เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71138 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 10:13

ผมเอาพนังนี้ ไปเสนอความคิดไว้ที่พันทิป ในห้องหว้ากอ ถูกเกรียนคนหนึ่งเข้ามาถ่มถาม

อ้างถึง
ไอ้ที่มันคุ้มกะลาหัวคุณอยู่กันน้ำไม่ให้ท่วมนี่ละมันคือกระสอบทรายโง่ๆที่คุณดูถูกอยู่นี่แหละ

พนังเหล็กแบบนี้ เข้าได้ไหม ในพื้นที่เล็กๆ แถมเป็นโคลนริมตลิ่ง จะเอาอะไรยึดเกาะ และที่สำคัญ คุณมีปัญญากั้นแนวหลายกิโลหรือไง ที่คุณเห็น มันแค่กั้นสั้นๆ เจอน้ำ สองเมตร จะกั้นยังไงไหว ถ้าเป็นกระสอบทราย มันยังเสริมแนวได้ ไอ้นี่ มันจะเสริมแนวยังไง ขอถาม
จากคุณ   : ด่าง


ผมไม่ได้ตอบคุณด่างไป เพราะคิดว่าไร้ประโยขน์ ช่างเถอะตอนนี้บ้านเมืองมันวิปริตเต็มที

คือผมไม่ได้คิดว่ากระสอบทรายเป็นวัสดุที่ไร้ประโยขน์ ควรเลิกใช้ให้หมด ใครคิดอย่างนั้นก็โง่เต็มทน กระสอบทรายใช้งานบางอย่างได้ดี เช่นการนำไปใช้ในสถานที่คับแคบจำกัด การอุดพื้นที่ไม่กว้างใหญ่เกินไป หรือใช้วางทับช่องระบายของท่อต่างๆที่ไม่ต้องการให้น้ำไหลย้อน เพราะมันเล็กและสะดวก
แต่สถานที่ที่ไม่มีข้อจำกัดดังกล่าว ดังในรูปถ่ายที่ผมนำมาให้ดูยังมีอีกแยอะแยะ จะยาวเป็นกิโลๆก็ยิ่งต้องคิดใหม่ทำใหม่

ในการต่อสู้กับข้าศึกนั้น ทหารต้องการอาวุธหลากหลายชนิด อย่างปืนก็ตั้งแต่ปืนใหญ่ ปืนเล็ก ไปจนปืนพก สำหรับใช้งานที่แตกต่างกัน ฉันใด การต่อสู้กับน้ำท่วม ก็ต้องการวัสดุและวิธีการ หลากหลาย ฉันนั้น

มีบางความเห็นบอกทำนองว่ากระสอบทรายเหมาะอยู่แล้ว เพราะพนังกั้นน้ำสำเร็จรูป จะถูกโขมย หรือถูกพังได้ง่าย

ผมก็อยากให้คิดทีละเรื่อง เราควรพูดกันเรื่องหลักการก่อน หากหลักการใช้ได้ ค่อยลงไปว่าในรายละเอียด
เรื่องนี้นั้น ควรจะรับหลักการไหมว่า ถึงเวลาแล้วที่เมืองไทยควรจะคิดถึงระบบป้องกันน้ำสำเร็จรูป ใช้ง่ายเก็บง่าย สำหรับการนำมาใช้ทุกๆปี แทนที่จะก่อกระสอบทรายใช้แบบครั้งเดียวทิ้ง

การใช้กระสอบทรายไปก่อพนัง ชนิดที่ทำทีเป็นหมื่นเป็นแสนลูก เกณฑ์คนมาบรรจุ และจัดเรียงเป็นร้อยเป็นพันคน ถ้ามันมีวีธีอื่นที่ในโลกเขาทำกันสำเร็จมาแล้ว เราจะไม่เปิดหูปิดตาดูเขาบ้างหรือ
หรือคิดว่าไม่ควร เพราะคนไทยขี้โขมย หรือบ้านนี้เมืองนี้ ผู้มีอำนาจรัฐไม่มีปัญญาจะป้องกันรักษาประโยชน์ส่วนกลางของประชาชนได้ ใครอยากมาทำลายก็ใช้กฏหมู่ยกพวกมากระทำได้ง่ายๆ ฉะนั้นเราจึงไม่ควรเปลืองสมองคิดอะไรใหม่ๆให้เสียเวลา กระนั้นหรือ ?


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 10:37

พันทิปเป็นเว็บใหญ่ มีคนสารพัดแบบ  ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างเครียด  ถือว่านานาจิตตังค่ะ
คนที่เห็นประโยชน์ของกระทู้คุณ Navarat ก็มีไม่น้อย ในกระทู้นั้น   มีคนค้านคนเดียว และค้านด้วยอารมณ์  คนอื่นก็ไม่มีใครเห็นด้วยกับเขา

ดิฉันยังมีคำถามว่า พนังแบบที่คุณ Navarat หารูปมาให้ดู   สามารถต้านแทนแรงน้ำที่มีพลังมากๆ ได้มากน้อยแค่ไหนกว่ากระสอบทรายหนักๆคะ
เพราะดิฉันยังดูไม่ออกว่า แบบไหนสามารถกันน้ำที่มาแรงได้  กับแบบไหนกันน้ำที่ค่อยๆเอ่อท่วมขึ้นมาแบบท่วมขัง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 10:41

ตามไปอ่าน

มาดูพนังกั้นน้ำสำเร็จรูป ติดตั้งง่าย เก็บง่าย ไม่ทิ้งความสกปรกไว้ ใช้ได้หลายปี

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 11:05

อ้างถึง
ดิฉันยังมีคำถามว่า พนังแบบที่คุณ Navarat หารูปมาให้ดู สามารถต้านแทนแรงน้ำที่มีพลังมากๆ ได้มากน้อยแค่ไหนกว่ากระสอบทรายหนักๆคะ
เพราะดิฉันยังดูไม่ออกว่า แบบไหนสามารถกันน้ำที่มาแรงได้ กับแบบไหนกันน้ำที่ค่อยๆเอ่อท่วมขึ้นมาแบบท่วมขัง

ผนังแบบนี้คงไม่เหมาะที่จะไปรับแรงปะทะของน้ำที่วิ่งมาชน อันนั้นบางทีคอนกรีตก็ยังรับไม่ไหว
 
แต่ถ้าน้ำท่วมเอ่อ  หรือน้ำวิ่งผ่าน ก็ขึ้นอยู่กับความสูงของน้ำ  ผมคิดว่าสูงสุดที่น่าจะรับได้คงประมาณ๒เมตร
แต่คงต้องเสริมโครงสร้างตัวค้ำยันเพิ่ม ถ้าน้ำสูงกว่านั้น ควรรู้ล่วงหน้าก่อนแล้ว และไปตั้งรับในแนวที่ระดับน้ำจะไม่สูงกว่าที่พนังจะรับได้  นอกพนังก็ต้องยอมให้ท่วมไป

ในรูปนี้จะเห็นว่า ตัวขาที่พื้นยังมีร่องให้เสียบค้ำยันอีกมาก ถ้าระดับน้ำสูงกว่าที่คิด ก็สามารถไล่เสริมค้ำยันได้

แล้วเห็นไหมครับ เขาไม่ได้ไปทำในแนวต่ำติดตลิ่ง เขาถอยมาตั้งรับที่แนวสูงบนถนน



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 15:20

นี่เป็นอีกมุมมองหนึ่ง ว่าทำไมประชาชนไม่ได้เรียนรู้อะไรเกี่ยวกับน้ำท่วม  ที่จริงคือเขาสับสนว่าจะเดินไปทางไหนดีถึงจะรอดพ้น
เครดิต กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

เราไม่ได้ขาดความรู้เรื่องน้ำ เราขาดผู้นำกำหนดยุทธศาสตร์
โดย กาแฟดำ

คนไทยที่เฝ้าติดตามข่าวสารเรื่องน้ำท่วมทางสื่อต่างๆ รวมทั้งการแถลงข่าวของ “ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย” หรือ ศปภ. ย่อมตัดสินใจได้เองว่าเชื่อหรือไม่เชื่อใครมากน้อยเพียงใด
ความเชื่อหรือไม่เชื่อนั้น บ่อยครั้งคนรับสารก็แยกระหว่าง “หน่วยงาน” อย่าง ศปภ. กับ “ตัวบุคคล”
บางทีเชื่อคนแต่ไม่เชื่อองค์กรก็มี
เพราะเมื่อเป็นข้อมูลข่าวสารจาก “ทางการ” ที่ตรงกันข้ามกับที่ “ผู้รู้” ด้านเอกชนอธิบาย หรือแตกต่างไปจากภาพที่เห็นจากสื่อ ความน่าเชื่อถือของทางราชการก็เสื่อมถอยทันที
ยิ่งหากวิธีการนำเสนอของ ศปภ. ขาดความเป็นมืออาชีพ ไม่รวดเร็วทันกาล และใช้ภาษาที่ชาวบ้านทั่วไปฟังแล้วสับสนงุนงง ก็ยิ่งทำให้ผู้ติดตามข่าวสารขาดความเชื่อถือ
หรือไม่ก็กลายเป็นสภาพ "ทางการเตือนอะไร เราเชื่อตรงกันข้าม" ก็มี
ซึ่งแน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ทำให้สถานการณ์ที่ย่ำแย่อยู่แล้วเสื่อมทรุดหนักหน่วงลงไปอีก
ยิ่งเมื่อหลายๆ คน ที่อยู่ในฐานะจะรู้อะไรมากกว่าชาวบ้านทั่วไป รวมถึงรัฐมนตรีบางท่านออกมาขอให้รัฐบาล “พูดความจริงทั้งหมด” กับประชาชน อย่า “แทงกั๊ก” ก็ยิ่งทำให้เกิดความสงสัยว่าสิ่งที่รัฐบาลสื่อสารกับประชาชนนั้นเชื่อได้มากน้อยเพียงใด
ประชาชนจึงหันไปติดตามข่าวสารจากแหล่งข่าวเอกชนอื่นๆ ที่ไม่ใช่ทางการเพื่อจะให้รู้ว่าตัวเองจะต้องทำอะไรบ้าง ที่ไหนจะท่วม  ท่วมเมื่อไร นานเท่าไร  และหากตนเองเจอสถานการณ์เช่นนั้น จะทำอย่างไร
 ต้องไม่ลืมว่าคนนครสวรรค์ อยุธยา อ่างทอง  ลพบุรี  ปทุมธานี  นนทบุรี และจังหวัดใกล้เคียงอื่นๆ นั้นไม่ได้รับคำเตือนว่าจะต้องทำตัวอย่างไรล่วงหน้าจากสื่อทางการเพียงพอ การรับสถานการณ์จึงเป็นไปอย่างทุลักทุเลเต็มที
 หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา คนไทยได้ฟังการวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมจากผู้รู้ที่เป็นนักวิชาการซึ่งฟังแล้วน่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และทำให้คนทั่วไปเห็นภาพได้ชัดเจนขึ้น
 ไม่ว่าจะเป็น คุณอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา คุณปราโมทย์ ไม้กลัด คุณศศิน เฉลิมลาภ คุณเสรี ศุภราทิตย์ หรือ Team Group ที่เกาะติดข่าวสารเรื่องน้ำท่วมและเตือนคนไทยในภาคส่วนต่างๆ ว่า จะเกิดอะไรขึ้นในวันข้างหน้า
 แต่เราไม่อาจจะทราบได้ว่านายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ตัดสินทำหรือไม่ทำอะไรเกี่ยวกับการแก้ปัญหานี้ ด้วยการฟังการวิเคราะห์ของ “นักวิชาการอิสระ” เหล่านี้มากน้อยเพียงใด และแม้นายกฯ จะเชื่อตามนี้แล้ว จะสามารถสั่งการให้เป็นไปในทิศทางที่ควรจะเป็นหรือไม่
 เพราะมีข่าวออกมาตลอดว่า ณ ที่ทำการของ ศปภ. นั้น คลาคล่ำไปด้วยนักการเมืองจากหลายๆ ส่วนของรัฐบาลที่ต่างคนต่างก็สั่งการในด้านที่จะปกป้องผลประโยชน์ของตน หรือไม่ก็สามารถจะขับเคลื่อนกลไกราชการด้วยบารมีส่วนตัว หรือความคุ้นเคยของตนกับหน่วยงานของรัฐ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 15:21

อีกทั้งการประสานงานระหว่าง ศปภ. กับ กทม. ก็มีปัญหาความไม่ลงรอยกันหลายด้าน
เชื่อไหมว่า ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าฯ กทม. ที่แถลงเตือนประชาชนในหกเขตทางเหนือของ กทม. เมื่อกลางดึกวันอาทิตย์นั้นไม่สามารถจะออกทีวีทางการช่องไหนเลย ต้องเรียกนักข่าวไปแถลง และ “โฟนอิน” กับบางสถานีที่สนใจเท่านั้น
แสดงว่ากลไกการสื่อสารของทางการเป็นอัมพาตเสียอย่างน้อยครึ่งหนึ่ง
ซึ่งก็แปลว่าความรู้และการวิเคราะห์จากผู้รู้ที่ไม่มีผลประโยชน์ซ่อนเร้นทางการเมืองนั้นไม่ได้รับการนำไปปฏิบัติอย่างจริงจังหรือไม่นั้น ไม่มีใครยืนยันได้
ผมฟังท่านผู้รู้ทางน้ำหลายๆ ท่านที่ได้เอ่ยชื่อมาแล้วก็มีข้อสังเกตว่า
เวลาไปนั่งออกอากาศกับ ศปภ. ทางช่อง 11 นั้น ท่านมีอาการเกร็ง พูดจาอธิบายความไม่ชัดถ้อยชัดคำเท่าไรนัก
ไม่เหมือนตอนไปออกอากาศกับทีวีเอกชนหรือคลื่นวิทยุทั้งหลายที่ฟังดูจะแจ้ง กล้าฟันธง เหมือนไม่ต้องเกรงใจใครที่มีตำแหน่งแห่งหนทำนองนั้น
แม้เมื่อนายกฯ กับผู้ว่าฯ กทม. “ควง” กันไปตรวจจุดน้ำท่วม กทม. หลายจุดเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ผมก็ยังไม่แน่ใจว่าตรวจเสร็จแล้วท่านนั่งลงถกเรื่อง “ยุทธศาสตร์” บริหารมหามวลน้ำตรงกันหรือไม่อย่างไร...เพราะผมยังไม่เห็นท่านทั้งสองออกแถลงข่าวพร้อมๆ กันให้ประชาชนได้เห็นเป็นประจักษ์
ผมอยากเห็นนายกฯ ผู้ว่าฯ กทม. และ “ผู้เชี่ยวชาญน้ำ” ที่เสนอบทวิเคราะห์ผ่านสื่อหลายท่านออกแถลงข่าวกับสาธารณชนพร้อมกัน เพื่อบอกเราว่า “จะเอายังไงกันแน่”
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/opinion/suthichaiyoon/20111026/415719/news.html
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 16:05

นี่ก็อีกความเห็นหนึ่งค่ะ

      ดร.วีระพันธ์ ชินวัตร คณบดีคณะสถาปัตยกรรมและการออกแบบ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า ด้วยภูมิประเทศในกรุงเทพฯ เป็นแอ่งกระทะ คือพื้นที่ฝั่งตะวันออกและตะวันตกมีความสูงมากกว่าตรงกลาง ที่ผ่ากลางด้วยแม่น้ำเจ้าพระยา จึงเป็นที่ราบลุ่มต่ำ ดังนั้นการผันน้ำไปทางกรุงเทพฯ รอบนอกจึงทำได้อย่างล่าช้า ทางที่ดีที่สุดที่จะจัดการน้ำให้ไหลผ่านไปเร็ว ๆ คือการยอมให้น้ำผ่านเข้าตรงกลางกรุงเทพฯ และถ้าหากน้ำเข้ามาแล้วก็ต้องดูแลประชาชนให้เป็นอย่างดีด้วย

          ด้านนายคมสัน มาลิสี รองคณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กล่าวว่า การที่ กทม. เปิดประตูน้ำในคลองประเวศ ไหลผ่านลาดกระบังไปคลองพระโขนง ทำให้น้ำบริเวณลาดกระบังลดลงอย่างรวดเร็ว ทั้งนี้จุดสำคัญอยู่ที่คลองพระโขนง ถ้าหากสามารถผลักดันน้ำเข้าสู่ของพระโขนง ซึ่งเป็นคลองที่ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยาที่สุดได้เร็วที่สุด จะทำให้ปัญหาน้ำท่วมคลี่คลายลง และไม่ควรให้น้ำขังที่คลองหกวามากเกินไป มิเช่นนั้นจะทำให้คันกั้นน้ำมีปัญหา ต้องสูบน้ำไปปล่อยลงแม่น้ำบางปะกง

http://www.oknation.net/blog/PRATUCHIANGMAI49/2011/10/26/entry-2
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 09:23

คลิปนี้ทำออกมาน่ารักมาก  ทำให้เข้าใจเรื่องน้ำท่วม ด้วยคำอธิบายอย่างง่ายๆ  ไม่สับสนเหมือนแถลงการณ์ก่อนหน้านี้

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 09:26

คลิป ตอนที่ 2

http://www.youtube.com/watch?v=LY7a88olbek&feature=youtu.be&hd=1
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 11:53

นี่ก็ดีครับ

บันทึกการเข้า
Thida
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 17:16

ขอบคุณนะคะ กระทู้นี้ให้ข้อมูลและให้ความรู้ดีมากๆ เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 206  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 17:31

ขอบคุณที่เข้ามาบอกครับ

ตอนนี้ติดน้ำจะท่วม ทำอะไรไม่ได้ก็อยากจะใช้เวลาให้มีเป็นประโยชน์บ้าง ดีกว่าอยู่เฉยๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 207  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:34

ไปเจอข้อเขียนใน Facebook ที่เป็นประโยชน์ สำหรับผู้อยู่ในพื้นที่เสี่ยงค่ะ

ความเชื่อผิดๆ ในภาวะน้ำท่วม
1) ซื้อเสบียงมาแล้ว อยู่ได้เป็นเดือน โดนน้ำปิดทางเข้าออก ก็ไม่กลัว

หลายวันที่ผ่านมา ห้างค้าปลีกในกทม. มีแต่คนไปแย่งซื้อของ แย่งกันตุน
ไม่ว่าจะเป็น เนื้อหมู ไข่ไก่ ผัก ผลไม้ มาม่า ปลากระป๋อง ข้าวสาร 
แน่นอนว่า การตุน ทำให้ทุกคนอุ่นใจ
มีมาม่า 3 โหล มี ปลากระป๋องพอกินได้เป็นเดือนๆ
สิ่งเหล่านี้แทบจะหมดค่าไป ถ้าที่อยู่อาศัยของคุณถูกการไฟฟ้าตัดไฟ
แล้วยังจะทำอะไรได้อีกครับ เจอแบบนี้?

ถ้าอยู่บ้าน ก็โชคดีหน่อย เนื้อหมู ไข่ไก่ ข้าว สามารถหุงหรือทำให้มันร้อน สุก ได้โดยใช้เตาแก้ส
แต่ถ้าอยู่คอนโด ชีวิตลำบากแล้วครับ เพราะนิติบุคคลคงไม่อนุญาตให้เราใช้เตาแก้สแน่นอน เพราะเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
แทบจะหมดโอกาสต้มมาม่า หุงข้าว เลยนะครับ
อย่างมากก็เอาขนมขบเคี้ยวมากิน (แล้วมันจะอิ่มมั้ย กินมากๆอันตรายต่อร่างกายด้วยนะครับ มีแต่แป้งกับไขมัน จากน้ำมันที่ทอด ยิ่งพวกมันฝรั่งทอดนี่ตัวดี)
และอาจจะมีปลากระป๋องที่เปิดกินได้เลย ไม่ต้องผ่านกรรมวิธีการปรุงอะไร

อ้อ!! อย่าลืมนะครับ ไม่มีไฟฟ้า ตู้เย็นก็ไม่ทำงาน เสบียงที่ตุนมา ไม่ช้าก็เน่าเสีย คาตู้เย็นน่ะแหล่ะ

และถ้าไฟดับ WiFi หรืออินเตอร์เน็ต ที่บ้านคุณก็ใช้ไม่ได้ทันที ทีวี วิทยุก็ใช้ไม่ได้
สิ่งที่คุณทำได้ คือ การใช้มือถือ หรือสมาร์ทโฟน ต่อเน็ต เพื่อเช็คข่าวสารต่างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 208  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:35

