เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71361 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 11:53

ขอบคุณครับ

ผมจะขอผลัดว่าจะกล่าวถีงวีธิการควบคุมตะกอนดิน(Sediment)และหน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion) เช่นในภาพว่าจะทำอย่างไรไว้ทีหลัง ไหนๆท่านอาจารย์เทาชมพูก็ได้พูดถึงคันกันน้ำ (dyke) ขึ้นมาแล้ว และผมก็บอกว่า คนไทยโบราณก็รู้จักทำคันดินกันน้ำของชุมชนเมืองเหมือนกัน ที่เราเรียกว่ากำแพงดิน ก็อยากต่อประเด็นนี้ให้จบ

ผมเคยไปดูร่องรอยซากโบราณสถานเหล่านั้น มักจะได้รับคำอธิบายว่าเป็นกำแพงเมือง ทำให้ผมฉงนว่า กำแพงเมืองที่เป็นดินสูงแค่เนี้ยะมันจะไปป้องกันข้าศึกได้อย่างไร ข้างบนยอดก็แคบนิดเดียวจะไปรำหอกรำดาบคอยฟาดฟันศัตรูเดี๋ยวก็ไถลตกลงมาก่อนเสียเปล่า กว่าจะรู้ว่ากำแพงดินรอบเมืองที่เห็นคือdykeนั่นเอง

สมัยนี้เขาก็ทำวิธีที่ว่ากัน เรียกว่า Ditch and Dyke หรือคู(น้ำ)กับคัน(ดิน) พื้นที่ใหญ่ๆเป็นพันไร่ซึ่งไม่สามารถถมดินสูงได้เพราะจะสิ้นเปลืองมาก เช่นนวนครที่กำลังเป็นข่าว ธรรมศาสตร์รังสิต AIT และอีกหลายแห่ง จะสร้างคันดินให้สูงพอเพราะจะต้องทำหน้าที่กั้นน้ำ คูทำหน้าที่รับน้ำฝนที่ระบายจากพื้นที่ทั้งหมดลงมาพักไว้ก่อนจะใช้เครื่องขนาดใหญ่ สูบน้ำออกไปทิ้งข้างนอก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 12:10

ในขนาดที่ใหญ่กว่านั้น

ชุมชนเมืองในปัจจุบัน สถาปนิกผังเมืองจะวางถนนวงแหวนรอบเมืองไว้หลายแห่ง ถนนเหล่านั้นนอกจากจะผันรถที่ไม่จำเป็นต้องเข้าไปวุ่นวายในเมืองให้อ้อมไปเสีย ก็(ควรจะ)ทำหน้าที่อีกอย่างหนึ่ง คือเป็นคันกั้นน้ำ(ท่วม)ในฤดูน้ำหลาก

แต่ถนนวงแหวนชนิดนี้จะทำหน้าที่ดังกล่าวได้ก็จะต้องประกอบด้วยประตูควบคุมน้ำ ตามคูคลองที่ตัดผ่าน และสถานีสูบน้ำ
เวลาปกติก็เปิดประตูให้น้ำระบายจากที่สูงไปที่ต่ำตามธรรมชาติของมัน แต่เข้าฤดูน้ำหลาก มีปริมาณมากก็จะปิดประตูน้ำ ไม่ให้น้ำไหลเข้าเมือง ส่วนน้ำในเมืองถ้าฝนตกลงมา ก็ใช้ปั้มสูบน้ำออกไป



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 12:23

^
คราวนี้มันจะมีปัญหาตรงที่ว่าพื้นที่ภายในวงแหวนเท่านั้นที่จะปลอดน้ำท่วม ส่วนที่อยู่ข้างนอกก็ตัวใครตัวมัน หากที่ดินของตัวเป็นที่ดอนก็รอดตัวไป แต่ถ้าเป็นที่ลุ่มก็จบข่าว
ดังนั้นพื้นที่ๆน้ำจะท่วมแน่ๆทุกปีไม่มากก็น้อย สถาปนิกก็จะระบายสีเขียว กำหนดให้เป็นเขตเกษตรกรรม หรือเหลือง คือเขตที่พักอาศัยหนาแน่นน้อยเอาไว้

แต่ทุกวันนี้เอาเข้าจริงก็ทำได้บ้างไม่ได้บ้าง เพราะนักการเมือง ไม่ว่าระดับชาติหรือระดับท้องถิ่นล้วนใหญ่กว่าสถาปนิก แถมบางทีก็ใหญ่กว่ากฏหมายด้วย จึงปรากฏว่ามีโครงการก่อสร้างที่ผิดประเภทเข้ามาอยู่ในพื้นที่ๆเขาต้องการให้เป็นนาข้าวมากมาย พอเดือดร้อนเข้าจริงๆก็จะโวยขอให้รัฐเข้าไปช่วยแก้ไข
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 12:30

นิคมอุตสาหกรรมทั้งหลายที่น้ำท่วมจนล่มไปนั้น  ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่ควรเป็นแหล่งเกษตรกรรมหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 12:34


มันก็ควรจะเป็นอย่างนั้น เพราะเราลงทุนทำระบบชลประทานที่ทุ่งรังสิตตั้งแต่สมัยรัชกาลที่๕ เพื่อจะปลูกข้าว
เคยพูดกันเรื่องGreen Belt of Bangkok นานแสนนานมาแล้ว แต่ไม่เคยเกิดขึ้นได้

