เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71365 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:35

สมัยก่อนที่ความเจริญจะมาถึง เอาเป็นว่าสมัยอยุธยาก็แล้วกัน ตอนนั้นก็ยังไม่มีใครไปยุ่งกับป่ามากนัก ฝนมันก็ตกของมันอย่างนี้ น้ำก็ท่วมตามฤดูน้ำหลากทุกปี จะมากบ้างน้อยบ้างก็สุดแล้วแต่ ถ้าตกมากป่าอุ้มน้ำไว้หนักเกินกำลัง ก็พังลงมาดังที่มันเคยพังมาหมื่นชาติล้านชาติแล้ว
 
ดังนั้นอย่าคิดว่าน้ำท่วมเพราะป่าถูกทำลาย บางเวปมีการแสดงความเห็นว่าควรจะไล่คนลงจากภูเขาแล้วปลูกป่ากลับเข้าไปแทน ป่าจะได้ซับน้ำไว้ ทำให้น้ำไม่ท่วมเมืองอีก ซึ่งผิดประเด็นและไม่มีทางเป็นไปได้ ถึงป่าทึบยังไงก็รับปริมาณน้ำฝนมหาศาลของภูมิภาคส่วนนี้ของโลกไว้ไม่ได้ ต้องปล่อยลงมาหรือไม่ก็พังลงมาอยู่ดีครับ แต่…..มันมีแต่ ต้องขอเชิญติดตามกันต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:36

พอความเจริญ อันหมายถึงจำนวนประชาชนมากขึ้น อุปกรณ์เครื่องไม้เครื่องมือทำงานทดแทนแรงงานได้รวดเร็วตกเข้ามาถึง คนก็เริ่มรุกรานป่า พอป่าในที่ราบหมด ก็ขึ้นไปบุกเบิกป่าบนภูเขาต่อ  กิจกรรมส่วนใหญ่ที่ไปทำกันก็เป็นด้านเกษตร  จะเป็นบ้านเรือนหรือสถานที่ท่องเที่ยวก็นับว่ากระจ๊อยมาก ถ้านับไร่ต่อไร่แล้วไม่ถึง๕%ซะละมั้ง
การบุกเบิกของมนุษย์ เรื่มต้นที่การทำลายหน้าดิน ปกติดินที่มีพืชคลุมดินขึ้นอยู่ พืชจะเป็นตัวที่ป้องกันมิให้ดินถูกกัดกร่อนโดยน้ำฝน เมื่อถากถางเอาพืชดั้งเดิมที่ติดดินอยู่ออกเพื่อจะปลูกพืชตัวใหม่ที่คนกินได้หรือใช้ประโยชน์ได้  จะเกิดภาวะดินเปลือยขึ้นช่วงหนึ่งที่เป็นอันตรายยิ่งต่อสิ่งแวดล้อม

รูปข้างล่างบอกว่า น้ำฝนแต่ละเม็ดที่ตกจากฟ้า ขณะกระทบผิวดินมีความเร็ว๖๐กม.ต่อชั่วโมง ถ้าไม่โดนใบไม้ปะทะไว้ก่อน หน้าดินจะฟุ้งกระจายออกมาเป็นฝุ่น ผสมปนเปลงไปในน้ำ ถ้าตะกอนดินเหล่านี้ไม่ค้างอยุ่กับหญ้า ก็จะไหลตามน้ำลงลำธารต่อไป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:39

น้ำที่ไหลบ่าไปบนดินเปลือย ก็จะกัดกร่อนดินไปเรื่อย การกัดกร่อนนี้อาจารย์ฝรั่งแบ่งออกไว้เป็น๓ระดับคือ

Sheet Erosion หมายถึงกัดกร่อนแบบลอกผิวดินเป็นแผ่น

Rill Erosion  หมายถึงกัดเซาะลงมาเป็นร่องแล้ว

และ

Gully Erosion หมายถึงการกันเซาะทำลายขนาดเป็นหลุมเป็นหุบ ถ้าไม่หยุด จะขยายความรุนแรงเป็นดินถล่ม Landslide ต่อไป
 

นี่เป็นดินถล่ม Landslideประเภทต่างๆ ผมจะไม่ลงลึกละ ใครสนใจก็เอาศัพท์ในนี้ไปค้นกันเอง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:41

Sheet Erosion หมายถึงกัดกร่อนแบบลอกผิวดินเป็นแผ่น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:42

Rill Erosion  หมายถึงกัดเซาะลงมาเป็นร่องแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:43

Gully Erosion หมายถึงการกันเซาะทำลายขนาดเป็นหลุมเป็นหุบ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:45

Gully Erosion แบบน้องๆของ Landslide


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:55

มาขึ้นไปดูบนภูเขากัน เรามีพื้นที่การเกษตรที่มีปัญหาดินชะล้างอยู่ ๑๐๘.๘๗ ล้านไร่ ตามข้อมูลของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 18:00

พืชที่ปลูกส่วนใหญ่เป็นพืชล้มลุกเช่นข้าวโพด สับปะรด มันสำปะหลังเป็นต้น ทุกปีเมื่อถึงฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ ชาวไร่ก็จะทำการพรวนดิน โดยไม่เคยมีจิตสำนึกในเรื่องของตะกอนดินที่จะไหลไปกับน้ำฝน ซึ่งนอกจะพาโอชะของหน้าดินไปแล้ว ยังจะไปสร้างความวิบัติแก่สิ่งแวดล้อมที่อยู่ระดับต่ำกว่าด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 18:06

หน้าดินที่ถูกพรวนขึ้นมา โดนน้ำก็กลายสภาพเป็นของเหลว ตรงไหนต่ำกว่าก็ไหลไปตรงนั้นตามธรรมชาติของมัน



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 18:13

ส่วนใหญ่จากร่องน้ำ ก็ไปลำธาร เมืองไทยเดี๋ยวนี้พอถึงฤดูฝน จะหาลำธารน้ำใสยากยิ่งนักแล้ว จะใสก็เฉพาะที่ไหลออกมาจากเขตอุทยานแห่งชาติจริงๆ
และการที่น้ำในลำธารเหล่านั้นใส ก็เป็นหลักฐาน สมัยโบราณ น้ำหลากที่ไหลท่วมบ้านท่วมเมือง จะมิได้ขุ่นข้นเช่นยุคปัจจุบันอันทันสมัย(แต่ไร้กฏหมายที่จะควบคุม)



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 18:26

เมื่อเข้าหน้าแล้ง ลำธารส่วนใหญ่ก็จะตื้นเขินจากตะกอนหนักที่ยังไม่ได้ไหลไปกับน้ำ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 18:29

แม้คลองขนาดใหญ่ที่เคยรองรับปริมาณน้ำฝนที่ตกชุกในอดีตได้ ก็กลายเป็นร่องน้ำเล็กๆ ที่เหลือเป็นตะกอนดินจากภูเขา เพียงฝนต้นฤดูปริมาณเล็กน้อย น้ำก็เอ่อล้นตลิ่งเสียแล้ว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 18:35

เมื่อใดปริมาณน้ำฝนถึงขนาด ตะกอนที่หมักหมมในลำธารบนภูเขาก็เหมือนฝายแตก มวลน้ำโคลนไหลกระแทกกันมาเป็นช่วงๆ จนเป็นปริมาณน้ำโคลนมหึมาโถมเข้าใส่หมู่บ้าน

เราคงสังเกตุได้ว่า น้ำท่วมทางชนบทภาคเหนือสมัยหลังๆนี้ จะเป็นน้ำโคลน แม้ว่าจะไม่ปรากฏว่ามีLandslideก็ตาม



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 18:48

ยังไม่จบครับ แต่ขอพักยกก่อน

เดี๋ยวจะมาต่อภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 19 คำสั่ง