เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 25
  พิมพ์  
อ่าน: 71042 น้ำท่วมกี่ครั้งๆ คนไทยก็ไม่เคยหลาบเคยจำ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 14 ต.ค. 11, 11:19


แหลมทองที่คนไทยเข้ามาครอบครองอยู่นี้เป็นถิ่นน้ำท่วม ถึงปลายฤดูฝนจะมีอีกฤดูหนึ่งก่อนจะเข้าหน้าแล้ง เรียกว่าฤดูน้ำหลาก เดี๋ยวนี้เขาไม่สอนกันเสียแล้ว มีแต่เด็กที่สนใจด้านประวัติศาสตร์เท่านั้นที่พอจะทราบว่า ฤดูน้ำหลากเป็นไม้ตายของกรุงศรีอยุธยาที่ทำให้พม่าข้าศึกพ่ายแพ้ ต้องถอยทัพกลับบ้านทุกครั้ง

คนไทยสมัยก่อน จึงต้องรู้จักสร้างบ้านเมืองแปงเมืองเพื่อจะหนีน้ำในฤดูน้ำหลากได้พ้น ฝรั่งเอง เมื่อมาเมืองไทยตั้งแต่สมัยอยุธยายังสังเกตุลักษณะจำเพาะตัวของบ้านคนไทยได้ ดูจากภาพเขียนของลาลูแบร์ข้างล่าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 11:21

ผมขอเชิญท่านทั้งหลายมาร่วมเล่นกระทู้ในหัวข้อดังกล่าว เพื่อสาระบันเทิงในระหว่างรอลุ้นว่า น้ำจะท่วมกรุงเทพคราวนี้แค่ไหน
 
ข้อความข้างล่างนี้ คุณหนุ่มรัตนะเขียนลงไว้ในวิกพันทิพนานแล้ว ขอยิ้มเอามาเป็นบทนำซะเลย ส่วนวิกนี้เรามีคุณหนุ่มสยามที่ฝีไม้ลายมือจัดจ้านพอจะเปรียบมวยกันได้ ผมขออนุญาตพาดพิงให้มาช่วยชี้แจงเพื่อนสมาชิกผู้มีเกียรติในสภาแห่งนี้ต่อ อย่าให้ต้องผิดหวัง และขออนุญาตท่านประธาน ให้ท่านลงมาเล่นข้างล่างกับพวกเราด้วย

สำหรับเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งสำคัญในกรุงเทพฯ ตั้งแต่อดีตตั้งกรุงรัตนโกสินทร์จนถึงปัจจุบันก็มีดังนี้

น้ำท่วมใหญ่ปีมะเส็ง พ.ศ.2328 ในรัชกาลที่ 1 ซึ่งเป็นปีที่สร้างกำแพงพระนครและพระราชวังกรุงรัตนโกสินทร์เสร็จนั้นเอง ได้เกิดอุกทกภัยครั้งใหญ่ ปรากฏว่าระดับน้ำที่สนามหลวงลึกถึง 8 ศอก 10 นิ้ว

น้ำท่วมเดือน ตุลาคม พ.ศ. 2362 ในรัชกาลที่ 2 ข้าวยากหมากแพงเหมือนครั้งแรก

น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2374 ในรัชกาลที่ 3 คราวนี้น้ำท่วมทั่วพระราชอาณาจักร และมากกว่าปีมะเส็ง

น้ำท่วมเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2402 ในรัชกาลที่ 4 และเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2410 อีกคราวหนึ่งแต่เสียหายไม่มาก เพียงท่วมภายนอกกำแพงพระราชวังเท่านั้น

น้ำท่วมเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2422 ในรัชกาลที่ 5 น้ำท่วมเพียงประตูพิมานไชยศรี

น้ำท่วม พ.ศ. 2460 ในรัชกาลที่ 6 น้ำท่วมลานพระบรมรูปทรงม้าถึงกับมีการแข่งเรือกันได้



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 11:23

น้ำท่วมใหญ่ ปี พ.ศ. 2485 เริ่มท่วมตั้งแต่ปลายเดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2485 น้ำท่วมมากกว่าปี พ.ศ.2460 เกือบเท่าตัว เนื่องจากฝนตกหนักในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงมาก ไหลล้นคันกั้นน้ำทั้งสองฝั่งแม่น้ำตลอดแนว โดยวัดระดับน้ำท่วมที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ 2.27 เมตร เหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 11:25

น้ำท่วม พ.ศ.2518 เนื่องจากพายุดีเปรสชั่นพาดผ่านตอนบนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้มีปริมาณน้ำสูงทางภาคกลางตอนบน เป็นเหตุให้น้ำไหลล้นเข้าท่วมกรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2521 เกิดจากพายุ 2 ลูก คือ "เบส" และ "คิท" พาดผ่าน ขณะเดียวกันมีปริมาณน้ำไหลบ่าจากแม่น้ำป่าสักเป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดน้ำไหลบ่าจากทุ่งด้านตะวันออกของกรุงเทพมหานครเข้าท่วมพื้นที่กรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2523เกิดปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ 2.00 เมตร ประกอบกับมีฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานครในช่วง 4 วัน สูงถึง 200 มม. ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง

น้ำท่วม พ.ศ. 2526 น้ำท่วมในปีนี้มีสภาพรุนแรงมาก เนื่องจากมีพายุพัดผ่านภาคเหนือและภาคกลางในช่วงเดือนกันยายน - ตุลาคม ประกอบกับมีพายุหลายลูกพัดผ่านกรุงเทพฯ ในช่วงเดือนตุลาคม โดยวัดปริมาณฝนตลอดทั้งปีได้ 2119 มม.


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 11:28

น้ำท่วม พ.ศ. 2529 ได้เกิดฝนตกหนักมากและตกติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 8 - 10 พฤษภาคม 2529 เนื่องจากได้มีพายุจรนำฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีฝนตก 254 มม. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา(บางกะปิ) และ 273 มม. ที่เขตราษฎร์บูรณะ ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ในบางพื้นที่

น้ำท่วม พ.ศ. 2533 ในเดือนตุลาคมพายุโซนร้อน "อีรา" และ "โลล่า" พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้ฝนตกหนักที่กรุงเทพมหานครถึง 617 มม.

น้ำท่วม พ.ศ. 2537ได้เกิดพายุฝนฤดูร้อนถล่มกรุงเทพมหานครและปริมณฑลเมื่อวันที่ 7 และ 8 พฤษภาคม 2537 วัดปริมาณฝนได้มากที่สุด คือ เขตยานนาวาได้ 457.6 มม. โดยเฉลี่ยในทั่วเขตกรุงเทพฯ มีปริมาณน้ำฝน 200 มม. มากที่สุดในประวัติการณ์ เรียกได้ว่าเป็น "ฝนพันปี" ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันในหลายพื้นที่สร้างความเดือดร้อนไปทั่วกรุงเทพมหานคร

น้ำท่วม พ.ศ. 2538 มีฝนตกในภาคเหนือ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากพายุหลายลูกพัดผ่าน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นต้นมา และมีสภาพฝนตกหนักในช่วงเดือนสิงหาคมถึงตุลาคม เนื่องจากพายุ "โอลิส" ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยามีระดับสูง โดยวัดที่สะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม 2538 มีค่าระดับสูงถึง 2.27 เมตร (รทก.) ซึ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์(เท่าน้ำท่วมปี พ.ศ. 2485 ) ทำให้น้ำล้นคันป้องกันน้ำท่วมริมสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าท่วมพื้นที่ริมแม่น้ำในระดับสูงถึง 50 - 100 ซ.ม.

น้ำท่วม พ.ศ. 2539 มีระยะเวลาท่วมขังตั้งแต่เดือน พฤศจิกายน -ธันวาคม 2539 ตั้งแต่หลังปี 2539 เป็นต้นมา ยังไม่เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมรุนแรงในเขตกรุงเทพมหานคร มีเพียงน้ำท่วมขังในเวลาไม่นานก็ระบายออกได้สู่ภาวะปกติ

น้ำท่วม พ.ศ. 2541 น้ำท่วมเกิดจากฝนตกในพื้นที่กรุงเทพมหานคร วัดน้ำฝนได้สูงสุดที่สถานีดับเพลิงพญาไท 2451 มม. จุดที่น้ำในถนนแห้งช้าที่สุดที่ถนนประชาสงเคราะห์(จากแยกดินแดงยาวตลอดสาย) เขตดินแดงท่วมสูง 20 ซม. นาน 19 ชม. โดยท่วมสูงสุดที่ถนนเพลินจิต และถนนราชดำริ เขตปทุมวัน ท่วมสูง 20 - 40 ซม. นาน 11 ชม.




บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 11:33

หมดเวลารอบแรก เชิญท่านต่อไปครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 12:07

เอาข้อมูลมาเสริมค่ะ
ในปี 2493  มีน้ำท่วมทั้งกรุงเทพ และจังหวัดทางเหนือ

ภาพน้ำท่วมเชียงใหม่

น้ำท่วมอุตรดิตถ์


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 12:09

น้ำท่วมกรุงเทพในพ.ศ. 2493



บันทึกการเข้า
werachaisubhong
องคต
*****
ตอบ: 449



เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 12:56

ปัญหาของน้ำท่วม มันเกิดมากอะไรลองดูภาพนี้ได้ครับ
เป็นภาพเก่าในจังหวัดลำปาง
หลวงกำจรวานิช ได้บันทึกว่า เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ.2463 น้ำนองใหญ่ (น้ำแม่วังท่วมใหญ่) ไม้ซุงไหลลอยมาติดอยู่ที่สะพานรัษฎาภิเศกและติดลามขึ้นไปถึงห้างหลุยส์เลียว โนเว็น ต้านน้ำขึ้นท่วมถนนตลาดจีนและท่วมถึงคุ้มเจ้าผู้ครองนครลำปาง จนถึงวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ.2463 น้ำจึงแห้งทำเอาถนนตลาดจีนเสียหายไปมากจนรถมาเดินไม่สะดวก


บันทึกการเข้า

ฅนเมียงแป้ มาอยู่ เจียงฮาย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 16:31

 
เมื่อช่วงเช้าวันที่ 14 ต.ค. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ได้ออกแถลงการณ์แจ้งว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้ออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก และเขตลาดกระบัง เนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวประสบกับเหตุอุทกภัย และได้รับผลกระทบด้านต่างๆ เป็นวงกว้างและภัยพิบัติยังไม่สิ้นสุด

       
       ดังนั้น อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16(1) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 3 เดือน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกาศ
       
       อย่างไรก็ตาม หลังจากมีเอกสารดังกล่าวเผยแพร่ไป ในบ่ายวันเดียวกัน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)ได้เดินตรวจเยี่ยมการทำงานภายใน ศปภ.โดยเฉพาะฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศปภ.ที่รายงานสถานการณ์อุทกภัย การประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยจัดทำเป็นเอกสารข่าวแจกจ่ายให้สื่อมวลชนภายในศูนย์ ศปภ. เมื่อ พล.ต.อ.ประชา เห็นข่าวที่วางแจกให้กับสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก จึงได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานพิจารณาดูว่าข่าวใด ยังมีปัญหา ไม่เหมาะสมหรือยังไม่ผ่านการตรวจกรองของ ศปภ.ก็ให้เก็บออกไป ซึ่งข่าวสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเตือนภัย การแจ้งภัย การให้ความช่วยเหลือกับประชาชนที่เป็นเรื่องสำคัญจำเป็นจะต้องสอบถามไปยังศูนย์เพื่อให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน และเอกสารใดๆที่เป็นคำประกาศของ ศปภ.จะต้องมีลายเซ็นของ พล.ต.อ.ประชา กำกับอยู่เท่านั้น
       
       ผู้สื่อข่าวได้ซักถาม พล.ต.อ.ประชา กรณีที่มีข่าวออกจาก ศปภ.ว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเป็นกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในเขต กทม.จำนวน 17 เขต พล.ต.อ.ประชา ได้ตอบว่า ยังไม่มีเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องสอบถามไปที่ ปภ.ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร ทั้งนี้ หากเป็นเรื่องสำคัญภายใน กทม.จะต้องมีการแถลงร่วมกันระหว่าง ศปภ.กับ กทม. แต่ขณะนี้จะมีทั้งทางข่าวจาก ศปภ.และ กทม.ซึ่งประชาชนต้องฟังจากทั้งสองส่วนประกอบกับข้อเท็จจริง เบื้องต้น กทม.จะดู กทม.ชั้นใน ส่วนศปภ.จะดูภาพรวม หากมีการแถลงข่าวที่ออกมาไม่สอดคล้องกัน ข้อเท็จจริงจะเป็นตัวชี้วัดว่าอันใดถูกต้อง สำหรับการทำงานร่วมกันนั้น ยืนยันว่ามีการประสานงานกันตลอด ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม.ก็ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย แต่หากวันใดไม่มา รองผู้ว่าราชการ กทม.จะมาร่วมประชุมแทน จึงถือว่าการประชุมสมบูรณ์
       
       “กรณีข่าวที่ถูกเผยแพร่ออกจาก กทม.หากไม่เป็นเรื่องจริง กทม.จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่นเดียวกับ ศปภ.หากแถลงออกไปแล้วไม่เป็นความจริงก็จะต้องรับผิดชอบเหมือนกัน”พล.ต.อ.ประชา กล่าว
       
       ต่อมาในเวลา 14.19 น. วันเดียวกัน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ ศปภ.ได้ส่งอีเมล์ถึงสื่อมวลชนเพื่อขอความร่วมมือในการยุติการเผยแพร่ข่าวแจก จาก ศปภ.เรื่องกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่17 เขต กทม.เนื่องจากเกิดความผิดพลาด


แถลงข่าวแบบนี้  ใครหนอควรหลาบจำ? 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:30

คุณหนุ่มสยามของผมหายไปกับน้ำเสียแล้ว

ตามสถิติที่คุณหนุ่มรัตนะเอามานำเสนอไว้นั้น จาก๒๔๘๕ ก็ข้ามมาปี ๒๕๑๘เลย อาจจะเป็นเพราะว่า ถึงฤดูน้ำหลากทีไร เมืองไทยโดยเฉพาะกรุงเทพก็ท่วมทุกปี สมัยผมเป็นเด็กอยู่โรงเรียนประจำตั้งแต่๒๕๐๐ถึง๒๕๐๗ น้ำจะท่วมสนามสักครึ่งน่องอยู่ร่วมเดือน ไม่เว้นสักปี  แต่ก็เป็นช่วงที่สนุกมาก พวกผู้ใหญ่อาจไม่สนุกเพราะน้ำท่วมถนน แต่รถก็ผ่านไปมาได้ สักเดือนหนึ่งก็หายไปเป็นปกติ จึงไม่ค่อยจะบันทึกเป็นประวัติศาสตร์ นอกจากคนมีกล้องจะถ่ายไว้แล้วบันทึกปีที่ถ่าย ผมรวบรวมมาจากเน๊ตได้พอประมาณแต่ไม่หมด ถ้าท่านผู้ใดเจออีกก็กรุณาเอามาลงไว้ด้วยเป็นหลักฐานด้วย


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:31

ไม่ทราบว่าที่ไหน แต่คล้ายๆกับรูปของท่านประธาน น่าจะเป็นที่เดียว ปีเดียวกันทั้งสี่รูป


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:35

ปีฉลอง๒๕พุทธศตวรรษ และไม่นานจอมพลสฤษดิ์ก็ปฏิวัติจอมพลป.


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:42

น้ำท่วมเชียงใหม่ เมื่อ 2493 ค่ะ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:43

ปี๒๕๑๔ แม่น้ำโขงน้ำล้นตลิ่งเข้าท่วมหัวเมืองริมน้ำทั้งหมด ที่ราบลุ่มภาคกลางก็รับน้ำฝนไว้แยะ กรุงเทพจึงน้ำท่วมถนนบางสายอยู่นับเดือน


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 ... 25
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง