เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71435 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:19

การติดตั้งในสถานที่จริง จะต้องทำได้ในทุกสภาพพื้นผิวดิน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:21

เสริม ยืดระดับความสูงได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:26

ตัวอย่างการติดตั้ง

ดูแล้วใช้คนไม่มาก เทียบกับพื้นที่กั้นน้ำ อย่างนี้พวกหนุ่มสาวจิตอาสาทั้งหลายคงบอกว่า ส บ า ย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:29

ด้านรับน้ำ สำคัญที่ตัวผ้าพลาสติก ต้องทอดตัวออกให้ได้ระยะ น้ำหนักน้ำที่ท่วมจะกดทับไม่ให้มวลน้ำแทรกผ่านผิวพื้นเข้ามาหลังพนังได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:32

ด้านหลัง

ผนังจะถ่ายน้ำหนักมวลของน้ำไว้ และถ่ายลงค้ำยัน ให้พนังอยู่นิ่งในระหว่างน้ำไหลอยู่ข้างนอก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:33

น้ำมาแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:44

ผมอยากเสนอให้หน่วยงานของรํฐ เช่นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ฯ ทำงานวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะไว้ต่อสู้กับวิบัติภัยที่เกิดซ้ำซากในประเทศนี้บ้าง และอยากให้รัฐส่งเสริมเอกชนที่ทำการวิจัยและผลิตของพวกนี้ออกสู่ตลาด

หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรม กอง ของกระทรวงใด จังหวัดเอง หรือ อบจ. อบต. กทม.ฯลฯ ควรมีของพวกนี้เก็บไว้ประจำคลังพัศดุ เพราะจะได้ใช้ทุกปี ปีไหนที่นี่ไปท่วมก็ให้ที่นั่นที่ท่วมขอยืมไปใช้ได้

หวังว่า ข้อเสนอนี้คงจะไม่ได้ขออะไรมากไปจนทำไม่ได้นะครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 08:57

ดูดีกว่ากระสอบทรายแยะเลยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 09:05

แบบนี้น่าจะติดตั้งและเก็บรักษาง่าย

คันกั้นน้ำชั่วคราว ซึ่งน่าจะเอามาใช้ในเมืองไทยได้

ผลิตภัณฑ์ของ Hydrological Solutions จากสหรัฐอเมริกา ใช้มวลของน้ำช่วยลดแรงปะทะของกระแสน้ำท่วม เกิดการยืดหยุ่นไม่ปะทะรุนแรงจนพนังดินแตกเหมือนบ้านเรา





เสนอไว้พิจารณาอีกแบบหนึ่ง

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 09:33

ผมอยากเสนอให้หน่วยงานของรํฐ เช่นสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่ฯ ทำงานวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์ที่จะไว้ต่อสู้กับวิบัติภัยที่เกิดซ้ำซากในประเทศนี้บ้าง และอยากให้รัฐส่งเสริมเอกชนที่ทำการวิจัยและผลิตของพวกนี้ออกสู่ตลาด

หน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นกรม กอง ของกระทรวงใด จังหวัดเอง หรือ อบจ. อบต. กทม.ฯลฯ ควรมีของพวกนี้เก็บไว้ประจำคลังพัศดุ เพราะจะได้ใช้ทุกปี ปีไหนที่นี่ไปท่วมก็ให้ที่นั่นที่ท่วมขอยืมไปใช้ได้

หน่วยงานของรัฐมักจะชักช้ากว่าเอกชน    กว่าจะวิจัย กว่าจะผลิต น้ำคงท่วมคราวหน้าไปก่อนแล้ว     เอกชนน่าจะหามาเองได้
อย่างน้อย หมู่บ้านจัดสรรควรจะมี barrier  ที่เคลื่อนย้ายสะดวกแบบนี้ไว้ใช้แทนกระสอบทราย
บันทึกการเข้า
POJA
พาลี
****
ตอบ: 298


ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 10:29

Barrier ของเราน่าจะพัฒนามากขึ้นหลังจากนี้ ก่ออิฐ วางกระสอยทรายกันมาตั้งไม่รู้กี่สิบปีแล้ว ไม่เคยพัฒนาอะไรเลย
ทั้งที่อยู่กับน้ำมานาน  คงเหมือนปลาไม่รู้จักน้ำ  คนไม่รู้จักอากาศ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 11:01

คนไทยถนัดซื้อไงครับ กระเป๋าใหญ่ สมองลีบ ขี้เกียจคิด ซื้อเอาถูกกว่า กระทั่งกระสอบเอามาเรียงกันน้ำก็คิดจะไปซื้อญี่ปุ่น นี่โยนก้อนหินถามทางกันแล้ว


วันที่ 24 ต.ค.ที่ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.) ดร.ณพงศ์ นพเกตุ ที่ปรึกษาสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) เดินทางมาเสนอเทคโนโลยีใหม่ในการป้องกันน้ำท่วมต่อ น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) ได้แก่ กระสอบพองน้ำ (Hydro Bag) ที่จะนำมาใช้ในการป้องกันน้ำแทนกระสอบทราย โดย น.อ.อนุดิษฐ์ กล่าวว่า ดร.ณพงศ์เป็นอดีตนักเรียนทุนญี่ปุ่นเห็นว่ากระสอบพองน้ำที่ญี่ปุ่นใช้ป้องกันน้ำท่วมนั้นน่าจะมีประโยชน์และประสิทธิภาพในการเป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับประเทศไทย

กระสอบดังกล่าวในเวลาปกติจะคล้ายถุงผ้าหรือกระสิอบทั่วไป มีน้ำหนักเบาและพกพาสะดวก แต่เมื่อนำไปแช่น้ำเจลในกระสอบจะอมน้ำ ทำให้พองตัวมีคุณสมบัติคล้ายกระสอบทราย มีน้ำหนักและขนาดป้องกันน้ำได้ ซึ่งในญี่ปุ่นกระสอบพองน้ำนี้จะมีราคา 450 เยนหรือประมาณ 182 บาท แต่หากรัฐบาลไทยติดต่อขอเทคโนโลยีดังกล่าวจากรัฐบาลญี่ปุ่น ก็จะทำกระสอบพองน้ำได้ในราคาที่ถูกกว่า หรือหากเอกชนรายใดสนใจจะซื้อมาบริจาคก็สามารถทำได้

นอ.อนุดิษฐ์ กล่าวอีกว่า หากเปรียบเทียบในเรื่องของราคา แม้จะสูงกว่าทราย แต่ก็สามารถนำกลับมาใช้ได้ถึง 3 ครั้ง มีอายุใช้งานถึง 3 ปี อีกทั้งสารที่ใช้ก็ไม่เป็นอันตรายต่อธรรมชาติ เมื่อเลิกใช้ก็จะมีสารที่ทำให้กระสอบน้ำยุบตัวลงเหมือนเดิม จึงน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ซึ่งแม้น้ำท่วมครั้งนี้จะนำมาใช้ไม่ทัน แต่ในอนาคตก็น่าจะมีประโยชน์อย่างมาก




บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 11:31

อายุใช้งาน 3 ปีนับว่าน้อยมาก  คงต้องตั้งงบประมาณกันใหม่อยู่เรื่อย ละมังคะ
บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 25 ต.ค. 11, 21:46

พนังกั้นน้ำ ที่ท่านNAVARAT.C เสนอหน่วยงานรัฐบาลฯ  ดูจะเวิร์คที่สุดนะคะ... ยิงฟันยิ้ม
วิศวกรบ้านเราออกจะมากมาย ดูรูปปุ๊บน่าจะทำตามได้ปั๊บเลย...
วัสดุก็น่าจะถอดเก็บประกอบง่าย เก็บไว้ใช้ได้ยาวนานหลายปี เสริมความสูงได้ตามระดับการท่วมด้วย
เหมาะแก่การป้องกันโบราณสถานริมน้ำต่างๆ มากเลยค่ะ
เพราะท่วมทุกปี ท่วมซ้ำซาก ก็เห็นมีแต่กระสอบทรายทุกครั้ง
และก็ไม่เคยกันน้ำได้จริงสักครั้งเลย....


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 26 ต.ค. 11, 09:28

ส่วนพนังคล้ายๆกับที่ผมเอารูปมาเล่าสู่กันฟัง ได้เคยใช้ที่วัดไชยวัฒนาราม อยุธยา มาหลายปี ปีนี้บางส่วนพัง น้ำเลยเข้าได้
แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า Concept ผิด ปีนี้น้ำแรงมาก และส่วนที่พังเฉพาะจุดอาจเป็น Installation error ตรงจุดนั้นก็ได้

อีกอย่างหนึ่ง พนังที่นั่น กรมศิลปากรออกแบบไว้เป็นเหล็ก หนักมาก คนไปดูงานในปีที่กั้นน้ำได้ เห็นแล้วยังท้อที่จะเอาแบบไปใช้มั่ง


พนังสำเร็จรูปต้องเบา แต่แข็งแรง เพื่อให้ใช้งานง่าย จัดเก็บง่ายด้วยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง