เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71041 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 19:52

เดี๋ยวมื้อหลังอาหาร ผมจะกล่าวถึงพวกโครงการก่อสร้างครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:21

ความจริง ถ้าเมืองไทยเราสามารถให้เกษตรกรทำคันดิน(คล้ายคันนา) ผันน้ำ(ไม่ใช่กั้นน้ำไว้เช่นการทำนา) เพื่อไม่ให้ตะกอนดินที่เกิดจาก Sheet Erosion ใหลออกมาข้างนอกไร่ได้น้อยลง ก็ดีถมไปแล้ว
 
รั้วกันตะกอน เอาไว้ทีหลังยังได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:28

รั้วกันตะกอน น่าจะนำมาใช้กับการก่อสร้างก่อน เช่นงานสร้างสะพานเพื่อกันไม่ให้ดิน โคลนลงไปสู่คลอง ทำให้เกิดการตื้นเขินดังที่ผมกล่าวไว้ตอนต้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:34

อีกสิ่งหนึ่งที่เขายอมไม่ได้คือ การที่โคลนจะติดล้อรถบรรทุก(หรือรถอื่นใด)ออกมาจากสถานที่ก่อสร้าง แล้วนำไปตกหล่นบนถนน และในที่สุดจะลงไปสู่ท่อระบายน้ำสาธารณะ

กฏหมายของเขาจะบังคับให้มีการล้างล้อรถให้สะอาดก่อนทุกครั้ง ก่อนจะผ่านออกไปข้างนอก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:36

บ่อน้ำล้างล้อแบบนี้เป็นแบบสำเร้จรูป เสร็จงานที่นี่แล้ว รื้อไปใช้งานอื่นได้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:44

ขอแนะนำให้รู้จัก หมอนกันดิน (Coir Log) ที่ทำจากใยมะพร้าวอัดแน่นเข้าไปในปลอกตาข่ายใยสังเคราะห์์ที่เหนียวเป็นพิเศษ

หมอนที่ยาวเหมือนหมอนข้างยักษ์นี้มีประโยชน์หลายอย่าง เพราะสามารถกรองน้ำกักเก็บตะกอนไว้ เหมือนรั้วกันตะกอน แต่ใช้งานได้หลากหลายกว่า

ดังเช่น

นำมาเป็นตัวกรองป้องกันตะกอนลงไปสู่ท่อระบายน้ำในสถานที่ก่อสร้าง ตามข้อบังคับของกฏหมาย




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:46

นำมาล้อมกองดินกองทรายในสถานที่ก่อสร้างไว้ ไม่ให้ไหลนองไปเมื่อฝนตก

พวกนี้ กฏหมายบังคับให้ทำทั้งนั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 21:59

หมอนกันดิน และรั้วกันดิน เป็นทางเลือกในงานลักษณะเดียวกัน คือกันตะกอนดินจากสถานที่ก่อสร้างลาดชัน(ไม่มาก)ด้วย



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:03

เมืองไทยเคยมีการใช้แนวคิดลักษณะเดียวกันนี้มาก่อน โดยใช้ไม้ไผ่ แต่ไม่ได้ผลเพราะมีช่องว่างระดับผิวดินแยะ

ไม่เหมือนหมอนกันดิน ที่อ่อน โค้งแนบกับดินได้สนืท และกักเก็บตะกอนได้จริง




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:06

บทบาทของหมอนกันดินในงานก่อสร้าง



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:09

และแม้ในไร่เกษตรกรรม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:14

การใช้งานหลังเกิดไฟป่า ผิวดินเปลือยไร้พืชคลุมดินพร้อมที่จะถูกน้ำฝนกันเซาะ หมอนกันดินจะกักเก็บตะกอนไว้ไม่ให้ไหลลงไปกับน้ำ



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:25

ผ้าห่มดิน (Erosion Control Blanket)

จะใช้เมื่อต้องการปลูกหญ่้าลงบนพื้นที่ลาดชันให้ได้ผลดี และสม่ำเสมอ เพื่อที่จะเร่งให้พืชสามารถปกป้องหน้าดินไว้จากฝนได้เองโดยธรรมชาติ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:34

ปกติ จะใช้วิธีการหว่านเมล็ดหญ้าลงไป (หญ้ารูซี่ Ruzi เป็นหญ้าสำหรับเลี้ยงสัตว์ รากยาวยึดดินดี มีแหล่งเพาะเมล็ดขายที่ขอนแก่น) ติดตั้งผ้าห่มดินทับลงไป ตรึงด้วยหมุดไม้ให้ติดแน่นกับดิน แล้วรอฟ้ารอฝน ถ้าไม่แล้งจัด หญ้าจะงอกและจะรักษาหน้าดินได้ตามธรรมชาติภายในฤดูกาลเดียว


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 22:37

หญ้าแฝกจะงอกงามและมีอัตราการอยู่รอดดีขึ้น หากชำลงบนผ้าห่มดิน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง