เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71140 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 19:31

เข้ามาเพื่อบอกว่าตามฟังอยู่ครับ

คุณ NAVARAT_C กล่าวว่า

  ......ว่ากันว่าสุวรรณภูมิเมื่อสองพันปีที่แล้ว สมัยที่คนอินเดียนั่งเรือมาขึ้นฝั่งเพื่อแผยแผ่อารยธรรมสมัยทวาราวดีนั้น นครปฐมยังเป็นทะเลอยู่เลย ผมเคยไปดูเขาขุดบ่อดินขายแถวหัวหมาก ลึกลงไปแค่ยี่สิบเมตรก็เจอเปลือกหอยแครงเต็มไปหมด ไม่ต้องสงสัยว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน.....

ขอให้ข้อมูลสนับสนุนครับ
จากการเอาเปลือกหอยนางรมที่เจดีย์หอยที่ปทุมธานีไปตรวจหาอายุ (ด้วย Carbon 14) พบว่ามีอายุประมาณ 2350+/- ปี (ถ้าจำตัวเลขไม่ผิดนะครับ) ก็ยืนยันว่าแถวปทุมธานีเป็นปากอ่าว หอยนางรมไม่เกิดอยู่ในทะเลโคลน แถมที่พบก็เป็นหอยตัวใหญ่ ก็แสดงต่อไปว่าบริเวณนี้ต้องมีน้ำใส น้ำทะเลไหลหมุนเวียนดี จึงมีอาหารดี หอยจึงตัวใหญ่
แนวปากอ่าวจะเป็นอย่างไร ผมไม่ทราบ แต่แหล่งทรายที่ขุดเอามาถมที่แทบจะทั้งกรุงเทพฯที่จากแหล่งในเขต จ.นครปฐมนั้น แม้ว่าแหล่งทรายส่วนมากจะเป็นทรายที่แสดงว่ามาจากแม่น้ำ แต่หลายๆแหล่งเมื่อขุดลงไปจะพบว่าเป็นทรายน้ำเค็ม และในแหล่งทรายน้ำจืดเหล่านั้นก็พบซากกระดูกของสัตว์น้ำจืดหลายชนิด โดยเฉพาะพวกสัตว์ฟันแทะ  

ซึ่งเมื่อเอาข้อมูลจากการเจาะน้ำบาดาลมาผนวกด้วย ก็พบว่ามีรอยต่อระหว่างบริเวณตัว จ.นครปฐม กับ อ.สามพราน ในลักษณะภูมิประเทศที่เป็นขอบแอ่ง
และเมื่อเอาข้อมูลสมอเรือที่พบแถวๆพระปฐมเจดีย์มาผนวกอีกด้วย ก็ให้ภาพว่า คงจะต้องเป็นชายฝั่งทะเลเก่า
เมื่อเอาสองข้อมูลนี้มาผนวกกัน ก็ยืนยันว่าปากอ่าวไทยด้านตะวันตกนั้นอยู่แถวๆนครปฐม ส่วนกลางลึกเข้าไปก็อยู่แถวๆ อ.สามโคก ของปทุมธานี

ทรายที่มาทับถมกันจนเป็นแหล่งทรายต่างๆนั้น เชื่อกันว่าเป็นทรายของแม่น้ำด้านตะวันตก ซึ่งบ่งชี้ได้ในหลายนัย คือ Erosion ของป่าด้านตะวันตกนั้นต้องค่อนข้างจะรุนแรง หรือแม่น้ำค่อนข้างจะสั้น หรือคลื่นลมในบริเวณปากอ่างค่อนข้างจะแรง

  
 

 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 19:52

^
มันเคยเป็นทะเลมาแล้ว วันหนึ่งหากจะกลับเป็นทะเลอีก มันจะแปลกยังไง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 20:20

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 20:56

ตะกอนที่มากับน้ำทางเหนือและทางอิสานนี่ น่าเป็นห่วงอีกอย่างหนึ่งคือ มันจะมาตกคลั่กอยู่ในอ่างเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้ปริมาตรความจุของเขื่อนต้องสูญเสียไป มิอาจกักเก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ได้เต็มตามที่หวัง ได้ยินว่าเขื่อนภูมิพลที่สร้างมานานประมาณห้าสิบปีแล้ว จะมีตะกอนอยู่ใต้อ่างกว่า๓๐% การเก็บน้ำหรือการปล่อยน้ำของเขื่นก็มีผลต่อสภาวะน้ำท่วมของที่ราบลุ่มของภาคกลางโดยตรง

เขื่อนเล็กๆบางแห่งในหน้าแล้ง น้ำจะแห้งขอดแลไปเห็นแต่ตะกอนโผล่ทั่ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:00

อีกภาคหนึ่งที่สร้างปัญหาสิ่งแวดล้อมของแหล่งน้ำมากก็คือการก่อสร้าง ไม่ว่าจะบนภูเขาหรือในที่ราบ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:07

ดินที่ถูกกัดเซาะ ผู้เกี่ยวข้องกับโครงการก่อสร้างอาจจะไม่สนใจ หากเขายังไม่เดือดร้อนว่าดินจะถล่มลงมาทำให้เขาเสียหาย แต่ดินที่ละลายเพราะถูกน้ำกัดเซาะและพาไปนั้น จะออกไปทำความเสียหายแต่ประชาคมโดยรวม



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:13

น้ำโคลนจากสถานที่ก่อสร้าง ก็จะระบายลงท่อน้ำสาธารณะ และทำให้ท่ออุดตัน ระบายน้ำไม่ทันยามฝนตกหนัก ผลคือน้ำท่วม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:16

ถนน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:25

แม้แต่การก่อสร้างของภาคราชการ ก็มิเคยคำนึงถึงน้ำดินน้ำโคลนที่จะลงไปสู่ลำน้ำ ดังเช่นการก่อสร้างสพานทั้งหลายเป็นต้น เรื่องอย่างนี้ ประเทศที่เจริญปัญญาแล้วเขาจะยอมไม่ได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:35

ตะกอนดินที่ขวางห้วยหนองคลองบึงที่เคยเป็นที่ระบายน้ำในฤดูน้ำหลาก ถ้ามีพลังมากกว่าน้ำก็ทำให้น้ำท้นขึ้นฝั่งขึ้นไปท่วมบ้านเรือน แต่ถ้าน้ำมีพลังมากกว่า ก็จะดันตะกอนออกไปยังแม่น้ำ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:37

แม่น้ำเจ้าพระยา ในต่างฤดูกาล


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:40

หลังจากแม่น้ำแล้ว น้ำโคลนเหล่านี้ไปไหน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 21:45

บางทีคุณตั้งอาจจะบอกได้ว่า ในไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมานี้ ปากน้ำชายทะเลอ่าวไทยสันดอนงอกออกไปเท่าไร และมีผลต่อระบบนิเวศน์ไหม



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 09:02

ผมอยากจะสรุปเสียตอนนี้ทีหนึ่งก่อนว่า ภาคเหนือและภาคอิสาน น้ำท่วมในปัจจุบันจะรุนแรงกว่าสมัยโบราณเพราะเป็นน้ำโคลนที่ทะลักลงมาเหมือนฝายแตก โดยมีพื้นที่เกษตรกรรมพืชไร่เป็นต้นเหตุเกือบจะร้อยละร้อย หลังจากทำให้บ้านเรือนเสียหายไปแล้ว น้ำสีแดงเข้มนี้จะไหลลงมาที่เขื่อน  ส่วนหนึ่งตกตะกอน สร้างปัญหาให้กับเขื่อนต่อ อีกส่วนหนึ่งที่มิได้ตกตะกอนหรืออยู่ใกล้ท่อระบายตะกอน ก็ออกไปตามแม่น้ำ

เกษตรกรรมบนพื้นที่ราบไม่ค่อยจะเป็นปัญหาแม้ว่าจะพรวนดินทุกปีเหมือนกัน แต่ตะกอนไม่ค่อยได้ไหลออกไปกับน้ำเนื่องจากถูกคันนา หรือคันดิน ท้องร่องสวนเป็นตัวกั้นไว้

ถ้าไร่บนภูเขาจะทำคันกั้นน้ำในลักษณะเดียวกัน ก็จะสามารถกักเก็บตะกอนได้ส่วนใหญ่ทีเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 09:11

ของแถม

http://www.xzyte360.com/cmflood/
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง