เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 16773 ตามไปดู โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


 เมื่อ 13 ต.ค. 11, 06:57

สืบเนื่องมาจากกระทู้เรื่อง ขออนุญาตเรียนเชิญทุกท่านร่วมเปิดบันทึกน้ำท่วมกรุงเทพฯ พ.ศ. ๒๕๒๖ ครับ ของคุณชูพงศ์  ที่ผมเขียนข้อความไว้ตอนหนึ่งไว้ว่า

อ้างถึง
๒๕๒๖ น้ำท่วมอยุธยาและภาคกลางมากกว่าปีอื่นๆก็จริง แต่ไม่หนักหนาสาหัสเหมือนกับพวกอยู่ชานเมืองหลวง เพราะกทม.เล่นสร้างเขื่อนอุดคลองทุกสายที่เมื่อก่อนจะระบายน้ำผ่านกรุงเทพไปออกแม่น้ำเจ้าพระยา บันทึกหลายแห่งบอกว่าน้ำท่วมคราวนั้น๔เดือน แต่ผมขอยืนยันว่าบริเวณหัวหมาก หรือย่านรามคำแหงของคุณชูพงษ์นั้น น้ำท่วมอยู่๖เดือนครับ

ที่เป็นอย่างนี้เพราะคลองต่างๆที่ตัดเชื่อมคลองแสนแสบไปออกคลองประเวศ และตรงไปออกทะเลแถบสมุทรปราการ เช่นคลองชวดลากข้าว คลองพระองค์เจ้าไชยนุชิต ฯลฯ ที่เคยระบายน้ำฝน ก็น้ำตื้นเขินเพราะมิได้ทำนุบำรุง ผักตบชวาอยู่เต็ม นอกจากนั้นแล้วถนนบางนาตราด ถนนบางปูคลองด่าน ล้วนเป็นกำแพงกันน้ำ คือตอนสร้างถนนเหล่านี้เขาต้องการกันน้ำเค็มไม่ให้เอ่อขึ้นมาทำลายนาข้าว แต่ในทำนองกลับกัน มันก็ป้องกันน้ำหลากไม่ให้ลงทะเลด้วย

หลังน้ำลด พระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกผู้รับผิดชอบทั้งหมดทุกกรมกองไปถวายงานที่พระตำหนักอยู่นานนับปี หนึ่งในหลายๆโครงการที่ออกมาแก้ไขปัญหาสำหรับอนาคต มีการขุดลอกคลองและสร้างประตูน้ำในคลองชื่อต่างๆที่ผมกล่าวมา รู้สึกว่าแก้มลิงก็ทรงแนะนำให้ทำในช่วงนั้นด้วย น้ำท่วมใหญ่อีกครั้งในปี๒๕๓๘ หัวหมากน้ำท่วมไม่มากและไม่นานก็ลด ปีนั้นพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ทหารเรือนำเรือยกพลขึ้นบกไปจอดเรียงเป็นตับในคลองที่ผมเอ่ยชื่อไปแล้วเพื่อใช้ใบพัดดันน้ำลงทะเลช่วงน้ำลง

ทำมั้ย ข้าราชการรุ่นนั้นที่อยู่มาถึงสมัยนี้จึงลืมเสียแล้ว ปล่อยให้คลองอยู่ในสภาพเดิมๆ นี่มาสั่งผู้ว่าสมุทรปราการให้ไปขุดลอกคลองเหล่านั้นให้เสร็จภายใน๑๐วัน มันจะเล่นแบบเผาเครื่องมากไปหน่อย

การสร้างสนามบินหนองงูเห่า ก็ไปถมที่ลุ่มผืนหมึมายักษาอันเคยเป็นพื้นที่รับน้ำฝั่งตะวันออกของกรุงเทพ คลองและลำรางเดิมต่างๆถูกถมหมด พระเจ้าอยู่หัวท่านทรงทักและนักวิชาการหลายคนก็เตือนดังๆ แต่พณฯท่านทั้งหลายก็ตอบผู้สื่อข่าวว่า เค้าได้สร้างทางระบายน้ำแก้ปัญหาไว้หมดแล้ว

เอาละ แล้วท่านก็คอยดูกันต่อไป อีกไม่นานก็รู้กัน

ผมใช้เวลาว่างช่วงนี้ค้นหาด้วยความอยากรู้ จึงพบว่าสนามบินหนองงูเห่าที่ได้รับพระราชทานชื่อใหม่ว่าสนามบินสุวรรณภูมินั้น มีการแก้ปัญหาไว้จริงเฉพาะภายในสนามบินเท่านั้น โดยทำคันกั้นน้ำรักษาพื้นที่ไว้ แล้วกำหนดจะสูบน้ำฝนที่ตกลงมาออกไปข้างนอก เรื่องถึงพระเนตรพระกรรณแล้ว โชคดีที่คนกรุงเทพมีพระเจ้าอยู่หัวพระองค์นี้ที่ทรงเชื่ยวชาญเรื่องน้ำเป็นที่ยิ่ง สุดท้ายจึงมีการปรับปรุงโครงการใหม่

ขอนำท่านตามไปดูร่วมกับผม ท่านที่รำคาญตัวเลขจะอ่านผ่านๆไปก็ได้ครับ ดูแค่เนื้อหาก็พอ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 06:58

ข่าวที่๑

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงมีพระราชดำริกับนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน กปร. ณ วังไกลกังวลอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ สรุปความว่า“การระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ให้พิจารณาขุดลอกคลองระบายน้ำโดยมีขนาดที่เหมาะสมไม่ใช่เพื่อระบายน้ำเฉพาะบริเวณสนามบิน ให้พิจารณารวมบริเวณรอบ ๆ ด้วย”

กรมชลประทานจึงได้ทำการว่าจ้างสถาบันที่ปรึกษา ประกอบด้วย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เพื่อดำเนินงานศึกษาสำรวจและออกแบบเบื้องต้น แล้วเสร็จเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2547 ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติเปิดโครงการเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2547
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:01

ข่าวที่๒

ว่าที่ ร้อยตรี ไพเจน มากสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง 9 กรมชลประทาน เปิดเผยที่มาของโครงการว่า พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกตอนล่าง เป็นพื้นที่ที่มีลักษณะเป็นแอ่งกระทะและเป็นที่รองรับน้ำตามธรรมชาติ การก่อสร้างสนามบินสุวรรณภูมิในบริเวณดังกล่าว ทำให้สูญเสียพื้นที่รองรับน้ำไปกว่า 20,000 ไร่ประกอบกับความเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วทางด้านเศรษฐกิจและสังคมของพื้นที่ โดยรอบสนามบินสุวรรณภูมิ เช่นพื้นที่ในเขตกิ่งอำเภอบางเสาธง อำเภอบางบ่อ อำเภอบางพลี และอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ และพื้นที่บางส่วนของเขตมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบัง จังหวัดกรุงเทพมหานคร ทำให้พื้นที่รองรับน้ำและเส้นทางระบายน้ำตามธรรมชาติลดน้อยลง ส่งผลให้พื้นที่บริเวณดังกล่าวได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำหลากและน้ำท่วมขังจากปริมาณน้ำฝนสะสมในช่วงฤดูฝนของทุกปี ดังนั้น กรมชลประทานจึงเร่งดำเนินการโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่อย่างเป็นระบบ อีกทั้งยังสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองในยามฤดูแล้งอีกด้วย โดยการดำเนินงานในขณะนี้มีความก้าวหน้าไปกว่าร้อยละ 10 และจะแล้วเสร็จภายในปี 2551
 
สำหรับการดำเนินการโครงการ ประกอบด้วย 1. งานก่อสร้างคลองระบายน้ำ ขนาดคลองกว้าง 48 เมตร ซึ่งใช้เป็นคลองระบายน้ำสายหลักในการระบายน้ำจากคลองสำโรงไปยังชายทะเลโดยตรง 2. งานก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำขนาด 25 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จำนวน 4 เครื่อง ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ 3. งานก่อสร้างอาคารระบายน้ำ จำนวน 22 แห่ง ทำหน้าที่เป็นประตูระบายน้ำในบริเวณที่คลองระบายน้ำตัดกับคลองธรรมชาติ ช่วยในการกักเก็บน้ำบางส่วนไว้ใช้ในการทำเกษตรกรรมในพื้นที่ใกล้เคียง 4. งานก่อสร้างถนนคันคลอง ยาว 23.60 เมตร เชื่อมต่อระหว่างถนนสุขุมวิทและถนนบางนา-ตราด จำนวน 2 ช่องทางจราจร 5. งานก่อสร้างอาคารสะพานน้ำยกระดับและอาคารทิ้งน้ำ ทำหน้าที่รับน้ำจากสถานีสูบน้ำให้ไหลผ่านไปตามสะพานน้ำยกระดับข้ามคลองชายทะเลและถนนสุขุมวิทแล้วไหลลงสู่ทะเลโดยตรง มีอัตราการไหล 100 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที 6. งานก่อสร้างสะพานรถยนต์ ประกอบด้วย สะพานทางหลวงข้ามคลองเทพารักษ์ สะพานข้ามคลองชายทะเล และสะพานข้ามคลองสำโรง และ 7. ระบบโทรมาตรอุทกวิทยา ทำหน้าที่ติดตามและเฝ้าระวังสภาพน้ำในพื้นที่เพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:02

ข่าวที่๓


ว่าที่ ร้อยตรี ไพเจน มากสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้าง 9 กรมชลประทาน เปิดเผยรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานก่อสร้างโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิว่า ” เนื่องจากในปี 2550 นี้ กรมชลประทานได้รับอนุมัติงบประมาณค่าเวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1,790,462,000 บาท จึงทำให้สามารถส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้แก่ผู้รับเหมาเพื่อเร่งดำเนินการก่อสร้างแล้วกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ ขณะนี้โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ มีความก้าวหน้าในการก่อสร้างร้อยละ 28.71 ทั้งนี้การก่อสร้างบริเวณกิโลเมตรที่ 19 ของถนนบางนาตราด ซึ่งเป็นกิโลเมตรที่0 ถึงกิโลเมตรที่ 5 ของคลองระบายน้ำ ในเขตอำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์เพื่อปรับปรุงรากฐาน งานถมดินคันทางเพื่อก่อสร้างถนนบนคันคลอง งานเทคอนกรีตตอม่อสะพานข้ามคลองสำโรง และประตูระบายน้ำเชื่อมกับคลองธรรมชาติ ส่วนบริเวณกิโลเมตรที่ 5 ไปจนถึงกิโลเมตรที่ 10 ของคลองระบายน้ำ อยู่ในขั้นตอนการก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์เพื่อปรับปรุงรากฐาน งานถมดินคันทางเพื่อก่อสร้างถนนบนคันคลอง งานตอกเสาเข็มและก่อสร้างประตูระบายน้ำ จำนวน 14 แห่ง และตั้งแต่บริเวณกิโลเมตรที่ 10 ไปจนถึงจุดสิ้นสุดโครงการบริเวณกิโลเมตรที่ 12 ของคลองระบายน้ำ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ อยู่ในขั้นตอนการออกแบบก่อสร้างสถานีสูบน้ำ ผลิตเครื่องสูบน้ำ งานก่อสร้างเสาเข็มดินซีเมนต์เพื่อปรับปรุงฐานรากและ งานสะพานข้ามคลองชายทะเล ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2551ตามที่ตั้งเป้าไว้


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:05

ข่าวที่๔

ผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 6/2554 วันอังคารที่ 13 กันยายน 2554

เรื่อง ขออนุมัติขยายระยะเวลาดำเนินงานโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ และขออนุมัติขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการค่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาควบคุมงาน

คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ทั้ง 2 ข้อ ดังนี้

1. ขยายระยะเวลาดำเนินโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ จากเดิม 6 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2548 - 2553) เป็น 7 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2548 - 2554) เพื่อสอดคล้องกับระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันฯ รายการค่่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ

2. ขยายระยะเวลาก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ รายการค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ จากเดิมปีงบประมาณ พ.ศ.2548 - 2553 เป็นปีงบประมาณ พ.ศ.2548 - 2554 พร้อมทั้งเพิ่มวงเงินก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณจากวงเงินตามสัญญาเดิม 181,079,009.60 บาท เป็นวงเงิน 213,001,819.60 บาท

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:07


ข่าวที่๕

โครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ เป็นโครงการสำคัญอีกโครงการหนึ่งที่ กรมชลประทานได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 เดิมกำหนดที่จะก่อสร้างให้แล้วเสร็จในปี 2551 แต่เมื่อดำเนินการก่อสร้างจริงแล้วต้องประสบปัญหาต่าง ๆ มากมาย โดยเฉพาะปัญหาดิน ทรุดตัว ปัญหาเครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ที่จะต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ ปัญหาการเวนคืนที่ดิน เป็นต้น เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงต้องใช้เวลาในการดำเนินการก่อสร้างเพิ่มขึ้น

ต่อมาคณะรัฐมนตรีได้พิจารณาถึงสาเหตุและแนวทางในการแก้ปัญหา จึงได้อนุมัติงบประมาณจาก 8,409 ล้านบาท เป็น 10,465 ล้านบาท และขยายระยะเวลาดำเนินการแล้วเสร็จจาก ปี 2551 เป็นปี 2553 ตามที่กรมชลประทานเสนอ นายสมศักดิ์ ปริศนานันทกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ภายหลังจากเดินทางไปติดตามความก้าวหน้าของการก่อสร้างโครงการระบายน้ำ บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิว่า ขณะนี้การก่อสร้างมีความคืบหน้ากว่า 66.34% แล้ว เร็วกว่าแผนที่ตั้งไว้ 6.35% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2553 ตามแผนที่กำหนดไว้อย่างแน่นอน ทั้งนี้เมื่อการก่อสร้างเสร็จจะสามารถระบายน้ำจากพื้นที่รอบ ๆ สนามบินลงสู่ทะเลได้ถึง 300 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละประมาณ 8.64 ล้านลูกบาศก์เมตร เพียงพอที่จะทำให้พื้นที่แอ่งกระทะรอบ ๆ สนามบินไม่ต้องประสบกับปัญหาน้ำท่วมอีกต่อไปเป็นที่ทราบกันดีว่าที่ผ่านมา พื้นที่บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิในอดีตนั้น มักจะประสบปัญหาน้ำท่วมเป็นประจำ เมื่อมีการก่อสร้างสนามบิน สุวรรณภูมิขึ้นมา แม้ภายในบริเวณสนามบินจะมีการก่อสร้างระบบระบายน้ำไว้เรียบร้อยแล้วก็ตาม แต่พื้นที่โดยรอบก็จำเป็นที่จะต้องก่อสร้างระบบระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพด้วยเช่นกันเพราะเป็นส่วนที่เกี่ยวเนื่อง

ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิส์ฉบับวันที่ 27 พฤศจิกายน 2551
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:10

ข่าวที่๖


วันที่ 29 มิ.ย. 2553
กระทรวงเกษตร

คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กรมชลประทาน) รายงานผลการดำเนิน การตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง รายงานผลงานก้าวหน้างานก่อสร้างโครงการระบายน้ำบริเวณสนามบินสุวรรณภูมิ ณ วันที่ 5 พฤษภาคม 2553 สรุปได้ดังนี้

1. งานจ้างก่อสร้างคลองระบายน้ำและถนน พร้อมอาคารประกอบ ส่วนที่ 1 ได้ผลการดำเนินงานสะสม ร้อยละ 91.38 จากแผนงานสะสมที่วางไว้ร้อยละ 89.54 เร็วกว่าแผนร้อยละ 1.84
 
2. งานจ้างก่อสร้างคลองระบายน้ำและถนน พร้อมอาคารประกอบ ส่วนที่ 2 ได้ผลการดำเนินงานสะสม ร้อยละ 100 จากแผนงานสะสมที่วางไว้ร้อยละ 100 (ผู้รับจ้างได้ส่งมอบงานทั้งสัญญาแล้ว)
 
3. งานจ้างก่อสร้างคลองระบายน้ำ สถานีสูบน้ำ สะพานน้ำยกระดับ พร้อมอาคารประกอบ ส่วนที่ 3 ได้ ดำเนินการแล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้

4. ผลการดำเนินงานจ้างก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา ได้ผลการดำเนินงานร้อยละ 97.17 จากแผนงานที่วางไว้ ร้อยละ 96.57 เร็วกว่าแผนร้อยละ 0.60 ทั้งนี้ เมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2553 จะสามารถระบายน้ำ ได้สูงสุด 100 ลบ.ม./วินาที

5. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานทั้งสิ้น จำนวน 9,680,104,978.36 บาท โดยใช้งบประมาณจากเงินงบ ประมาณปกติ

6. ผลกระทบจากการดำเนินงาน ราษฎรเจ้าของที่ดินบริเวณพื้นที่ก่อสร้างที่คลองระบายน้ำตัดผ่านต้อง สูญเสียที่ดินในความครอบครอง โดยมีพื้นที่รวมทั้งสิ้น 1,290 ไร่ 3 งาน 18 ตารางวา



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:12

ข่าวที่๗


นายธีระ วงศ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า น้ำจากเขื่อนภูมิพลที่จะปล่อยลงมาจะทำให้วันที่ 13-14 ต.ค.ประมาณน้ำใน จ.นครสวรรค์จะอยู่ที่ 5,500 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที จากเดิมที่อยู่ระดับ 4,500 ลบ.ม.ต่อวินาที จากนั้นวันที่ 14-15 ต.ค.ปริมาณน้ำจะเริ่มมาถึง จ.ชัยนาท และวันที่ 16-17 ต.ค.จะมาถึง อ.บางไทร จ.พระนครศรีอยุธยา

นายธีระ กล่าวต่อว่า หากปริมาณน้ำไหลเข้ามามากกว่าที่คาดการณ์ไว้ จะทำให้ปริมาณน้ำอาจแผ่กระจายในพื้นที่ 3 ส่วน กลุ่มแรกคือสิงห์บุรี ขึ้นไปข้างบนพื้นที่อาจขยายวงน้ำท่วม กลุ่มสองพื้นที่จังหวัดที่น้ำท่วมอยู่แล้วจะดูแลอย่างไร และส่วนพื้นที่ที่สามคือพื้นที่ชายทะเล ส่วนพื้นที่รอบสนามบินสุวรรณภูมิไม่น่ามีปัญหา เพราะโครงการระบายน้ำรอบบริเวณสุวรรณภูมิเสร็จเรียบร้อยแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:24

หากเสร็จเรียบร้อยจริงดังว่า  "โครงการระบายน้ำบริเวณรอบสนามบินสุวรรณภูมิ" หลังจากเริ่มต้นเมื่อปี ๒๕๔๖ แปดปีต่อมาก็จะได้ใช้งานแก้วิกฤตจริงในน้ำท่วมใหญ่นี้  แต่คุ้มค่าก่อสร้างหรือไม่ก็ต้องรอประมินผลอีกครั้ง

ตอนนี้  เราไปดูภาพของคุณมอมแมมกัน

โดยโครงการนี้เป็นการขุดคลองความกว้างประมาณ๕๐ เมตร ลึก๓๐ เมตร มีถนนขนาดสองเลน ขนานไปกับลำคลองจากบางนา-ตราด มาเชื่อมต่อกับสุขุมวิท จากถนนบางนา-ตราด กม.๑๙ (ใกล้ๆ ม.หัวเฉียว) มาออกอ่าวไทย ตรงถนนสุขุมวิท(สายเก่า) บริเวณ กม. ๔๗



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:26

ทางฝั่งถนนสุขุมวิทมีอาคารโรงสูบน้ำที่ติดตั้งเครื่องดูดน้ำแรงดันสูง เพื่อผันน้ำข้ามสะพานไปออกทะเล  วิศวกรบอกว่า การทำอุโมงค์ระบายน้ำลอดใต้ถนนมีค่าใช้จ่ายสูงกว่า บำรุงรักษายากกว่า และเหตุผลด้านอื่นๆ อีกหลายประการ ทำให้ทางโครงการสรุปออกมาว่า ทำเป็นสะพานข้ามถนนไป ง่ายกว่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:29

โรงสูบน้ำ มีเครื่องดูดน้ำใช้พลังงานไฟฟ้าจำนวน 4 เครื่อง ดูดน้ำจากคลองด้านล่าง ขึ้นไปบนสะพานคอนกรีต ความสูง 15 เมตรโดยประมาณ ข้ามถนนสุขุมวิทไปออกทะเล  ดังนั้นข้อหวั่นเกรงว่าน้ำที่ระบายออกมามหาศาลนี้จะท่วมบ้านเรือนราษฎรที่อยู่ใต้สนามบินจึงหมดไป

แต่ที่ต้องแลกเปลี่ยนกันคือ หากเดินเครื่องดูดน้ำ ๒ เครื่องเป็นเวลา 1 สัปดาห์จะเสียค่าไฟฟ้าประมาณสี่ห้าล้านบาท(ไม่ยืนยันข้อมูลนะครับ เป็นข้อมูลที่ได้จากคนคุมเครื่องเท่านั้น)



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:34

หวังว่า ท่านที่มีบ้านเรือนอยู่ฝั่งตะวันออกของกรุงเทพคงจะสบายใจขึ้นบ้างนะครับ
แต่อย่าได้ใจเย็นหรือประมาท ให้เตรียมตัวรับน้ำท่วมหนักไว้

เตรียมแล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าไม่ได้เตรียมแล้วเสียหายอย่างคาดไม่ถึงนะครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 09:22

สมุทรปราการในพื้นที่บางพลี บางบ่อ บางเสาธง ยังมีบ่อปลาสลิดอีกมาก น้ำมา ปลาก็ไปกับน้ำ

ถนนบางนาตราด ถนนเทพารักษ์ ถนนสุขุมวิทสายเก่า ทำหน้าที่เขื่อนกั้นน้ำไหลหลาก ทำให้น้ำจากทางมีนบุรี หนองจอก ลาดกระบังไหลช้าลง



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 09:34

^
^
อ้างถึง
ที่เป็นอย่างนี้เพราะคลองต่างๆที่ตัดเชื่อมคลองแสนแสบไปออกคลองประเวศ และตรงไปออกทะเลแถบสมุทรปราการ เช่นคลองชวดลากข้าว คลองพระองค์เจ้าไชยนุชิต ฯลฯ ที่เคยระบายน้ำฝน ก็น้ำตื้นเขินเพราะมิได้ทำนุบำรุง ผักตบชวาอยู่เต็ม นอกจากนั้นแล้วถนนบางนาตราด ถนนบางปูคลองด่าน ล้วนเป็นกำแพงกันน้ำ คือตอนสร้างถนนเหล่านี้เขาต้องการกันน้ำเค็มไม่ให้เอ่อขึ้นมาทำลายนาข้าว แต่ในทำนองกลับกัน มันก็ป้องกันน้ำหลากไม่ให้ลงทะเลด้วย

หลังน้ำลด พระเจ้าอยู่หัวทรงเรียกผู้รับผิดชอบทั้งหมดทุกกรมกองไปถวายงานที่พระตำหนักอยู่นานนับปี หนึ่งในหลายๆโครงการที่ออกมาแก้ไขปัญหาสำหรับอนาคต มีการขุดลอกคลองและสร้างประตูน้ำในคลองชื่อต่างๆที่ผมกล่าวมา รู้สึกว่าแก้มลิงก็ทรงแนะนำให้ทำในช่วงนั้นด้วย น้ำท่วมใหญ่อีกครั้งในปี๒๕๓๘ หัวหมากน้ำท่วมไม่มากและไม่นานก็ลด ปีนั้นพระเจ้าอยู่หัวรับสั่งให้ทหารเรือนำเรือยกพลขึ้นบกไปจอดเรียงเป็นตับในคลองที่ผมเอ่ยชื่อไปแล้วเพื่อใช้ใบพัดดันน้ำลงทะเลช่วงน้ำลง

ทำมั้ย ข้าราชการรุ่นนั้นที่อยู่มาถึงสมัยนี้จึงลืมเสียแล้ว ปล่อยให้คลองอยู่ในสภาพเดิมๆ นี่มาสั่งผู้ว่าสมุทรปราการให้ไปขุดลอกคลองเหล่านั้นให้เสร็จภายใน๑๐วัน มันจะเล่นแบบเผาเครื่องมากไปหน่อย

มีเพิ่มอีกข่าวนึงครับ

ผู้ว่าปากน้ำ ตรวจความคืบหน้าขุดคลอง 3 สาย รับมือน้ำท่วมตามบัญชานายกรัฐมนตรี มั่นใจเสร็จทันกำหนด ก่อนที่ กทม. จะผันน้ำลงมา...

เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 11 ตุลาคม 2554 นายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายชาติชาย อุทัยพันธ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ นายวรณัฏฐ์ หนูรอด นายประเสริฐ ชัยกิจเด่นนภาลัย นางอนุสรา ยังตรง นางสลิลทิพย์ สุขวัฒน์ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(สส.) พรรคเพื่อไทยจังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสมุทรปราการ องค์การบริหารส่วนตำบลศรีษะจระเข้ใหญ่ ชลประทานจังหวัดสมุทรปราการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจการขุดคลองระบายน้ำ 3 สายหลักเพื่อเป็นท่อระบายน้ำขนาดใหญ่รองรับน้ำที่เตรียมผันน้ำมาจากทางเหนือและกรุงเทพมหานคร ลงสู่ทะเลโดยเร็ว บริเวณคลองจระเข้ใหญ่ อ.บางบ่อ คลองบางเสาธงและคลองพระองค์เจ้าไชยานุชิต อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ

โดย ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวว่า หลังประชุมร่วมกับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการบริหารจัดการอุทกภัยและความคืบหน้าในการขุดคลองสายหลักทั้ง 3 คลองโดยนายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงกลัวประชาชน จะได้รับผลกระทบจึงสั่งการให้เร่งขุดคลองให้เรียบร้อยภายใน 3 วันหลังจากนี้ ซึ่งจากตรวจสอบและรับฟังรายงานจากหน่วยงานที่รับผิดชอบ พบว่ามีความคืบหน้าไปมากทั้ง 3 คลองประมาณกว่าร้อยละ 50 แล้ว

และวันนี้ ตนก็ได้สั่งให้นำเครื่องจักรกลหนักมาลงเพิ่ม เพื่อขุดให้ทันตามกำหนด ก่อนที่จะมีการระบายน้ำจากทางเหนือและกรุงเทพฯ ลงมาสู่ทะเลในสัปดาห์นี้ อย่างไรก็ตาม หลักจากการลงเรือตรวจระดับน้ำในลำคลองเสาธง พบว่าระดับได้สูงเกือบถึงคันกั้นน้ำ และในบางแห่ง น้ำได้เอ่อล้นเข้าท่วมบ้านเรือนประชาชนที่อยู่ริมน้ำบางครัวเรือนแล้ว ซึ่งจากการพูดคุยกับชาวบ้าน พบว่าการเอ่อล้นของน้ำเป็นไปตามปกติของฤดูน้ำหลากแต่ในปีนี้น้ำขึ้นเร็วกว่าปกติ บางบ้านก็ได้เตรียมเก็บของเครื่องใช้ไฟฟ้าไว้บนชั้น 2 แล้ว ส่วนผักตบชวาต่างๆที่ลอยอยู่ตามลำคลองเป็นสิ่งขวางทางน้ำไหลนั้น ทางอำเภอทั้ง 2 แห่งได้เตรียมเรือตัดผักตบชวา และเรือเก็บผักตบชวา ล่องไปตามลำน้ำเพื่อทยอยเก็บขึ้นให้หมดแล้ว คาดว่าเมื่อมีการระบายน้ำลงมาในทุ่งฝั่งตะวันออก ก็จะทำให้การไหลของน้ำเร็วขึ้นและสามารถไหลลงสู่ทะเลได้เร็วขึ้นด้วย

จากนั้นเวลา 11.30 น.ส.ยิ่งลักษณ์ พร้อมด้วย นายชลิต ได้เดินทางไปยังฝายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 4 โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพลหารพิจิตร ของกรมชลประทาน ซึ่งเป็นโครงการระบายน้ำของสนามบินสุวรรณภูมิ โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ได้หารือกับนายเชิดศักดิ์ ชูศรี ผวจ.สมุทรปราการ และพล.อ.อดุลย์ รักษ์เผ่า ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองทัพไทย เพื่อสั่งการและติดตามสถานการณ์การระบายน้ำฝั่งตะวันออกของกทม. โดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ กล่าวว่า ขอให้ทุกฝ่ายเร่งดำเนินการขุดลอกคูคลองใน จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นคลองที่ใหญ่และมีความสำคัญอยู่จำนวน 5 คลอง ดังนั้นควรขุดลอกคลองขนาดใหญ่ให้สำเร็จภายใน 7 วัน และคลองที่เหลือให้สำเร็จภายใน10 วัน และถ้าทางจังหวัดต้องการความช่วยเหลือ จากทางภาครัฐหรือเอกชน สามารถร้องขอไปทางตนได้ทันที ซึ่งตนก็พร้อมให้ความช่วยเหลือและสนับสนุน
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 09:51

ระบบป้องกันน้ำท่วมและระบายน้ำภายในพื้นที่สนามบินสุวรรณภูมิ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง