เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71504 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 16:44

^

ขอโทษด้วยครับ ผมไม่รู้จัก เพิ่งจะเคยได้ยินชื่อนี่เองแหละ
คุณหนุ่มสยามช่วยขยายความอีกนิดซิครับ ว่าเป็นถนนหรือคันกั้นน้ำที่ไหน สมัยใด

King Dyke คือ คันกั้นน้ำในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ยิ้มเท่ห์


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 17:27

ตามอ่านอยู่ครับ แล้วก็ถูกแหย่ให้เข้ามาร่วมวง

ตะกี้นี้เขียนไปแล้ว ด้วยเหตุทางเทคนิคบางประการ เลยส่งข้อความไม่ได้ จะพยายามเรียบเรียงใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 17:40

อ้างถึง
King Dyke คือ คันกั้นน้ำในพระราชดำริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 


แล้วได้ทำหรือเปล่าครับ

รูปข้างล่างนี้เป็น Dyke เหมือนกัน มีคนส่งมาให้ดูคลายเครียด


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 17:49

ตามรอยมาได้แค่นี้ มีที่ทรงกล่าวถึงGreen Beltด้วย

สำหรับแนวทางที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก้ไขปัญหาน้ำท่วมกรุงเทพฯ คือ

ประการแรก สร้างคันกั้นน้ำโดยปรับปรุงแนวถนนเดิม

ประการที่ ๒ จัดให้มีพื้นที่สีเขียว (Green Belt) ตามพระราชดำริเพื่อกันการขยายตัวของเมือง และเพื่อแปรสภาพให้เป็นทางระบายน้ำ เมื่อมีน้ำหลาก

ประการที่ ๓ ดำเนินการขุดลอกคลอง ขยายคลองที่มีอยู่เดิมและขุดใหม่นอกแนวคันกั้นน้ำ

ประการที่ ๔ สร้างสถานที่เก็บน้ำตามจุดต่าง ๆ

ประการที่ ๕ ขยายช่องทางรับน้ำที่ผ่านทางรถไฟและทางหลวง กรมทางหลวงได้ดำเนินการตาม "โครงการพระราชดำริแก้มลิง" โดยใช้แนวถนนสุขุมวิทเป็นคันกั้นน้ำทะเลที่หนุนท่วมขึ้นมาบนชายฝั่งทะเล และใช้พื้นที่ด้านในของถนนสุขุมวิท เป็นพื้นที่พักน้ำที่ไหลมาจากตอนบน พร้อมทั้งประสานงานกับกรมชลประทานและกรมโยธาธิการดำเนินการก่อสร้างสถานีสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ เลียบถนนสุขุมวิทตามแนวคลองชายทะเล โดยมีประสิทธิภาพในการสูบน้ำตามคลองต่าง ๆ คือ คลองตำหรุ คลองบางปลาร้า คลองบางปลา คลองเจริญราษฎร์ คลองด่าน คลองชลหารพิจิตร รวมปริมาณน้ำที่สามารถสูบออกทะเล ๒๖๗ ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ทำให้น้ำตามคลองต่าง ๆ ของพื้นที่ด้านบนสามารถไหลลงสู่ด้านล่างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น


รุ้สึกว่า ผู้รับสนองพระราชดำริจะทำเพียงส่วนเดียวหรือเปล่า หรือถนนวงแหวนรอบนอกและรอบในจะคือ King Dyke ที่กล่าว


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 18:12

ตามอ่านอยู่ครับ แล้วก็ถูกแหย่ให้เข้ามาร่วมวง
ตะกี้นี้เขียนไปแล้ว ด้วยเหตุทางเทคนิคบางประการ เลยส่งข้อความไม่ได้ จะพยายามเรียบเรียงใหม่ครับ

ถ้าคุณตั้งส่งข้อความไม่ไป   อย่าเพิ่งปิดหน้านั้นนะคะ ให้กดลูกศรมุมซ้ายบนของหน้า    มันจะพาย้อนกลับไปสู่ข้อความที่พิมพ์ไว้  แล้วลากเม้าส์ copy เอาไว้ เพื่อเซฟไว้ชั้นหนึ่ง    ก่อนจะลองส่งอีกครั้ง
ถ้ายังส่งไม่ได้อีก  ปิดหน้า แล้วเข้าไปในกระทู้ใหม่อีกครั้ง  copy and paste ข้อความลงในช่องข้อความค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 19:01



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 10:49

ระหว่างที่รอคุณตั้งเรียบเรียงตัวพิมพ์ใหม่หลังจากที่ละลายกับสายน้ำไปแล้ว ผมเกิดความคิดขึ้นมาแวบหนึ่ง อยากจะเล่าเล่นๆเป็นการฆ่าเวลา

คือแต่ไหนแต่ไรมาผมมักจะตั้งคำถามกับตนเองว่า ทำไมคนไทยจึงดีแต่ซื้อของนอกตั้งแต่สมัยอยุธยามาแล้ว ไม่เคยประดิษฐ์คิดทำอะไรขึ้นมาใช้เองเลย ตั้งแต่อาวุธยุทโธปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี่สูงกว่าการทำหอกตีดาบ เช่นปืนใหญ่ปืนเล็กทั้งหลาย ทำให้ปัจจุบันเราไม่มี Technical Know-how ที่จะผลิตอาวุธที่ใช้ป้องกันประเทศ ต้องซื้อจากมิตรที่ชอบกลับกลายมาเป็นศัตรูอยู่ร่ำไป แม้แต่ของสำค้ญๆในปัจจัยสี่ นอกจากข้าวแล้ว อย่างอื่นๆนั้น เราซื้อของนอกเข้ามาทั้งสิ้น อย่างน้อยก็ซื้อ Know-howมาผลิตเอง

พอเห็นภาพหายนะของนิคมอุตสาหกรรมทั้งหลายในคราวนี้ จึงระลึกได้ว่า สมัยโบราณพอน้ำหลากก็มีแต่เกาะเมืองอยุธยาเท่านั้นที่น้ำไม่ท่วม บางปีน้ำก็ท่วมเข้ามาในกำแพงพระนครกรุงศรีฯ  สภาพการดังกล่าวไม่เอื้ออำนวยให้กิจกรรมประเภทโรงงานหรือฐานการผลิตอะไรที่เป็นล่ำเป็นสัน เพราะมันจะอยู่ได้อย่างไรในปริมณฑลของเมืองหลวง จะหนีตั้งไปอยู่ในเมืองที่น้ำท่วมไม่ถึงหรือ พอพม่าเขมรยกทัพเข้ามาก็คงถูกกวาดต้อนไปหมด เพราะกำลังเมืองหลวงก็อาจให้ความคุ้มครองไม่ได้

คนไทยจึงไม่ชอบการผลิตทำนองอุตสาหกรรม จะมีก็แต่หัตถกรรมและงานด้านประณีตศิลป์เท่านั้นที่เก่ง เพราะมีเวลาที่ทำกันในเวลาว่างหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ทำไมกรุงศรีอยุธยา ธนบุรี รัตนโกสินทร์จึงมุ่งแต่จะหาเงินตราต่างประเทศเฉพาะจากการค้าข้าว และของป่าซึ่งมีอย่างอุดมสมบูรณ์ และทำพาณิชกรรมแบบพ่อค้าคนกลาง ระหว่างประเทศตะวันตกทั้งฝรั่งและเปอร์เซีย กับประเทศทางตะวันออกทั้งจีนและญี่ปุ่น ได้กำไรเหนาะๆมาจับจ่ายซื้อของที่ต้องการ สบายกว่าคิดจะเป็นผู้ผลิตเองให้ลำบาก

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 10:53

พออังกฤษปฏิวัติอุตสาหกรรม ตอนนั้นเราก็ล้าหลังญี่ปุ่นและจีนมากโข จริงอยู่ที่ไทยกับญี่ปุ่นส่งนักเรียนไปเรียนวิชาการต่างๆจากยุโรปพร้อมๆกัน แต่ผิดกันที่ญี่ปุ่นนั้นเขามีฐานรากด้านอุตสหกรรมอยู่ก่อนแล้ว นักเรียนนอกของเขาที่กลับไปก็ต่อยอดได้ทันที่ ในขณะที่สมัยรัชกาลที่๕ คนไทยเรายังไม่มีพื้นความรู้อะไรเลย นักเรียนนอกกลับมาก็ทำได้แค่เริ่มต้นให้การศึกษาแบบฝรั่ง ของอุปโภคทุกอย่างยังซื้อของนอกทั้งหมดต่อไป

ต้นราชวงศ์เมจิ ญี่ปุ่นซื้อเรือรบจากอังกฤษมาสร้างกองทัพเรือ ในปลายรัชกาลที่๕ ญี่ปุ่นใช้กองเรือรบนั้น ทำยุทธนาวีกับกองทัพเรืออันเกรียงไกรของรัสเซียที่ช่องแคบซึชิม่า และเป็นฝ่ายมีชัย หลังจากนั้นญี่ปุ่นก็ใช้ Knowhowจากภาคปฏิบัติจริง ถอดแบบอังกฤษมาสร้างเรือรบรุ่นใหม่ของญี่ปุ่นเอง จนเป็นกองทัพเรือที่มีนาวิกานุภาพในอันดับต้นๆของโลก จนกองทัพเรือไทยเลิกซื้อเรือยุโรปหันไปซื้อญี่ปุ่น

ต้นรัชกาลที่๕ (ก่อนที่จะส่งคนไปเรียนนอก)ไทยเราซื้อปืนเสือหมอบ หรือปืนอาร์มสตรองจากเดนมาร์ก ซึ่งเป็นปืนใหญ่ที่ดีที่สุดในโลกสมัยนั้นมาติดตั้งที่ป้อมพระจุลฯ และป้อมผีเสือสมุทร แต่คนไทยใช้ไม่เป็น คนคุมปืนจ้างฝรั่ง พลประจำปืนเป็นคนต่างด้าวเกณฑ์มาเรียกอย่างไพเราะห์ว่า ทหารปืนใหญ่ญวนอาสา เรือรบฝรั่งเศสผ่านสันดอนเข้ามา ปืนยิงได้ไม่กี่ตูม ลูกไปตกที่ไหนก็ไม่รู้

มีคนชอบพูดตำหนิโดยเปรียบเทียบไทยกับญี่ปุ่นหลังเปิดประเทศว่าไร้ความสามารถที่จะทันเขา ผมเห็นว่าไม่แฟร์ ญี่ปุ่นพร้อมกว่าเราในเรื่องคน ซึ่งคนของเราไม่พร้อมเท่าเขา เพราะคนไทยไม่เคยสนใจในเรื่องเทคโนโลยี่มาตั้งแต่ปีมะโว้แล้ว ดังเหตุผลที่ผมกล่าวตอนต้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 11:17

มาจดเลกเชอร์  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 11:19

มาถึงสมัยนี้เรามีอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมากมาย จะไปบอกว่าไม่เหมาะกับคนไทยไม่ได้แล้ว แต่จะบอกว่าภูมิประเทศที่ตั้งผิด ก็ยังได้อยู่

นึกถึงประวัติศาสตร์ว่าสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงใช้ให้สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไปดูเมืองโคราช ซึ่งอาจจะย้ายพระนคร(หนีศึกฝรั่ง)ไปอยู่ที่นั่น สมเด็จพระปิ่นเกล้าฯท่านถวายรายงานว่าโคราชไม่เหมาะเพราะขาดแหล่งน้ำกินน้ำใช้ ทรงเสนอตำบลสีทา อยู่ในอำเภอแก่งคอยถัดจากสระบุรีไปนิดเดียว

ผมดูแผนที่น้ำท่วมในปัจจุบันแล้วพอจะเข้าใจ ถัดจากกรุงเทพแล้ว สระบุรีเป็นเมืองแรกที่อยู่ในเขตปลอดจากน้ำหลาก โรงงานที่โดนน้ำท่วมถ้าลงทุนกันใหม่เขาน่าจะหนีไปอยู่แถวนั้น
ส่วนอุตสาหกรรมที่เน้นการส่งออก คงจะไปอยู่แถวชลบุรี ระยอง ใกล้ท่าเรือน้ำลึกแหลมฉะบัง

หลังจากนี้ที่ดินบริเวณแถวนั้นคงบูมแน่ เจ้าของที่ทั้งหลายเตรียมรับทรัพย์(อย่าลืมจดตรงนี้ด้วยนะครับ)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 11:53

(เริ่ม)ฝันกลางน้ำท่วม   ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 12:30

^
หรือจะเอาแปลงนี้ครับ

ซื้อที่แถมรถด้วยอีกหนึ่งฝูง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 12:45

ถึงอยู่ที่ดอน น้ำไม่ท่วมถนน  แต่มีเพื่อนบ้านแบบนี้ ก็ไม่เอานะคะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 12:53

ข่าวล่าสุดของวันนี้ จากนวนคร คือพล.อ.วิชา ศิริธรรม ที่ปรึกษาฝ่ายกิจการพิเศษของบริษัทนวนคร จำกัด (มหาชน) ออกมาแถลงว่า ขณะนี้โรงงานภายในนิคมร้อยละ 90 ยังไม่เสียหาย เนื่องจากนิคมมีระบบป้องกันที่ทำมายาวนาน และพื้นที่ในนิคมมีระดับสูงต่ำแตกต่างกัน รวมถึงระดับน้ำยังไม่สูงมากนัก แต่ถ้าเมื่อใดที่ระดับอยู่ที่ 2.50 เมตร ความเสียหายจะเกิดขึ้น 100% ทันที อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า ทางนิคมนวนครจะพยายามต่อสู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างเต็มที่
ท่านยังขอร้องรัฐบาลให้เปลี่ยนวิธีการช่วยเหลือจากวิธีรอง มาเป็นวิธีหลัก ด้วยการเร่งระบายน้ำออกจากนิคมอุตสาหกรรมนวนครออกโดยเร็ว   ส่วนมาตรการป้องกันน้ำท่วมนั้น ทางนิคมฯ ได้มีการพูดคุยกับผู้บริหารของทุกโรงงาน และมีความเข้าใจกันเป็นอย่างดี ซึ่งหลังน้ำลดอาจจะมีการสร้างเขื่อนขึ้นมา เพื่อป้องกัน

สรุปว่านวนครก็ยังพยายามสู้ศึกอยู่สุดฤทธิ์   ราวกับค่ายบางระจันขอความช่วยเหลือมายังกรุงศรีอยุธยา      เมื่อศึกผ่านพ้นไปแล้ว  นวนครคงไม่ย้ายหนีไปไหน   แต่อาจจะสร้างกำแพงค่ายคูประตูหอรบอย่างแข็งแกร่ง สูงหลายสิบเมตรขึ้นมารับศึกในปีต่อๆไป

ได้แต่เอาใจช่วยนวนคร    นึกอย่างอื่นไม่ออกนอกจากบอกว่า ช่วยตัวเองเถอะ  อย่ารอความช่วยเหลือจากกรุงศรีเลย เพราะกรุงศรีเองก็เจอข้าศึกจ่ออยู่ถึงรังสิตแล้ว 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 13:11

นิคมใหญ่ๆอย่างนวนคร เขาลงทุนเรื่องDitch and Dykeให้สูงและแข็งแรงพอ หมั่นตรวจตรา ถ้าชำรุดก็ซ่อมเสียก่อนน้ำจะท่วมก็คงได้ผลอยู่ และคุ้มค่ากับการลงทุน

แต่หมู่บ้านเล็กๆอย่างนี้ ผมไม่เข้าใจ ทั้งเจ้าของ ผู้ออกแบบ ผู้อนุญาตให้ก่อสร้าง และผู้ซื้อด้วยครับ ว่าไม่กลัวน้ำท่วมบ้างเลยหรือไร ที่คิดว่าระดับดินที่ถมลงไปนั้นจะทำให้อยู่รอดปลอดภัยตลอด


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.069 วินาที กับ 19 คำสั่ง