เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 28
  พิมพ์  
อ่าน: 81400 น้ำท่วม ๒๕๕๔
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 12 ต.ค. 11, 23:09

ดิฉันเห็นด้วยกับคุณตั้ง ไม่มีข้อค้านเลยสักข้อเดียว    เคยได้ยินนักวิชาการพูดทำนองนี้เหมือนกันค่ะ

อย่างไรก็ตาม ในเมื่อประเทศเราก็เดินหน้า(ไม่อยากเรียกว่าพัฒนา) จนถึงขั้นนี้แล้ว   มันสุดวิสัยที่จะย้อนกลับไปรื้อถอนโรงงานอุตสาหกรรม  หมู่บ้านจัดสรร  รีสอร์ท ฯลฯ ออกไปให้พ้นทุ่งนาและพื้นที่สวน เพื่อจะอยู่กับธรรมชาติอย่างปู่ย่าตายายเคยทำได้อีก    แล้วจะหาทางอย่างไร  วางแผนหรือผังกันแบบไหน ไม่ให้ต้องเจอน้ำท่วมมหากาฬกันอย่างนี้อีกทุกปีล่ะคะ

ถ้าน้ำท่วมแบบนี้ติดกันสัก 2 ปี  ไม่ต้องถึง 3  ล้มละลายกันทั้งประเทศแน่นอน   ลำบากยิ่งกว่าเกิดสงครามเสียอีก
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:23

หลายคนอาจจะลืมเลือนไปแล้ว แต่ผมยังจำได้เสมอถึงคราววันเฉลิมพระชนม์พรรษา ปี ๒๕๓๘ ที่พระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ประชาชนทั่วประเทศต่างเฝ้ารอดูการถ่ายทอดสดกระแสพระราชดำรัส ตลอดจนข้าราชการที่ได้เข้าเฝ้าอยู่ ณ ที่นั้น

พระองค์ทรงพระราชทานพระราชกระแสรับสั่งเรื่องน้ำท่วมที่ไหลบ่าลงมา ทรงตรัสเรื่องแก้มลิง สำหรับพื้นที่เก็บน้ำไว้ชลอน้ำ ก่อนที่จะปล่อยสู่แม่น้ำเจ้าพระยา


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 07:27

ทรงวาดแผนที่ประกอบการไหลของน้ำและการระบายทั้งซ้ายและขวาของกรุงเทพมหานคร ตลอดจนเรื่องน้ำทะเลหนุน ถนนและอุปสรรค์ต่าง ๆ ของการระบายน้ำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทรงสอนและเรียกหาตัวผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นด้วย



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 13:17

ขอบันทึกภาพน้ำท่วมกรุงเทพ ไว้ในกระทู้นี้
ภาพจากโอเคเนชั่น  

วันพฤหัสบดี ที่ 13 ตุลาคม 2554 เวลา 11:45:28 น.  
น้ำทะลักเข้า "ท่าช้าง" กทม. แล้ว !!!

ดูภาพชุดนี้ได้ตามลิ้งค์นี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 14:32

พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในกรุงเทพ  ระดับ 1  2  3

เข้าไปดูแผนที่ฉบับขยายได้ตามตัวอักษรสีแดงข้างบนนี้ค่ะ


บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 15:14

ระบบระบายน้ำกรุงเทพมหานคร



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 18:08

.......ในเมื่อประเทศเราก็เดินหน้า(ไม่อยากเรียกว่าพัฒนา) จนถึงขั้นนี้แล้ว   มันสุดวิสัยที่จะย้อนกลับไปรื้อถอนโรงงานอุตสาหกรรม  หมู่บ้านจัดสรร  รีสอร์ท ฯลฯ ออกไปให้พ้นทุ่งนาและพื้นที่สวน เพื่อจะอยู่กับธรรมชาติอย่างปู่ย่าตายายเคยทำได้อีก    แล้วจะหาทางอย่างไร  วางแผนหรือผังกันแบบไหน ไม่ให้ต้องเจอน้ำท่วมมหากาฬกันอย่างนี้อีกทุกปีล่ะคะ....

อย่าเพิ่งท้อครับ

ผมคิดว่า คนโบราณเขายังคิดออกเลยว่าจะอยู่กับมันอย่างไรให้มีความสุข เราก็คงต้องใช้วิธีคิดว่า แล้วเราจะอยู่กับมันอย่างไรให้มีความสุข ถ้าเราเอาทุกเรื่องที่เราไม่ชอบ เอาเรื่องที่มันไปเปลี่ยนแปลงการดำเนินชีวิตปกติของเราในบางช่วง เอาสภาพของเราไปเทียบกับคนอื่น เมื่อใดที่คิดว่าเราต้องเหมือนกับเขา เท่ากับเขาหรือต้องดีกว่าเขา เอาเรื่องเหล่านี้มาเป็นทุกข์  ผมว่าเรากำลังหาเรื่องเครียด หาเรื่องทำร้ายตัวเองเปล่าๆ คงต้องตั้งหลักใหม่แล้วคิดว่าความเป็นไปในธรรมชาตินั้นมันเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นแล้วก็ผ่านไป มันก็เป็นของมันอย่างนั้น เราไปห้ามมันไม่ได้

ดูง่ายนะครับ จริงๆแล้วไม่ง่ายอย่างนั้น แต่ก็ต้องตั้งหลักคิดให้ได้

ผมเห็นว่าหลัก 4 ประการ ที่ผมได้เล่าไว้นั้น จะช่วยให้เราประเมินได้ตั้งแต่แรกว่า ตัวเราจะสามารถรับระดับความรุนแรงได้ในระดับใด ในกรณีของฝ่ายรัฐและราชการ การใช้หลัก 4 ประการนี้ก็จะรู้ว่าเมื่อใดถึงระดับที่จะต้องทำอะไร มากน้อยเพียงใด จุดใหนก่อนใหนหลัง อะไรคือวิกฤติ และเรื่องใด

ยกตัวอย่างเรื่องที่ชัดๆ คือ เรื่องของแผ่นดินไหว เรื่องราวอย่างย่อๆนะครับ --รัฐบาลเห็นว่าเพื่อประโยชน์สุขและความปลอดภัยของชีวิตประชาชน ให้นโยบายแก่ส่วนราชการไปดำเนินการ วิศวกรคิดว่าจะต้องสร้างอาคารอย่างไรให้ทนแผ่นดินไหวได้สำหรับระดับความรุนแรงที่นักธรณีวิทยาคาดว่าจะเกิดขึ้นในพื้นที่นั้นๆ คือไม่ให้พังพาบลงมา แต่แตกร้าวได้ นักการเมืองเอาไปออกเป็นกฎหมายเพื่อให้มีการบังคับใช้ ผังเมืองเอาไปกำหนดพื้นที่สำหรับการอพยพและโรงพยาบาล (ส่วนมากเป็นชั้นเดียวบนพื้นที่ที่มีสนามกว้าง) เพื่อให้เทศบาลและเมืองเอาไปกำหนดเรื่องเส้นทางอพยพและระบบสาธารณูปโภค (ประปา ไฟฟ้า และการสื่อสาร) ที่จะต้องไม่ถูกทำลายเมื่อเกิดเหตุ หรือสามารถตัดต่อเชื่อมโยงให้ใช้ได้โดยเร็ว เพื่อการกู้ชีวิตและช่วยให้มีชีวิตไดต่อไป สามารถทำเอกสารแจกประจำบ้านได้ว่าเมื่อเกิดเหตุจะต้องทำอย่างไร ให้ไปที่ใด ฯลฯ ใช้ระบบการสื่อสารที่ไม่พึ่งระบบเดียว มีทั้งระบบเทคโนโลยีแบบโบราณไปจนถึงสมัยใหม่ล่าสุด ทำแผนที่เมืองว่ามีอารคารใดอยู่ที่ใดบ้าง มีข้อมูลว่าในช่วงเวลาต่างๆจะมีคนอยู่เท่าไร เมื่อเกิดเหตุ ณ.เวลใด บินสำรวจดูก็แทบจะประเมินได้ในเบื้องต้นในทันทีว่า จะมีคนบาดเจ็บหรือล้มตายเท่าใด การทำแบบนี้ใช้ประเมินได้ทั้งจากภัยและอุบัติเหตุอื่นๆอีกด้วย คงจะนึกขยายภาพออกไปได้นะครับว่าอะไรจะเป็นอย่างไร

สำหรับกรณีน้ำท่วมนั้น ผมเห็นว่า ก็คงมีแนวไม่ต่างไปจากตัวอย่างที่เล่ามา ซึ่งหัวใจสำคัญของเรื่องคือ ระดับความสูงของพื้นดิน ณ.บริเวณต่างๆ ต่างไปจากเรื่องของแผ่นดินไหวที่หัวใจของเรื่องคือ ระดับของการทำลาย (พังทลาย)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 13 ต.ค. 11, 18:27

หลายพื้นที่ในภาคกลางอยู่กับน้ำท่วมมาทุกปี เขาขุดสระดักปลาเอาไว้ เมื่อน้ำลดก็จะได้ปลาตกปลัก จับมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ขายเป็นรายได้ไม่น้อยเลยทีเดียวครับ

 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 10:27

คลายเครียดจากน้ำท่วม
ภาพจากโอเคเนชั่น


บันทึกการเข้า
:D :D
นิลพัท
*******
ตอบ: 2333


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 20:11

เมื่อคืนฟังท่านปลอดประสพ(การณ์) แถลงข่าวแล้วตื่นเต้นมากค่ะ... ยิงฟันยิ้ม
แต่ตื่นเต้นได้แป๊บเดียว มาแก้ข่าวกันทั้งคณะเลย...หวิดจลาจลอพยพกันเต็มถนน...
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:40

    ลงไว้อีกกระทู้หนึ่ง เลยลอกมาลงไว้ในนี้ด้วยเป็นบันทึกความทรงจำ
    อ่านแถลงการณ์ครั้งแรกก็ตื่นเต้นมากพออยู่แล้ว  พอมาแถลงครั้งที่สองยิ่งตื่นเต้นหนักเข้าไปอีก  ว่าจะมีแถลงการณ์ครั้งที่ 3  หรือไม่
    ค่อยยังชั่วหน่อยว่าไม่มี

    เมื่อช่วงเช้าวันที่ 14 ต.ค. ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัย (ศปภ.) ได้ออกแถลงการณ์แจ้งว่า กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)ได้ออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวน 17 เขต ได้แก่ เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตสัมพันธวงศ์ เขตสาทร เขตบางคอแหลม เขตยานนาวา เขตคลองเตย เขตบางพลัด เขตบางกอกน้อย เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตราษฎร์บูรณะ เขตคลองสามวา เขตมีนบุรี เขตหนองจอก และเขตลาดกระบัง เนื่องจากเขตพื้นที่ดังกล่าวประสบกับเหตุอุทกภัย และได้รับผลกระทบด้านต่างๆ เป็นวงกว้างและภัยพิบัติยังไม่สิ้นสุด
       
       ดังนั้น อาศัยอำนาจตามระเบียบกระทรวงคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2546 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 16(1) อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จึงประกาศให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินและจำเป็นต้องให้ความช่วยเหลือเป็นกรณีเร่งด่วน ทั้งนี้ต้องไม่เกิน 3 เดือน ตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการประกาศ
       
       อย่างไรก็ตาม หลังจากมีเอกสารดังกล่าวเผยแพร่ไป ในบ่ายวันเดียวกัน พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (ศปภ.)ได้เดินตรวจเยี่ยมการทำงานภายใน ศปภ.โดยเฉพาะฝ่ายประชาสัมพันธ์ ศปภ.ที่รายงานสถานการณ์อุทกภัย การประชาสัมพันธ์ต่างๆ โดยจัดทำเป็นเอกสารข่าวแจกจ่ายให้สื่อมวลชนภายในศูนย์ ศปภ. เมื่อ พล.ต.อ.ประชา เห็นข่าวที่วางแจกให้กับสื่อมวลชนเป็นจำนวนมาก จึงได้สั่งกำชับให้เจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานพิจารณาดูว่าข่าวใด ยังมีปัญหา ไม่เหมาะสมหรือยังไม่ผ่านการตรวจกรองของ ศปภ.ก็ให้เก็บออกไป ซึ่งข่าวสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะเรื่องการเตือนภัย การแจ้งภัย การให้ความช่วยเหลือกับประชาชนที่เป็นเรื่องสำคัญจำเป็นจะต้องสอบถามไปยังศูนย์เพื่อให้เกิดความชัดเจนเสียก่อน และเอกสารใดๆที่เป็นคำประกาศของ ศปภ.จะต้องมีลายเซ็นของ พล.ต.อ.ประชา กำกับอยู่เท่านั้น
       
       ผู้สื่อข่าวได้ซักถาม พล.ต.อ.ประชา กรณีที่มีข่าวออกจาก ศปภ.ว่ากรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.)ได้ประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติเป็นกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในเขต กทม.จำนวน 17 เขต พล.ต.อ.ประชา ได้ตอบว่า ยังไม่มีเรื่องดังกล่าว ซึ่งจะต้องสอบถามไปที่ ปภ.ว่าข้อเท็จจริงคืออะไร ทั้งนี้ หากเป็นเรื่องสำคัญภายใน กทม.จะต้องมีการแถลงร่วมกันระหว่าง ศปภ.กับ กทม. แต่ขณะนี้จะมีทั้งทางข่าวจาก ศปภ.และ กทม.ซึ่งประชาชนต้องฟังจากทั้งสองส่วนประกอบกับข้อเท็จจริง เบื้องต้น กทม.จะดู กทม.ชั้นใน ส่วนศปภ.จะดูภาพรวม หากมีการแถลงข่าวที่ออกมาไม่สอดคล้องกัน ข้อเท็จจริงจะเป็นตัวชี้วัดว่าอันใดถูกต้อง สำหรับการทำงานร่วมกันนั้น ยืนยันว่ามีการประสานงานกันตลอด ซึ่งผู้ว่าราชการ กทม.ก็ได้เดินทางมาร่วมประชุมด้วย แต่หากวันใดไม่มา รองผู้ว่าราชการ กทม.จะมาร่วมประชุมแทน จึงถือว่าการประชุมสมบูรณ์
       
       “กรณีข่าวที่ถูกเผยแพร่ออกจาก กทม.หากไม่เป็นเรื่องจริง กทม.จะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ เช่นเดียวกับ ศปภ.หากแถลงออกไปแล้วไม่เป็นความจริงก็จะต้องรับผิดชอบเหมือนกัน”พล.ต.อ.ประชา กล่าว
       
       ต่อมาในเวลา 14.19 น. วันเดียวกัน ฝ่ายประชาสัมพันธ์ของ ศปภ.ได้ส่งอีเมล์ถึงสื่อมวลชนเพื่อขอความร่วมมือในการยุติการเผยแพร่ข่าวแจก จาก ศปภ.เรื่องกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยออกประกาศพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินเฉพาะหน้าในพื้นที่17 เขต กทม.เนื่องจากเกิดความผิดพลาด
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 14 ต.ค. 11, 21:54

ใครหนอไปให้คำจำกัดความเขาไว้ว่า

ศปภ.= ศูนย์ปั่นป่วนทั่วพิภพ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 09:17

จากโพสทูเดย์


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 15 ต.ค. 11, 20:26

มองไปข้างหน้า

ข้อมูลจาการวิเคราะห์ของนักวิชาการ บอกว่า ในอีกประมาณ 5 ปีข้างหน้า เราจะขาดน้ำใช้ในทุกภาคส่วนรวมกันประมาณ 4000 ล้าน ลบ.ม.

เราคิดว่า จะบริหารทรัพยากรน้ำนี้กันอย่างไรดี ฮืม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 16 ต.ค. 11, 15:08

ยังนึกคำตอบไม่ออกค่ะ คุณตั้ง  น้ำท่วมแต่ขาดน้ำ  ฮืม

ฝากคลิปนี้มาลงเป็นบันทึกเหตุการณ์ไว้ก่อน
สู้น้ำท่วม

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 28
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.055 วินาที กับ 20 คำสั่ง