เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71491 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 17:58

ส่วนข้อสรุปตอนแรกของโครงการก่อสร้างทั้งหลายที่ส่งผลกระทบให้เกิดน้ำท่วมก็คือ การไม่มีกฏหมายที่มีผลบังคับใช้อย่างมีประสิทธิภาพมาควบคุมมิให้น้ำตะกอนหรือน้ำโคลน ไหลจากพื้นที่ก่อสร้างลงไปในท่อระบายน้ำสาธารณะ หรือคู คลอง ที่อยู่ข้างเคียงต่างๆ

เพราะเมื่อฝนหนักมา น้ำระบายไม่ได้ก็จะท่วมชุมชนนั้นทันที แม้เจ้าของโครงการหรือผู้รับเหมาก่อสร้างจะไม่เดือนร้อน แต่สาธารณะชนเดือดร้อน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 18:09

ในประเทศที่เขาเอาใจใส่ ยกตัวอย่างสหรัฐอเมริกา เขามีกฏหมายหลายระดับเพื่อควบคุมคุณภาพน้ำ และควบคุมพฤติกรรมของมนุษย์ไม่ให้มักง่าย ไปละเมิดปกติสุขของผู้อื่น

ประเทศไทยไม่มีกฏหมายที่ควบคุมเรื่องดังกล่าวโดยตรง แต่มีกฏหมายโบราณอยู่สองสามฉบับที่อาจจะนำมาต่อยอดได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 18:21

กฎหมายของอเมริกาให้อำนาจแก่รัฐต่างๆ ในการควบคุมตะกอนดินที่ละลายออกมาจากการหน้าดินที่ถูกเปิดออกเพื่อการก่อสร้าง และถูกน้ำฝนกัดกร่อน มิให้มิให้ไหลออกจากพื้นที่ของโครงการ มารังควานความสงบสุขของชาวบ้านข้างเคียง

แต่ละท้องถิ่นจะเริ่มต้นใช้บังคับทุกโครงการก่อสร้างที่มีเนื้อที่ตั้งแต่ ๑ เอเคอร์(๒.๕ไร่)ขึ้นไป
โดยผู้รับเหมาก่อสร้างเป็นผู้รับผิดชอบ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 18:29

รัฐจะมีหนังสือคู่มือแนะนำการปฏิบัติให้ผู้รับเหมาเลือกวิธีการใดวิธีการหนึ่ง แล้วยื่นแบบแผนผังว่าจะทำอะไร ที่ไหน อย่างไร ให้องค์การท้องถิ่นอนุมัติ

ถ้าผู้ตรวจสอบมาเจอว่าผู้รับเหมามิได้ปฏิบัติ และทำให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน จะโดนลงโทษรรุนแรง และไม่ละเว้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 18:42

โทษปรับ เรื่มต้นที่ $๒๗๕๐๐ ต่อวัน คิดเป็นเงินบาท ง่ายๆเหรียญละ๓๐บาท ก็เท่ากับ ๘๒๕,๐๐๐.๐๐ บาท(แปดแสนสองหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ครับพี่น้อง

ถ้าปล่อยออกมา๑๐วันก็คูณสิบเข้าไป ปล่อย ๓๗วันก็คูณสามสิบเจ็ด
นี่ยังไม่รวมออฟชั่นอย่างอื่น เช่นค่าเสียหายที่เกิดขึ้น  ประเภทค่าล้างท่อ ค่าขุดลอกคลองฯลฯ อ่วมแน่พระเดชพระคุณท่าน

เห็นไหมครับว่า เขามองว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องซีเรียสขนาดไหน


อ้อ NPDES ย่อมาจาก National Pollutant Discharge Elimination System ครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 21:14

มาคั่นโปรแกรม ก่อนเจ้าของกระทู้จะกลับมาเอาพื้นที่คืน
ไม่มีความรู้เรื่องตะกอนและหน้าดินถูกกัดกร่อนค่ะ   แต่กำลังนึกถึงคันกั้นน้ำ   นวนครจะไปจะอยู่ก็รู้กันคืนนี้ละ  ใจหายใจคว่ำแทน   
มองเห็นคันดินที่เราสร้างกันขึ้นมาแบบชั่วคราวแล้ว  นึกถึงคันกั้นน้ำในประเทศที่อยู่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเลอย่างเนเธอร์แลนด์     ต่อไปเราเห็นจะต้องทำถาวรกันเสียละมัง

เนินหญ้าหลังบ้านชาวสามหลังนี้คือคันกั้นน้ำ   ด้านหลังเนินหญ้าคือทะเลที่อยู่สูงกว่าระดับพื้นดิน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 21:21

คันกั้นน้ำ  หรือ dike/dyke  แบบต่างๆ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 21:24

 ยิ้มกว้างๆ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 21:36

คนไทยที่อยู่อาศัยในที่ราบลุ่มสมัยก่อน รู้จักสร้างคันกันน้ำรอบชุมชนเมืองอยู่แล้วครับ ลองพิจารณาภาพถ่ายทางอากาศของชุมชนเมืองเหล่านี้ ทำไมเขาทำกำแพงดินเป็นรูปวงรี ก็เพราะกำแพงโค้งจะรับแรงได้มากกว่ากำแพงตรงๆเป็นรูปทรงกล่องสี่เหลี่ยม

กำแพงดินโค้งๆเป็นวงรอบเหล่านี้ ใช้สำหรับต้านทานข้าศึกที่เป็นน้ำครับ ไม่ใช่คน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 21:38

คันกั้นน้ำชั่วคราว ซึ่งน่าจะเอามาใช้ในเมืองไทยได้

ผลิตภัณฑ์ของ Hydrological Solutions จากสหรัฐอเมริกา ใช้มวลของน้ำช่วยลดแรงปะทะของกระแสน้ำท่วม เกิดการยืดหยุ่นไม่ปะทะรุนแรงจนพนังดินแตกเหมือนบ้านเรา





 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 09:13

aqua  barrier น่าจะใช้สะดวกและได้ผลดีกว่ากระสอบทราย   



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 09:14

 ยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 09:19

อ้างถึง
มาคั่นโปรแกรม ก่อนเจ้าของกระทู้จะกลับมาเอาพื้นที่คืน
ไม่มีความรู้เรื่องตะกอนและหน้าดินถูกกัดกร่อนค่ะ

ยังไงก็ต้องขอขอบพระคุณที่ยังตามอ่านนะครับ เรื่องตะกอนดิน(Sediment)และหน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion) เป็นเรื่องที่รู้กันในวงแคบ แม้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท่านจะทรงจุดประกายขึ้น และทรงสอนให้ปลูกหญ้าแฝกนานแล้ว แต่ก็หาผู้ที่สนใจ และเข้าใจในเรื่องนี้อย่างจริงจังน้อยมาก

บังเอิญโชคชะตานำผมให้ไปทำงานเกี่ยวขัองกับเรื่องยากๆนี้เข้า น้ำท่วมดินถล่มที่ไหนผมมีหน้าที่ต้องไปดู จึงได้เห็นปัญหาว่า น้ำโคลนที่ถล่มลงมาจากภูเขานั้นมันมีที่มาที่ไปอย่างไร ก็เลยถือโอกาสเล่าสู่กันฟังในเวทีนี้ ซึ่งถึงแม้ว่าผู้อ่านถึงจะจำนวนน้อยกว่า แต่ก็มีคุณภาพและหลากหลายวงการ

การที่ผู้คนพากันโทษการตัดไม้ทำลายป่าว่าเป็นเหตุของน้ำท่วมนั้น ต้องดูประวัติศาสตร์ควบคู่ไปด้วย แต่โบราณกาลมาเรามีปีที่น้ำมาก น้ำปานกลาง และน้ำน้อย ตามศัพท์ของการเสี่ยงทายในพระราชพิธีพืชมงคล จรดพระนังคัลแรกนาขวัญ และคนไทยในอดีตก็รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างดี ตอนที่ป่ายังอุดมสมบูรณ์อยู่ น้ำก็ท่วม แต่น้ำที่ท่วมเป็นน้ำใส พาปลามาให้จับถึงใต้ถุนบ้าน เป็นฤดูกาลที่ทั้งเด็กและผู้ใหญ่สนุกสนาน ถึงกับมีพิธีลอยกระทง การละเล่นเพลงเรือสักวา และการแข่งขันเรือยาว เป็นต้น

ในกระแสความรู้สึกของผู้คนเดี๋ยวนี้เข้าใจว่าน้ำท่วมเพราะการตัดไม้ทำลายป่า และจะไปเพ่งโทษเอากับพวกนายทุนที่ขึ้นไปทำรีสอร์ท อย่างกรณีย์วังน้ำเขียวเป็นต้น ผู้มีอำนาจตามหน้าที่ก็กำลังพยายามไปรื้อถอนอาคารลงมาโดยให้เหตุผลว่าจะเอาพื้นที่คืนให้ป่า คนระดับผู้ว่าฯบอกว่าจะได้มีน้ำไปเลี้ยงคนโคราช ถ้าเป็นเรื่องของการรักษากฏหมายแล้วผมก็ไม่ว่าอะไร แต่ควรจะกระทำกับพวกนายทุนที่บุกรุกขึ้นไปทำเกษตรกรรมในป่าสงวนเช่นเดียวกันด้วย  อย่าได้ละเว้นให้เป็นสองมาตรฐาน เพราะพวกทำไร่นี่แหละที่เป็นตัวทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่ารีสอร์ทแยะ ไม่ว่าจะเชิงปริมาณพื้นที่ หรือเชิงปริมาณตะกอนดินที่ถูกชะล้างลงมาทุกฤดูฝน พวกทำรีสอร์ทจะสร้างผลกระทบแต่ในช่วงก่อสร้าง เมื่อแล้วเสร็จก็จะปลูกพืชคลุมดินสวยงาม หมดปัญหาตะกอน พวกทำสวนไม้ผล ไม้ยืนต้นก็คล้ายกัน เมื่อพืชเหล่านั้นโตก็เหมือนป่า ทำหน้าที่ซับน้ำกรองน้ำได้ระดับหนึ่ง จะเห็นว่าน้ำฝนที่ไหลลงมาจากสวนยางพาราที่โตแล้วจะเป็นน้ำใส แต่พวกทำไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง พวกนี้สร้างปัญหาตะกอนดินละลายเป็นน้ำโคลนลงมาจากภูเขาทุกปี แล้วลองไปคุ้ยเบื้องหลังเจ้าของไร่ซีครับ ไม่ใช่แม้วใช่ขมุที่ไหน พวกนายทุนทั้งนั้น

ผมไม่ได้แอนตี้กระแสสังคมเศรษฐกิจ ขนาดจะเสนอให้หยุดกิจการที่เขากำลังทำกันอยู่ แต่ต้องการให้ท่านทั้งหลายเห็นปัญหาตัวจริงหากจะพูดเรื่องสิ่งแวดล้อม ผมต้องการให้รัฐมีมาตรการควบคุมตะกอนดิน(Sediment)และหน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion)ที่มีประสิทธิภาพ เพื่อที่คนในประเทศจะได้ไม่เห็นว่าฤดูน้ำหลากคืออุทกภัยไปทุกครั้ง

คนไทยต้องอยู่กับน้ำได้เหมือนกับคนบางประเทศที่เขาอยู่กับภูเขาไฟ หรือซึนามิ หรือทอร์นาโด เพราะเราก็ไม่รู้จะหนีไปไหนได้เหมือนกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 10:23

กำลังรอคุณตั้งมาร่วมวงอยู่ค่ะ
ระหว่างนี้ก็ติวตัวเองไปพลางๆ ว่า หน้าดินถูกกัดกร่อน(Erosion) คืออะไร



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 17 ต.ค. 11, 10:26

 เศร้า



บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.066 วินาที กับ 19 คำสั่ง