เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71147 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:43

แฝกเป็นพืชที่ดีมากในการป้องกันดินกัดเซาะและกักเก็บตะกอนดิน แต่ปัญหาก็คือ ในขณะที่ชำแฝกลงไม่ใหม่ รากยังไม่ยาวพอ หากมีฝนตกหนัก น้ำฝนจะชะจนแฝกหลุดลงมาได้

แต่แฝกที่ชำลงบนผ้าห่มดิน จะไม่เป็นเช่นดังกล่าว เพราะผ้าห่มดินจะชลอน้ำและช่วยยึดโคนแฝกไว้




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:47

ผ้าห่มดิน และหมอนกันดิน หากใช้ด้วยกัน จะเพิ่มประสิทธิภาพในการรักษาพื้นที่ลาดชันได้ดีขึ้นด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 23:00

คุณตั้งยังอยู่ไหมครับเนี่ย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 20 ต.ค. 11, 08:28



ตอนนี้ฟังคุณศศิน เฉลิมลาภ เลขาธิการมูลนิธิสืบนาคะเสถียร พูดล่าสุดนี่ดีกว่าครับ ฟังง่ายดี สรุปดี


บันทึกคลิปวีดีโอวิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วมที่จะเกิดขึ้นกับกทม.และเขตรอบนอก ตอนที่ 3 วันที่ 19 ต.ค. 2554


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 20 ต.ค. 11, 08:43

^
^


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 20 ต.ค. 11, 10:38

คันดินที่หญ้าแฝกยึดดินไว้ได้เรียบร้อย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 20 ต.ค. 11, 10:47

คุณตั้งยังอยู่ไหมครับเนี่ย
ถ้าคุณตั้งรับมือกับน้ำท่วมได้แล้ว ก็คงแวะเข้ามาค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 20 ต.ค. 11, 12:15

เพิ่งเจอข่าวเรื่องทำนบกั้นน้ำพัง 
อุตรดิตถ์ - ชาวบ้านวังดินร้องหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสอบทำนบกั้นน้ำมูลค่า 19 ล้าน หลังสร้างไม่ถึงปีพังเสียหาย แถมกักเก็บน้ำไม่ได้ โอดที่ผ่านมาหมู่บ้านประสบภัยแล้งต่อเนื่อง หลังมีทำนบกั้นน้ำหวังว่าจะช่วยแก้ปัญหาได้ แต่พอเห็นทำนบถึงกับอึ้ง เพราะนอกจากน้ำจะไม่มีแล้วดินทำนบยังยุบทั้งที่เพิ่งสร้างไม่นาน

นอกจากตัดไม้ทำลายป่า ปลูกไร่ข้าวโพด  ก็ยังมีปัญหาเรื่องทำทำนบไม่ได้ผลอีก
       
เข้าไปอ่านได้ที่นี่ค่ะ
ชาวบ้านวังดินโวยทำนบกั้นน้ำพัง โอดเพิ่งทำไม่ถึงปีแถมไม่มีน้ำกักเก็บ




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 10:58

คุณตั้งของผม เบี้ยวหายไปแล้ว

คุณตั้งคร้าบบบบ….คุณตั้ง

ห า ย ไ ป ห นา ย ย ย ย ย

 เศร้า   เศร้า   เศร้า   เศร้า  เศร้า



ท่านที่คิดว่า ผมเอาตะกอนดงตะกอนดินอะไรมาพูดยามหน้าสิ่วหน้าขวาน น้ำจ่อคอหอยอยู่อย่างนี้แล้ว ก็จริงอยู่

บังเอิญปีนี้น้ำมันมามากเป็นพิเศษ จะไปวิจารณ์ว่าทำงั้ยถึงเป็นแบบนี้ เดี่ยวจะโดนกล่าวหาว่าไปโยงการเมือง ผมจะละไว้ก่อนก็แล้วกัน
แต่ว่าถ้าครั้งใด น้ำยังไม่ท่วม ฝนลงหนักชั่วโมงเดียวน้ำก็ท่วม นั่นให้สันนิฐานเลยว่าในท่อระบายน้ำมีตะกอนดินนอนก้นอยู่เต็ม ตะกอนดินนี้ส่วนใหญ่ทีเดียว ก็มาจากพื้นที่ก่อสร้างในบริเวณนั้นนั่นเอง

ปีหนึ่งๆ รัฐจะมีภาระมากในการลอกทำความสะอาดท่อน้ำเหล่านี้ แล้วเงินใครละครับ ก็เงินภาษีส่วนรวมที่ประชาชนเป็นผู้จ่าย โดยตัวต้นเหตุไม่รู้สีรู้สา ภาษาโบราณเขาว่า เหมือนสัตว์ไม่มีบาป (ไม่ใช่คำหยาบหรือคำด่านะครับ เป็นสำนวนกลางๆ คือเขาก็ไม่รู้จริงๆว่าควรจะทำอย่างไร เพราะไม่เคยมีใครไปแนะนำ)

ใครไม่เชื่อว่าเป็นภาระหนักของหน่วยงานรัฐ ก็ลองอ่านดู

กรุงเทพมหานครโดยสำนักการระบายน้ำ มีหน้าที่ในการดูแลบำรุงรักษาท่อระบายน้ำในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยแบ่งเป็นถนนสายหลักและถนนกรมทางหลวงซึ่งสำนักการระบายน้ำรับผิดชอบดูแลท่อระบายน้ำความยาวทั้งหมด 1,638 กิโลเมตร และสำนักงานเขตรับผิดชอบดูแลท่อระบายน้ำที่อยู่ตามซอยต่างๆ ระยะทาง 4,500 กิโลเมตร รวมความยาวของท่อระบายน้ำทั้งหมด ที่กรุงเทพมหานครดูแล 6,138 กิโลเมตร ซึ่งในงบประมาณปี 2553 สำนักการระบายน้ำได้จ้างเหมากรมราชทัณฑ์ดำเนินการล้างทำความสะอาดท่อระบายน้ำระยะทาง 285 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ของสำนักงานเขตระยะทาง 1,596 กิโลเมตร รวมความยาวที่กรุงเทพมหานครจ้างเหมากรมราชทัณฑ์ทั้งหมด 1,881 กิโลเมตร สำนักการระบายน้ำจ้างแรงงานและรถดูดเลนระยะทาง 652 กิโลเมตร อยู่ในพื้นที่ของสำนักงานเขตระยะทาง 1,525 กิโลเมตร รวมระยะทาง 2,177 กิโลเมตร ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการล้างท่อระบายน้ำรวมความยาวทั้งหมด 4,058 กิโลเมตร ส่วนความยาวที่เหลืออีก 2,080 กิโลเมตร เป็นท่อระบายน้ำที่มีดินเลนน้อยและไม่เป็นปัญหาต่อการระบายน้ำ อีกทั้งท่อระบายน้ำบางส่วนได้ล้างไปแล้วเมื่อปี 2552 ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้ดำเนินการล้างท่อไปแล้วคิดเป็นผลงานประมาณ 15%

สำหรับการดำเนินการล้างท่อระบายน้ำจะทำให้การระบายน้ำได้สะดวกไหลลงสู่คูคลองและแม่น้ำได้อย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพในการแก้ปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครตามแผนการป้องกันน้ำท่วมที่กำหนดไว้ ทั้งนี้กรุงเทพมหานครได้เตรียมความพร้อมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่กรุงเทพมหานครให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมอบหมายให้หน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการขุดลอกท่อระบายน้ำ ขุดลอกคูคลอง จัดเก็บวัชพืช อย่างต่อเนื่องและเป็นประจำทุกปี เพื่อเปิดทางน้ำให้น้ำไหลได้อย่างสะดวก ซึ่งจะช่วยป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมของกรุงเทพมหานครให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 12:12

เนื่องจากกระทู้นี้ผมได้บอกไว้แต่ต้นว่าผมขอคิดดังๆ(ไม่ใช่บ่นดังๆ) ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญหรอก แต่เป็นคนที่ครูบาอาจารย์สอนมาให้คิด และเห็นว่าใครก็มีสิทธิ์คิด ก็เอาประวัติศาสตร์ที่เคยทราบมาตรองประกอบ ว่าคนโบราณที่บ้านนี้เมืองนี้เขาอยู่กับน้ำหลากน้ำท่วมกันอย่างไรจึงไม่เดือดร้อน บ้านเมืองในพ.ศ.นี้จะเอาสิ่งที่เป็นภูมิปัญญาของชาติมาประยุกติใช้ได้อย่างไร

ผมคิดว่า ถนนวงแหวนที่เป็นคันกั้นน้ำเช่นผังชุมชนเมืองสมัยโบราณ และดังโครงการพระราชดำริทั้งหลาย น่าที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นในทุกชุมชนที่อยู่ในแนวน้ำหลาก จะเริ่มจากวงเล็กวงใหญ่อะไรก็สุดแล้วแต่ ค่อยๆเริ่มค่อยขยายกันไป ถนนวงแหวน(ไม่ต้องกลมก็ได้นะครับ ขอให้วิ่งมาชนกันให้ครบวงก็แล้วกัน) จะทำหน้าที่ปกป้องชุมชนหนาแน่นอันเป็นศูนย์กลางของพาณิชยกรรมของเมือง ไม่งั้นน้ำท่วมกดATMไม่ได้เดือดร้อนตาย
แต่แน่นอน ผู้ที่อยู่ในวงแหวนนี้ ต้องจ่ายภาษีพิเศษ เพื่อให้องค์การบริหารส่วนท้องถิ่นมีเงินไปทำนุบำรุงรักษาให้อยู่กันสบาย ในระหว่างที่คนรอบนอกเดือดร้อน

ผู้ที่มิได้อยู่ในวงแหวนก็ต้องทำใจ รอจนกว่าจะมีถนนวงแหวนรอบนอก หรือนอกของนอกต่อไปอีก ระหว่างนั้นก็ต้องหาความสนุกกับน้ำท่วมไป โดยยกพื้นเรือนให้สูงเข้าไว้ หวังว่าน้ำที่หลากลงมาจะไม่เป็นน้ำโคลน เพราะคนใหญ่คนโตเผอิญพลัดหลงเข้ามาอ่านกระทู้นี้ เขาเห็นปัญหาแล้วนำไปแก้ให้มันเป็นจริงขึ้นมาได้ ปลาจะได้ว่ายเข้ามาใต้ถุนบ้านเหมือนสมัยผมเด็กๆ เห็นเขาเอาเบ็ดหย่อนลงไปก็ได้ปลาสลิดมาทำทอดแดดเดียวกินไม่มีขาด

ปีไหนนาจะล่มเพราะน้ำมามากก็ปล่อยให้มันล่ม ก็มันไม่ได้ล่มทุกปี เดี๋ยวนี้ยิ่งสบายเพราะระบบชลประทานเอื้อให้ทำนาได้ปีละสามครั้ง  รู้ว่าเดือนไหนน้ำท่วมทุกปีก็อย่าไปทำฤดูนั้น ยังเหลืออีกสองฤดูยังไงก็ได้กินได้ขาย ส่วนที่ขาดทุนไปบ้าง รัฐจะต้องชดเชยให้อย่างยุติธรรมและพอเพียง ก็เอาเงินประเภทเดียวกับที่เตรียมไว้จ่ายค่าเสียหายของเมือง ของภาคอุตสาหกรรมอย่างในปีนี้นั่นแหละมาจ่าย และการจ่ายชดเชยราคาข้าวก็ใช้เงินน้อยกว่ากันแยะมากกก ถ้าทำอย่างนี้ชาวนาก็อยู่ได้ไม่ลำบากสาหัสจนต้องออกมาโวยให้เกิดกลียุค

ข้างล่างไม่ใช่บางระกำโมเดลของรัฐบาลนะครับ(และผมก็หาไม่เจอว่าเขาจะทำอะไร อย่างไร) ผมเพียงแต่ลองSketchให้เป็นภาพประกอบเฉยๆ แต่ไม่สงวนความคิด และใครจะชมหรือจะด่าก็เชิญ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 12:39

การทำถนนในประเทศนี้ก็สำคัญ ถนนที่สร้างตามแนวน้ำก็ไม่เท่าไหร่ แต่ถนนที่สร้างขวางทางน้ำหลากนี่ ต้องคิดใหม่ทำใหม่แล้ว  

ถนนที่ไม่ได้ตั้งใจจะให้เป็นคันกันน้ำ ก็อย่าไปกลายเป็นคันกั้นน้ำมิให้หลากลงได้โดยธรรมชาติ เกิดเป็นการขยายวงน้ำท่วมกว้างออกไป แล้วกลายสภาพเป็นน้ำท่วมขัง ตลอดจนน้ำเน่าในที่สุด

ที่พูดอย่างนี้มิใช่มิให้สร้าง ต้องสร้างครับ แต่ขอให้ทำสะพาน ทำท่อระบายน้ำลอดถนนให้ใหญ่ และให้พอกับจำนวนปริมาตรน้ำที่จะหลากมาทุกปี อย่าเขียม อย่าบอกว่าไม่มีงบประมาณพอ
การที่น้ำเขาโกรธเอาและทลายถนนลงอย่างนี้มันฟ้องนะครับ ว่าเราคิดผิดทำผิด สมควรทบทวนแก้ไข

น้ำเป็นผู้ยิ่งใหญ่ ท่านอยากจะเดินทางจากที่สูงลงไปที่ต่ำ มนุษย์ผู้ต่ำต้อยอย่าบังอาจไปขวาง ต้องอำนวยความสะดวกให้ท่านดำเนินไปตามธรรมชาติของท่านให้เร็วที่สุด สะดวกที่สุด
มนุษย์อย่าผยองว่าจะเอาชนะธรรมชาติได้  ก็ได้อยู่หรอกครับ แต่ก็ชั่วคราว

วันหนึ่งท่านก็เอาคืนพร้อมดอกเบี้ยทบต้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 14:01

ถนนที่สร้างผ่านที่ลุ่ม หากเป็นถนนในแนวขวางน้ำคงต้องลงทุนทำถนนยกระดับ ไม่ต้องสูงเหมือนในกรุงเทพก็ได้ แต่พอให้น้ำลอดไปตามธรรมชาติของมัน

ถึงจะต้องใช้เงินลงทุนมาก ก็จำเป็นต้องทำ เพราะค่าเสียหายเวลาถูกธรรมชาติเอาคืนแล้ว มันมากกว่า



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 21 ต.ค. 11, 14:08

เจอคลิป ธรรมศาสตร์โมเดล   เลยเอามาลงไว้ค่ะ

!
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 10:24

22 ตค 54 , 20.59 น. คันดินป้องกันสถาบัน AIT แตก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 24 ต.ค. 11, 10:46

^
ข่าวคันดิน ปฐมบทของ Ditch and Dyke สมัยใหม่ที่เอไอทีแตก ทำให้ผมสลดใจพอๆกับได้ยินข่าวการจากไปของครูบาอาจารย์ที่เคยประสิทธิ์ประศาสตร์วิชาให้

เป็นไปได้อย่างไร สถาบันที่สอนวิชาการด้านวิศวกรรมระดับสุดยอดของอาเซียนจะคำนวณพลาด ข่าวเล็กๆที่ไม่มีการยืนยันกล่าวว่า อาจารย์ที่นั่นให้สัมภาษณ์ มีกลุ่มคนเอาจอบมาขุดทำลายเพราะคิดว่า การที่เอไอทีน้ำไม่ท่วมมันไม่ยุติธรรมสำหรับพวกเขา
เอไอทีแตก ธรรมศาสตร์รังสิตก็แตกเพราะหันหลังชนกัน

อย่างไรก็ตาม การออกแบบDitch and Dykeในอนาคตคงจะต้องใส่ Safty Factor มากกว่านี้
จะคิดว่างานวิศวกรรมขนาดใหญ่ปลอดภัย100%นั้น ไม่แน่เสมอไป
มี Safty Factorได้ ก็มี Unforeseen factor ได้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง