมพูจำเมกะโปรเจคนี้ได้หรือไม่   เพิ่งพูดกันไปเมื่อเดือนสิงหาคมนี้เอง

จ้างบริษัทระดับโลกออกแบบ พัฒนาเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจ พร้อมทำความเข้าใจกับเอ็นจีโอ

7 ส.ค.2554  รายงานข่าวแจ้งว่า นโยบายการถมทะเลสร้างเมืองใหม่ของพรรคเพื่อไทย หนึ่งในโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ หรือ เมกะโปรเจ็กต์ จะต้องถูกผลักดันให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมภายใต้การบริหารงานของรัฐบาลพรรคเพื่อไทยให้ได้ หลังจากที่มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ขึ้นมาบริหารงานแล้ว นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะลงนามในคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาชุดหนึ่ง เพื่อศึกษาและจัดทำรายละเอียดการดำเนินงานนโยบายนี้อย่างเป็นทางการ โดยการลงทุนคาดว่าจะใช้รูปแบบพีพีพี หรือการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน เป็นหลัก

ทั้งนี้ ขั้นตอนการออกแบบเมืองใหม่ จะว่าจ้างบริษัทชื่อดังระดับโลกเข้ามาจัดทำให้ มองไว้แล้ว 2-3 แห่ง ยึดรูปแบบการดำเนินงานเหมือนเมืองอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์  เมื่อได้รายละเอียดนโยบายทั้งหมด จะเปิดประชาพิจารณ์ เพื่อรับฟังความเห็นจากประชาชนด้วย

ขณะเดียวกัน จากการประเมินเบื้องต้นคาดว่า เมืองใหม่จะมีพื้นที่ประมาณ 2 แสนไร่ ใช้เงินลงทุนประมาณ 1.6-1.8 ล้านล้านบาท ต้นทุนไร่ละ 6-8 ล้านบาท แต่ประเทศไทยจะได้ผลประโยชน์ตอบแทนจากการนำพื้นที่จำนวนนี้เปิดให้เอกชนทั้งในและต่างประเทศเข้ามาลงทุน ใช้พื้นที่คืนกลับมาได้อีกเท่าตัวหนึ่ง หรือคิดเป็นเงินประมาณ 2 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม รูปแบบเมืองใหม่จะเป็นกรีนซิตี้ มีความพร้อมด้วยระบบผังเมืองและสาธารณูปโภคทุกชนิด นำธุรกิจอนาคตของประเทศไทยย้ายเข้าไปสู่เมืองนี้ ไม่ว่าจะเป็น ศูนย์กลางทางการเงิน การรักษาพยาบาล เป็นศูนย์กลางสำนักงานใหญ่ของบริษัทข้ามชาติในภูมิภาคนี้ มีรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมต่อกับกรุงเทพฯ ได้สะดวก ผลักดันให้เป็นศูนย์กลางของภูมิภาคอาเซียนอย่างแท้จริง

ส่วนกระแสการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่และกลุ่มเอ็นจีโอต่างๆ อาจเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจจะทำให้นโยบายนี้เกิดปัญหาได้ ซึ่งเมื่อได้รายละเอียดนโยบายชัดเจนแล้ว โดยเฉพาะพื้นที่ก่อสร้าง รัฐบาลจะรีบทำความเข้าใจกับสังคม เพื่อให้เกิดการยอมรับ เนื่องจากนโยบายนี้เป็นเรื่องสำคัญต่อประเทศ โดยเฉพาะการป้องกันปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ ที่เชื่อว่าภายในช่วง 20-30 ปีข้างหน้าจะต้องประสบปัญหาแน่

ข้อมูลจากมติชน
Mthai news


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 14:37

^
^
สร้างวิมานในทะเล

ถมทะเลบางขุนเทียนเร่งกทม.จมบาดาล



รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผอ.ศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร หนึ่งในนักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อม ผู้ศึกษาวิจัยพื้นที่บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยมานาน ฟันธงว่า การจะถมทะเลสร้างเมืองใหม่ไม่น่าจะคุ้มค่าการลงทุน!! พร้อมอธิบายว่า ตลอดแนวชายฝั่งบางขุนเทียนกินเนื้อที่ลึกลงไปในทะเล ๑๐ กิโลเมตร เป็นระยะทาง ๓๐ กิโลเมตร รวมเนื้อที่ ๓๐๐ ตารางกิโลเมตร หรือราว ๑.๘ แสนไร่ และหากต้องการถมเต็มพื้นที่ต้องใช้ทรายไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ล้านคิว คำนวณเป็นเม็ดเงินการลงทุนเฉพาะการถมทรายเพียงอย่างเดียวต้องใช้เงินทุนขั้นต่ำไม่น้อยกว่า ๔ แสนล้านบาท

"เนื้อที่เกือบ ๒ แสนไร่ เทียบแล้วใหญ่โตเกินครึ่งของ จ.สมุทรสาคร การถมทะเลเพื่อสร้างเมืองใหม่เลียนแบบสิงคโปร์และดูไบนั้น ต้องถมให้สูงกว่าระดับน้ำทะเลอย่างน้อย ๕ เมตร ซึ่งชายทะเลบางขุนเทียนห่างฝั่งไป ๑๐ กิโลเมตร มีความลึกอยู่ที่ ๖ เมตร หมายความต้องถมทรายสูงถึง ๑๑ เมตร ซึ่งต้องใช้ทรายไม่น้อยกว่า ๔,๐๐๐ ล้านคิวถึงจะถมได้หมด ที่สำคัญจะหาทรายจำนวนมหาศาลมาจากไหน ลำพังทรายที่มีอยู่ในประเทศคงไม่พอแน่" รศ.ดร.เสรีกล่าว

รศ.ดร.เสรียังอธิบายถึงลักษณะทางกายภาพของดินบริเวณชายฝั่งทะเลบางขุนเทียนว่า ดินบริเวณนี้เป็นดินโคลน เกิดจากตะกอนแม่น้ำ มีความอ่อนตัวสูง หากมีการถมดินก็จะเกิดการยุบตัวลงไปอีก โดยในแต่ละปีแม้ไม่มีการถมดินเพิ่ม ยังเกิดการยุบตัวอยู่แล้วเฉลี่ย ๕ เซนติเมตร หากนำทรายหรือดินจากพื้นที่อื่นมาถมจะยิ่งเพิ่มน้ำหนักเร่งให้เกิดการยุบตัวลงไปอีก มีการคาดการณ์กันว่าหลังถมพื้นที่แล้วน่าจะมีอัตราการยุบตัวสูงถึง ๑๐ เซนติเมตรต่อปี นั่นหมายความว่าหากมีการถมทะเลสร้างเมืองใหม่บริเวณนี้จริง ๆ จะต้องมีการถมทรายเสริมทุก ๆ ปี เฉลี่ยอย่างน้อยปีละ ๕ เซนติเมตร เท่ากับว่าต้องใช้ทรายอีกหลายร้อยล้านคิวต่อปี แล้วเงินทุนมหาศาลจะหามาจากไหน ?!!

ส่วนผลกระทบต่อระบบนิเวศของอ่าวไทยหลังถมทะเลแล้ว รศ.ดร.เสรี วิเคราะห์ว่า พื้นที่ชายฝั่งบางขุนเทียน ตั้งอยู่บริเวณปากแม่น้ำ มีคลองสำคัญถึง ๕ คลองที่ต้องไหลลงทะเล คือ คลองสนามชัย คลองสรรพสามิต คลองภาษีเจริญ คลองมหาสวัสดิ์ และคลองบางใหญ่ ซึ่งคลองเหล่านี้ถูกใช้ในการระบายน้ำเหนือลงทะเล หากมีการถมบริเวณนี้จริง ก็จะเป็นการขวางทางน้ำ จะเกิดปัญหาน้ำท่วมตามมา

"เมื่อถึงฤดูน้ำเหนือไหลหลากลงมา กรุงเทพมหานครและปริมณฑลก็ต้องจมบาดาล ขณะเดียวกันพื้นที่ที่ถมทะเลก็จะไปขวางกระแสน้ำทะเล เกิดปัญหาสายน้ำเปลี่ยนทิศทางส่งผลกระทบกับพื้นที่ใกล้เคียง โดยเฉพาะชายฝั่งอ่าวไทยตอนเหนือ ไล่ไปตั้งแต่ จ.สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง และ จ.จันทบุรี ส่วนทางใต้ไล่ตั้งแต่ จ.สมุทรสาคร สมุทรสงคราม เพชรบุรี และ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำกัดเซาะตลิ่ง นอกจากนี้ ยังส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาในทะเลเสียหาย จะเกิดความสูญเสียอย่างมหาศาลจนประเมินค่าไม่ได้" รศ.ดร.เสรี วิเคราะห์

ขัดแย้งกับแนวคิดของการถมทะเลบริเวณชายฝั่งบางขุนเทียน ซึ่งหวังจะใช้เป็นแนวทางแก้ปัญหาน้ำทะเลกันเซาะชายฝั่ง และแก้ปัญหาน้ำทะเลรุกท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานครนั้น  รศ.ดร.เสรี ยืนยันว่า การถมทะเลสร้างเมืองใหม่ไม่ใช่วิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด แต่ยังมีอีกหลายวิธี อย่างการแก้ปัญหาน้ำทะเลรุกผืนดิน ต้องมีการปลูกป่าชายเลน เพื่อสร้างระบบนิเวศชายฝั่งทะเลตามธรรมชาติให้ได้อย่างน้อยห่างฝั่งออกไป ๓๐๐ เมตร ซึ่งเมื่อมีป่าชายเลนมาขวางความแรงของกระแสคลื่นก็จะสามารถแก้ปัญหาการกัดเซาะพื้นที่ชายฝั่งได้โดยไม่กระทบกับระบบนิเวศ รวมถึงวิถีชีวิตของประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนั้นด้วย

เพราะฉะนั้นประชาชนชาวกรุงเทพฯ ควรเรียกร้องให้รัฐบาลและเขตการปกครองท้องถิ่นตระหนักถึงปัญหาตรงจุดนี้ เพื่อเร่งสร้างคันกั้นน้ำให้เร็วที่สุดเพราะการก่อสร้างต้องใช้เวลานานถึง ๕ ปี หากเราลงมือทำกันจริง ๆ วันนี้ก็ยังแก้ปัญหาทันอยู่ เพียงแต่เรายังไม่เริ่มเท่านั้น” ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยภัยธรรมชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว

เล็ก ๆ (คันกั้นน้ำ) ไม่  ใหญ่ ๆ (เมืองในทะเล) จะทำ

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 15:26

ต้องรอดูว่าหลังน้ำแห้งแล้ว  รัฐบาลจะเดินหน้าถมทะเลต่อไปหรือเปล่า 
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 16:19

การถมทะเล เพื่อสร้างเมืองใหม่ หรือการสร้างคันกั้นน้ำ ป้องกันกรุงเทพจมน้ำ ล้วนเป็นการแก้ปัญหาที่ฝืนธรรมชาติ...
ยิ่งจะทำให้ระบบนิเวศ เปลี่ยนแปลงไป ผลที่จะตามมา เคยมีการศึกษากันหรือยังว่าจะเลวร้ายขนาดไหน...ทำไมเราไม่ทำใจยอมรับและอยู่กับธรรมชาติให้ได้.......
แม้ว่าธรรมชาติจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ก็เป็นไปตามธรรมชาติ เป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อรักษาสมดุลย์ให้กับโลก
ยิ่งมนุษย์ไปฝืนธรรมชาติมากๆ ธรรมชาติก็ยิ่งต้องมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น เพื่อปรับตัวให้เข้าสู่สมดุลย์ของตัวเอง
ตัวอย่างง่ายๆ การถมกระสอบทรายสร้างคันกั้นน้ำ กั้นยังไงก็ไม่ได้ เพราะธรรมชาติของน้ำ ต้องไหลจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำเสมอ
น้ำท่าน้ำทุ่ง ล้วนต้องไหลออกสู่ทะเล กั้นตรงนี้ก็ไหลเอ่อไปตรงโน้น ทั่วไปหมด ระยะเวลาที่น้ำหาทางลงทะเลยิ่งนานขึ้นอีก ความเสียหายก็ยิ่งเพิ่มขึ้นตามระยะเวลา
สู้ไม่กั้นซะดีกว่า ปล่อยให้ไหลผ่านลงทะเลไป ใช้เวลาสั้นกว่ากัน ความเสียหายก็น้อยกว่ากัน...

เรื่องกรุงเทพ เมืองหลวงของเรานั้น แต่เดิมอาจจะเหมาะสม เพราะสมัยที่ตั้งเมืองใหม่ๆ ผู้คนยังมีน้อย เทคโนโลยียังไม่ดี ดังนั้นการตั้งเมืองจึงต้องอยู่ในที่อุดมสมบูรณ์ การคมนาคมสะดวก จึงเลือกตั้งริมแม่น้ำ มีที่นากว้างขวางอุดมสมบูรณ์
แต่ปัจจุบัน สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว เรามีประชากรเพิ่มมากขึ้น ที่อยู่อาศัยหนาแน่นขึ้นทั้งในแนวนอนและแนวตั้ง
มีการใช้ที่ดินผิดประเภทมากขึ้น พื้นที่เกษตรถูกเปลี่ยนเป็นที่อยู่อาศัยและอุตสาหกรรม ทางน้ำถูกเปลี่ยนเป็นถนน ทุกอย่างเกินลิมิตที่กรุงเทพจะรองรับได้แล้ว....

การย้ายเมืองหลวง น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่าการถมทะเลสร้างเมืองใหม่ หรือสร้างคันกั้นน้ำ
อย่าไปเลียนแบบสิงคโปร์ เพราะเขามีเนื้อที่น้อยเขาจำเป็น แต่เราไม่จำเป็นขนาดนั้น
ประเทศไทยยังมีพื้นที่อีกกว้างขวางมากมาย ที่เหมาะจะสร้างเมืองหลวง ศูนย์กลางเศรษฐกิจ การศึกษา การแพทย์ ฯลฯ ใหม่ได้ไม่ยาก
เงินที่จะไปลงทุนถมทะเล เอามาสร้างระบบคมนาคม และระบบสาธารณูปโภค อย่างเริดๆ ได้สบายๆ

ก็แค่ความคิดเห็นเล็กๆ จากหนูดีดี ฝากไว้ให้ผู้หลักผู้ใหญ่ได้ช่วยพิจารณากันค่ะ....
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 17:03

^


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 11 พ.ย. 11, 20:41

ราวกับเรื่องน้ำท่วม ทำให้คนไทยสติแตกได้ไม่พอ    จึงมีข่าวแผ่นดิน(อาจ)ไหวแทรกเข้ามาอีก
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=karnoi&month=11-11-2011&group=36&gblog=270

สมิทธ หวั่นอาจเกิดแผ่นดินไหวที่รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ต่อจากอุทกภัย จี้ทุกฝ่ายร่วมมือกันรวมข้อมูลเข้าศูนย์กลาง เพื่อการเตือนภัยล่วงหน้ารับมือภัยธรรมชาติ

ส่วนเรื่องการเตือนภัยอื่น ๆ นั้น ที่สำคัญมากก็คือการเตือนภัยแผ่นดินไหว เพราะเชื่อว่าในปีสองปีนี้มีสิทธิ์เกิดแผ่นดินไหวขึ้นได้ เนื่องจากเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา รอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ ที่บริเวณเขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดกาญจนบุรี ได้รับอิทธิพลจากแผ่นดินไหวใหญ่ที่ท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า อีกทั้งขณะนี้พื้นดินใต้ประเทศไทยได้รับความเสียหาย เพราะถูกน้ำท่วมขังนาน และน้ำยังได้เข้าไปกัดเซาะมากขึ้นด้วย ดังนั้น หากไม่มีการรวมศูนย์ข้อมูลเพื่อเตือนภัย ก็มีสิทธิ์จะเกิดภัยพิบัติอีกครั้งในเมืองไทย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 12 พ.ย. 11, 12:18

ทำเลบ้านตามตำราซุนหวู่    (คอลัมน์เลียบวิภาวดี ในน.ส.พ.แนวหน้า)

ถ้าเปรียบการแก้ปัญหาน้ำท่วมครั้งใหญ่นี้ รัฐบาลกำลังทำศึกกับอุทกภัย กลยุทธในการสู้ก็จะต้องงัดเอาตำราพิชัยสงครามของ "ซุนหวู่" มาต่อกร
หัวใจของการทำสงคราม นอกจากต้อง "รู้เขารู้เรา" คือรู้ศักยภาพการทำลายล้างของน้ำ และศักยภาพการผันน้ำลงทะเลของรัฐบาล ยังต้องรู้ "หลักการอันยิ่งใหญ่ของสงคราม" ที่ซุนหวู่ระบุไว้ "ต้องทำสงครามชนะคู่ต่อสู้อย่างรวดเร็ว ห้ามปล่อยให้ยืดเยื้อเด็ดขาด เพราะความยืดเยื้อจะสร้างความเสียหายอย่างมหาศาล"
เหลียวมาดูการทำสงครามของรัฐบาล ก็พอจะเห็นแวว "รู้เขารู้เรา" อยู่บ้าง แต่กลับทิ้งหลักการ "ห้ามทำสงครามยืดเยื้อ"
เอาเถอะ จะสู้กับน้ำแบบมือสมัครเล่นแค่ไหนก็ไม่ว่ากัน สักวันน้ำก็จะลงทะเลไปเองอยู่ดี
หลังน้ำลด คนกรุงและคนในจังหวัดปริมณฑลที่บ้านช่องเคยจมน้ำถึงขั้นอยู่ไม่ได้ คงคะจิดขยับขยายหาทำเลใหม่อยู่ที่ไม่ถูกน้ำท่วมเหมือนตั้งทัพไม่ถูกข้าศึกโจมตีง่าย ๆ

ในตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่ไม่ได้อธิบายความหมายเอาไว้ แต่ "โจโฉ" จอมวางแผนการรบที่ยิ่งใหญ่ในยุคสามก๊ก ซึ่งเป็นผู้หนึ่งที่ใช้ตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่เป็นคู่มือในการทำสงครามจนได้ชัยชนะในการรบนับครั้งไม่ถ้วนได้อธิบายไว้ โดยผมขอสรุปเป็นภาษาของตัวเองให้เป็นปัจจุบันตรงกับเหตุการณ์วันนี้อย่าง่สั้น ๆ ดังนี้

"บ่อสวรรค์" หมายถึงที่ตำมาก ฝนตกเกิดอุทกภัยทีไรกลายเป็นบ่อรับน้ำทีนั้น เช่น แถบบางบัวทอง และไทรม้า เป็นต้น

"กรงสวรรค์" ด้านหนึ่งถูกคลองปะปากั้นเอาไว้ อีกด้านถูกคลองเปรมประชากรขนาบข้าง หมู่บ้านชินเขต และประชานิเวศน์1 คือกรงสวรรค์ตามความหมายนี้

"กับดักสวรรค์" แม้โดยลักษณะทั่วไปเป็นพื้นที่ซึ่งน้ำไม่มีสิทธิ์ท่วมขังได้ยาวนาน แต่ทุกครั้งที่เกิดอุทกภัยจะต้องถูกนโยบายรัฐบาลกันให้เป็นเขตจมน้ำหลังกำแพงบิ๊กแบก เพื่อป้องกันกรุงเทพฯ ชั้นในให้พ้นหายนะ

"ตาข่ายสวรรค์" มองอย่างผิวเผินมีถนนออกได้ทุกทิศทางและสามารถสร้างกำแพงป้องกันทุกด้าน แต่ทันทีที่น้ำมา ก็ถูกน้ำถล่มรอบทิศ เช่น นิคมอุตสาหกรรมต่าง ๆ ในจังหวัดอยุธยาและปทุมธานี รวมถึงหมู่บ้านสุดหรูบนถนนชัยพฤกษ์ เป็นต้น

"รอยร้าวสวรรค์" เห็นกันชัด ๆ ไม่ต้องอธิบาย    บริเวณรามคำแหงนั้นไซร้และรวมถึงซอยต่าง ๆ บนถนนลาดพร้าว ถ้าป้องกันได้ก็แล้วไป ป้องกันไม่อยู่เมื่อใด น้ำจะท่วมขังนานวันจนเหม็นเน่าเมื่อนั้น

สถานที่ที่ซุนหวู่ห้ามตั้งทัพนั้น ช่างปรับได้กับชาวกรุงและชาวบ้านจังหวัดใกล้เคียงห้ามไปตั้งบ้านด้วย
"ซุนหวู่" เขียนห้ามมาเกือบสามพันปีแล้ว

                                                                           กมลศักดิ์ ตั้งธรรมนิยม
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 12 พ.ย. 11, 15:19

มหาอุทกภัยครั้งนี้ ทุกคนทั้งรัฐบาลและฝ่ายค้านต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่าร้ายแรงที่สุดเท่าที่เคยมีประเทศไทยมา แต่จริง ๆ แล้วน้ำท่วมครั้งนี้เป็นเพียงหนังตัวอย่างเท่านั้น เพราะท่วมชั่วคราว ท่วมแล้วยังมีลด  อีก ๒๕ ปีข้างหน้าเรื่องที่ร้ายแรงกว่านี้คือน้ำจะท่วมกรุงเทพฯ อย่างถาวร หากรัฐบาลไทยไม่มีนโยบายเตรียมการป้องกันเรื่องนี้เสียแต่เนิ่น ๆ

เตือนอีก ๑๐ ปี กรุงเทพฯจมน้ำลึก ๒.๕ เมตร





 ตกใจ




พม่าเพื่อนบ้านเรา...ย้ายเมืองหลวงแล้ว........
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=historyandphilosophy&date=29-06-2007&group=2&gblog=18


นักการเมืองไทยเรายังมองแค่ปลายจมูก....................แค่เรื่องงบประมาณ?
เราคงมีโอกาสย้ายเมืองหลวงไปอยู่ลพบุรี ก็ต่อเมื่อเราตื่นขึ้นมาแล้วเพิ่งสังเกตเห็นว่ากรุงเทพฯของเราจมน้ำไปแล้วสองเมตรครึ่ง(มาเป็นเวลาหลายปีแล้ว)

หรือรอให้ท่วมแบบนี้ก่อนก็น่าจะพอทนกันได้..........เนาะ.........


บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 12 พ.ย. 11, 15:22

มันมากับน้ำท่วม !
สยองหลังน้ำลด !


ภาพนี้บอกได้ว่า...มีความเป็นไปได้สูงมากที่โรคห่า...........จะกลับมาระบาดในเมืองไทยอีกครั้ง?


 เศร้า อายจัง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 12 พ.ย. 11, 21:00

^
คุณศรีสยามใช้คำไทยได้ตรงมาก
หลังน้ำลด   โรคติดเชื้อคงระบาดอยู่พักหนึ่ง เพราะมีน้ำเป็นสื่อ และมีพาหะนำโรค    ที่บ้าน ขนาดน้ำท่วมมาไม่ถึง ท่วมแต่ใกล้ๆ   ยังพบว่ายุงเริ่มเยอะผิดหูผิดตา
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 13 พ.ย. 11, 09:33

รมว.คมนาคมคุยบิ๊กแบ็คกั้นน้ำได้ผลดีคาด 2 สัปดาห์น้ำลด


วันนี้ (12 พฤศจิกายน 2554 ) " ผู้จัดการ" พาดหัวข่าวเรื่องบิ๊กแบ๊คเอาไว้ ค่อนข้างน่ากลัว

“บิ๊กแบ็ก” ระเบิดเวลา ทำน้ำบ่าท่วมเมือง
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews.aspx?NewsID=9540000144325
บันทึกการเข้า
srisiam
สุครีพ
******
ตอบ: 857


ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 13 พ.ย. 11, 13:02

^
คุณศรีสยามใช้คำไทยได้ตรงมาก
หลังน้ำลด   โรคติดเชื้อคงระบาดอยู่พักหนึ่ง เพราะมีน้ำเป็นสื่อ และมีพาหะนำโรค    ที่บ้าน ขนาดน้ำท่วมมาไม่ถึง ท่วมแต่ใกล้ๆ   ยังพบว่ายุงเริ่มเยอะผิดหูผิดตา


คำไทยโบราณ................สื่อความหมายดีกว่าคำแขกหรือไม่ครับ อาจารย์?

http://www.sujitwongthes.com/2009/08/%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%B2-%E0%B8%84%E0%B8%B7%E0%B8%AD-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AC%E0%B9%82%E0%B8%A3%E0%B8%84/

 เศร้า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.058 วินาที กับ 20 คำสั่ง