เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71044 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 13:20

ภาพข้างบนของท่าน Navarat ไม่ทราบว่าหมู่บ้านแถวไหน    แต่อาจเป็นได้ว่าเจ้าของหมู่บ้านไม่ได้นึกว่าน้ำจะท่วมหนักขนาดปีนี้  ปีก่อนๆก็อยู่กันมาได้   หรือไม่ก็ไว้วางใจว่ารัฐบาลจะช่วยป้องกันไว้ได้

อ่านชะตากรรมที่เกิดกับหมู่บ้านชวนชื่นการ์เด้นวิลล์ ต.บางเดื่อ อ.เมือง จ.ปทุมธานี แล้วใจหายไปกับเจ้าของบทความ   ก็ยังดีที่หลานๆปลอดภัยรอดตายมาได้
เหมือนเจอศึกสงครามเลยทีเดียว

หมู่บ้านชวนชื่นฯ ที่ว่านี่หมู่บ้านระดับเศรษฐี  บ้านสวยๆทั้งนั้น    บัดนี้รู้แล้วว่าน้ำหลากมอบความทั่วถึงให้หมด ไม่ว่าคนจนหรือคนรวย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 13:43

ผมกำลังเป็นห่วงฟาร์มจรเข้ที่สมุทรปราการอยู่ครับ ที่นั่นตัวขนาดพญาชาละวันก็เป็นร้อยเป็นพันแล้ว ถ้ารวมลูกเด็กเล็กแดงเห็นว่ามีกว่า๖๐,๐๐๐(หกหมื่น)ตัว ไอ้ที่ฟาร์มแตกแถวอ่างทองนั้นกระจิบจิ๊บจ๊อยมากหากฟาร์มที่นี่แตก

ในเวปมีคนปากน้ำเป็นห่วงเรื่องนี้กันแยะ แต่ทางฟาร์มก็ไม่มีการแถลงยืนยันความพร้อมรับมืออะไรออกมาเลย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 14:02

ถูกแหย่อีกแล้ว เลยต้องรีบกลับมาเข้าวงครับ

ตามข่าวเรื่องน้ำท่วม เรื่องคันกั้นน้ำพัง และคำอธิยายที่บอกว่าพังเพราะทนแรงดันของน้ำไม่ไหว ก็เลยอยากจะขยายความ โดยขอวกเข้าเรื่องกระบวนการของธรรมชาติในเรื่องของการกัดกร่อนด้วยน้ำอีกครั้งหนึ่งครับ

หลักการสำคัญของกระบวนการกัดกร่อนด้วยน้ำบนผิวโลกนั้น คือ น้ำจะพยายามกัดกร่อนทุกสิ่งทุกอย่างลงไปจนกว่าจะถึงระดับที่เรียกกว่า Base level (คือประมาณระดับน้ำทะเล) สำหรับในพื้นที่สูงและลาดชันมาก พลังในการกัดกร่อนจะเน้นไปทางดิ่ง คือกัดเซาะผิวดินลึกลงไปเรื่อยๆ เมื่อความลาดชันลดน้อยลง พลังการกัดกร่อนในทางดิ่งจะลดลง แต่จะไปเพิ่มในทางราบ เมื่อเข้าสู่ที่ราบ พลังการกัดกร่อนทางดิ่งจะลดลงเหลือน้อยมาก แต่จะไปกัดกร่อนด้านทางราบเกือบทั้งหมด

ผลก็คือ ร่องน้ำบนเขาต่างๆจะแคบ ลึกและค่อนข้างตรง เมื่อลงสู่ที่ราบ ร่องน้ำจะกว้างและคดโค้งไปมา ซึ่งกระบวนการกัดกร่อนและผลที่ได้รับนี้ เกิดขึ้นเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นที่กองดิน กองทราย ริมขอบถนน หรือแม้กระทั่งการสาธิตทดลองหยอดน้ำลงบนทรายทีใส่อยู่ในถาด

พลังของน้ำนี้มีอยู่ทั้งในตัวของมันเอง (ในระดับโมเลกุล) และในระดับที่มันมารวมตัวกันเป็นมวล
พลังที่อยู่ในตัวของมันเองเป็นเรื่องทางเคมี ซึ่งผมจะไม่ขอกล่าวถึง แต่พลังที่มันรวมตัวกันเป็นมวลนั้น มันมีทั้งพลังน้ำหนัก (เมื่ออยู่กับที่) มันมีพลังดันกระแทก (เมื่อมันเคลื่อนที่) มันมีพลังจากการเพิ่มและลดปริมาตรของมวลของมัน (เมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนระหว่างร้อนและเย็น) มันมีความสามารถในการละลายเอาสารต่างๆเข้ามาไว้ในตัวมัน ทำให้มันมีสภาพเป็นกรดหรือด่าง และยังทำให้มันแปรตัวเองเป็นน้ำที่อยู่ในสภาพ Oxidation และ Reduction สุดท้ายมันยังมีความสามารถในการอุ้มของแข็งต่างๆได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มน้ำหนักและความหนาแน่นให้กับมวลของมัน (น้ำยิ่งไหลแรงยิ่งสามารถผลักให้หินก้นใหญ่ให้กลิ้งไปได้ และสามารถอุ้มหินก้อนใหญ่ได้ ยิ่งมีมวลแน่นจากดินโคลน (น้ำขุ้นข้น) ก็ยิ่งสามารถอุ้มหินก้อนใหญ่ได้) และท้ายที่สุดมันยังสามารถย่อยขนาดของตะกอนให้เล็กลงได้อีกด้วย ด้วยการขัดถู การกระแทก กระเทาะ และการพาครูคไป
น้ำจึงเป็นตัวการสำคัญในการกัดกร่อน นำพาตะกอนออกไป แล้วเอาไปทิ้งไว้ไกลๆจากแหล่งเดิม

พลังของมันก็ขนาดนี้แหละครับ มันเป็นหนึ่งในตัวการทำลายที่สำคัญบนพื้นผิวโลกพอๆกับที่มันเป็นตัวการสร้างสรรความเจริญงอกงามของชีวิตและความสุขบนโลก การจะจัดการกับมันจึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ครบ
 
ขออารัมภบทไว้เท่านี้ก่อน ว่าจะขึ้นหน้าใหม่ครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 14:22

ในที่สุดคุณตั้งก็ทนแรงคะยั้นคะยอไม่ได้  ต้องเข้ามาร่วมวง
ขอต้อนรับด้วยคลิปข่าวน้ำท่วมไทย จากข่าวรอยเตอร์



บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 15:30

ลืมเรื่องพลังของน้ำไปอีกอย่างหนึ่ง
น้ำแทรกตัวไปได้เกือบจะทุกที่ที่มีช่อง ในดินทรายน้ำก็แทรกเข้าไปอยู่ระหว่างเม็ดทราย หากเป็นชั้นหินหรือทรายที่มีน้ำแทรกอยู่ มันก็เป็นชั้นน้ำบาดาล เราก็สามารถเจาะลงไปดูดเอามันขึ้นมาใช้ได้ น้ำที่อยู่ในรูพรุนระหว่างเม็ดดินทรายนี้ มันมีแรงดันรอบตัวมันด้วย และแรงดันนี้ก็เชื่อมต่อกันไปเป็นวงกว้างอีกด้วย เมื่อเราเอาน้ำออกมาจากรูพรุนดินทรายก็จะยุบตัว ในทำนองเดียวกันหากเราเอาน้ำใส่เข้าไปในรูพรุน ดินทรายก็จะพองตัว คราวนี้ถ้าน้ำมันมากถึงระดับที่อิ่มจนแปร้แล้ว เราลองเขย่าดินทรายนั้ดูก็จะเห็นว่ามันไหลได้ เรียกกันว่า Liquefaction

การสร้างเขื่อนกักน้ำต่างๆนั้น ที่กลัวกันมากเรื่องหนึ่งก็คือเรื่องของ Piping คือ หากปล่อยให้มีน้ำซึมเป็นรูผ่านได้เมื่อไร น้ำจะกัดเซาะพาเม็ดดินทรายออกไปกลายเป็นรูใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ จนในที่สุดเขื่อนก็รั่วและพัง
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ แรงดันของน้ำที่อยู่ในรูพรุนของสันเขื่อน มันมีแรงดัน เพราะฉะนั้นก็ต้องลดแรงดันของมัน ในอุโมงใต้เขื่อนหากเดินลงไปจะแฉะมากเพราะมีน้ำไหลออกมา หรือหน้าเขื่อนที่เห็นคราบขาวๆนั้นก็เพราะน้ำซึมออกมา เขาตั้งใจทำเพื่อลดแรงดัน ในทำนองเดียวกัน หากรูอุดตันแห้งเกินไปก็จะไม่สบายใจ เขื่อนก็อาจจะพังได้อีก สันเขื่อนที่แห้งสนิท ดินทรายก็จะไม่จับตัวกัน ก็อันตรายอีก ดังนั้นจึงอาจเป็นเรื่องแปลกที่เขื่อนจะต้องมีน้ำซึมให้ชื้นอยู่ตลอดเวลา ดูเหมือนกับมีการรั่วซึม หากระดับน้ำในเขื่อนต่ำอยู่ตลอดเวลา พอจะกักน้ำให้สูงขึ้นก็จะต้องค่อยๆทำ เพื่อให้สันเขื่อนปรับระดับความชุ่มชื้น เพื่อเขื่อนจะได้ไม่เป็นอันตราย ก็อาจเป็นเรื่องแปลกอีกเหมือนกันที่จะเห็นเขื่อนทำการกักเก็บน้ำแต่ก็ต้องระบายออกไปพร้อมๆกันด้วย ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาตัวเขื่อนและสภาพแวดล้อมในล้ำน้ำใต้เขื่อนให้คงที่ แรงดันของน้ำนี้มีมหาศาลมากพอที่จะยกเขื่อนบางแบบให้พลิกไำด้เลยทีเดียว การออกแบบเขื่อนจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดมาก จึงมีเขื่องหลายแบบหลายชนิด ขึ้นอยู่กับสภาพของพื้นที่ ธรณีวิทยา ราคา และวัตถุประสงค์
และอีกเรื่องหนึ่งก็คือ กรณีน้ำเต็มจนล้นสันเขื่อน สันเขื่อนเป็นจุดที่เปราะบางมาก เป็นส่วนที่เล็กแคบที่สุด การออกแบบเขื่อนจึงมักจะทำให้มีทางระบายน้ำล้น (Spillway) ไม่ให้น้ำล้นข้ามตัวสันเขื่อน ยกเว้นเฉพาะที่ออกแบบเจาะลงให้น้ำไหลข้าม

ร่ายยาวมาพอสมควรก็เพียงเพื่อจะขยายความกรณีคันดินหรือกระสอบทรายที่เอามากั้นน้ำท่วมนั้น ว่าทำไมเอาไม่อยู่
มันก็มีสาเหตุหลายประการ แต่ละจุดแต่ละแห่งก็ไม่เหมือนกัน คงพอจะนึกภาพออกแล้วนะครับ
การใช้คันดินทรายเอามาถมก็จะเหมาะสมสำหรับบางบริเวณ การใช้กระสอบทรายก็จะเหมาะสำหรับบางบริเวณ

น้ำท่วมคราวนี้จึงให้ข้อมูลสำคัญที่ต้องเก็บไว้เพื่อการสู้หรือป้องกันในอนาคต


 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 16:35

เชิญบรรยายไปเรื่อยๆครับ ถึงตาผมจะจดเล็กเช่อร์มั่ง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 18 ต.ค. 11, 16:47

^
ไม่แฟร์ค่ะ    ครูตั้ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 09:51

สวัสดีตอนเช้าครับ

ครูตั้งว่าไปถึงไหนแล้วล่ะ อย่าเพิ่งWalkoutไปเสียนะครับ ผมตั้งใจอ่านอยู่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 10:10

ระหว่างครูตั้งเข้าห้องพักครูไปยังไม่มา ผมขอกลับไปเรื่องตะกอนดินที่เป็นต้นเหตุวิบัติภัยจากพลังอันทรงอำนาจของน้ำใหม่

ภาพนี้เป็นประสพการณ์จริงในคราวหนึ่งที่ผมขึ้นไปค้างแรมบนเขา ใกล้ๆแคมป์มีร่องน้ำเล็กๆที่ปกติจะแห้ง แต่คนงานไปขุดบ่อน้ำซับไว้เพื่อเอาน้ำมาใช้

คืนนั้นฝนตกหนักทั้งคืน ใกล้รุ่งได้ยินเหมือนเสียงน้ำถล่มในร่องน้ำข้างล่าง โครมครามแล้วก็ค่อยๆเงียบไป จนเช้าแล้วฝนยังไม่หยุดตก ผมเลยถ่ายรูปบรรยากาศเซ็งๆไว้

ใกล้เที่ยงมั้งฝนจึงขาดเม็ด หลังจากนั้นไม่นานคนก็มารายงานว่า น้ำป่าถล่มฝายข้างบนแตก ร่องน้ำเป็นลำธารไปแล้ว ผมเดินไปดู เห็นเข้าแล้วเกิดความทึ่งว่า ร่องน้ำเล็กๆที่ว่านั่นเดิมเป็นลำธารขนาดดังในรูป แต่ถูกกลบด้วยตะกอนดินจนหมดสภาพดั้งเดิมของมัน แต่แล้ววันหนึ่งธรรมชาติก็เอาคืน ส่งน้ำมาล้างตะกอนดินหายไปหมด ดีแต่ว่าแคมป์อยู่สูงกว่า และตีนเขาก็เป็นแคว น้ำตะกอนก็ไหลลงไปโดยที่ไม่เป็นอันตรายต่อคน

ยังนึกว่าถ้าเส้นทางไหลมันผ่านแคมป์  ผมและคนงานที่นั่นจะเป็นอย่างไรก็ไม่รู้ได้เหมือนกัน


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 10:35

^
ขยายภาพให้เห็นสภาพร่องน้ำ และลำธารของเดิมที่กลับมาใหม่
รอฟังเรื่องตะกอนดิน ต่อไปค่ะ

เกรงว่าคุณตั้งจะมัวขนของขึ้นชั้นบน  หรืออพยพออกห่างเส้นทางน้ำไปพักที่อื่นเสียแล้ว  จึงไม่ได้เข้ามาแวะเรือนไทย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 10:42

^
ขอบคุณครับ
.
.
พอดีผมได้ไปอ่านบทความของ รศ.ดร.อดิศร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะพัฒนาการเศรษฐกิจ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ หรือ นิด้า ในเรื่องปัญหาการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ท่านที่สนใจลงลึกก็เข้าไปอ่านเอาเองตามนี้

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316606565&grpid&catid=02&subcatid=0200

ส่วนผมจะยกเอามาเฉพาะตอนที่ผมกับท่านมีความเห็นเหมือนกัน ผมตะโกนบอกอย่างนี้มานานแล้วแต่ผู้หลักผู้ใหญ่เขาไม่ได้ยิน แต่อาจารย์ท่านนี้เขียนบทความนี้ขึ้นมาหนังสือพิมพ์เอาไปเสนอหลายฉบับ น่าจะเข้าหูเข้าตาผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านในเมืองบ้าง

น้ำท่วม...เป็นเรื่องของความเห็นแก่ตัว

กรณีน้ำท่วมที่เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำอีกตั้งแต่จังหวัดในภาคเหนือ เช่น จังหวัดอุตรดิตถ์ไล่ลงมาจนถึงจังหวัดในภาคกลาง เช่น สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยาฯลฯ ล้วนแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของคนไทยอย่างปฏิเสธไม่ได้ ตัวอย่างปัญหาน้ำท่วมที่กำลังเกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่าสังคมไทยได้เปลี่ยนจากสังคมของการเฉลี่ยทุกข์เฉลี่ยสุขไปเป็นสังคมของความเห็นแก่ตัวอย่างสมบูรณ์ คนที่มีเงินหรือมีอำนาจทางเศรษฐกิจเหนือกว่าก็สามารถเอาเปรียบคนยากคนจนได้(อย่างหน้าชื่นตาบาน) ลองดูตัวอย่างดังต่อไปนี้นะครับ

ตัวอย่างที่หนึ่ง การปล่อยปะละเลยให้มีการบุกรุกพื้นที่ป่าสงวนในภาคเหนือเพื่อปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด   แสดงให้เห็นว่านักธุรกิจหรือผู้ที่มีอิทธิพลทั้งหลายไม่เคยสนใจเลยว่าการทำธุรกิจที่ใช้ข้าวโพดเป็นวัตถุดิบนั้นได้นำมาสู่การสูญเสียพื้นที่ป่าไม้ที่ทำหน้าที่เป็นต้นน้ำสำคัญของประเทศ พื้นที่ต้นน้ำเหล่านี้ทำหน้าที่ชะลอการไหลของน้ำในฤดูฝนและคลายน้ำที่อุ้มไว้ในฤดูแล้ง เมื่อนักธุรกิจไทยเลือกที่จะรุกรานพื้นที่ป่าไม้เพื่อปลูกข้าวโพดทั้งที่รู้ว่าเป็นการทำลายระบบนิเวศและเป็นต้นตอของปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งของประเทศไทย ก็ย่อมแสดงให้เห็นถึงความมักง่ายและความเห็นแก่ตัวของกลุ่มทุนเหล่านี้ทั้งสิ้น หลังจากที่นักธุรกิจค้าข้าวโพดได้กอบโกยผลประโยชน์จากการทำลายระบบนิเวศในพื้นที่ต้นน้ำ เป็นที่พอใจแล้วก็แสดงความใจแคบโดยการทิ้งปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งให้คนยากคนจนในชนบทในภาคกลาง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 10:44

วังน้ำเขียว ผมว่ากรมป่าไม้เกาไม่ถูกที่คันยังไงไม่รู้ซี

http://www.google.co.th/#hl=th&sa=X&ei=pkieTq7VMY7KrAeWseieCQ&sqi=2&ved=0CBgQBSgA&q=%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%88%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B9%82%E0%B8%9E%E0%B8%94+%E0%B8%9B%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%A7%E0%B8%99&spell=1&bav=cf.osb&fp=1fbe6742bf89f9f0&biw=1280&bih=654

http://www.manager.co.th/Local/ViewNews.aspx?NewsID=9540000087814
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 11:01

หลังน้ำท่วมจะเห็นร่องรอยของมันแหละครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 11:17

คันดินกั้นน้ำ อาจกลายเป็นตะกอนดินได้ใช่ไหมคะ
การระดมสร้างคันดิน ช่วยอะไรได้บ้าง     ดิฉันเห็นหลายแห่งสร้างคันดินกันมากมาย แต่เมื่อเจอน้ำคันดินก็อ่อนตัวมิใช่หรือ   จะกันน้ำได้อย่างไร    กลับจะกลายเป็นผลเสียในภายหลังรึเปล่า
ที่ถามเช่นนี้ เพราะคิดว่าน้ำท่วมแบบนี้คงไม่ใช่หนเดียว  อาจมีอีกในปีหน้าปีโน้น     ถ้าหากว่าคันดินมีผลเสียมากกว่าผลดี ก็น่าจะพิจารณาหยุดสร้างได้แล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 19 ต.ค. 11, 11:48

คันดินมีสองลักษณะครับ

ถ้าเป็นคันดินตามระบบ Ditch and Dyke ซึ่งวิศวกรคำนวณขนาดและวิธีก่อสร้างดีแล้ว เช่นต้องบดอัดให้แน่นอย่างไรและทดสอบอย่างไร ความลาดชันเท่าไร คันพวกนี้จะแข็งแรงเมือนคันถนนที่ขาดแต่ผิวถนนข้างบนเท่านั้น และถ้าบนเชิงลาดนั้น มีการปลูกพืชคลุมดินหรือพืชยึดดินให้ถูกต้อง ก็จะไม่เกิดErosion เมื่อน้ำมา นอกจากน้ำจะแรงจริงๆหรือคำนวณความสูงไว้ผิด หรือไม่ได้รับการดูแลรักษาดีพอ จึงจะพัง เมื่อพังแล้ว ใช่ครับ ดินส่วนหนึ่งจะละลายไปกับน้ำ

แต่ถ้าเป็นคันดินที่ทำขึ้นเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ถ้าทำไว้ดีและน้ำไม่แรงพอก็ต้านน้ำอยู่ โดยดินจะละลายไปเป็นตะกอนดินบ้าง
แต่ถึงจะต้านน้ำไว้ไม่อยู่ ดินถูกน้ำพังทะลายไปสิ้นเชิงก็ต้องช่างมันเถอะ น้ำลดก็ต้องล้างท่อ ล้างทางระบายน้ำเป็นการใหญ่อยู่แล้ว

ส่วนคันระบายน้ำชั่วคราวที่ดีๆหน่อย ดังเช่นที่เอามาโพส์ตในกระทู้ข้างเคียง ผมว่าหลังน้ำท่วมคราวนี้ คงจะต้องมีการพิจารณาซื้อมาตุนไว้ เพื่อนำมาใช้ในฤดูน้ำหลากปีหน้า

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง