เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71373 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:48

เชียงใหม่ก็เป็นเจ้าประจำสำหรับเมืองน้ำท่วมนะครับ

ถ้าเชียงใหม่ท่วม กรุงเทพก็รอดยาก

๒๕๒๑ น้ำท่วมใหญ่ที่ลพบุรี และกรุงเทพทางฝั่งธน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 22:25

น้ำท่วมในยุค 2500 กว่าๆ  เป็นน้ำท่วมชนิดลุย   ไม่ถึงกับพาย  ในร.ร.พอถึงหน้าฝน น้ำจะท่วมถนนขึ้นมาถึงขอบสนาม  แต่สองสามวันน้ำก็ลด ถนนแห้งเหมือนเดิม    ตามถนนรถราก็ยังวิ่งลุยน้ำไปได้    คนกรุงเทพก็เลยไม่ค่อยจะรู้สึกว่าน้ำท่วมเป็นพิเศษ  จนเดือดร้อน
แต่ถ้าอย่างภาพข้างล่างนี้ เป็นท่วมชนิดพาย    มีคำบรรยายว่าเป็นบางซื่อ  แต่ไม่ทราบว่าพ.ศ.ไหน   
คิดว่าเคยลงในกระทู้่ภาพเก่าเล่าเรื่องมาแล้วค่ะ  แต่หาไม่เจอ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 22:26

ภาพนี้ท่วมชนิดพาย   ไม่ทราบพ.ศ. และสถานที่ค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 22:33

แต่ถ้าอย่างภาพข้างล่างนี้ เป็นท่วมชนิดพาย    มีคำบรรยายว่าเป็นบางซื่อ  แต่ไม่ทราบว่าพ.ศ.ไหน   
คิดว่าเคยลงในกระทู้่ภาพเก่าเล่าเรื่องมาแล้วค่ะ  แต่หาไม่เจอ

^
^
บริเวณหน้าตลาดบางซื่อ น้ำจากคลองเปรมประชากรดันขึ้นมาบนถนนหน้าตลาด ชาวบ้านเลยจำเป็นต้องใช้เรือพายแทนรถ

กำลังจะบอกว่า ไม่ใช่ปี ๒๔๘๕ หรอก แต่เป็น พฤศจิกายน ๒๕๒๑

http://www.bwfoto.net/articles/079.php


 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 22:47

^
ขอบคุณ  เร็วทันใจ    ยิงฟันยิ้ม

ชาวกรุงเทพและปริมณฑลกำลังตื่นตระหนกกับน้ำท่วม    เราลืมกันหรือยังว่า เมื่อเดือนมีนาคม  สุราษฎร์ธานีก็เผชิญปัญหาเดียวกัน
เข้าไปดูน้ำท่วมสุราษฎร์ธานี ได้ที่นี่ ค่ะ



บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 09:37

วิกฤตการณ์ 2012  น้ำท่วมโลก ผมนะอ่านดูมาบ่างก็เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง แต่พอมาเห็นปีนี้น้ำท่วมเยอะมาก เกือบทุกจังหวัดของประเทศไทยเราเลย ความคิดที่ว่าน้ำจะท่วมโลกนั้นอาจจะมีจริงก็เป็นได้
รูปแผนที่ประเทศไทยข้างล่าง น่าจะโดนน้ำท่วมจนเหลือประเทศไทยเท่ากับแผนที่ข้างล่างนี้ก็ได้ เพราะว่าจังหวัดที่หายไปในแผนที่นั้นตอนนี้น้ำท่วมกันทุกจังหวัดเลยใช่หรือเปล่าละครับ


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 10:28

ขอบคุณ อ.NAVARAT.C ครับที่เอ่ยถึง

เข้าไปหยิบพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ เปิดออกมาอ่านอีกครั้งเรื่อง "น้ำมากข้าวแพง"

"ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ อสนีบาตลงต้องซุ้มประตูฉนวนพระราชวังบวร ฯ และลงยอดพระมหาปราสาทพระบรมมหาราชวังวันเดียวกัน

ในเดือน ๑๒ ปีนั้น น้ำมากลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว ข้าวกล้าในท้องนาเสียหายเป็นอันมาก บังเกิดทุพภิกขภัย ข้าพแพงถึงเกวียนละชั่ง ประชาราษฎรทั้งหลาย

ได้ความขัดสนดวยอาหารกัดดารนัก จึงมีพระราชโองการให้กรมนาจำหน่ายข้าวเปลือกในฉางหลวงออกแจกจ่ายราษฎรเป็นอันมาก"


เดือน ๑๑ ปรากฎฟ้าผ่า ควรอยู่ช่วงมรสุมกว่ามวลน้ำจะหลากมาก็เดือน ๑๒ ระบบการไหลหลากของน้ำมาจากทุ่งทิศเหนือ ได้เร็วกว่าปัจจุบันเนื่องจากไม่มีอุปสรรค์เรื่องถนน บ้านเรือนขวางทางน้ำ และออกทะเลไปในที่สุด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 10:51

น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร

นำข้อมูลจากอุตุนิยมวิทยา อธิบายเส้นทางการเกิดพายุ จัดให้จุดสีแดงของปี ๒๕๒๑ พายุเบส (Bess) ซึ่งก่อตัวขึ้นเป็นตาพายุก่อนวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๒๑ และเริ่มมุ่งหน้าสู่เกาะใต้หวัน แทนที่ลมจะพัดพาพายุพัดไปยังมณฑลฟูเจี้ยนของประเทศจีน ลมเหนือคงมีประสิทธิภาพแรงพอดู ผลักพายุเบสให้เลือนลงกลับทะเลจีนใต้ไปใหม่ พายุก็พยายามจะวิ่งเข้าไปยังแผ่นดินใหญ่อีกระรอก ก็ถูกลมเหนือตีผลักลงมาอีกระรอกสอง จะเห็นว่าเส้นทางการเดินของพายุเบสนั้นวกวนเต็มที

สถานภาพพายุแบบนี้ทำให้ศูนย์กลางพายุได้โอบอุ้มดื่มน้ำสะสมไว้ปริมาณมากแน่นอน จะเห็นว่าพายุอยู่ในทะเลจีนใต้ถึง ๓ วัน (๙-๑๒ สิงหาคม) คงจะอิ่มกับน้ำเต็มที่แล้วก็มุ่งหน้าพัดถล่มกรุงฮานอย ของเวียตนามและตอนเหนือของประเทศไทยบางส่วนก่อนที่จะสลายตัวไป

แต่แน่นอนว่าอิทธิพลหางพายุคงปั่นป่วนบริเวณภาคอีสานไม่มากก็น้อย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:00

และพายุต่อมาคือ "คิท" (Kit) ระหว่างวันที่ ๒๑-๒๙ กันยายน ๒๕๒๑ พายุลูกนี้คงสร้างอิทธิพลที่ทำให้น้ำท่วมกรุงเทพได้มากพอสมควร พายุก่อตัวตอนกลางของประเทศฟิลิปปินส์มุ่งหน้าทะเลจีนใต้ อันเป็นที่คลาสสิกของพายุและเริ่มก่อตัว จะขึ้นเหนือหรือลงใต้ก็แล้วแต่มวลอากาศร้อนหรือมวลอากาศเย็นที่จะผลักพายุ

แต่แล้วพายุก็เลือกที่จะเข้ากรุงฮานอย เวียดนามอีกครั้งแต่แทนที่จะเลยผ่านภาคเหนือไป พายุกลับถูกเลื่อนลงมาตีนครพนม ลงโคราช พัดออกไปทางจังหวัดตาก แบบนี้ทั้งตาพายุ ทั้งหางพายุ กลงคลุมพื้นที่ประเทศไทยอย่างเต็ม ๆ ครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:15

น้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จนั้นเอง ได้เกิดอุกทกภัยครั้งใหญ่ ปรากฏว่าระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว

ขอบคุณ อ.NAVARAT.C ครับที่เอ่ยถึง

เข้าไปหยิบพระราชพงศาวดารรัชกาลที่ ๑ เปิดออกมาอ่านอีกครั้งเรื่อง "น้ำมากข้าวแพง"

"ครั้น ณ วันจันทร์ เดือน ๑๑ ขึ้น ๑๔ ค่ำ อสนีบาตลงต้องซุ้มประตูฉนวนพระราชวังบวร ฯ และลงยอดพระมหาปราสาทพระบรมมหาราชวังวันเดียวกัน

ในเดือน ๑๒ ปีนั้น น้ำมากลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว ข้าวกล้าในท้องนาเสียหายเป็นอันมาก บังเกิดทุพภิกขภัย ข้าพแพงถึงเกวียนละชั่ง ประชาราษฎรทั้งหลาย

ได้ความขัดสนดวยอาหารกัดดารนัก จึงมีพระราชโองการให้กรมนาจำหน่ายข้าวเปลือกในฉางหลวงออกแจกจ่ายราษฎรเป็นอันมาก"


เดือน ๑๑ ปรากฎฟ้าผ่า ควรอยู่ช่วงมรสุมกว่ามวลน้ำจะหลากมาก็เดือน ๑๒ ระบบการไหลหลากของน้ำมาจากทุ่งทิศเหนือ ได้เร็วกว่าปัจจุบันเนื่องจากไม่มีอุปสรรค์เรื่องถนน บ้านเรือนขวางทางน้ำ และออกทะเลไปในที่สุด

ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ ปีแรกที่สร้างกรุงเทพฯ เรียบร้อย พอกำแพงและพระราชวังเสร็จเรียบร้อย ก็เกิดน้ำท่วมใหญ่

สนามหลวงสมัยนั้น คงยังไม่ถมดินให้สูงเหมือนสมัยนี้ มีคนวัดได้ว่าระดับน้ำลึกถึง ๘ ศอก ๑๐ นิ้ว

ในพระบรมมหาราชวัง น้ำท่วมพื้นที่่ท้องพระโรง พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน น้ำลึกวัดได้ ๔ ศอก ๘ นิ้ว ถึงกับเสด็จออกขุนนางไม่ได้ ต้องเสด็จย้ายไปว่าราชการบนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เพราะพื้นที่สูงกว่าน้ำถึง ๕ ศอกเศษ

พวกขุนนางและพระบรมวงศานุวงศ์ต้องลอยเรือเข้าเฝ้า จอดเทียบถึงพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาทเข้าประชุมขุนนาง

ราชสำนักยุ่งยากลำบากขนาดนี้ ราษฎรยิ่งเดือดร้อนหนักกว่า ข้าวเสียสวนจม ก่อให้เกิดข้าวยากหมากแพง

ปรากฏในจดหมายเหตุว่า วันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๓๒๘ น้ำมากข้าวแพง ราคาเกวียนละ ๘๐ บาท ถึง ๑๐๐ บาท พลเมืองได้รับความอดอยาก โปรดฯให้กรมนาขนข้าวเปลือกในฉางหลวงออกจำหน่ายจ่ายแจกราษฎร

ข้าวแพงอยู่จนถึงปี พ.ศ. ๒๓๒๙

จากบทความ "กรุงเทพน้ำท่วม" โดย กิเลน ประลองเชิง หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ วันจันทร์ที่ ๑๒ กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๔

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:25

^
พายเรือเข้าวังได้ คงไม่ผิดกฎมณเฑียรบาล  ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม

มาดูพายุที่แปลกอยู่ ๑ ลูก เกิดขึ้นเมื่อเดือนพฤษภาคม ๒๕๐๔ ก่อตัวขึ้นที่ปลายแหลมญวน เข้าอ่าวไทย ซัดเข้ากรุงเทพ ฯ เต็ม ๆ เพียง ๓ วันเท่านั้น  ขยิบตา

ใคร่สนใจดูข้อมูลข้อมูลพายุหมุนเขตร้อน ๒๔๙๔ - ๒๕๕๓ ในคาบ ๖๐ ปีครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:32

น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2374 ในรัชกาลที่ 3 คราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

ในรัชกาลที่ ๓ พ.ศ.๒๓๗๔ นั้น เกิดน้ำท่วมมากกว่าในรัชกาลที่ ๑ ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า

ในปีเถาะนั้น...ปีนั้นน้ำมาก ทั่วพระราชอาณาจักร มากกว่าปีมะเส็งสัปตศก (พ.ศ.๒๓๒๘) แผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก คืบ ๑ บางคนก็สังเกตว่าที่หน้าพื้นวัดพนางเชิง (วัดพนัญเชิง) น้ำพอเปี่ยมตลิ่ง ไม่ท่วมขึ้นไปบนลานหน้าพระวิหาร ว่าเสมอกันกับน้ำปีมะเส็ง และประเทศทั้งพม่าทั้งญวนได้ข่าวว่ามากเหมือนกัน น้ำครั้งนั้นจะไปข้างไหนก็ลัดไปได้ ในกำแพงพระนครก็ต้องไปด้วยเรือ เล่นผ้าป่า มีเรือผ้าป่าตามธรรมเนียมสนุกมาก ข้าวปีนั้นน้ำท่วมเสีย ๖ ส่วนได้ ๔ ส่วน ราษฎรซื้อขายกันข้าวนาทุ่งเกวียนละ ๕ ตำลึงบ้าง เกวียนละ ๖ ตำลึงบ้าง เกวียนละ ๗ ตำลึงบ้าง ข้าวสารถังละ ๖ สลึง ๗ สลึง

อีก ๑๓ ปีต่อมา พ.ศ.๒๓๘๗ ในรัชกาลที่ ๓ นี้ เกิดข้าวแพงอยู่ ๕ วัน เพราะข้าวเก่าหมด ครั้งนี้ถึงเกวียนละ ๑ ชั่ง ปรากฏว่าข้าวแพงปี พ.ศ.๒๓๘๗ นี้ แพงชนิดราษฎรยากจนไม่มีเงินจะซื้อข้าว ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า ข้าวกำลังแพงอยู่นั้น โปรดให้จ่ายข้าวในฉางหลวงออกมาขายให้ราษฎรที่ยากจนถังละ ๑ สลึง

จากบทความเรื่อง เวียงรัตนโกสินทร์ โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
นิตยสารสกุลไทย ฉบับที่ ๒๗๓๖  ปีที่ ๕๓ ประจำวันอังคารที่ ๒๗  มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:40

^
แต่ พ.ศ. ๒๕๕๔ นี้หน้าวัดพนัญเชิง น้ำท่วมพ้นตลิ่งเมตรกว่า ๆ ถ้าไม่กั้นกระสอบทรายคงท่วมเข้าถึงพระวิหาร  ขยิบตา
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 11:50

ขอบคุณทุกท่านมากเลยครับ

ข้อมูลของแต่ละท่านนั้น บอกได้คำเดียวว่า ไม่ผิดหวัง ๆ
(อ้าว บอกไปตั้ง๓คำ ถึง๒ที)
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 17:32

ผมจะเข้าประเด็นที่ว่าคนไทยไม่เคยหลาบจำ โดยขอย้อนไปที่ความเห็นของคุณตั้ง ซึ่งเขียนไว้ในกระทู้ข้างเคียง และได้จุดต่อมความอยากที่จะคิดดังๆของผมออกมา

อ้างถึง
วิชาการนี้เรียกว่า Geomorphology ว่าด้วยเรื่องของสภาพภูมิประเทศและกระบวนการทางธรรมชาติที่ไปทำให้เกิดสภาพเช่นนั้น

ภูมิประเทศที่เราเห็นทั้งหลายนั้นเกือบทั้งหมดเกิดมาจากผลของการผุพัง (Weathering) การกัดกร่อน (Erosion) การทับถมของดินและหิน (Deposition) ที่เกิดบนพื้นผิวโลกทั้งบนดิน ใต้แอ่งน้ำและท้องทะเลมหาสมุทร และพลังงานต่างๆที่ยังสะสมอยู่ภายในโลกที่ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกอยู่ตลอดเวลา ซึ่งทำให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟ น้ำพุร้อน และรอยเลื่อนต่างๆ อันเป็นผลทำให้เกิดภัยพิบัติต่างๆ

ตัวการที่ทำให้เกิดภูมิประเทศต่างๆและผลดังกล่าวนี้ ได้แก่ ลม น้ำ น้ำทะเล น้ำแข็ง และพลังงานในรูปแบบต่างๆของโลกที่ยังคงดำเนินอยู่ต่อเนื่องตลอดมาตั้งแต่โลกกำเนิดมา (เช่น การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก ภูเขาไฟ ฯลฯ)

ความจริงพื้นฐานก็คือ พื้นผิวของผิวโลกในส่วนที่สูงจะถูกทำให้ต่ำลง ในขณะที่พื้นผิวบริเวณที่ต่ำจะเป็นแ่อ่งรับตะกอนสะสมให้สูงขึ้น จนในสุดท้าย ทั้งพื้นที่สูงและพื้นที่ต่ำปรับลงมาอยู่ในระดับเดียวกัน (ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นได้เลยในโลก เพราะพลังงานภายในโลกได้ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวและทรุดตัวตลอดเวลา)

จะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องของน้ำจืดที่ใหลอยู่บนผิวโลกเหนือพื้นดิน (Fluvial) และกระบวนการทำลายและการสร้างของมันเท่านั้นครับ

ตัดตอนอย่างสั้นๆ - น้ำฝนที่ตกลงมาในป่าเขาซึ่งเป็นพื้นที่สูง บางส่วนจะถูกดูดซึมลงใต้ดิน ส่วนที่ถูกดูดซึมไม่ทันก็จะไหลอยู่บนผิวดินลงสู่พื้นที่ต่ำกว่า พร้อมอุ้มเอาดินทรายลงมาด้วย ดินทรายที่ถูกน้ำอุ้มนำพาลงมาด้วยนี้ก็เหมือนกระดาษทราย ขัดถูกัดกร่อนก้อนหินและเม็ดดินทรายอื่นๆ เมื่อน้ำอุ้มดินทรายไว้มาก ก็ขุ่นข้น ทำให้เนื้อของมวลน้ำนั้นมีมวลแน่นขึ้น ก็สามารถจะอุ้มดินทรายได้ก้อนใหญ่ขึ้น การกัดเซาะของน้ำในพื้นที่ลาดลันสูงนี้เป็นลักษณะในทางลึก บริเวณต้นห้วยหรือต้นลำน้ำต่างๆจึงมีลักษณะเป็นร่องลึก
น้ำที่ซึบซับลงดินนั้น หากมีมากเกินระดับหนึ่ง ก็จะทำให้ความสามารถในการยึดตัวของเม็ดดินลดลง เหมือกับเราเอาน้ำเทลงดิน หากไม่มากนัก ดินนั้นเราก็จะสามารถปั้นได้ แต่หากมากจนเกินไปก็จะกลายเป็นโคลน และมากไปมากๆก็จะกลายเป็นเลนเละๆ เป็นจุดเริ่มของดินโคลนถล่ม

ตัดตอนลงมาสู่ที่ราบ - การกัดกร่อนในทางลึกลดลงไปแต่ไปเพิ่มการกัดกร่อนในทางราบ ทางน้ำหรือแม่น้ำในพื้นที่ราบจึงคดโค้งและแกว่งตัวไปมา เมื่อน้ำมากเกินกว่าความสามารถของร่องน้ำจะนำพาลงไปสู่ที่ต่ำกว่าได้ทัน น้ำก็จะท่วมล้นฝั่ง แผ่ออกไปด้านข้าง เกิดเป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำท่วมถึง (Floodplain)

เริ่มเข้าประเด็นที่อยากจะเล่าตั้งแต่จุดนี้ไป ครับ

เมื่อน้ำล้นร่องน้ำไหลออกไปทางด้านข้าง ก็จะทำให้เกิดภูมิประเทศที่สำคัญอยู่ 3 ลักษณะ คือ อันแรก สันคันคลองตามธรรมชาติ (Natural levee) อันที่สอง ร่องแยกบนสันคันคลองนี้ (Cleavage) จนขยายกลายคลองธรรมชาติ (Channel) เชื่อมกับทางน้ำหลัก และอันที่สาม พื้นที่น้ำท่วม (Swamp)

สันคันคลองตามธรรมชาตินั้นปรากฎให้เห็นทั้งสองฝั่งตลอดแนวแม่น้ำตามธรรมชาติที่ไหลอยู่ในพื้นที่ราบ เกิดจากตะกอนดินทรายที่แม่น้ำพัดพามา เมื่อน้ำในแม่น้ำมากและไหลแรง มวลน้ำจะมีความสามารถในการอุ้มเม็ดดินทรายได้มากและก้อนใหญ่ (น้ำหนักมาก) เมื่อความเร็วของน้ำลดลงตะกอนดินทรายที่ก้อนใหญ่หรือมีน้ำหนักมากก็จะตกลงเป็นตะกอน สันคันคลองตามธรรมชาติก็เกิดจากกระบวนการนี้ คือ ในร่องน้ำ น้ำไหลแรง พอเอ่อล้นตลิ่ง ความเร็วของการไหลลดลง ตะกอนก็ตก
ดังนั้น สันคันคลองธรรมชาติจึงเป็นพื้นที่สูง เนื่องจากมีตะกอนดินทรายมาทับถมพอกพูนทุกครั้งที่มีน้ำเอ่อล้นตลิ่ง

ร่องแยกบนสันคันคลองที่กลายเป็นคลองเชื่อมกับแม่น้ำ ร่องนี้คือร่องระบายน้ำจากแม่น้ำเมื่อน้ำเอ่อไหลท่วมสันคันคลอง น้ำจะเซาะทำให้เกิดเป็นทางน้ำไหลเป็นร่องที่ขยายกว้างขึ้นเรื่อบๆเพื่อนาพาน้ำลงสู่ที่ต่ำด้านหลังของสันคันคลอง ร่องน้ำนี้อาจจะมีสันคันคลองธรรมชาติได้แต่ไม่เด่นชัด

พื้นที่น้ำท่วม คือพื้นที่รับน้ำทีเอ่อล้นตลิ่ง เป็นที่ลุ่มมาก ชุมชื้นหรือชื้นแฉะมากกว่าพื้นที่ทั่วไป มีลำรางตามธรรมชาติอยู่มาก พื้นดินเป็นดินเนื้อละเอียดและอ่อน พื้นที่นี้อยู่ระดับต่ำกว่าสันคันคลองธรรมชาติ และในหลายกรณี ระดับอาจจะต่ำกว่าระดับท้องแม่น้ำก็ได้

คนโบราณเขาเลือกตั้งบ้านเรือนถิ่นฐานอยู่บริเวณที่เป็นสันคันคลองตามธรรมชาติ บ้านเรือนเป็นแบบพื้นสูงให้น้ำที่เอ่อล้นรอดใต้ถุนไปได้ ปลูกไม้ยืนต้นในบริเวณนี้ ช่องต่อระหว่างสันคันคลองนี้กับพื้นที่น้ำท่วมก็ทำไร่ทำสวน พอลงไปในบริเวณพื้นที่น้ำท่วมก็ทำนา ไม่ปลูกบ้านอาศัย มีแต่เขียงนาเพื่อพักชั่วคราว

ปัจจุบัน เราไปปลูกบ้านเรือนอยู่ในพื้นที่น้ำท่วมในที่ใช้ทำนา แถมยังปลูกบ้านติดพื้นดินอีก ไปพัฒนาเป็นพื้นที่นาให้เป็นสนามกอล์ฟและโรงงานอุตสาหกรรม เอาพื้นที่บนสันคันคลองไปทำถนน เอาร่องน้ำที่ธรรมชาติใช้ระบายน้ำเอ่อล้นกลับทิศทางเป็นทางระบายน้ำออกจากที่ต่ำ รวมทั้งขุดดินฝังท่อระบายน้ำโดยกำหนดระยะลึกจากผิวดินแทนที่จะกำหนดระยะลึกใ้ห้เสมอหรือลาดเอียงไปสู่ระดับน้ำในแม่น้ำ กลับทิศกันหมดเลย

การขยายเมืองขยายพื้นที่ชุมชนเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เราทำย้อนธรรมชาติได้ตราบใดที่เราเข้าใจลักษณะของมัน และไม่ไปฝืนธรรมชาติมากจนเกินไป ทั้งหมดจะต้องพัฒนาไปบนหลักการของ Living in harmony with nature ซึ่งไม่ใช่เรื่องของการสรรสร้างธรรมชาติรอบตัวให้สวยงามและดูเป็นธรรมชาติ แต่เป็นเรื่องของการอยู่อย่างเข้าใจในกระบวนการทางธรรมชาติ และเมื่อเราหลีกไม่พ้นที่จะต้องอยู่ในสภาพนี้ ก็หนีไม่พ้นที่จะต้องคำนึงถึง 4 เรื่อง (ไม่ว่าจะเป็นบุคคลหรือรัฐ) คือ
เรื่องแรก คือ การจัดการล่วงหน้าเพื่อจะบรรเทาภัยและความเสียหายที่จะเกิดขึ้น (Mitigation) เนื่องจากเป็นภัยธรรมชาติที่ต้องเกิดเป็นปกติ ห้ามมันมิได้
เรื่องที่สอง คือ การเตรียมตัวให้พร้อมที่จะอยู่ร่วมกับมันหรือแก้ไขมันเมื่อมันเกิดเรื่องขึ้นมา (Preparedness) อันนี้เป็นเรื่องของพวกอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ
เรื่องที่สาม คือ ความพร้อมที่จะผจญกับมันในทั้นทีเมื่อเกิดเหตุ (Response) อันนี้เป็นเรื่องทางใจ คือ พร้อมสู้และกระโจนเข้าแก้ไขทั้งส่วนยุคคลและส่วนรวม
ซึ่งหมายโดยเฉพาะถึงการทำให้ตนเองและผู้อื่นมีชีวิตอยู่ ไม่ตายหรือเจ็บไปตั้งแต่แรก และอยู่รอดตลอดช่วงของเหตุการณ์
และเรื่องที่สี่ คือ การกู้ภัย การกู้ความเสียหาย และการเยียวยาหลังจากการเกิดเหตุ (Salvation and Remedy)

ภาพของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ คงเห็นด้วยกันว่า เกือบทั้งหมด รัฐไปเตรียมการอยู่ในเรื่องที่สี่

ผมจะยังไม่ไปถึงบันได๔ขั้นของคุณตั้ง แต่จะย้อนไปขยายต้นเหตุวิบัติ ตั้งแต่เรื่องErosion หรือดินกร่อน ที่ส่วนใหญ่ก็เนื่องมาจากน้ำ โดยเฉพาะฝน จะกร่อนด้วยลมบ้างก็เป็นส่วนน้อย

ในธรรมชาตินั้น ดินกร่อน เป็นเหตุนำให้เกิด ดินพัง Landslide แล้วดินก็จะละลายลงมาเป็นตะกอน Silt ใหลไปยังต้นน้ำลำธาร ออกสู่แม่น้ำและทะเลตามลำดับ ดินตะกอน Sediment ที่ละลายลงจากภูเขานี้ จะไปทับถมอยู่ที่บริเวณแม่น้ำชนกับทะเล เกิดเป็นสันดอนขึ้นมา เมื่อเวลาผ่านไปร้อยปี พันปี หมื่นปี สันดอนก็ทับทมสูงขึ้นกลายเป็นแผ่นดิน ว่ากันว่าสุวรรณภูมิเมื่อสองพันปีที่แล้ว สมัยที่คนอินเดียนั่งเรือมาขึ้นฝั่งเพื่อแผยแผ่อารยธรรมสมัยทวาราวดีนั้น นครปฐมยังเป็นทะเลอยู่เลย ผมเคยไปดูเขาขุดบ่อดินขายแถวหัวหมาก ลึกลงไปแค่ยี่สิบเมตรก็เจอเปลือกหอยแครงเต็มไปหมด ไม่ต้องสงสัยว่าบริเวณนั้นเคยเป็นทะเลมาก่อน

เริ่มต้นอย่างนี้เพื่อจะได้ไม่สงสัยว่า ชาวบ้านชาวเมืองที่อาศัยอยู่ในที่ราบลุ่มภาคกลางจะชาชินกับสภาพน้ำท่วมขนาดไหน และอย่างไร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง