เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71378 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 13:55

ขณะที่ที่ดินที่จัดไว้เพื่อเกษตรกรรมย่านรังสิตได้ถูกแปรสภาพไปเป็นหมู่บ้านจัดสรร และพื้นที่ที่ควรอนุรักษ์ไว้เพื่อเป็นแหล่งประวัติศาสตร์ เช่น อยุธยา ถูกล้อมรอบด้วยนิคมอุตสาหกรรม มีการสร้างบ้านเรือนบุกรุกเข้าไปในทางไหลของน้ำ  มีการสร้างบ้านจัดสรร ถนน หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ ขวางทางน้ำ นิคมอุตสาหกรรมขยายตัวเข้าไปในพื้นที่กันชนหรือพื้นที่สีเขียว และมีโรงงานสร้างติดรั้วโรงเรียน ฯลฯ

"สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะมีบางคนในประเทศนี้ไม่เชื่อในเรื่องของการกำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดิน ไม่เชื่อเรื่องการกำหนดโซนนิ่ง หรือการบังคับใช้ผังเมืองของประเทศนั่นเอง คนกลุ่มนี้เชื่อว่าเจ้าของที่ดินมีสิทธิส่วนบุคคลที่จะใช้ประโยชน์ในที่ดินของตัวเองอย่างไรก็ได้ ความคิดเช่นนี้ทำให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างไร้ทิศทาง และที่สำคัญคือทำให้สภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยมีความเปราะบาง ไม่สามารถรองรับภัยธรรมชาติได้ ดังนั้นการที่ประเทศต้องจัดแบ่งพื้นที่ให้เป็นที่คนอยู่ ที่อยู่ป่า ทางเดินน้ำ และที่ทำกิน หรือการมีผังเมืองไทย จึงเป็นโจทย์สำคัญสำหรับประเทศไทยวันนี้ และเป็นบททดสอบสำหรับนักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ รวมถึงนักวิชาการต่างๆ ด้วยว่าจะสามารถตั้งใจทำงานร่วมกันเพื่อสร้างอนาคตให้กับประเทศได้หรือไม่"

ทั้งนี้การมีผังเมืองไทยต้องจัดแบ่งให้เป็นสัดส่วนมีการกำหนดพื้นที่เกษตร นิคมอุตสาหกรรมควรอยู่จังหวัดไหน พื้นที่ป่าต้นน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติควรมีเท่าไหร่ ทางน้ำไหลมีเพียงพอแล้วหรือไม่ และจะให้น้ำส่วนเกินไหลไปทางใด ส่วนคนจะสร้างบ้านเรือนย่านใดและย่านธุรกิจจะอยู่ตรงไหน ซึ่งเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะนำไปสู่การใช้ที่ดินให้เกิดประโยชน์สูงสุดเป็นไปตามศักยภาพของแต่ละพื้นที่ สร้างความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติ และที่สำคัญคือลดความขัดแย้งในสังคมไม่ให้เกิดปัญหา อย่างกรณีปัจจุบันที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งสร้างทำนบกั้นน้ำ ก็มีประชาชนอีกกลุ่มหนึ่งไปทำลายทำนบกั้นน้ำเป็นต้น      หากภาครัฐจะเข้ามาดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน โดยมีการกำหนดและบังคับใช้ผังเมืองไทยในระดับประเทศจึงเป็นสิ่งที่มีความเป็นไปได้สูงและสมควรดำเนินการอย่างยิ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 13:56

นอกจากนี้การจัดผังเมืองได้ก่อประโยชน์ในแง่เศรษฐกิจ โดยพื้นที่ที่มีความได้เปรียบด้านการขนส่งทางเรือ ก็ควรจัดให้เป็นพื้นที่อุตสาหกรรมเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง     ไม่ควรตั้งในพื้นที่ลุ่มหรือที่รับน้ำซึ่งได้ถูกน้ำท่วมอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ และจะสร้างความได้เปรียบให้กับสินค้าส่งออกของไทย เช่นเดียวกันกับพื้นที่ที่อยู่อาศัยของประชาชน หากมีการจัดให้ชุมชนที่อยู่อาศัยอยู่ในพื้นที่เดียวกันก็จะทำให้การพัฒนาระบบขนส่งมวลชน หรือระบบป้องกันน้ำท่วมเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประหยัดงบประมาณของรัฐ ลดภาระหนี้ของประเทศ และลดภาระภาษีของประชาชน

ส่วนที่ลุ่มหรือพื้นที่รับน้ำควรจัดให้เป็นพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อประโยชน์ด้านการชลประทาน หากพื้นที่เกษตรกรรมอยู่อย่างกระจัดกระจายรัฐก็ต้องเสียงบประมาณสูงขึ้นในการลงทุนในระบบชลประทานในหลายๆพื้นที่ ดังนั้นการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เต็มตามศักยภาพจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจไทย ช่วยเพิ่มรายได้ให้กับผู้ประกอบการและแรงงานไทย ทั้งนี้การจัดผังเมืองไทยจะทำให้นักลงทุนทั้งชาวไทยและนักลงทุนชาวต่างชาติสามารถวางแผนธุรกิจล่วงหน้าด้วยความมั่นใจ และจะทำให้นักธุรกิจทราบว่าพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมจะไม่เป็นพื้นที่น้ำท่วมอีกต่อไป ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมให้เกิดการขยายตัวของการลงทุนอย่างต่อเนื่องในระยะยาว

จากการจัดพื้นที่ระหว่างพื้นที่รับน้ำกับผู้ที่อาศัยในพื้นที่ปลอดน้ำ รัฐบาลจะสามารถพัฒนาระบบการคลังสาธารณะเพื่อสร้างความเป็นธรรม โดยการเก็บภาษีที่ดินเพิ่มเติมจากเขตเศรษฐกิจที่ปลอดน้ำท่วม และนำเงินมาจ่ายชดเชยให้ประชาชนที่อาศัยในเขตรับน้ำ ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้หากสามารถดำเนินการได้   มีการบังคับใช้ผังเมืองและประกาศชัดเจนว่าพื้นที่ใดทำบทบาทอะไร จะเป็นการช่วยลดปัญหาความเหลื่อมล้ำที่กำลังเกิดอยู่ในปัจจุบันอีกด้วย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 13:58

นอกจากนั้น การวางผังเมืองยังเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศไทยให้มีความสามารถในการรองรับภัยธรรมชาติได้ดีขึ้น ซึ่งการที่ประเทศไทยมีการรักษาระบบนิเวศต้นน้ำให้มีความอุดมสมบูรณ์เพื่อทำหน้าที่เป็นอ่างน้ำธรรมชาติ มีการสร้างทางไหลของน้ำให้เพียงพอ มีการกำหนดกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นเขตเมืองหรือเขตนิคมอุตสาหกรรมให้อยู่ในพื้นที่สูง หรือมีการใช้ประโยชน์จากพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อเป็นพื้นที่รับน้ำฝนในยามจำเป็น จะทำให้การใช้ประโยชน์ที่ดินมีความสอดคล้องกับธรรมชาติ ลดความเปราะบางของระบบนิเวศ และสร้างความสามารถในการรองรับกับภัยธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดความความสูญเสียทั้งชีวิต ทรัพย์สิน รวมไปถึงงบประมาณของรัฐ

"แน่นอนการที่ประเทศไทยจะมีผังเมืองดังกล่าว จะต้องเผชิญกับอุปสรรคนานัปการ ทั้งในเรื่องของข้อจำกัดของกฎระเบียบที่เป็นสาเหตุหนึ่งของความล้มเหลวของการพัฒนาประเทศไทย การบริหารน้ำแบบแยกส่วนที่ให้ความสำคัญกับความเป็นกรมหรือจังหวัดมากกว่าการร่วมกันทำงานเพื่อประโยชน์ส่วนรวม และการป้องกันน้ำท่วมที่มีการเมืองและผลประโยชน์มาเกี่ยวข้อง โดยไม่คำนึงถึงความสูญเสียของคนส่วนใหญ่ และที่สำคัญคือระบบอุปถัมภ์ที่ทำให้ไม่มีใครกล้าพูดความจริง และไม่กล้าพอที่จะทำสิ่งที่ถูกต้อง ซึ่งทุกวันนี้ การพัฒนาประเทศแบบผิดๆ ได้ทำให้น้ำกลายเป็นอุปสรรคต่อการดำเนินชีวิตและนำความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่มาสู่ประเทศไทย ดังนั้นผังเมืองจึงเป็นการจัดระเบียบบ้านเมืองกันใหม่   เพื่อให้การพัฒนาประเทศมีความสอดคล้องกับธรรมชาติมากขึ้น รู้จักที่จะอยู่ร่วมกับธรรมชาติ และใช้ประโยชน์จากธรรมชาติอย่างชาญฉลาดดังเช่นเคยเป็นมาแต่ในอดีต".


http://www.thairath.co.th/content/eco/212329
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 19:12

สำหรับผู้ที่กำลังลังเลว่าจะอพยพ หรือไม่อพยพ  ลองพิจารณาอีกครั้ง

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 19:57

แต่ถ้าเจออย่างในข่าวนี้   ก็ไม่ต้องลังเลอีกแล้ว  อพยพได้เลย

ผงะ!จระเข้ 2 ตัวมากับ"มวลน้ำ"โผล่ใต้โทลล์เวย์ เตือนประชาชนระวังเป็นพิเศษ หวั่นเกิดอันตราย

ผู้สื่อข่าวรายงานจากศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดอนเมือง ว่า วันนี้ประชาชนในหมู่บ้านมณีกานต์ บริเวณถนนสรงประภาซอย 2 เขตดอนเมือง จำนวน 4 คน ที่ติดค้างอยู่ภายในหมู่บ้านได้ร้องขอความช่วยเหลือผ่านมูลนิธิกระจกเงา เพื่อให้ช่วยอพยพออกมาด้านนอก ซึ่งเจ้าหน้าที่มูลนิธิได้ทำการจัดส่งเรือและแพไม้ไผ่ สามารถรับน้ำหนักได้ประมาณ 3 คน ออกไปช่วยเหลือ

ขณะที่เจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ และประชาชนในหมู่บ้านบางส่วนได้เจอจระเข้จำนวน 2 ตัว ที่หลุดมากับน้ำในบริเวณดังกล่าว จึงได้แจ้งเตือนให้ประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงระมัดระวังเป็นพิเศษ เพราะอาจได้รับอันตรายได้

ทั้งนี้ผู้สื่อข่าวได้ยินเสียงวิทยุสื่อสารของทหารว่า ได้รับเเจ้งมาเช่นกันว่ามีจระเข้หลุดในพื้นที่เขตดอนเมืองเช่นกัน

นอกจากนี้ ท่าอากาศยานดอนเมือง ได้แจ้งให้เจ้าหน้าที่ที่มาปฏิบัติงานภายใน ศปภ. เคลื่อนย้ายรถออกจากลานจอดรถ เนื่องจากระดับน้ำสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว รวมทั้งยังมีน้ำเอ่อล้นออกมาตามท่อระบายน้ำ ซึ่งหากเจ้าหน้าที่จะเดินมาปฏิบัติงานภายในศปภ.จะต้องใช้รถขนาดใหญ่หรือรถจีเอ็มซีของทหารเข้ามาแทน

ขณะที่เจ้าหน้าที่บางส่วนได้เริ่มเก็บอุปกรณ์และเครื่องมือสื่อสารต่าง ๆ ออกจากพื้นที่ เนื่องจากเกรงว่าหากระดับเพิ่มสูงขึ้นกว่านี้อาจจะทำให้ไม่สามารถเดินทางออกไปจากศปภ.ได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แนวโน้มของมวลน้ำที่ไหลอยู่ในขณะนี้ค่อนข้างอยู่ในทิศทางที่น่าวิตก เพราะน้ำไหลเชี่ยวและแรงมาก ซึ่งอาจทำให้กระสอบทรายและคันกั้นน้ำอาจจะรับน้ำไม่อยู่ และไหลทะลักไปยังถนนลาดพร้าว ในช่วง 1-2 วันนี้ เพราะตอนนี้ถนนวิภาวดีรังสิตด้านหน้าดอนเมือง น้ำสูง 80 เซนติเมตรเเละไหลเเรงมาก
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20111028/416310/news.html


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 20:54

ปลากรอบ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 22:04

"ตะเข้หัน"


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 29 ต.ค. 11, 06:53

ต่อยอดความรู้

คลิปนี้ทำออกมาน่ารักมาก  ทำให้เข้าใจเรื่องน้ำท่วม ด้วยคำอธิบายอย่างง่ายๆ  ไม่สับสนเหมือนแถลงการณ์ก่อนหน้านี้




คลิป  ตอนที่ ๓



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 29 ต.ค. 11, 08:38

^
กำลังหาคลิปที่ 3   คุณเพ็ญชมพูรวดเร็วทันใจชาวเรือนไทยมาก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 29 ต.ค. 11, 17:42

อ้างถึง
นิด้าชี้ผังเมืองต้นเหตุน้ำท่วมสูญเสียหนัก แนะรัฐต้องกล้าจัดการผังเมืองใหม่   

นักวิชาการนิด้าเผยสาเหตุน้ำท่วมไทยหนัก ดินถล่มเกิดจากการใช้ที่ดินผิดอย่างไร้ทิศทาง เพราะนักการเมือง อดีตข้าราชการแสวงหาประโยชน์จนประเทศเสียหายจากน้ำท่วมมหาศาล มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม บ้านจัดสรร สิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ จ.อยุธยาถูกล้อมด้วยโรงงาน แนะจัดระเบียบผังเมืองใหม่ เชื่อจะทำให้ประเทศชาติประหยัดงบจำนวนมาก โดยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมควรตั้งใกล้เส้นทางขนส่งทางน้ำ เพื่อประหยัดค่าขนส่งและเอื้อต่อการส่งออก อีกทั้งคลังยังมีรายได้จากการเก็บภาษีที่ดินจากพื้นที่เศรษฐกิจที่ปลอดน้ำ จี้รัฐเร่งดำเนินการโยนทิ้งระบบอุปถัมภ์ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องก่อนประเทศสูญเสียมหาศาล...

กระทู้คล้ายข้างบนนี้ ถูกเกรียนในพันทิปรุมยำเละเทะ

http://www.pantip.com/cafe/social/topic/U11257319/U11257319.html

นักวิชาการผังเมือง ซวยทั้งขึ้นทั้งล่อง เสนอก็ถูกด่า ไม่เสนอก็ถูกด่า เป็นอย่างนี้มาชาตินึงแล้วครับ
บันทึกการเข้า
TIRAV
อสุรผัด
*
ตอบ: 22



ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 29 ต.ค. 11, 21:03

ยังตามอ่านอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่น้ำเริ่มมา จนน้ำท่วมวอดวายแล้วก็ยังอ่าน และร่วมเผยแพร่ลิ๊งค์กระทู้นี้แล้วนะครับ


-ว.สิทธิญาโณ-
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 29 ต.ค. 11, 21:47

ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 30 ต.ค. 11, 15:43

เหตุการณ์ประวัติศาสตร์อีกเหมือนกัน
น้ำท่วมดอนเมือง ศปภ.ต้องอพยพด่วน  ทิ้งของบริจาคไว้เกลื่อนดอนเมือง 
ยังมีผู้ประสบภัยติดค้างอยู่อีกประมาณ 600 คน

!
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 30 ต.ค. 11, 17:48

^
กำลังหาคลิปที่ 3   คุณเพ็ญชมพูรวดเร็วทันใจชาวเรือนไทยมาก

มีตอนที่ ๔ มาเสนอคุณเทาชมพู



 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 30 ต.ค. 11, 19:40

รอชมตอนต่อไปค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 20 คำสั่ง