ปัจจุบันบริเวณนั้นทั้งหมดอยู่นอกเขตผังเมืองรวมครับ แปลว่าตัวใครตัวมัน

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 12:35

เมืองที่เป็นต้นแบบการวางผังเมืองที่ดีที่มักจะได้รับการยกตัวอย่างอยู่เสมอก็คือลอนดอน
 
นักการเมืองที่นั่นเขาเคารพนักวิชาการผังเมืองที่เห็นว่า เมืองไม่ควรจะโตออกไปโดยไร้ขอบเขต มิฉะนั้นจะสร้างภาระหนักยิ่งให้แก่รัฐในการนำระบบสาธารณูปโภคทั้งหลายเข้าไปสนองชุมชน จึงได้กำหนดเขตสีเขียวห้ามก่อสร้างอาคารใหญ่ทุกชนิดรอบเมืองหลวง เรียกว่า Green Belt of London

และกฏหมายที่นั่นก็ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง ห้าหกสิบปีมาแล้วที่ผังเมืองนี้บังคับใช้ ท่านลองดูภาพ Green Belt of London ทุกวันนี้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 12:40

ญี่ปุ่นก็มี Green Belt of Tokyo ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 12:56

กรุงเทพมหานคร มีผังเมืองรวมที่ระบุเขตเกษตรกรรมไว้ทั้งส่วนที่เห็นเป็นสีเขียว และสีเทาๆที่มีกฏเข้มข้นขนาดเกือบจะห้ามการก่อสร้าง

ด้านฝั่งตะวันตกก็บริเวณแถวบางบอน และทวีวัฒนา ฝั่งตะวันออกก็แถวๆหนองจอก มีนบุรี ตอนนี้น้ำก็ท่วมท้องที่ดังกล่าวตามที่คาดการณ์ไว้แล้ว ท่านที่อยู่อาศัยในบริเวณแถวนั้น เคยทราบหรือไม่ และท่านได้เตรียมตัวเตรียมใจไว้อย่างไร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 13:41

มีการบ้านมาส่ง  ditch and dyke


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 13:45

^
แม่นแล้วขรับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 13:49

การขยายตัวของชานเมืองกรุงเทพด้านพุทธมณฑลออกไปจนถึงนครไชยศรี  เท่าที่มองเห็นคร่าวๆ ไม่ได้สำรวจละเอียดลออ  มองเห็นว่าพื้นที่การเกษตรแต่เดิมเป็นสวนและนา  เพราะดินดีมาก ปลูกอะไรก็งาม  
แต่ต่อมาเมื่อเมืองขยายตัวมาทางนี้   สวนกับนาก็กลายเป็นที่อยู่อาศัย   ตึกแถวและหมู่บ้านจัดสรรตามมากินเนื้อที่ของสวน     ทำให้ไฟฟ้า ประปา ถนน ตามมา
เมื่อถนนขยายกว้างขึ้น   เดินทางขนส่งสะดวก  โรงงานก็ตามไล่หลังมาอีกที  สนามกอล์ฟด้วย
เดี๋ยวนี้สวนเหลือน้อยแล้วค่ะ  


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 14:26

นั่นน่ะซีครับ

เราเอาที่ดินที่ดีที่สุดสำหรับทำการเกษตรมาสร้างมหานครที่มีประชากรมากที่สุด และมีปํญหามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก
เราเอาที่ดินเลวที่สุดสำหรับก่อสร้างอาคารขนาดใหญ่ รับน้ำหนักมาก มาทำนิคมอุตสาหกรรมส่งออกของประเทศ ทั้้งๆที่ควรจะไปอยู่ใกล้กับท่าเรือน้ำลึก ณ ภูมิประเทศที่ไม่ต้องตอกเสาเข็มยาวตั้ง๒๒เมตร

ตอนที่มีการอภิปรายกันว่าควรมีหรือไม่ควรมีGreen Belt of Bangkok มีคำถามจากบุคคลกลุ่มสำดัญว่า คุณรู้ไหม ที่ๆคุณจะเอาไว้ปลูกข้าวปลูกผักผลไม้น่ะ เดี๋ยวนี้ตารางวาละเท่าไหร่

ผมยังเด็กเกินไปกว่าที่จะกล้าแสดงความเห็น แต่ถ้ารัฐไม่ตัดถนนเข้าไป ไม่เดินไฟฟ้าให้ ไม่มีประปาใช้ ท่านคิดว่ามันควรจะมีราคาเท่าไหร่ละครั้บ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 14:39

ขอเอาข่าวล่าสุดของเวลานี้มาลงในกระทู้นี้ละกัน    หลักฐานภาพข้างล่างนี้ยืนยันคำพูดของคุณ Navarat.C ค่ะ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 14:54

อ.NAVARAT.C พอจะมีข้อมูลเรื่อง King dyke บ้างไหมครับ ตอนผมเรียนมหาวิทยาลัย ก็ได้ไปดูงานระบบป้องกันน้ำท่วมรอบกรุงเทพมหานครและประตูน้ำต่าง ๆ และไปดู King Dyke บางส่วนด้วย แต่บัดนี้วันและเวลาทำให้ความจำกลบหายไปแล้ว  ยิงฟันยิ้ม อายจัง อายจัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 16:30

^

ขอโทษด้วยครับ ผมไม่รู้จัก เพิ่งจะเคยได้ยินชื่อนี่เองแหละ
คุณหนุ่มสยามช่วยขยายความอีกนิดซิครับ ว่าเป็นถนนหรือคันกั้นน้ำที่ไหน สมัยใด
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง