เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71510 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 210  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:38

2) น้ำมา ก็ขึ้นไปอยู่ชั้น 2 ได้ บ้านมีหลายชั้น

ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า น้ำที่ท่วม ไม่ใช่น้ำใสๆครับ มันเป็นน้ำที่พัดมาจากไหนก็ไม่รู้ ทั้งดำทั้งเหม็น สิ่งปฏิกูลต่างๆก็อยู่ในนั้นแหล่ะ
ไหนจะยุง งู ตะขาบ จระเข้ ซากหนูตาย หมาแมวที่จมน้ำตาย สารพัดจะลอยมากับน้ำ
นึกภาพเราหนีไปอยู่ชั้น 2 หนีออกไปไหนไม่ได้ ชั้น 1 ที่ท่วม เป็นน้ำกึ่งๆเน่า เหม็นก็เหม็น จะอยู่กับมันได้มั้ยครับ?
และถ้ามันล้นขึ้นมาชั้นที่ 2 คุณจะยังมีชั้นที่ 3 ให้ขึ้นไปอยู่มั้ย ถ้าไม่มี แย่แล้วนะครับ เพราะถ้าล้นขึ้นมาอีก ตายสถานเดียว
 
    ลองดูน้ำท่วมที่ บางบัวทองครับ มิดหัวก็มี
   

     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 211  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:40

3) ภัยจากน้ำ

หลายคนคงจินตนาการว่า น้ำท่วม ก็คือ มีแต่น้ำ จะอันตรายก็แค่จมน้ำ
คิดผิดถนัดเลยครับ
ในน้ำที่มาท่วมเนี่ย มีสัตว์เลื้อยคลานลอยตามมาด้วย สิ่งปฏิกูลสารพัด ก็ติดมาด้วย
นึกภาพคุณกำลังว่ายน้ำอยู่ในสระใสๆ แล้วอยู่ๆมีก้อนเหม็นๆลอยมา ผะอืดผะอม อ้วกแตกกันหมด
แต่น้ำที่มาท่วม หนักกว่านั้นเยอะครับ ไม่ต้องดม แค่เห็นหลายคนก็อาจจะแหวะ แล้วก็ได้
มีโรคเบสิคๆอย่างน้ำกัดเท้า
หรือโรคร้ายแรงอย่างโรคฉี่หนู (Leptospirosis) ที่น่ากลัวมาก รุนแรงขนาดทำให้อวัยวะภายในล้มเหลว ถึงตายได้เลยทีเดียว
ยังมีข่าวที่เราเห็นอยู่ทุกวัน คือ ข่าวคนโดนไฟดูดตาย
ไฟฟ้ากับน้ำ นี่ไม่ถูกกันอย่างแรง และไฟฟ้า เป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นด้วยสายตาอย่างพวกจระเข้ งู นะครับ

 

น้ำที่ดูไม่มีอะไร แต่ถ้ามีไฟฟ้าเมื่อไหร่ ตายสถานเดียว ไม่มีใครช่วยคุณได้ (และก็เสี่ยงมากสำหรับคนที่จะเข้าไปช่วย)

 

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 212  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:41

4) ไม่ได้อยู่ในเขตเสี่ยง อีกนาน อยู่กรุงเทพมาเป็นสิบๆปี คงไม่ท่วมหรอก

รู้มั้ยครับ แผ่นดินไหว 8.9 ริคเตอร์ ที่ญี่ปุ่น จนเกิดสึนามึขนาดยักษ์เข้าถล่มประเทศ พังทุกอย่างจนราบ
นั่นคือ แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด ครั้งแรก ในรอบ 300 ปี ของญี่ปุ่น
นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งที่จมอยู่ตอนนี้ ตั้งแต่สร้างมา ไม่เคยโดนน้ำท่วมเลยนะครับ ปีก่อน จังหวัดอย่างนครราชสีมาหรือโคราชซึ่งเป็นที่ราบสูงกว่า กทม.มาก  ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก ครั้งแรกในรอบ 100 ปี ก็เกิดขึ้นมาแล้ว
ในช่วงชีวิตของเรา อาจจะไม่ได้เห็นภัยพิบัติ แต่ใช่ว่ามันจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลก
และถึงจะไม่เคยเห็นมาก่อน ใช่ว่ามันจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
ดังนั้น อย่าประมาทเด็ดขาด อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

    ดูคลิบของน้ำท่วมในหลายๆพื้นที่ได้ครับ

    http://www.youtube.com/watch?v=ty_Wltu2bIw    

เจอคนชิวๆ ไม่เตรียมอะไร นึกถึงพวกตัวละครที่ตายก่อนเพื่อนในหนังภัยพิบัติทุกเรื่องอ่ะ จะต้องมีไอ้ตัวนี้เป็นเหยื่อ (via @art3t)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 213  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:43

5) รอน้ำมาก่อน ค่อยหนีก็ได้
เข้ากับสุภาษิตไทย "ไม่เห็นโลงศพ ไม่หลั่งน้ำตา"
ความคิดแบบนี้เป็นความคิดที่แสดงถึงความประมาทอย่างมากครับ น้ำท่วม มาที ไม่ใช่แค่ไหลๆซึมๆ จะให้เราขับรถหนีไปแบบชิลล์ๆได้
น้ำมันมาทีมันมาแบบทะลัก ไหลมาด้วยปริมาณมหาศาลครับ บางที 10 นาที ท่วมไปครึ่งล้อรถ คือ ครึ่งชั่วโมง ท่วมมิดหัว แบบที่อยุธยาก็เกิดขึ้นมาแล้ว
ในเวลาแห่งความโกลาหล วินาทีวัดว่าจะตายหรือจะรอดเนี่ย คิดว่าจะมีเวลาเตรียมตัวอะไรมากมั้ยครับ น้ำมันไม่รอเราอยู่แล้ว
ถึงเราจะเร็วแค่ไหน เชื่อมั้ยครับ คนแถวบ้านคุณมีอีกเป็นร้อย เป็นพันครอบครัว แย่งกันขับรถออกมา คิดว่าจะไปไหนได้ไกลมั้ยครับ
ถ้าน้ำท่วมขนาดนั้น ขับรถเร็วไม่ได้ หรืออาจจะขับไปไม่ได้เลยด้วยซ้ำ
แถมเสี่ยงเครื่องยนต์ดับอีกต่างหาก (ซึ่งถ้ามันดับ คุณจะอยู่รอตายไปกับรถ เพราะเสียดายรถ หรือ จะทิ้งรถแล้วหนีเพราะเสียดายชีวิต)
ความโกลาหล จะเป็นอุปสรรคสำคัญในการเอาชีวิตรอดครับ

ยิ่งถ้าคุณไม่ใช่ตัวคนเดียว มีลูก มีครอบครัว มีพ่อแม่ มีคนสูงอายุ มีหมาแมว ลองคิดดูครับ ว่าคุณจะหนียังไง
ปกติ คุณอาจจะมีรถเก๋งคันเดียว ไม่เคยมีคนนั่งไปครบสมาชิก ที่ต้องการความจุระดับรถตู้ ใครจะเป็นคนหนี แล้วคนที่เหลือทำยังไง คิดกันรึยังครับ?
ถ้าหวังความช่วยเหลือจากทางการ ที่อาจจะมาหรือไม่มาทันเวลาก็ได้ ปัญหาที่ผมได้ยินมา คือ รถ 6 ล้อของทหาร สูงมาก คนแก่ปีนขึ้นไม่ไหว ต้องใช้คนแบกขึ้นไป ไหนจะลูกเล็กๆ ตัวเปี๊ยกๆ อีกล่ะ?
ตัวคนเดียว หนีไม่ยากหรอกครับ แต่ต้องเป็นห่วงความปลอดภัยของชีวิตคนที่คุณรักด้วย

และบางทีอาจจะเป็นการสร้างความลำบากให้กับทีมผู้ช่วยเหลือ แทนที่เค้าจะไปช่วยเหลือคนอื่น ที่โอกาสเป็นตายเท่าๆกัน อาสาสมัครหลายคนต้องมาเสียเวลาช่วยแต่ครอบครัวคุณ
ปัญหาเหล่านี้ เกิดจากการตัดสินใจที่ช้าเกินไป ในการตัดสินใจของเรารึเปล่า ลองคิดดูให้ดีนะครับ
    ลองดูคลิบนี้นะครับ ดูว่าระดับน้ำเวลามันมา จะเป็นยังไง

   

     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 214  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:46

6) ก่อกำแพง กระสอบทรายหน้าบ้านแล้ว รอด
การแก้ปัญหาน้ำ ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละที่ ใช้วิธีแก้ไขที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ลักษณะทางภูมิศาสตร์ล้อมรอบ ซึ่งต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญ ในการแก้ปัญหา
เราไม่ใช่ผู้รู้ขนาดนั้น รู้แค่ว่าจะกั้นไม่ให้มันเข้ามาบ้านยังไง แค่นั้นเอง ซึ่งไม่พอครับ
ทางที่น้าจะมา ไม่ใช่มีแค่หน้าบ้านเท่านั้นนะครับ รอบบ้านคุณป้องกันดีแค่ไหน
ที่สำคัญ น้ำมันจะทะลักมาทางท่อครับ ท่อระบายน้ำในบ้านของคุณ ไม่ใช่แค่ซึมๆนะครับ
แต่ในระดับ "ทะลัก" ซึ่งถ้าคุณไม่ได้ป้องกันไว้ บ้านคุณไม่เหลือแน่ ไม่มีทางป้องกันทัน เพราะมันจะเร็วจนตั้งตัวไม่ติด
และความดันน้ำที่มา มีพลังสูงมากครับ ที่เค้าเรียกกันว่า "มวลน้ำ"
ที่เห็นในข่าว นิคมต่างๆที่มีการป้องกันที่หนาแน่น คันป้องกันน้ำ มันพังได้ยังไง
มันพังได้ก็เพราะพลังจากแรงดันของน้ำ ที่จะคอยกัดเซาะ สิ่งที่กีดขวางมันอยู่ แค่ลำพังกระสอบทราย คงป้องกันได้ระดับนึงเท่านั้น
พวกนิคมต่างๆที่พัง เพราะ คันกั้นน้ำ อ่อนแอ (เพิ่งสร้าง คล้ายๆกับกำแพงที่เพิ่งก่อ ปูนย่อมไม่แห้งดี ประมาณนั้น)
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 215  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:47

และการที่หยุดมวลน้ำเหล่านี้ไว้ด้วยวิธีกั้น มันจะสะสมพลังงานไว้ พอได้ระดับนึง ก็จะเซาะสิ่งที่ปิดกั้นมันพังได้ (ซึ่งการปล่อยระบายบางส่วน คือ การลดพลังงานที่สะสมไว้)
ขนาดนิคม ยังกั้นไม่ได้ อย่าได้คิดว่า แค่กระสอบทรายหน้าบ้านที่คุณกรอกเอง หรือซื้อเค้ามา จะช่วยอะไรได้นะครับ

    ลองดูคลิบนี้ได้ครับ "น้ำท่วมนวนคร" ทั้งการทะลักของน้ำ และความโกลาหลที่เกิดขึ้น

   

     
ชีวิตทั้งชีวิตของเราและครอบครัว อย่าผูกมันไว้กับเงิน งาน ทรัพย์สินต่างๆ ไม่ต้องไปเสียดาย ไม่ต้องไปอาลัย ของแบบนี้ แม้ว่าจะดูพูดง่าย ตัดใจยาก แต่อย่าไปยึดติดนะครับ
    สตีฟ จ๊อบส์ ผู้ก่อตั้งบริษัท Apple ผู้ล่วงลับ เคยกล่าวเอาไว้ว่า "เราจะรู้ว่าอะไรสำคัญที่สุดในชีวิต ก็ต่อเมื่อเรากำลังจะตาย"
    ณ ช่วงวินาทีสำคัญของชีวิต
   สิ่งสำคัญที่สุดของคุณคือ "ความสำคัญของการมีชีวิตอยู"
   ไม่ใช่ รถ บ้าน ทรัพย์สินเงินทอง เหล่านี้
http://www.facebook.com/notes/marketing-hub/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9C%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%86-%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B8%97%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B8%A1/267445096632832
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 216  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 20:43

นี่ก็อีกความเห็นหนึ่งค่ะ

      ดร.วีระพันธ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ด้วยภูมิประเทศในกรุงเทพฯ เป็นแอ่งกระทะ คือพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกมีความสูงมากกว่าตรงกลาง ที่ผ่ากลางด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นที่ราบลุ่มต่ำ ดังนั้นการผันน้ำไปทางกรุงเทพฯ รอบนอกจึงทำได้อย่างล่าช้า ทางที่ดีที่สุดที่จะจัดการน้ำให้ไหลผ่านไปเร็ว ๆ คือการยอมให้น้ำผ่านเข้าตรงกลางกรุงเทพฯ และถ้าหากน้ำเข้ามาแล้วก็ต้องดูแลประชาชนให้เป็นอย่างดีด้วย

          ด้านนายคมสัน มาลิสี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า การที่ กทม. เปิดประตูน้ำในคลองประเวศ ไหลผ่านลาดกระบังไปคลองพระโขนง ทำให้น้ำบริเวณลาดกระบังลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จุดสำคัญอยู่ที่คลองพระโขนง ถ้าหากสามารถผลักดันน้ำเข้าสู่ของพระโขนง ซึ่งเป็นคลองที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สุดได้เร็วที่สุด จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายลง และไม่ควรให้น้ำขังที่คลองหกวามากเกินไป มิเช่นนั้นจะทำให้คันกั้นน้ำมีปัญหา ต้องสูบน้ำไปปล่อยลงแม่น้ำบางปะกง

http://www.oknation.net/blog/PRATUCHIANGMAI49/2011/10/26/entry-2
ผมเพิ่งดูข่าวช่อง 3 เมื่อตอนเย็น รองผู้ว่า กทม. ดร.ธีรชน มีแผนที่จะผันน้ำออกมาทางตะวันออกโดยบอกว่าเป็นทางเดินของน้ำตามธรรมชาติและจะมีการเจาะถนนสองสายคือ Motor way กับบางนาตราดเพื่อให้น้ำลงสู่เจ้าพระยาเร็วขึ้น ผมฟังข้อมูลจากรองผู้ว่าแล้วดูเหมือนจะขัดกับข้อมูลของ ดร.ธีรพันธ์ เพราะฝั่งตะวันออกของกรุงเทพจะสูงกว่าตรงกลางทำอย่างไรจะผันน้ำมาได้และจะใช้เวลากี่เดือนที่จะส่งน้ำไปยังเครื่องสูบเพราะจากคลองหกวาไปถึงเครื่องสูบน้ำทางด้านใต้นั้นไม่มีเครื่องมือใดๆเลยคงอาศัยจากการไหลของน้ำเท่านั้นและผมเห็นว่าน้ำจะค้างอยู่ในทุ่งหนองจอก คลองสามวา มีนบุรีและลาดกระบังเป็นเวลานานและอาจไม่ได้ผล ผมเห็นตัวอย่างจากคลองระพีพัฒน์ที่ตั้งใจจะผันน้ำไปยังแม่น้ำเจ้าพระยาและออกทางตะวันออกปรากฎว่าน้ำไหลลงทางประตูน้ำพระอินทร์เป็นจำนวนมากทำให้แถวรังสิตต่อเนื่องมาถึงดอนเมืองได้รับผลกระทบอย่างหนัก ผมไม่เชื่อว่าทำแบบ กทม.จะได้ผลหรือได้ผลก็จะใช้เวลานานมากเพราะผมเห็นตัวอย่างมาแล้วที่คลองระพีพัฒน์จนป่านนี้นำยังขึ้นไม่หยุดและจะอยู่ในทุ่งรังสิตอีกนาน ใครมีความเห็นเช่นใดครับ
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 217  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 21:05

4) ไม่ได้อยู่ในเขตเสี่ยง อีกนาน อยู่กรุงเทพมาเป็นสิบๆปี คงไม่ท่วมหรอก

รู้มั้ยครับ แผ่นดินไหว 8.9 ริคเตอร์ ที่ญี่ปุ่น จนเกิดสึนามึขนาดยักษ์เข้าถล่มประเทศ พังทุกอย่างจนราบ
นั่นคือ แผ่นดินไหวที่รุนแรงที่สุด ครั้งแรก ในรอบ 300 ปี ของญี่ปุ่น
นิคมอุตสาหกรรมทั้ง 7 แห่งที่จมอยู่ตอนนี้ ตั้งแต่สร้างมา ไม่เคยโดนน้ำท่วมเลยนะครับ ปีก่อน จังหวัดอย่างนครราชสีมาหรือโคราชซึ่งเป็นที่ราบสูงกว่า กทม.มาก  ปีที่แล้วน้ำท่วมหนัก ครั้งแรกในรอบ 100 ปี ก็เกิดขึ้นมาแล้ว
ในช่วงชีวิตของเรา อาจจะไม่ได้เห็นภัยพิบัติ แต่ใช่ว่ามันจะไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในโลก
และถึงจะไม่เคยเห็นมาก่อน ใช่ว่ามันจะไม่มีโอกาสเกิดขึ้น
ดังนั้น อย่าประมาทเด็ดขาด อะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น

    ดูคลิบของน้ำท่วมในหลายๆพื้นที่ได้ครับ

    http://www.youtube.com/watch?v=ty_Wltu2bIw    

เจอคนชิวๆ ไม่เตรียมอะไร นึกถึงพวกตัวละครที่ตายก่อนเพื่อนในหนังภัยพิบัติทุกเรื่องอ่ะ จะต้องมีไอ้ตัวนี้เป็นเหยื่อ (via @art3t)
บันทึกการเข้า
pathuma
ชมพูพาน
***
ตอบ: 110


ความคิดเห็นที่ 218  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 21:14

ผมขอเห็นต่างจากข้อมูลเรื่องนิคมอุตสาหกรรมว่าน้ำไม่เคยท่วมนั้น จริงๆแล้วพื้นที่ที่สร้างนิคมอุตสาหกรรมในจังหวัดอยุธยานั้นเดิมเป็นที่ท้องนา สมัยก่อนน้ำท่วมทุกปีบางปีท่วมหนักมาก ปีที่สร้างถนนสายเอเซียนั้นในช่วงบางปะอินกับช่วงวังน้อยน้ำท่วมอย่างหนักแถวถนนโรจนะจนถึงวังน้อยผืนน้ำกว้างราวกับทะเล ผมคิดว่าเป็นเรื่องของการเลือกทำเลจากการหาประโยชน์จากฝ่ายการเมืองมากกว่า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 219  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 21:24

"ดร.เสรี ศุภราทิตย์ "ค้านตัดถนน อ้างไม่มีประโยชน์ แนะรื้อกั้นน้ำคลอง 9-13 และเร่งระดมเครื่องสูงน้ำอย่างน้อย 10 ตัวน่าจะมีประโยชน์มากกว่า

ดร.เสรี ศุภราทิตย์  ผู้เชี่ยวชาญภัยพิบัติจากมหาวิทยาลัยรังสิต และผู้อำนวยการศูนย์พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม และผู้จัดการใหญ่อุทยานสิ่งแวดล้อมนานาชาติสิรินธร  ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของภาคเอกชนที่ให้ตัดถนนฝั่งตะวันออก 5 เส้นเพื่อระบายน้ำ เนื่องจากเข้าเห็นว่าไม่มีประโยชน์ เนื่องจากน้ำฝั่งบางปะกง สูงกว่าฝั่งกรุงเทพ ดังนั้นทางออกที่ดีคือ รื้อกั้นน้ำตั้งแต่คลอง 9-13 และระดมเครื่องสูลน้ำอย่างน้อย 10 ตัว เพื่อสูบน้ำออกน่าจะมีประโยชน์ และแก้ปัญหาได้ตรงที่สุด

"เราต้องหาทางระบายน้ำ 50 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ออกไป และการรื้อคันกั้นน้ำ และระดมเครื่องสูบน้ำ จะช่วยได้มากกว่า เพราะการเสนอตัดถนน ต้องพิจารณาระดับน้ำ ด้วย ภาคเอกชนที่เสนอให้ตัดถนน ต้องรับผิดชอบด้วยหากไม่ได้ผล" ดร.เสรี ให้สัมภาษณ์ TPBS เมื่อช่วงบ่ายที่ผ่านมา

 ทั้งนี้เมื่อช่วงเช้ากลุ่มผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมและทรัพยากรน้ำชาวไทย นำโดย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานบริหารบริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด นายชูลิต วัชรสินธุ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านทรัพยากรน้ำ และนายทศพร ศรีเอี่ยม ผู้เชี่ยวชาญด้านโยธา ได้เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ศูนย์ปฎิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ท่าอากาศยานดอนเมือง เพื่อเสนอแนวทางในการระบายน้ำในพื้นที่ตะวันออกของ กทม.
 
โดยเสนอให้ทำการขุดเจาะตัดถนนจำนวน 5 เส้น ทาง เพื่อเปิดทางให้น้ำไหลผ่านได้รวดเร็วขึ้น เนื่องจากพบว่าระบบระบายน้ำยังทำงานได้ไม่เต็มที่ เพราะไม่สามารถผันน้ำเขาเครื่องสูบน้ำได้มากเพียงพอ

  5 เส้นทาง ได้แก่ ถ.ประชาร่วมใจ ถ.ราษฎร์อุทิศ ถ.สุวินทวงศ์ ถ.ร่วมพัฒนา และ ถ.นิมิตรใหม่ ซึ่งจะมีการเจาะผ่านถนนดังกล่าวประมาณ 5-6 เมตรต่อจุด โดยเราจะพยายามรวบรวมผู้รับเหมาก่อสร้างทางภาคเอกชนมาช่วยเหลือการขุดเจาะถนน โดยจะใช้เวลาเพียง 2-3 ชม.ก็ตัดเสร็จ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 220  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 21:36

ผมเห็นด้วยกับการตัดเจาะถนนที่ขวางทางน้ำครับ

แต่

แต่ต้องให้ทหารช่างจากราชบุรีมาเตรียมทำสพานสนามไว้ให้พร้อม พอตัดเสร้จก็ให้วางทุ่นสร้างสพานเลย อย่าให้ระบบคมนาคมขาดครับ
จราจรช้าลงได้ แต่กทม.จะต้องไม่ถูกตัดขาดจากจังหวัดใกล้เคียง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 221  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 09:41

เอามาลงไว้ให้จำ

ภาพถ่ายดาวเทียม GeoEye ที่เผยแพร่โดย NUS: National University of Singapore วันที่ 23 ตค.54

โดยเป็นพื้นที่บริเวณอยุธยา ตรงวัดพนัญเชิงวรวิหาร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 222  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 09:43

23 ตค.54 โดยเป็นพื้นที่บริเวณอยุธยา ตรงวัดใหญ่ชัยมงคล


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 223  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 10:19

ภาพถ่ายจากดาวเทียม เห็นกระแสน้ำน่ากลัวมาก   ตกใจ

แบ่งคลิปวิดีโอจากกระทู้น้ำท่วมมาไว้ที่นี่บ้าง  ไว้เตือนใจในปีหน้า หากว่าเราจะต้องเผชิญน้ำเหนือไหลบ่าลงมาอย่างปีนี้อีก

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 224  เมื่อ 28 ต.ค. 11, 13:54

นิด้าชี้ผังเมืองต้นเหตุน้ำท่วมสูญเสียหนัก แนะรัฐต้องกล้าจัดการผังเมืองใหม่    

นักวิชาการนิด้าเผยสาเหตุน้ำท่วมไทยหนัก ดินถล่มเกิดจากการใช้ที่ดินผิดอย่างไร้ทิศทาง เพราะนักการเมือง อดีตข้าราชการแสวงหาประโยชน์จนประเทศเสียหายจากน้ำท่วมมหาศาล มีการสร้างนิคมอุตสาหกรรม บ้านจัดสรร สิ่งปลูกสร้างขวางทางน้ำ จ.อยุธยาถูกล้อมด้วยโรงงาน แนะจัดระเบียบผังเมืองใหม่ เชื่อจะทำให้ประเทศชาติประหยัดงบจำนวนมาก โดยพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมควรตั้งใกล้เส้นทางขนส่งทางน้ำ เพื่อประหยัดค่าขนส่งและเอื้อต่อการส่งออก อีกทั้งคลังยังมีรายได้จากการเก็บภาษีที่ดินจากพื้นที่เศรษฐกิจที่ปลอดน้ำ จี้รัฐเร่งดำเนินการโยนทิ้งระบบอุปถัมภ์ กล้าทำในสิ่งที่ถูกต้องก่อนประเทศสูญเสียมหาศาล...

รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า จากเหตุการณ์น้ำท่วม น้ำแล้งและดินโคลนถล่มในประเทศไทย กำลังส่งสัญญาณสำคัญว่า ประเทศไทยจะปล่อยให้การดำเนินกิจกรรมต่างๆ เป็นไปอย่างไร้ทิศทางตามที่เศรษฐีต่างชาติ นักการเมือง หรืออดีตข้าราชการผู้ใหญ่สามารถใช้เงินวิ่งเต้นทำอะไรก็ได้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตัวโดยไม่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และให้ประเทศต้องรับภาระความเสียหาย กรณีน้ำท่วมประเทศไทยที่สร้างความสูญเสียมหาศาลและถูกอ้างเสมอว่าเกิดขึ้นเพราะฝนตกชุก

แต่แท้จริงแล้วต้นตอสำคัญของน้ำท่วม คือ การใช้ที่ดินผิดประเภทจากการแสวงหาประโยชน์ มีการใช้ที่ดินอย่างไร้ทิศทาง เช่น พื้นที่ชายเขากลายเป็นสวนยางพาราหรือไร่ส้ม ทำให้ชุมชนด้านล่างต้องเผชิญกับปัญหาดินโคลนถล่ม หรือกลุ่มทุนใช้พื้นที่ต้นน้ำในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งได้ทำลายความสามารถของธรรมชาติในการทำหน้าที่เป็นฟองน้ำหรืออ่างเก็บน้ำธรรมชาติ เพื่อดูดซับน้ำฝนและอุ้มน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง จนนำมาสู่ปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งที่เป็นอยู่ทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 13 14 [15] 16 17 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 20 คำสั่ง