ซักสองสามทุ่ม แบตมือถือก็หมดแล้วครับ จะชาร์จ ก็ชาร์จไม่ได้ เพราะไม่มีไฟฟ้าให้ชาร์จ
พอโทรศัพท์แบตหมด คุณก็จะถูกตัดขาดจากโลกภายนอกทันที
คุณไม่สามารถโทรหาใครได้ และไม่มีใครโทรติดต่อหาคุณได้เช่นกัน
ทีวี วิทยุ ก็ใช้ไม่ได้ คุณไม่มีโอกาสที่จะรู้ข่าวสาร ความเคลื่อนไหวทุกอย่างในโลกใบนี้
นึกถึงความรู้สึกตอนแบตมือถือคุณหมดสิครับ หงุดหงิด รำคาญใจมากขนาดไหน
เล่น Facebook Twitter แก้เซ็งก็ไม่ได้ เพราะแบตมือถือหมดแล้ว แทบจะลงแดง
แน่นอนว่า ถ้าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น คุณจะอาการหนักกว่านั้นอีกหลายเท่า

การใช้ชีวิตกับความมืด อากาศก็ร้อน แม้แต่พัดลมยังใช้งานไม่ได้ ให้ลองนึกภาพเวลาไฟดับ แค่ 2 ชั่วโมง เราก็แทบจะขาดใจ อากาศจะหายใจยังไม่ค่อยมี ยังร้อนอีก
ใช้ชีวิตยากกว่าเดิม ลำบากกว่าเดิม หลายเท่า

และถ้าเลวร้าย ไฟดับเป็นอาทิตย์แบบแฟลตแถวดอนเมือง ที่ออกข่าวช่อง 3 ไป คิดว่าจะอยู่กันได้มั้ยครับ?
1 อาทิตย์ ไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำใช้ ท่ามกลางน้ำสูงระดับ เอว ไปไหนกันไม้ได้ทั้งแฟลตเลย ท่ามกลางน้ำเน่าที่ท่วมรอบแฟลต
ยิ่งถ้าถูกตัดน้ำ จะทำยังไงครับ?

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 209  เมื่อ 27 ต.ค. 11, 18:37

น้ำต้องใช้กิน ใช้ประกอบอาหาร คุณอาจจะตุนน้ำดื่มไว้ สามโหล พอกินไปเป็นเดือนๆ
แต่น้ำที่ใช้อาบ ชำระร่างกาย หรือ เวลาขับถ่าย จะมีน้ำพอใช้รึเปล่า
เราอาจจะไม่อาบน้ำได้เป็นอาทิตย์ๆ แต่เราก็ยังต้องขับถ่ายปกติ
รู้มั้ยครับว่า การกดชักโครกที น้ำหายไป 6 ลิตร เป็นอย่างน้อย (นอกจากใช้รุ่นประหยัดสุดๆ 4 ลิตร) ถ้าถูกตัดน้ำ ก็ทำธุระส่วนตัวแค่ทีเดียว กดน้ำทีกดเกลี้ยงแล้ว ครั้งต่อไป คุณจะทำยังไง เอาน้ำดื่มที่คุณตุนมาราด ต้องเสียไปครั้งละ 6 ขวดลิตรเลยนะครับ?

ทางแก้ คือ ถ่ายใส่ถุงดำที่เตรียมไว้ แต่ถ้าหลายวัน จะทนได้เหรอครับ ไม่มีรถขยะมาเก็บขยะให้เราแล้วนะ
อย่าลืมว่า เพื่อนบ้านคุณ อาจจะไม่ได้ถ่ายใส่ถุงดำอย่างคุณ เค้าอาจจะใส่ถุงแล้วโยนทิ้งลงน้ำมาก็ได้ (ใครจะอยากเก็บไว้กับตัวเองล่ะ)
สิ่งเหล่านี้มันก็จะลอยตามน้ำมา และอาจจะหยุดอยู่ที่บ้านคุณ (แค่คิดก็สยองแล้ว)

จะสยองกว่านี้อีกครับ เพราะระบบการระบายของบ้านและคอนโด จะทำงานไม่ได้ เพราะมันเต็มไปด้วยน้ำมากมาย เกิดอาการทะลักของสิ่งปฏิกูลในบ้านและคอนโด เพิ่มเข้ามาอีก 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14] 15 16 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง